GED Science : PHOTOSYNTHESIS

INTRODUCTION ติว GED Science วันละนิด เรื่องที่ต้องเราต้องเจอในการเรียน GED Science แน่ๆคือเรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) คือ กระบวนการทางเคมีที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ภายใต้สภาวะที่มีแสงและรงควัตถุสีเขียว หรือ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ สารประกอบน้ำตาลกลูโคส และ ผลิตภัณฑ์เสริม ได้แก่ ก๊าซออกซิเจน ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการทางเคมีตามด้านล่างนี้ การสังเคราะห์ด้วยแสงพบได้ในสิ่งที่มีชีวิตที่มีคลอโรฟิลล์ ได้แก่ พืช (plant), แบคทีเรียประเภทสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobacteria) หรือ โปรโตซัวบางชนิด (protozoa) ประโยชน์หลักของการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ การสร้างกลูโคสเพื่อใช้เป็นสารอาหารในการดำรงชีพ  ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จะเรียกโดยรวมว่า autotroph ซึ่งหมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ และยังเป็นผู้ผลิต (producer) ที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารอีกด้วย นอกจากนี้ประโยชน์ทางอ้อมของการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ การผลิตก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็นก๊าซที่จำเป็นในการหายใจของสัตว์ทุกชนิด ด้วยเหตุนี้สัตว์ส่วนใหญ่จึงนิยมอาศัยอยู่ในป่าซึ่งอุดมไปด้วยก๊าซออกซิเจน ดังนั้นการสังเคราะห์ด้วยแสงจึงส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างมีนัยสำคัญทั้งต่อสัตว์รวมไปถึงมนุษย์อีกด้วย เราต้องเข้าใจกระบวนการนี้เมื่อเราติว GED Science ก่อนสอบนะครับ  […]

GED Math : DATA ANALYSIS

ติว GED วันละนิด พิชิตสอบ ในเนื้อหา GED Mathematical Reasoning วิชานี้ Data analysis เป็นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เป็นเครื่องมือตัดสินใจในการวางแผนในประเมินผลงานหรือกำหนดนโยบายต่าง ๆ ถูกนำไปใช้ในการวางแผนหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ, ด้านวิทยาศาสตร์ หรือ ด้านการจัดการ เป็นต้น ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (ค่าสถิติ) และ ข้อมูลเชิงคุณภาพ (ข้อเท็จจริง) ในการติว GED ข้อสอบ GED Mathematical Reasoning มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นหลัก เนื่องจากเป้าหมายของการวิเคราะห์ข้อมูล คือความรวดเร็ว ดังนั้นหัวข้อนี้จึงมีสูตรสำเร็จรูปที่ช่วยให้ผู้เข้าสอบคำนวณได้อย่างรวดเร็ว แต่ในบทความนี้ยังมุ่งเน้นวิธีการหาค่าทางสถิติโดยเน้นกระบวนการคิดมากกว่าสูตรคำนวณ โดยเนื้อหาที่ออกในข้อสอบนั้น เวลาที่เราเรียน GED Mathematical Reasoning เราจะเจาะลึกในส่วนของการวัดค่าแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง (measures of central tendency) ซึ่งเป็นวิธีทางสถิติที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งชุดจำเป็นต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก การวัดค่าแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลางจึงเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาในการคำนวณ การหาค่าตัวเลขเพียงค่าเดียวที่จะใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งชุด[…]

GED RLA : mass noun

Mass Noun ไม่ว่าน้องจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษหรือติวสอบ GED RLA กันอยู่ ก็อย่าลืมเรื่องนี้นะครับ น้อง ๆ รู้กันไหมครับต่อให้น้อง ๆ จะมี ”การบ้านมากแค่ไหน” แต่คำว่า Homework ก็เติม s เพื่อทำเป็นนามพหูพจน์ไม่ได้ (Plural Noun) หรือ แม้แต่คำว่า work ที่ปกติเราแปลว่า “ภาระงาน” ก็เติม s ไม่ได้ น้อง ๆ ทราบกันไหมครับว่าทำไม … เฉลย นั่นก็เพราะว่า คำนามเหล่านี้เราเรียกว่าเป็น Mass Noun หรือ นามนับไม่ได้นั่นเอง ดังนั้น น้อง ๆ จึง ห้ามเติม s เพื่อทำให้คำเหล่านี้กลายเป็นพหูพจน์เด็ดขาด! (Pluralization) เรื่องนี้สำคัญมากๆในห้องสอบ GED RLA หรือในขณะที่ติว GED RLA พี่อยากให้น้อง ๆ[…]

GED RLA : คำศัพท์และสำนวน

ติว GED วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED วันนี้เริ่มที่ “อากาศหนาว แสงไฟ ต้นคริสต์มาส และเพลง All I Want for Christmas” สิ้นสุดไปแล้วกับเดือนสุดท้ายแห่งปี เดือนที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งเทศกาล วันหยุด ความสุข เสียงหัวเราะ และการเฉลิมฉลอง สำหรับบทความในอาทิตย์นี้เราขอพักเรื่องเครียดจากการสอบ แล้วเปลี่ยนบรรยากาศมาเรียนอะไรที่มันสนุก ๆ เฮฮา แต่มีสาระกันดีกว่านะครับ วันนี้พี่เลยเตรียมคำศัพท์และสำนวน 8 คำที่เข้ากับเทศกาลเทศกาลคริสต์มาส ปีใหม่ที่ผ่านมาเหล่านี้เพื่อให้น้อง ๆ เอาไปใช้คุยกับเพื่อนต่างชาติ หรือ ไว้อัพเดทกับเพื่อนชาวไทยจะได้ไม่ตกเทรนด์ครับ   เรามาเริ่มจากคำแรก คือ stocking stuffer สำหรับคำนี้ค่อนข้างเข้ากับเทศกาลคริสต์มาสเลย ถ้าแปลตรงตัวจะหมายถึง “สิ่งที่เราเอาไปยัดไว้ในถุงเท้า” ลองเดาสิว่ามันหมายถึงอะไรครับ … ปิ้งป่องมันแปลว่า “ของขวัญเล็ก ๆ ที่มักจะมีราคาไม่แพง” ดังนั้นแล้วถ้าน้องอยากจะหาของขวัญเล็ก ๆ เอาไว้มอบให้คนอื่นหรือจะแอบเอาไปยัดไว้ในถุงเท้าในช่วงคริสต์มาสน้องสามารถเรียกมันว่า a stocking stuffer ครับ[…]

GED RLA : Redundancy หรือ การใช้คำฟุ่มเฟือย

ติว GED วันละนิด จิตแจ่มใส วิชา RLA วันนี้ลองดูกันครับว่าอีกเรื่องนึงที่สำคัญในการเรียน GED คือเรื่องอะไร เริ่มกันที่ “บ้านหลังนี้สวยสดงดงามอลังการงานสร้าง” “ฤษีตนนี้เหาะเหินเดินอากาศได้” หรือ “แจกันใบนี้ค่อนข้างเปราะบาง” หลังจากอ่านประโยคนี้ น้อง ๆ มีความรู้สึกตงิดใจตรงจุดไหนบ้างไหมครับ ถ้ารู้สึกแสดงว่าน้องเป็นคนที่มีสัมผัสในการใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างดีเลยครับ เพราะในภาษาอังกฤษจะมีกฎไวยากรณ์เรื่อง Redundancy หรือ การใช้คำฟุ่มเฟือย ซึ่งหมายถึง การใช้คำที่มีความหมายเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกันในประโยคเดียวกันมากเกินไป ทำให้ประโยคยาวเกินความจำเป็น (เว้นแต่กรณีที่ผู้เขียนจงใจใช้คำซ้ำกันเพื่อเน้น) แต่สำหรับคนที่ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงก็ไม่ต้องคิดมากนะครับ เด็กไทยอีกหลายคนก็มีแนวโน้มที่จะบอกไม่ได้ว่าประโยคด้านบนมีการใช้คำฟุ่มเฟือย เนื่องจากภาษาไทยจะมีลักษณะของการสร้างคำแบบซ้ำซ้อน คือการเอาคำที่มีความหมายเดียวหรือคล้ายกันมารวมกัน เช่น สวยงาม เปราะบาง และเหาะเหินเดินอากาศ อบอุ่น หยิบฉวย และ เดาสุ่ม (ขนาดคำว่าซ้ำซ้อน ยังมีความซ้ำซ้อน เอ๊ะไม่งงใช่ไหม ?) ติว GED RLA รอบนี้เรามาดูตัวอย่าง Redundancy ในภาษาอังกฤษ และตัวอย่างเพิ่มเติมของคำฟุ่มเฟือยที่เราพบได้ในชีวิตประจำวันแต่แยกมันไม่ค่อยออกกันครับ Visible stars can[…]

GED RLA : “Adjectives are the sugar of literature” Henry James

วันนี้เราจะมาติว GED RLA เรื่องคำคุณศัพท์ หรือ Adjective ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในวิชาภาษาอังกฤษ หากไม่มี Adjective แล้วประโยคภาษาอังกฤษย่อมขาดสีสัน สาเหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะ คำคุณศัพท์ทำหน้าที่ขยายคำนาม เพื่อบ่งบอกหรือเพิ่มเติมคุณลักษณะให้กับคำนาม เช่น beautiful (สวย), careful (รอบคอบ), frugal (ประหยัด) และ enormous (มหึมา)  แล้วน้อง ๆ เคยสงสัยไหมครับ หากเราอยากจะเปรียบเทียบว่า กระเป๋าที่เราซื้อมาสวยกว่ากระเป๋าใบของเพื่อน หรือ ดาราที่น้องชอบหล่อที่สุดในโลกแล้ว เราจะทำได้อย่างไรในภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไปหรือในการเรียน GED RLA เพื่อสอบ วันนี้พี่มีคำตอบให้ครับ หากน้อง ๆ อยากจะเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ น้องสามารถใช้โครงสร้าง Comparison of Adjective มาช่วยได้ครับ โดยการเปรียบคำคุณศัพท์ แบ่งออกเป็น การเปรียบเทียบ Adjective ขั้นกว่า (Comparative Form) หากเราต้องการจะบอกว่า “A นั้น …[…]

GED RLA : ส่วนขยายในภาษาอังกฤษ (Modifier) มีกี่แบบ?

วันนี้เราจะมาติว GED RLA สั้นๆกันต่อนะครับในประเด็นเรื่องการใช้ Comma ซึ่งจะมีกฎการใช้ที่เหลืออีก 2 ข้อ โดยคราวนี้จะเป็นการเชื่อมโยงความรู้เข้ากับเรื่องการใช้ส่วนขยายในภาษาอังกฤษ (Modifier) ในการเตรียมตัวสอบหรือเรียน GED RLA นั้น เรื่องนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมากๆเลยทีเดียว ก่อนไปดูกฎการใช้คอมมา เรามาทวนกันก่อนนะครับว่า ในวิชา GED RLA ส่วนขยายในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็นหลายประเภท หน้าที่ของมันก็ตามชื่อเลยครับ คือ ทำหน้าที่เพิ่มเติมหรือเสริมคำบรรยายและรายละเอียดให้ประโยค โดยส่วนขยายพื้นฐานที่น้องน่าจะรู้จักหรือพอคุ้นหู ได้แก่ คำคุณศัพท์ทำหน้าที่ขยายนาม (Adjective) เช่น gorgeous, economical, useful และ sensitive คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายกริยาหรือขยายคำคุณศัพท์ก็ได้ (Adverb) เช่น effectively, usually, และ extremely นอกจากสองตัวนี้แล้วยังมีส่วนขยายประเภทอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้แก่ บุพบทวลี หรือ กลุ่มคำที่ขึ้นต้นด้วยคำบุพบท Prepositional Phrase, ประโยคย่อยที่ขึ้นต้นด้วย who/which/that ทำหน้าที่ขยายนามที่อยู่ด้านหน้า (Adjective Clause) ,[…]

GED Social : 4 กรกฎาคม สำคัญอย่างไรกับประเทศสหรัฐอเมริกา?, สงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกา (American Revolutionary War)

น้อง ๆ รู้กันไหมครับว่าวันที่ 4 กรกฎาคม หรือ 4 of July สำคัญอย่างไรกับประเทศสหรัฐอเมริกา??? สำคัญมากๆเลยสำหรับการเรียนและเตรียมตัวสอบ GED Social เมื่อเราต้องเรียน GED Social เราต้องรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเทศอเมริกาเป็นอย่างแรกเลยครับ โดยเฉพาะวันสำคัญพิเศษแบบนี้ เฉลย วันที่ 4 กรกฎาคม คือ วันชาติของสหรัฐนั่นเอง เป็นวันที่สำคัญมากของอเมริกาเนื่องจากเป็นวันที่อเมริกาประกาศอิสรภาพออกจากอังกฤษว่าจะไม่เป็นอาณานิคม (Colony) ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษอีกต่อไปและถือโอกาสสถาปนาตนเองให้มีศักดิ์เป็นประเทศอเมริกาเหมือนดั่งประเทศอื่นในโลก วันนี้เราเลยจะมาคุยกันเรื่องสาเหตุใดที่ทำให้ชาวอเมริกาประกาศตัดความสัมพันธ์กับอังกฤษจนนำไปสู่สงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกา (American Revolutionary War) กันครับ หากน้องๆคนไหนที่กำลังทบทวนเนื้อหาการเรียน GED สังคมอยู่ เรื่องราวเหตุการณ์นี้ก็เป็นเรื่องที่ออกในข้อสอบ GED Social กันบ่อยเลยนะครับ ก่อนจะไปทำความรู้จักกับสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกาเราลองมาย้อนอดีตดูเหตุการณ์ก่อนหน้าสงครามเพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานทางประวัติศาสตร์กันก่อนครับ ก่อนหน้านี้ทวีปอเมริกายังเป็นทวีปที่ไม่ถูกค้นพบ เนื่องจากผู้คนในยุคกลางมีความเชื่อว่าโลกแบนหากแล่นเรือไปไกลอาจตกขอบโลกตาย (เป็นความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ในตอนนั้น) แต่หลังจากที่นักเดินเรือชาวโปรตุเกสซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์สเปน นามว่า คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ได้ค้นพบทวีปอเมริกาในปี 1492 ชาวยุโรปต่างพากันอพยพเข้ามาจับจองพื้นที่และสร้างอาณานิคมของตนเองไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ฝรั่งเศส[…]

GED Social : US History, Louisiana Purchase

เมื่อเรียน GED Social Studies จะมีเรื่องประวัติศาสตร์ที่น้องๆต้องรู้กัน วันนี้เราจะมาพูดเรื่อง US History ซึ่งเป็นบทที่ออกสอบแน่ๆ ดังนั้นหากติว GED Social หรือศึกษาเองน้องๆก็ต้องอ่านเรื่องนี้ด้วยนะครับ น้อง ๆ เคยรู้กันไหมครับว่าทำไมสรัฐอเมริกาถึงมีปริมาณพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับ 3 ของโลก? ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่ช่วยเพิ่มอาณาเขตของอเมริกาเป็น 2 เท่าก็คือ Louisiana Purchase หรือ การซื้อลุยเซียน่า เป็นข้อตกลงซื้อขายดินแดนระหว่างสหรัฐกับฝรั่งเศส ซึ่งช่วยเพิ่มพื้นที่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปีกว่า 827,000 ตารางไมล์ให้กับสหรัฐ ซึ่งถือเป็นการขยายพื้นที่ของสหรัฐเป็นสองเท่าและพื้นที่นี้มีมูลค่าถึง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพดินแดนทางด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี ดินแดนลุยเซียน่านี้ก่อนหน้าเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือ โดยดินแดนนี้ถูกเรียกตามพระนามของกษัตริย์ฝรั่งเศส พื่อเป็นเกียรติให้กับพระเจ้าหลุยที่ 14 การซื้อขายลุยเซียน่าเกิดขึ้นในสมัยของประธานาธิบดีทอมัส เจฟเฟอร์สัน  หรือ Thomas Jefferson (ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐ) โดยแรกเริ่มเจฟเฟอร์สันได้ส่งนัการทูตเจมส์ มอนโร (James Monrole) ไปยังกรุงปารีสเพื่อเข้าเจรจาต่อรองขอซื้อพื้นที่บริเวณนิวออลีนส์จากฝรั่งเศสจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แต่พระองค์กลับยื่นข้อเสนอที่จะขายอาณานิคม Louisiana ทั้งหมดให้กับอเมริกาแทน เนื่องจากพระองค์ต้องทำสงครามกับสหราชอาณาจักร[…]

GED Social : อเมริกามีกระทรวงทั้งหมดกี่กระทรวงและแต่ละกรงทรวงทำหน้าที่อะไร, US Department

เรียน GED Social Studies เค้าเรียนอะไรกัน? อีกเรื่องนึงที่น้องๆต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชานี้ก่อนที่จะไปสอบ GED ให้ผ่านฉลุยก็คือเรื่องกระทรวงครับ เคยสงสัยกันไหมครับว่าอเมริกามีกระทรวงทั้งหมดกี่กระทรวงและแต่ละกรงทรวงทำหน้าที่อะไรบ้าง วันนี้เราเลยจะมาคุยเกี่ยวกับ คณะรัฐมนตรี (cabinet)  ผู้ที่คอยช่วยเหลือประธานาธิบดีในการบริหารประเทศกันครับ โดยในสหรัฐมีกระทรวงทั้งหมด 15 กระทรวง ซึ่งแต่ละกระทรวงจะมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบที่แตกต่างกัน หากเราได้เรียนรู้เรื่องนี้ของ GED Social Studies แล้วเราก็คงมีโอกาสสอบ GED ผ่านกันตั้งแต่รอบแรกเลยนะครับ พี่สรุปให้สั้น ๆ ดังนี้ ชื่อกระทรวงภาษาอังกฤษ ชื่อกระทรวงภาษาไทย หน้าที่และความรับผิดชอบ U.S. Department of Agriculture   กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาหารและควบคุมการทำฟาร์ม U.S. Department of Commerce   กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา ดูแลเรื่องการปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ประชาชนผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจและทำหน้าที่ควบคุมการค้า ธนาคาร และระบบเศรษฐกิจ U.S. Department of Defense (DOD) กระทรวงกลาโหมสหรัฐ เป็นหน่วยงานรัฐบาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดดูแลเรื่องกองทัพสหรัฐเพื่อปกป้องความปลอดภัยของประเทศ U.S. Department[…]

GED Social : Civics and Government รัฐธรรมนูญ (Constitution), Preamble หรือ คำปรารภ, Justice (ความยุติธรรม), Tranquility (ความสงบสุข), Welfare (สวัสดิภาพ หรือ ความปลอดภัย), Liberty (เสรีภาพ) และ Posterity (อนุชน หรือ ลูกหลาน)

ในการติว GED สังคม หรือ Social Studies นั้นจะมีเรื่องที่ข้อสอบ GED จะถามค่อนข้างเยอะประมาณ 50% ของข้อสอบ นั่นคือในส่วนของ Civics and Government นอกเหนือจากโครงสร้างของรัฐบาล ประเด็นที่ชอบออกข้อสอบอีกอย่างหนึ่ง คือ เอกสารประวัติศาสตร์และกฎหมายต่าง ๆ (ซึ่งมักใช้ภาษา หรือ คำศัพท์ยาก ๆ) วันนี้ “Social วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED” ก่อนที่เราจะเข้าสู่ตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitution) ซึ่งถือเป็นกฎหมายสูงสุดของสหรัฐอเมริกา อยากให้น้อง ๆ ได้รู้จักกับ Preamble หรือ คำปรารภ (ถ้ายากไปจะแปลว่า “บทนำ”) ของกฎหมายรัฐธรรมนูญกันก่อน เนื่องจากคำปรารภนี้เองที่เป็นตัวเกริ่นและบอกวัตถุประสงค์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญสหรัฐ ผู้ที่เป็นคนคิดประดิษฐ์คำปรารภของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ก็คือ หนึ่งในบรรดาบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ หรือ Founding Father ที่มีชื่อว่า Gouverneur Morris หรือ กูวีเนอร์ มอร์ริส ซึ่งร่างคำปรารภขึ้นในปี[…]

GED RLA : FANBOYS Sentence 1, FANBOYS Sentence 2

เครื่องหมายที่นิยมออกข้อสอบตัวแรก และเป็นตัวที่เด็กชอบสับสนเมื่อติว GED RLA คือ comma หรือ “,” โดยวันนี้เราจะมาดูหลักการพื้นฐานครึ่งแรกในการใช้ comma ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งในส่วนของไวยากรณ์และการเขียน กันดีกว่าครับ เมื่อเราเรียน GED RLA กฎการใช้ comma ข้อที่ 1 คือ เราจะใช้เครื่องหมายนี้ข้างหน้าคำชื่อกลุ่ม FANBOYS ในกรณีที่คำเชื่อมกลุ่มนี้เชื่อมประโยคกับประโยคเข้าด้วยกัน Sentence 1 , For And Nor But Or Yet So Sentence 2 พี่เชื่อว่าคำเชื่อมส่วนใหญ่น้อง ๆ น่าจะคุ้นเคยเพราะเจอได้บ่อยในชีวิตประจำวัน แต่จะมีสามคำที่เด็กส่วนใหญ่มักจะเข้าใจความหมายมันผิดและทำข้อสอบ GED RLA ผิด นั่นก็คือ For , Nor และก็ Yet โดยเราจะมาดูการใช้งานหลัก ๆ ของสามตัวนี้ทีละตัวกันครับ For ในบริบทที่เป็นคำเชื่อมนี้แปลว่า “เพราะว่า” ใช้นำหน้าประโยคที่บอกสาเหตุ[…]

GED RLA : Subject & Verb Agreement ผันกริยาให้สอดคล้องกับประธาน

ต่อจากบทความครั้งที่แล้วเราคุยกันไปเรื่องการผันคำกริยา (Verb Conjugation) ในภาษาอังกฤษ วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดในประเด็นแรกที่เด็ก ๆ น่าจะคุ้นเคยและท่องกันมาว่า “ประธานเอกพจน์  Verb เติม s/es ประธานพหูพจน์ Verb ไม่เติม s” ซึ่งมีชื่อเรียกเก๋ ๆ ในวงการไวยากรณ์ว่า Subject & Verb Agreement หรือ การผันคำกริยาให้สอดคล้องกับประธาน ในการพัฒนาภาษาอังกฤษหรือติว GED RLA เรื่องนี้ก็จะเป็นหนึ่งเรื่องที่จำเป็นที่สุดเลยล่ะครับ แน่นอนครับว่าหากจะผันกริยาให้ถูกต้องได้ ขั้นแรกน้องจะต้องมองประธานให้ออกก่อนครับ ว่าประธานมี จำนวน เท่าไร (1 = เอกพจน์ , 2 ขึ้นไป = พหูพจน์) โดยสังเกตง่าย ๆ จากการดูว่าข้างหลังคำนามมีการเติม s ไหม ถ้ามีแปลว่านามนั้นส่วนใหญ่น่าจะเป็นพหูพจน์ครับ เช่น a train (รถไฟ 1 ขบวน) VS trains[…]

GED RLA : Finite Verb (กริยาแท้) Non-finite Verb (กริยาไม่แท้)

Hello everyone!!! วันนี้เรากลับมาพบกันกับเนื้อหาวิชาการเรียน GED RLA หรือ Reasoning through Language Arts  (วิชาที่เด็กส่วนใหญ่โอดครวญว่ายากที่สุด) ซึ่งสิ่งที่อยากจะมาแชร์ในวันนี้เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของภาษาเลยก็ว่าได้ ฮั่นแน่พอจะเดาหัวข้อกันออกหรือเปล่าเอ่ย … และหัวข้อนั้นก็คือ Finite Verb (กริยาแท้) ครับ หากเรากำลังติวสอบ GED RLA กันอยู่ เราต้องแบ่งแยกให้ออกว่ากริยานั้นคืออะไรและใช้อย่างไร เพราะในข้อสอบ GED RLA นั้นเราต้องตอบคำถามให้ได้จึงจะสอบผ่านกันนะครับ ทีนี้ว่าแต่ทำไมมันถึงสำคัญล่ะ? นั่นก็เพราะทุกประโยคจะสมบูรณ์ได้จะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานเป็น Finite Verb ครับ ถ้านึกไม่ออกลองนึกถึงประโยคคำสั่งที่เคยได้ยินในชีวิตน้อง ๆ อย่าง Get off (ออกไป!), Be quiet (เงียบ) หรือแม้แต่ Shut up (หุบ…ขอไม่แปลละกันเอาเป็นว่าละไว้ในฐานที่เข้าใจ)   สังเกตนะครับว่าประโยคข้างบนนี้ไม่มีสิ่งที่เราเรียกว่า “ประธาน” ปรากฏจะมีก็แค่คำกริยา ดังนั้นอย่างที่พี่บอกเลยใช่ไหมล่ะ ว่ากริยานี่แหละถือว่าสำคัญที่สุดในประโยค ทีนี้เราก็มาดูกันต่อว่า “กริยาแท้” มันคืออะไร และมันมี[…]

GED Social : Federalism หรือ ระบอบสหพันธรัฐ ประธานาธิบดี (President), ผู้ว่าการรัฐ (Governor), นายกเทศมนตรี (Mayor)

อีกหนึ่งเรื่องหลักในการติว GED เพื่อสอบวิชา Social Studies ที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้คือเรื่อ “Federalism” หรือ ระบอบสหพันธรัฐ (จำยากกว่าภาษาอังกฤษอีก) คือ หลักการแบ่งอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจในการปกครอง (Sovereign) กันระหว่างรัฐบาลส่วนกลางกับรัฐบาลระดับมณฑลหรือรัฐ ซึ่งในสหรัฐอเมริกาแบ่งอำนาจรัฐออกเป็น สามระดับ ได้แก่ รัฐบาลกลางของสหรัฐ (Federal Government) มีอำนาจสูงสุด, รัฐบาลประจำแต่ละรัฐ (State Government) มีอำนาจรองลงมา และ ในแต่ละรัฐเองก็จะมีรัฐบาลท้องถิ่น (Local Government) ทำหน้าที่ดูแลประชาชนในแต่ละท้องที่ถือว่ามีความใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด สาเหตุที่ในสหรัฐอเมริกาจะต้องแบ่งอำนาจรัฐบาลออกเป็นหลายระดับก็เพื่อให้การดูแลประชาชนเป็นไปได้อย่างทั่วถึง เนื่องมาจากพื้นที่ภูมิประเทศที่ค่อนข้างกว้างทำให้รัฐบาลกลางหน่วยงานเดียวอาจไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รัฐบาลแต่ละระดับจะมีอำหน้าหน้าที่ส่วนใหญ่แตกต่างกัน แต่ก็มีอำนาจบางอย่างที่ทับซ้อนกันบ้าง โดยเรามาเริ่มดูจากรัฐบาลกลางกันดีกว่าครับ รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา มีหัวหน้ารัฐบาล คือ ประธานาธิบดี (President) รัฐบาลกลางถือว่าเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจสูงสุด ทำหน้าที่ดูแลและบริหารความเป็นไปของประเทศโดยภาพรวม ซึ่งรัฐบาลกลางเป็นผู้ทำหน้าที่กำหนดนโยบายต่าง ๆ ให้รัฐบาลประจำรัฐนำไปปรับใช้กับรัฐของตน นอกเหนือจากนี้รัฐบาลกลางยังเป็นรัฐบาลเดียวที่สามารถ ผลิตธนบัตรและเหรียญ, ประกาศสงคราม, ดูแลกองทัพ ควบคุมอัตราดอกเบี้ยและการค้าระหว่างประเทศเช่นเดียวกับการดูแลและสร้างความสัมพันธ์กับต่างชาติ รัฐบาลประจำรัฐ มีหัวหน้ารัฐบาลเรียกว่า ผู้ว่าการรัฐ (Governor) จะทำหน้าที่ดูแลและบริหารเฉพาะพื้นที่ต่าง[…]

GED Social : Check and Balance หรือ หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ

วันนี้เรามาคุยกันในเรื่องที่สำคัญหลักๆอีกหนึ่งเรื่องในการติว GED Social Studies นั่นก็คือเรื่อง “หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ” หรือ Check and Balance ซึ่งเป็นอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในการพยายามรักษาสมดุลอำนาจผ่านการแบ่งแยกอำนาจออกเป็นหลายส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้หน่วยงานหลักของรัฐบาลหน่วยใดมีอำนาจมากเกินไปและเพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ โดยหน่วยงานหลักของรัฐบาลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายซึ่งทำหน้าที่และมีอำนาจแตกต่างกัน ประกอบด้วย Executive Branch – ฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่ในการควบคุมและบริหารความเป็นไปของประเทศอีกทั้งทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย มีหัวหน้าก็คือประธานาธิบดี Legislative Branch – ฝ่ายนิติบัญญัติ ทำหน้าที่หลักในการออกกฎหมาย หรือที่เรารู้จักในนามรัฐสภา Congress Judicial Branch – ฝ่ายตุลาการ ทำหน้าที่ตีความกฎหมาย แต่ชื่อที่น้อง ๆ น่าจะคุ้นเคยมากกว่า คือ ศาลสูงสุด ครับ แต่ละฝ่ายจะมีอำนาจที่แตกต่างกันเพื่อคอยคานอำนาจซึ่งกันและกัน เรามาเริ่มทำความรู้จักตัวอย่างอำนาจสำคัญที่ชอบออกข้อสอบจากฝ่ายแรก คือ ฝ่ายบริหารกันดีกว่า โดย ประธานาธิบดี มีอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมาย Veto Power ของสภาคองเกรสเพื่อให้เกิดการพิจารณาใหม่อีกครั้งหากฝ่ายบริหารไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายนั้น แต่อำนาจนี้สามารถถูกลบล้างได้หากเสียง 2 ใน[…]

GED Social : USA Election หรือ การเลือกตั้งสหรัฐ ฯ

สวัสดีครับทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่ “Social วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED” โดยเรามาอยู่กันในบทความซีรีส์แรกในการเรียน GED วิชา Social Studies  แอบใบ้ให้ว่าสิ่งที่วันนี้ที่จะมาคุยกำลังเป็นกระแสในสังคมไทยเลย เพราะเราเพิ่งจะได้นายกคนใหม่ คงพอกันเดาได้แล้ว ว่าเรื่องที่อยากจะคุยนั่นคือ  “การเลือกตั้ง(แต่เป็นของ)สหรัฐ ฯ / USA Election” นะครับ  ก่อนอื่นน้อง ๆ เคยสงสัยไหมครับ ว่าประธานาธิบดีของอเมริกาขึ้นสู่ตำแหน่งได้อย่างไร แล้วเผื่อน้อง ๆ บางคนอยากสมัครชิงตำแหน่งนี้จะสามารถทำได้ไหม คำตอบ คือ อันดับแรกต้องมาดูว่าน้อง ๆ มีคุณสมบัติตรงกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาหรือเปล่าครับ โดยผู้ที่จะสามารถลงสมัครเพื่อชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี จะต้องเป็นผู้ที่ถือสัญชาติอเมริกาโดยกำเนิด  มีอายุขั้นต่ำ 35 ปี และต้องอาศัยอยู่ในอเมริกามาแล้ว 14 ปี ถ้าน้อง ๆ มีคุณสมบัติตรงกับเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ก็จะต้องสมัครเข้าสู่พรรคการเมืองที่มีแนวคิดตรงกับที่ตนต้องการและไปหาเสียงเพื่อสู้กับคู่แข่งคนอื่นภายในพรรคที่ต้องการเป็นตัวแทนเหมือนน้อง โดยหลังจากหาเสียงภายในพรรคเสร็จ จะมีการจัดการเลืองตั้งขั้นต้นที่เรียกว่า PRIMARY ซึ่งสมาชิกในพรรค จะออกมาลงคะแนนโหวตเลือกผู้แทนของตนในแต่ละรัฐให้เข้าไปโหวติในการเลือกตั้งลำดับถัดไป หลังจากจบการเลือกตั้งขั้นต้น จะมีการจัดงานประชุมใหญ่ หรือ National Convention[…]

เรียน GED สอบไม่ผ่าน เรียนซ้ำฟรี

THE PLANNER คือผู้นำด้านการติว GED ของประเทศไทย พิสูจน์ได้จากจำนวนนักเรียน GED ที่ประสบความสำเร็จแล้วไม่น้อยกว่า 1,000 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี  (ข้อมูลปี 2015-2017) คอร์สเรียน GED ที่ เดอะ แพลนเนอร์ได้รับการยอมรับจากนักเรียนและผู้ปกครองอย่างกว้างขวางกันอย่างต่อเนื่อง และน้องๆเหล่านี้คือความภาคภูมิใจของ เดอะ แพลนเนอร์ เอดดูเคชั่น คอร์สเรียน GED ที่โรงเรียน The Planner ไม่ได้เป็นการสอนเนื้อหาทั่วไปแบบกว้างๆ แต่เป็นการเจาะไปที่ Topic และ scope ของตัวข้อสอบทั้ง 4 วิชา (New GED) ดังนั้นผู้เรียน GED ที่นี่จะได้เรียน GED ที่ตรงกับข้อสอบมากที่สุด และที่สำคัญน้องๆที่เรียน GED ทุกคนของ The Planner จะได้ติวจากข้อสอบจริงก่อนไปสอบทุกคน เดอะแพลนเนอร์จึงกล้ารับรอง หากสอบไม่ผ่าน กลับมาเรียนซ้ำฟรี คอร์สเรียน GED[…]

เรียน GED Math (Mathematical Reasoning)

เรียน GED Mathematical Reasoning หรือ เรียน GED ในสาขาวิชาการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ นับว่ามีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวที่จะสอบ GED โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการสอบมาก่อนและมีพื้นฐานความรู้ไม่แน่นและลึกซึ้งพอ วิชา Mathematical Reasoning เป็นอีกสาขาวิชาหนึ่งที่ GED จัดให้มีการทดสอบความรู้ เนื่องจากเป็นพื้นฐานความรู้ที่มีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องนำไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาหรือแม้แต่การใช้ประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต การเรียน GED จะช่วยให้ผู้ที่จะสอบได้ทราบถึงแนวทางของข้อสอบ เข้าใจถึงเทคนิคการทำข้อสอบ ตอบโจทย์ข้อสอบได้อย่างถูกต้องภายในเวลาที่จำกัด และสร้างโอกาสที่จะสอบผ่านในเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้น ชุดข้อสอบวิชา Mathematical Reasoning ของ GED จะประกอบด้วยชุดคำถามจำนวน 50 ข้อ ให้เวลาในการทำสอบ 90 นาที และเนื้อหาที่ใช้ในการออกสอบ จะเป็นเนื้อหาการวัดระดับความรู้ของผู้สอบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการตอบโจทย์ปัญหาด้านพีชคณิต 55 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ และอีก 45 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ ด้านการตอบโจทย์ปัญหาด้านคณิตศาสตร์เชิงปริมาณ ลักษณะข้อสอบ 80 เปอร์เซ็นต์เป็น Multiple-choice ให้เลือกตอบ ส่วนอีก 20 จะเป็นการทดสอบทักษะ ด้านการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ มาตรวัดทางเรขาคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และข้อมูลทางสถิติ[…]

เรียน GED Social Studies

เรียน GED Social Studies จำเป็นอย่างมากสำหรับคนที่กำลังวางแผนจะสอบ GED วิชา Social Studies เป็นอีกวิชาหนึ่งที่ต้องใช้ในการสอบ เป็นวิชาที่ศึกษาถึง ความเป็นไปทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และรวมถึงการศึกษาสภาพแวดล้อมความเป็นไปของโลก ผู้คนที่อาศัยอยู่บนโลก รวมถึงขนมธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ครอบคลุมความรู้ขั้นพื้นฐานของหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พื้นฐานความรู้ Social Studies เป็นพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นต้องมี สำหรับผู้ที่ต้องการไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และเป็นพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นและสำคัญที่ต้องจัดให้มีการทดสอบความรู้ของ GED การเรียน GED เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประสงค์จะเข้าสอบ GED ชุดข้อสอบ GED Social Studies จะเป็นชุดคำถามจำนวน 50 ข้อ ให้เวลาในการทำสอบ 70 นาที ส่วนสัดสวนของเนื้อหาที่จะใช้วัดระดับความรู้ในการทดสอบโดยประมาณ แบ่งสัดส่วนออกเป็น เนื้อหาความรู้ด้านพลเรียนและรัฐบาล (Civics and Government) 50 เปอร์เซ็นต์ เนื้อหาความรู้ประวัติศาสตร์ของอเมริกา (U.S. History ) 20 เปอร์เซ็นต์ เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ (Economics)[…]