GED Science : VIRUS

ติว GED วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED วันนี้เรามาดูเนื้อหาเกี่ยวกับ Science กันครับ

ในช่วงต้นปี 2020 ข่าวที่ประเด็นน่าสนใจคงหนีไม่พ้น การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Coronaviruses) ทำให้ผู้คนสนใจ ถึงความอันตรายของไวรัสเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามยังมีหลายคนสงสัยถึงความแตกต่างระหว่างไวรัสกับแบคทีเรีย ว่าแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งในบทเรียน GED Science ก็จะมีด้วย กล่าวคือ ไวรัส (Virus) เป็นสิ่งขนาดเล็กที่สามารถแพร่พันธุ์ได้ เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยส่วนมากมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรีย สามารถมองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้น ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างของไวรัสกับแบคทีเรีย คือ ไวรัสไม่จัดเป็นเซลล์ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของการมีชีวิต เนื่องจากไวรัสไม่มีกลไกการเจริญเติบโต กลไกการขับถ่าย รวมไปถึงกลไกการหายใจระดับเซลล์ ในทางตรงกันข้าม กลับพบกลไกตามที่กล่าวข้างต้นทุกอย่างในแบคทีเรีย ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ไวรัสไม่จัดเป็นสิ่งมีชีวิต แต่แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นจุดที่หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่

เห็นไหมครับว่าความรู้เรื่องนี้ไม่ได้จำกัดไว้ในเนื้อหาการเรียน GED Science เท่านั้น เราควรรู้ไว้เพื่อป้องกันตนเองจากการติดโรคในชีวิตประจำวันของเราด้วยนะครับ

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่า ไวรัสมีประโยชน์อย่างไร ดังนั้น ไวรัสจึงเป็นสิ่งที่เป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมของไวรัสจะอาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตแล้วขยายพันธุ์ เรียกว่า ปรสิต (parasite) โดยไวรัสจะแพร่พันธุ์อยู่ในร่างกายจนเกิดอาการเจ็บป่วย เมื่อผู้ป่วยพบว่าตนติดเชื้อจากไวรัส ไม่ควรทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ เพราะไม่สามารถรักษาอาการที่เกิดจากไวรัสได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อเชื้อดื้อยาได้อีกด้วย วิธีการรักษาโรคที่เกิดจากไวรัส ทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในการปกป้องร่างกายจากไวรัส หรืออาจรับประทานยาที่ช่วยยับยั้งการเพิ่มของไวรัสร่วมด้วย

ภาพฉายของไวรัสโคโรนา (Coronaviruses) ผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

 

ข้อควรจำ

  1. เมื่อติวเนื้อหาการเรียน GED Science เพื่อสอบเราจำเป็นต้องแยกความแตกต่างระหว่างไวรัสกับแบคทีเรีย ซึ่งเป็นหัวข้อที่พบได้มากในข้อสอบ GED science โดยศึกษาจาก หลักเกณฑ์ตามตารางดังล่าง ก็จะช่วยให้ทำข้อสอบที่ต้องการวัดผลในหัวข้อนี้ไปได้
  2. การที่ไวรัสและแบคทีเรียแพร่พันธุ์ได้ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิต เพราะยังต้องพิจารณาในกลไกอย่างอื่นมาประกอบด้วย เช่น การหายใจ, การขับถ่าย, การเจริญเติบโต, การตอบสนองต่อสิ่งเร้า เป็นต้น
  3. การที่ไวรัสและแบคทีเรียแพร่พันธุ์ได้ แสดงว่าทั้งไวรัสและแบคทีเรียมีสารพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบ
หลักเกณฑ์ ไวรัส (Virus) แบคทีเรีย (Bacteria)
ขนาด เล็ก ใหญ่
มองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์ ไม่เห็น เห็น
มองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เห็น เห็น
เยื่อหุ้มเซลล์ ไม่มี มี
ความเป็นเซลล์ ไม่เป็น เป็น
การเพิ่มจำนวน มี (เมื่ออยู่ในสิ่งมีชีวิต) มี
สารพันธุกรรม เช่น DNA, RNA มี (เพียงชนิดเดียว) มี (มีทั้ง DNA และ RNA)
การจัดการเมื่อได้รับเชื้อ ฉีดวัคซีน ทานยาปฏิชีวนะ

ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply