GED RLA : Adverb

มาติว GED RLA กันอีกแล้ววันนี้พี่เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนน่าจะท่องจำกันมาว่าคำที่ลงท้ายด้วย -ly  เช่น beautifully, faithfully หรือ sincerely จะทำหน้าที่เป็น Adverb หรือ คำกริยาวิเศษณ์โดยทำหน้าที่ขยาย Verb หรือ ไม่ก็ขยาย Adjective กันใช่ไหมครับ แต่น้อง ๆ รู้กันไหมอันที่จริงแล้ว Adverb บางตัวก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย –ly หรือ Adverb บางตัวหากเติม –ly ต่อท้ายจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ในเนื้อหาเรียน GED RLA จะมีเรื่องนี้ วันนี้พี่เลยจะมาแนะนำ Adverb บางตัวที่มักสร้างความสับสนเพื่อที่น้องจะได้ใช้คำวิเศษณ์เหล่านี้อย่างถูกต้องนะครับ

                อยากสอบ GED RLA ผ่านต้องรู้เรื่องนี้นะครับ ปกติแล้ว Adverb ทั่วไป 80%-90% มักจะนำ Adjective มาต่อท้ายด้วย –ly ทำหน้าที่ขยายคำกริยา หรือ คำคุณศัพท์ เช่น

                She quickly grabbed his hand. (เธอรีบคว้ามือเขาไว้ –  quickly ขยายกริยาว่าจับมืออย่างรวดเร็ว)

                He is an extremely important guest of our restaurant. (เขาเป็นแขกคนที่สำคัญสุด ๆ สำหรับร้านอาหารเรา – extremely ทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์บอกระดับความสำคัญของลูกค้า)

                แต่ Adverb กลุ่มต่อไปนี้ถึงจะไม่ได้ลงท้ายด้วย –ly ก็ทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์ เช่น fast, well, hard, late, near ,again, already, almost, often, soon, still, then, today tomorrow, yesterday, too, never, now, more, here, close, และ slow.

                เช่น         Stay close to me ! (อยู่ใกล้ฉันเอาไว้)

                                Tomorrow, I am going to clean up my room. (พรุ่งนี้ฉันว่าจะทำความสะอาดห้อง)         

                คำที่พี่ highlight เป็นคำที่เด็กหลาย ๆ คนชอบเข้าใจผิดในคลาสติว GED RLA โดยพี่ขออธิบายเป็นกรณีศึกษาดังนี้

กรณีแรก คือ Hard VS Hardly

                Hard ปกติเป็นได้ทั้ง Adjective และ Adverb แปลว่า ยาก ลำบาก หรือ อย่างยากเย็น

                I work hard in order to earn higher wages. (ฉันทำงานอย่างหนักเพราะอยากได้ค่าแรงเพิ่ม)

                แต่ถ้า Hardly จะเป็น Adverb เท่านั้น! ความหมายจะเปลี่ยนเป็นลบ แปลว่า แทบจะไม่    

                I hardly show up in my class this week. (สัปดาห์นี้ฉันแทบจะไม่ไปเรียนเลย)

กรณีที่สองคือ Late VS Lately

                Late ปกติเป็นได้ทั้ง Adjective และ Adverb แปลว่า ช้า หรือ สาย

                He always participates in a conference late. (เขาไปเข้าร่วมประชุมสายตลอดเวลา)

                แต่ถ้า Lately จะเป็น Adverb เท่านั้น! ความหมายจะเปลี่ยนแปลว่า เร็ว ๆ นี้ หรือ เมื่อไม่นานมานี้

                Lately, I have attended an auction. (เมื่อไม่นานมานี้ฉันเพิ่งไปเข้าร่วมการประมูลมา)

กรณีที่สาม Near VS Nearly

                Near ปกติเป็นได้ทั้ง Adjective และ Adverb แปลว่า ใกล้

                Come near so I don’t need to shout.  (เข้ามาใกล้ ๆ ฉันไม่อยากตะโกน)

                แต่ถ้า Nearly จะเป็น Adverb เท่านั้น! ความหมายจะเปลี่ยนเป็นลบ แปลว่า เกือบจะ หรือ แทบจะ

                I am nearly dead with cold. (ฉันเกือบจะหนาวตาย)

กรณีที่สี่ คือ Fast

                ** ในโลกนี้ไม่มี Fastly ! นะครับ ห้ามเติม ly ให้ Fast เด็ดขาด เพราะ Fast เป็นได้ทั้ง Adjective และ Adverb แปลว่า รวดเร็ว หรือ อย่างรวดเร็ว

                Don’t drive too fast; accidents can happen anywhere and anytime. (อย่าขับรถไวเกินไปอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา)

*** กรณีที่ห้า Good VS Well (แถมให้)

                คู่นี้เป็นคู่ยอดฮิตที่เด็ก ๆ หลายคนใช้ผิด หรือ ใช้สลับกัน ความแตกต่างคือ Good เป็น Adjective ขยายคำนามเท่านั้น แต่ Well เป็น Adverb ขยายคำกริยา

                His test result is so good. (ผลสอบของเขาดีมาก – good เป็น Adjective ขยาย result)

                He did the job very well. (เขาทำงานออกมาได้ยอดเยี่ยม – well เป็น Adverb ขยาย did)

            ลองมาทำโจทย์ทดสอบความเข้าใจกันหน่อยดีกว่าครับ

                He can speak German (good / well).

                เฉลย ข้อนี้เราตอบ well ครับ เพราะ well วางอยู่หลังประโยคทำหน้าที่เป็น Adverb ขยายคำกริยา speak เพื่อบอกว่า เขาพูดภาษาเยอรมันได้อย่างดี เมื่อน้องๆติว GED RLA ก็อย่าลืมหัวข้อนี้นะครับ

                พี่หวังว่าน้อง ๆ จะตอบคำถามกันได้และเข้าใจการใช้งาน Adverb ที่ชวนปวดหัวเหล่านี้จะได้เอาไปใช้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นแล้วพบกันใหม่บทความหน้าครับ

ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply