GED Social : Federalism หรือ ระบอบสหพันธรัฐ ประธานาธิบดี (President), ผู้ว่าการรัฐ (Governor), นายกเทศมนตรี (Mayor)
อีกหนึ่งเรื่องหลักในการติว GED เพื่อสอบวิชา Social Studies ที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้คือเรื่อ “Federalism” หรือ ระบอบสหพันธรัฐ (จำยากกว่าภาษาอังกฤษอีก) คือ หลักการแบ่งอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจในการปกครอง (Sovereign) กันระหว่างรัฐบาลส่วนกลางกับรัฐบาลระดับมณฑลหรือรัฐ ซึ่งในสหรัฐอเมริกาแบ่งอำนาจรัฐออกเป็น สามระดับ ได้แก่ รัฐบาลกลางของสหรัฐ (Federal Government) มีอำนาจสูงสุด, รัฐบาลประจำแต่ละรัฐ (State Government) มีอำนาจรองลงมา และ ในแต่ละรัฐเองก็จะมีรัฐบาลท้องถิ่น (Local Government) ทำหน้าที่ดูแลประชาชนในแต่ละท้องที่ถือว่ามีความใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด สาเหตุที่ในสหรัฐอเมริกาจะต้องแบ่งอำนาจรัฐบาลออกเป็นหลายระดับก็เพื่อให้การดูแลประชาชนเป็นไปได้อย่างทั่วถึง เนื่องมาจากพื้นที่ภูมิประเทศที่ค่อนข้างกว้างทำให้รัฐบาลกลางหน่วยงานเดียวอาจไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รัฐบาลแต่ละระดับจะมีอำหน้าหน้าที่ส่วนใหญ่แตกต่างกัน แต่ก็มีอำนาจบางอย่างที่ทับซ้อนกันบ้าง โดยเรามาเริ่มดูจากรัฐบาลกลางกันดีกว่าครับ รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา มีหัวหน้ารัฐบาล คือ ประธานาธิบดี (President) รัฐบาลกลางถือว่าเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจสูงสุด ทำหน้าที่ดูแลและบริหารความเป็นไปของประเทศโดยภาพรวม ซึ่งรัฐบาลกลางเป็นผู้ทำหน้าที่กำหนดนโยบายต่าง ๆ ให้รัฐบาลประจำรัฐนำไปปรับใช้กับรัฐของตน นอกเหนือจากนี้รัฐบาลกลางยังเป็นรัฐบาลเดียวที่สามารถ ผลิตธนบัตรและเหรียญ, ประกาศสงคราม, ดูแลกองทัพ ควบคุมอัตราดอกเบี้ยและการค้าระหว่างประเทศเช่นเดียวกับการดูแลและสร้างความสัมพันธ์กับต่างชาติ รัฐบาลประจำรัฐ มีหัวหน้ารัฐบาลเรียกว่า ผู้ว่าการรัฐ (Governor) จะทำหน้าที่ดูแลและบริหารเฉพาะพื้นที่ต่าง[…]