GED Science : HYBRID CAR

ใน 20 ปีข้างหน้าพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง อันเนื่องมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ไม่เว้นแม้แต่วงการอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ไฮบริดเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตกำลังพัฒนาอย่างแข็งขันในช่วง 5 ปีหลังมานี้ เมื่อติว GED Science เราจะได้เห็นเรื่อง technology ก้นด้วย วันนี้พี่เลยอยากยกตัวอย่างหัวข้อติว GED วิชา Science เรื่องนี้มาดูกัน รถยนต์ไฮบริด (Hybrid Cars) เป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าในการเป็นแหล่งจ่ายพลังงานเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน โดยเครื่องยนต์จะสร้างพลังงานจากการเผาไหม้ของน้ำมัน และมอเตอร์ไฟฟ้าจะได้พลังงานจากความร้อนที่สูญเสียไปกับการเผาไหม้ ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เครื่องยนต์ทำงานโดยสูญเปล่า เช่น ขณะเบรกเพื่อชะลอความเร็ว ข้อดีของรถยนต์ไฮบริด คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของรถยนต์ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ร่วมกับพลังงานกลจากเครื่องยนต์ อีกทั้งประหยัดการใช้น้ำมันลงเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน ในขณะที่รถยนต์ยังหยุดนิ่ง ทำให้รถไฮบริดเหมาะกับผู้ที่ขับขี่ในตัวเมืองที่มีการจราจรหนาแน่นเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฮบริดจำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่าแบตเตอรี่รถยนต์ธรรมดาเพื่อกักเก็บพลังงานไฟฟ้า และ มีระบบควบคุมที่ซับซ้อน ทำให้แบตเตอร์รี่มีราคาสูงและยังมีค่าซ่อมบำรุงที่สูงมากเช่นกัน แม้ว่าการใช้รถยนต์ไฮบริดจะช่วยลดการใช้น้ำมันลงก็ตาม นอกจากนี้การชาร์จแบตเตอร์รี่ยังต้องใช้เวลานานกว่าการเติมน้ำมันเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้รถยนต์ไฮบริดยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในปัจจุบันผู้พัฒนารถยนต์จึงให้ความสำคัญกับศักยภาพของแบตเตอร์รี่ควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนการผลิตอย่างคุ้มค่า ในระยะยาว รถไฮบริดจะได้รับความนิยมมากขึ้นและเป็นรถยนต์กระแสหลัก เนื่องจากการรถยนต์ไฮบริดช่วยลดมลพิษทางอากาศได้อย่างมากเมื่อเทียบกับการใช้รถยนต์ทั่วไปที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเครื่องยนต์สู่ชั้นบรรยากาศ อีกทั้งยังช่วยลดการใช้น้ำมัน ซึ่งในอนาคตปริมาณน้ำมันจะมีใช้อย่างจำกัด ดังนั้นรถยนต์ไฮบริดจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภคในยุคที่เทคโนโลยีคือกระแสสำคัญ ในคลาสติว GED Science[…]

GED RLA : If Clause

                “ถ้าสมมุติฉันถูกหวย ฉันจะบินไปกลับกรุงเทพ-ลอนดอนสัก 50 รอบ” น้อง ๆ เคยมีจิตนาการหรือเคยสมมุติเรื่องอะไรแปลก ๆ ในหัวบ้างไหมครับ อย่างเช่น ถ้าฉันมีกระเป๋าโดราเอมอน ฉันจะใช้ไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต พี่เองก็เคยจินตนาการแบบนี้มาก่อน คนเราทุกคนต่างมีความฝัน ต่างมีจินตนาการ และเรามักจะตั้งเงื่อนไขบางอย่างให้ตัวเองอยู่เสมอ ว่าแต่น้อง ๆ รู้วิธีถ่ายทอดเงื่อนไขเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษไหมครับ ถ้าไม่รู้วันนี้พี่จะมาติว GED RLA ด้าน Structure เรื่องการใช้ If Clause หรือประโยคแสดงเงื่อนไข เนื่องจากว่าในภาษาอังกฤษมีการกำหนดเงื่อนไข (Condition)โดยการใช้คำว่า if ซึ่งแปลว่า “ถ้า”อยู่หลายรูปแบบ เราเลยจะมาเรียนรู้โครงสร้างของการกำหนดเงื่อนไขแบบต่าง ๆ เพื่อเอาไปใช้ในห้องสอบและชีวิตประจำวันหรือเรียน GED RLA ครับ โดยเราสามารถแบ่งประเภทของ If Clause ออกเป็น 3 ประเภทดังนี้                 เรียน GED RLA: รูปแบบที่ 1 ใช้กับเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้น                 โครงสร้าง[…]

GED Science : CARBON EMISSION

ในปัจจุบันสังคมได้เริ่มตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน ในเนื้อหาการติว GED Science ก็เช่นกัน จะมีออกเรื่องนี้ตลอดเลยครับ ภาวะโลกร้อนนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศเป็นวงกว้าง เช่น การขาดแคลนอาหารของสัตว์ป่า  การสูญพันธุ์ของสัตว์สงวน พื้นที่ป่าและที่อยู่อาศัยถูกทำลาย  ตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมาจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) เมื่อก๊าซเรือนกระจกลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจะทำหน้าที่เสมือนเป็นเกราะป้องกันไม่ใช้รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์หลุดรอดออกไปจากชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็นปัญหาภาวะโลกร้อนตามมา ด้วยเหตุนี้เอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสิ่งแวดล้อมให้การจับตามอง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide)  เป็นอย่างมาก เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ถูกผลิตมากที่สุด ซึ่งก๊าซชนิดนี้ถูกผลิตจากกระบวนการสันดาปของเชื้อเพลิงเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้กลุ่มประเทศที่มีกำลังการผลิตสูง อาทิ จีน, สหรัฐอเมริกา และอินเดีย จากกราฟแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าในปี 2019 ทั้งสามประเทศ มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมกันคิดเป็น 48.63% หรือประมาณครึ่งนึงของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาทั้งหมดทั่วโลก นอกจากนี้ยังพบว่าในปัจจุบัน ปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเป็น 8 เท่าของปริมาณการปล่อยก๊าซเมื่อ 80 ปีที่แล้ว และยังพบว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากกราฟพบว่า จีนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในศตวรรษใหม่ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า จีนกำลังจะเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดในโลก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก ย่อมส่งผลต่อระบบนิเวศโดยตรง นานาประเทศทั่วโลกจึงหารือเพื่อหาวิธีรับมือปัญหา ด้วยการวางแผนนโยบายในการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon footprint)[…]

GED Social : Colonialism 1

ก่อนหน้านี้เราเคยคุยกันเกี่ยวกับเรื่องสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกาในการเรียนวิชา GED Social Studies ใช่ไหมครับ ในตอนนั้นเรามีการเกริ่นถึงยุคแห่งการสร้างอาณานิคม (Colonialism) ที่บรรดาประเทศมหาอำนาจฝั่งยุโรปต่างแห่แหนกันเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อสร้างอาณานิคม (Colony) ของตัวเองช่วงภายหลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาในปี 1492  แต่เรายังไม่ได้ลงรายละเอียดว่าบรรดา 13 อาณานิคมที่เราพูดถึงในบทความครั้งก่อนนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร และประกอบไปด้วยอาณานิคมใดบ้าง วันนี้พี่ก็เลยต้องการจะมาไขความกระจ่างบทความติว GED Social Studies ให้น้อง ๆ ครับ *เกร็ดความรู้เรียน GED Social Studies ในสมัยนั้นโคลัมบัสเข้าใจผิดคิดว่าตนเองเดินทางมาถึงหมู่เกาะบริเวณประเทศอินเดีย เขาจึงเรียกคนที่อยู่บริเวณนั้นว่าอินเดียน (Indians) จนภายหลังเราก็เปลี่ยนมาเรียกกลุ่มคนที่อยู่อาศัยในทวีปอเมริกามาก่อนชาวยุโรปว่าอินเดียแดง หรือชาว Native American จนกระทั่งAmerigo Vespucci – อเมริโก เวสปุชชี นักเดินเรือและนักทำแผนที่ชาวอิตาลีเป็นผู้ชี้ทางสว่างว่าพื้นที่ที่โคลัมบัสค้นพบหาใช่ส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย แต่เป็นแผ่นดินใหม่ที่เพิ่งจะค้นพบ ดังนั้นจึงมีการตั้งชื่อทวีปใหม่นี้ตามชื่อของอเมริโกเพื่อเป็นเกียรติให้แก่เขา (อเมริโกคือภาษาละติน แต่ในภาษาอังกฤษเรียกอเมริกา)   ในปี 1585 ชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งมีความพยายามที่จะเข้ามาตั้งอาณานิคมบริเวณเกาะ Roanoke บริเวณนอกชายฝั่งของ North Carolina แต่ความพยายามของพวกเขาก็ล้มเหลวและคนกลุ่มนี้ก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย กระทั่งประมาณอีก 20[…]

GED Science : FOOD CHAIN

ระบบนิเวศ เป็นหัวข้อสำคัญเมื่อติว GED Science นะครับออกข้อสอบอยู่บ่อยๆ ซึ่งระบบนิเวศนี้เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ต่างอยู่ร่วมกัน การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดอยู่ร่วมกันได้นั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ แสง ภูมิประเทศ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพ สภาพแวดล้อมดังกล่าว หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่สิ่งมีชีวิตสามารถหาอาหารได้อย่างสะดวก ดังนั้นจุดร่วมกันอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์ คือ ความต้องการสารอาหารในการสร้างพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีพ ซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักการของห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ในข้อสอบ GED Science มีเรื่องนี้ทุกรอบเลยก็ว่าได้นะครับ             เมื่อติว GED Science หัวข้อนี้ ที่พลาดไม่ได้ก็จะมีอีกเรื่องคือ ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ที่เป็นกระบวนการถ่ายทอดพลังงานในรูปของอาหารเป็นลำดับขั้นจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกหนึ่งโดยการกินกันเป็นทอดๆ ทำให้สารอาหารและพลังงานถ่ายทอดไปในหมู่สิ่งมีชีวิตและตกลงสู่สิ่งแวดล้อม โดยห่วงโซ่อาหารถูกอธิบายด้วยแผนภาพพีระมิดแสดงลำดับขั้นของสิ่งมีชีวิต โดยฐานของพีระมิดบ่งบอกถึงลำดับขั้นต่ำสุด ในขณะที่ยอดพีระมิดบ่งบอกถึงลำกับขั้นสูงสุด ห่วงโซ่ถูกจำแนกตามลักษณะของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ Producer (ผู้ผลิต) คือ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ เช่น พืชทุกชนิด และแบคทีเรียจำพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เพราะพืชสร้างอาหารได้เองด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์แสงคือ น้ำตาลซึ่งนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องบริโภคสิ่งมีชีวิต ในทางชีววิทยาจากภาพแสดงให้เห็นว่า ต้นหญ้าเป็นผู้ผลิต Primary[…]

GED Social : Demand and Supply

น้องเคยสงสัยไหมครับว่าทำไมอยู่ดี ๆ สินค้าที่เราบริโภคในชีวิตประจำวันถึงมีราคาสูงขึ้น เช่น ทำไมปัจจุบันหน้ากากอนามัยถึงมีราคาแพงขึ้น หรือ ทำไมในช่วงเทศกาลตรุษจีนราคาเนื้อหมูและไก่ถึงสูงขึ้น คำตอบนี้ไม่ยากเลยครับ เรื่องนี้หากอาศัยความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ก็สามารถไขคำตอบได้แล้ว และเมื่อติว GED Social Studies ก็อย่าลืมเรื่องนี้กันนะครับ สาเหตุที่ราคาสินค้าต่าง ๆ ในตลาดเปลี่ยนแปลงไปเป็นผลจากกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ อดัม สมิธ (Adam Smith) บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีกลไกราคาขึ้นมา ซึ่งถูกบรรยายไว้ในหนังสือ The Wealth of Nations ในปี 1776 อดัม สมิธเสนอว่าในตลาดมีสิ่งที่เรียกว่า Invisible Hands หรือ มือที่มองไม่เห็น ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมราคาสินค้าต่าง ๆ โดยกลไกนี้ประกอบไปด้วยฟันเฟืองสองตัว นั่นคือ Demand (อุปสงค์) และ Supply (อุปทาน) ในคลาสเรียน GED Social Studies เรื่องนี้ก็จะถูกสอนเพราะมันสำคัญมากนะครับ หรือหากน้องๆติว GED Social กันเองก็ต้องทำความเข้าใจให้ดีนะครับ Demand[…]

GED RLA : Adverb

มาติว GED RLA กันอีกแล้ววันนี้พี่เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนน่าจะท่องจำกันมาว่าคำที่ลงท้ายด้วย -ly  เช่น beautifully, faithfully หรือ sincerely จะทำหน้าที่เป็น Adverb หรือ คำกริยาวิเศษณ์โดยทำหน้าที่ขยาย Verb หรือ ไม่ก็ขยาย Adjective กันใช่ไหมครับ แต่น้อง ๆ รู้กันไหมอันที่จริงแล้ว Adverb บางตัวก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย –ly หรือ Adverb บางตัวหากเติม –ly ต่อท้ายจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ในเนื้อหาเรียน GED RLA จะมีเรื่องนี้ วันนี้พี่เลยจะมาแนะนำ Adverb บางตัวที่มักสร้างความสับสนเพื่อที่น้องจะได้ใช้คำวิเศษณ์เหล่านี้อย่างถูกต้องนะครับ                 อยากสอบ GED RLA ผ่านต้องรู้เรื่องนี้นะครับ ปกติแล้ว Adverb ทั่วไป 80%-90% มักจะนำ Adjective มาต่อท้ายด้วย –ly ทำหน้าที่ขยายคำกริยา หรือ คำคุณศัพท์[…]

GED Science : WHAT IS SOLAR SYSTEM?

ภาพจำลองระบบสุริยะแบบตัดขวาง ในการติว GED Science เราจะได้เรียน Earth Science และวันนี้เรามาดูเรื่อง ระบบสุริยะ (Solar system) ประกอบไปด้วย ดวงอาทิตย์ (Sun) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ (Star) เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ และถือว่าเป็นศูนย์กลางและแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ และ วัตถุอื่นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวเคราะห์ (Planet) และดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) รวมไปถึงยังดาวเคราะห์บางชนิดที่โคจรรอบดาวเคราะห์ เรียกว่า ดวงจันทร์ (Moon) อย่างที่ทราบกันดี โลกของเรามีดวงจันทร์ 1 ดวงเป็นบริวาร ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่า “Lunar” ในขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นอาจมีดวงจันทร์มากกว่า 1 ดวงเป็นบริวารก็ได้ เช่น ดาวพฤหัส (Jupiter) มีดวงจันทร์เป็นบริวารถึง 79 ดวงด้วยกัน หากเรามีความรู้นี้ไว้เมื่อติว GED Science ก่อนสอบหรืออ่านทวนก็ตาม แน่นอนว่าเราก็จะได้เปรียบคนที่ไม่รู้เรื่องนี้เลย อีกอย่างหนึ่งคือในเนื้อเรื่องเรียน GED Science จะมีสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความแตกต่างสำคัญระหว่างดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ คือ[…]

GED Social : มูลเหตุ World War 1 (เนื้อหาเรียน GED Social Studies)

ล่าสุดนี้เพิ่งมีการจัดงานประกาศรางวัล OSCARS  ครั้งที่ 92 ประจำปี 2020 โดยภาพยนตร์ที่กวาดรางวัลออสการ์ไปถึง 3 รางวัล ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง 1917 ของผู้กำกับชื่อดัง แซม เมนเดส (Sam Mendes) ภาพยนตร์นี้ถ่ายทอดเรื่องราวของคู่หูนายทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้ที่ต้องออกไปปฏิบัติภารกิจลับเพื่อส่งสารหยุดยั้งการบุกโจมตีของกองทหารแนวหน้า เนื่องจากเป็นกลลวงของข้าศึก และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับความสำเร็จของภาพยนตร์นี้ เราเลยจะมาคุยกันถึงสาเหตุที่นำไปสู่มหาสงครามโลกครั้งที่ 1 กันครับ ความรู้เรื่อง World History เป็นสิ่งสำคัญมากเมื่อเราติว GED Social Studies กันนะครับ เมื่อเรียน GED Social Studies ที่เราต้องรู้คือ ปัจจัยที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 หรือ World War 1 Militarism – ลัทธินิยมทหาร คือ ความต้องการในสร้างและขยายแสงยานุภาพของกองทัพประเทศตนเพื่อความปลอดภัยและอำนาจ Nationalism – ชาตินิยม หรือ ความรักชาติ ความภูมิใจและการอุทิศตนให้ชาติของตน[…]

GED RLA : Quantifier

หลังจากเรียนรู้เรื่องคำนามไปบ้างแล้ว วันนี้การติว GED RLA เราจะมาดูเรื่อง คำบอกปริมาณ (Quantifier) ที่ไว้ระบุจำนวนหรือบอกปริมาณของคำนามซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจและใช้งานผิดกันนะครับ โดยพี่แบ่งคำต่าง ๆ ที่คนชอบสับสนไว้เป็นคู่ จะได้เปรียบเทียบการใช้งานให้ชัดไปเลย Much VS Many             สำหรับคำบอกปริมาณคู่แรก ทั้งคู่เป็นคำพื้นฐานใช้บอกปริมาณคำนามที่มีจำนวนเยอะโดยแปลว่า “มาก” ส่วนความแตกต่างก็คือ  many จะใช้กับนามพหูพจน์ เช่น many swimmers, many platforms (ชานชาลาจำนวนมาก) และ many pillowsในขณะที่ much ใช้กับคำนามนับไม่ได้ เช่น much water, much time และ much experience             ในคลาสติว GED RLA สั้นๆนี้ลองมาดูตัวอย่างการใช้งานกันนะครับ Many students seem confused with the theory he mentions.[…]

GED Math : TAXES & DISCOUNTS

ในการติว GED Math นั้นมีเรื่องนึงที่เราต้องเรียนรู้ ฝึกทำโจทย์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อที่จะได้สอบผ่านได้ในรอบเดียวเลย ก็คือเรื่อง Taxes & discounts นั่นเองครับ เนื้อหาเรียน GED Math นั้นเราจะต้องเรียนเรื่อง ส่วนลดและภาษีซึ่งเป็นสิ่งพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อผู้ซื้อมีการแลกเปลี่ยนเงินผ่านการใช้สินค้าและบริการ เหตุผลที่สินค้าและบริการจึงมีราคาขายสุทธิแตกต่างจากจากราคาตั้งต้นที่ทางร้านค้าประกาศ อันเกิดจากสองปัจจัยหลัก ได้แก่ อัตราการเพิ่มมูลค่าสินค้าซึ่งพบได้จาก ภาษี (Tax), ค่าบริการ (Service charge) หรือ ค่าธรรมเนียม (Fee) ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าที่ต้องจ่ายตามจริงนั้นเพิ่มขึ้น และ อัตราการลดมูลค่าสินค้าอันได้แก่ ส่วนลด (Discount), สมนาคุณ (reward), การคืนเงิน (refund) หรือ ของแถม (premium) เป็นต้น   เมื่อติวเนื้อหาเรียน GED Math การทำข้อสอบบทนี้ต้องอาศัยทักษะในชีวิตประจำวันและประสบการณ์จากการซื้อสินค้าและบริการเข้ามาช่วยเป็นกรอบความคิดในการแก้โจทย์ปัญหา สูตรการคำนวณในหัวข้อนี้มีทั้งหมดสองสูตรดังนี้ สูตรที่ 1;               ราคาสุทธิ = ราคาตั้งต้น x (100% +[…]

GED Science : SYMBIOTIC RELATIONSHIPS

ติว GED วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิชา Science ในเรื่อง “Symbiotic relationship” กันนะครับ คงเป็นเรื่องน่ายินดี ถ้าชีวิตของมนุษย์ธรรมดาทั่วไปจะมี “คู่หู” อยู่ข้างกายเพื่อเป็นพลังบวกให้แก่กัน แน่นอนว่า ไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์ ในทางชีววิทยายังมีสิ่งมีชีวิตที่ความสัมพันธ์แบบ “คู่หู” เรียกว่า “Symbiotic relationship” ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่อย่างน้อยมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ โดยที่อีกฝ่ายไม่เสียประโยชน์ ในเนื้อหาการเรียน GED Science ของเรื่องนี้ เราก็จะเห็นได้ว่า คู่หู ที่ว่านี้จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ภาวะพึ่งพาอาศัย (Mutualism) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อยู่ร่วมกันแล้วต่างฝ่ายได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากถูกแยกออกจากกันเป็นระยะเวลานานจะไม่สามารถดำรงชีพได้ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการขาดอาหาร เช่น ไลเคนส์ (Lichens), ไรโซเบียม (Rhizobium) เป็นต้น ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อยู่ร่วมกันแล้วต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน แต่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีพ[…]

GED RLA : Articles (a, an, the)

เมื่อติว GED RLA ก่อนสอบน้อง ๆ เคยประสบปัญหาเวลาที่เขียน essay แล้วใส่ article (คำนำหน้าคำนาม) ไม่เป็น หรือ ไม่รู้จะเติม a, an  หรือ the ไว้หน้าคำนามดีบ้างไหมครับ ไม่ต้องกังวลแล้วนะครับ วันนี้พี่จะมาช่วยไขปริศนานี้ให้กับน้อง ๆ เตรียมตัวจดจำวิธีการใช้งาน articles เหล่านี้ไว้ให้ดีนะครับ ความแตกต่างระหว่าง a / an อันดับแรกเราต้องมาแยกแยะกันก่อนว่า a กับ an ต่างกันอย่างไรซึ่งสำคัญมากในการเรียน GED RLA a ใช้นำหน้าคำนามที่ขึ้นต้นด้วยเสียงพยัญชนะ (Consonant Sound) เช่น a ball, a man, a soccer an ใช้นำหน้าคำนามที่ขึ้นตันด้วยเสียงสระ (Vowel Sound) เช่น an apple, an ox,[…]

GED Math : INTEREST

Compound interest is the 8th wonder of the world Albert Einstein นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในศตวรรษที่ 20 อย่างอัลเบิร์ต ไอสไตน์ เคยให้วลีทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับดอกเบี้ยทบต้นว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นที่ 8 ของโลก เหตุใดนักวิทยาศาสตร์ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการฟิสิกส์ ถึงให้ความสำคัญของดอกเบี้ยทบต้นอย่างน่าฉงน ในการติว GED Math เรื่องดอกเบี้ยนั้นก็ออกสอบกันมากเลยทีเดียว มาดูกันครับ ดอกเบี้ย (Interest) คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ได้มาจากผลของมูลค่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งพบได้ในการลงทุนผ่านทางสถาบันหลายแห่ง เช่น การออมเงินผ่านทางธนาคาร, การซื้อกองทุนรวมผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ การลงทุนในหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น เมื่อนำเงินไปฝากหรือลงทุนผ่านสถาบันการเงิน จะได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน ในทางกลับกัน หากสถาบันการเงินให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้า ทางฝ่ายสถาบันการเงินก็จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยเช่นกัน โดยปัจจัยที่ทำให้ได้ดอกเบี้ยมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ เงินต้น (Principle) คือ เงินลงทุนเริ่มต้น อัตราดอกเบี้ย (Interest rate) คืออัตราผลตอบแทนของการลงทุน โดยนิยมเทียบเป็นผลตอบแทนรายปี ระยะเวลาของการลงทุน (Duration) คือ[…]

GED Social : May Flower Compact

ในการเรียน GED Social Studies มีเรื่องประวัติศาสตร์ด้วยนะครับ น้อง ๆ เคยได้ยินหรือรู้จักเรือลำไหนในประวัติศาสตร์บ้างไหมครับ อย่างเรือ Going Marry หรือ เรือ Sunny จากเรื่อง One Piece (อ่าวผิด โทษ ๆ) เข้าเรื่องดีกว่าวันนี้พี่จะมาแนะนำให้น้องรู้จักเรือลำหนึ่ง ชื่อว่า เรือ May Flower ซึ่งมีความสำคัญมากทางประวัติศาสตร์ของอเมริกา เพราะหากไม่มีเรือลำนี้ ก็อาจไม่มีประเทศอเมริกาเหมือนในปัจจุบันก็ได้! เจ้าเรือลำนี้มีชื่อว่า เรือ May Flower เป็นเรือสัญชาติอังกฤษที่ใช้ขนส่งชาวอังกฤษที่ต้องการอพยพมาตั้งถิ่นฐานใน New World สมัยยุคก่อตั้งอาณานิคม (Colonialism) โดยเรือลำนี้ได้บรรทุกเอาชาวคริสต์ที่ต้องการแสวงหาหนทางการเข้าถึงพระเจ้าในรูปแบบของตน แต่ไม่สามารถสร้างวิถีปฏิบัติ หรือ นิกายใหม่ขึ้นได้ในอังกฤษ (เพราะสมัยนั้นในอังกฤษมีศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกเรืองอำนาจอยู่) ดังนั้นพวกเขาต้องอพยพข้ามมหาสมุทรมายังทวีปอเมริกาเพื่อตามหาเสรีภาพและอิสรภาพในการสร้างดินแดนในอุดมคติตามความเชื่อศาสนาของตน โดยพวกเราเรียกผู้แสวงบุญ (Pilgrim) กลุ่มนี้ว่าชาว Puritan  (พิวริตัน) * (เกร็ดความรู้ติว GED Social คำว่า Puritan มาจากคำว่า[…]

GED Science : VIRUS

ติว GED วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED วันนี้เรามาดูเนื้อหาเกี่ยวกับ Science กันครับ ในช่วงต้นปี 2020 ข่าวที่ประเด็นน่าสนใจคงหนีไม่พ้น การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Coronaviruses) ทำให้ผู้คนสนใจ ถึงความอันตรายของไวรัสเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามยังมีหลายคนสงสัยถึงความแตกต่างระหว่างไวรัสกับแบคทีเรีย ว่าแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งในบทเรียน GED Science ก็จะมีด้วย กล่าวคือ ไวรัส (Virus) เป็นสิ่งขนาดเล็กที่สามารถแพร่พันธุ์ได้ เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยส่วนมากมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรีย สามารถมองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้น ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างของไวรัสกับแบคทีเรีย คือ ไวรัสไม่จัดเป็นเซลล์ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของการมีชีวิต เนื่องจากไวรัสไม่มีกลไกการเจริญเติบโต กลไกการขับถ่าย รวมไปถึงกลไกการหายใจระดับเซลล์ ในทางตรงกันข้าม กลับพบกลไกตามที่กล่าวข้างต้นทุกอย่างในแบคทีเรีย ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ไวรัสไม่จัดเป็นสิ่งมีชีวิต แต่แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นจุดที่หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ เห็นไหมครับว่าความรู้เรื่องนี้ไม่ได้จำกัดไว้ในเนื้อหาการเรียน GED Science เท่านั้น เราควรรู้ไว้เพื่อป้องกันตนเองจากการติดโรคในชีวิตประจำวันของเราด้วยนะครับ ในปัจจุบันยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่า ไวรัสมีประโยชน์อย่างไร ดังนั้น ไวรัสจึงเป็นสิ่งที่เป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมของไวรัสจะอาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตแล้วขยายพันธุ์ เรียกว่า ปรสิต (parasite) โดยไวรัสจะแพร่พันธุ์อยู่ในร่างกายจนเกิดอาการเจ็บป่วย เมื่อผู้ป่วยพบว่าตนติดเชื้อจากไวรัส[…]

GED Math : DATA VISUALIZATION

ติว GED Mathematical Reasoning & GED Science Data visualization คือ กระบวนการนำข้อมูลดิบมานำเสนอในรูปแบบ เช่น กราฟเส้น (line graph), แผนภูมิแท่ง (histogram) หรือ แผนภูมิวงกลม (pie chart) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดข้อมูลเชิงปริมาณที่มีความซับซ้อนให้เกิดความน่าสนใจ เข้าใจง่าย เห็นภาพรวมได้ชัดเจน ซึ่งนิยมนำมาใช้ประกอบในการรายงาน การวิเคราะห์ การสรุปผลข้อมูล นอกจากนี้การนำเสนอข้อมูลโดยใช้รูปภาพสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในแง่การเปรียบเทียบแนวโน้ม พฤติกรรม และความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นต้น Data visualization นิยมออกในข้อสอบทั้ง GED Mathematical Reasoning และ GED Science ดังนั้นหากเราติวกันอยู่ ก็ควรมั่นใจว่าเราเข้าใจเรื่องนี้ก่อนไปสอบจริงนะครับ เนื่องจาก Data visualization มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่าย ดังนั้นเวลาทำข้อสอบ ควรอ่านกราฟหรือแผนภูมิเป็นอันดับแรกเพื่อช่วยให้เข้าใจภาพรวมของเนื้อหาที่นำเสนอได้อย่างรวดเร็ว โดยกราฟและแผนภูมิที่นิยมออกข้อสอบ GED ได้แก่    1. กราฟเส้น (line graph) 2. แผนภูมิแท่ง (histogram)[…]

GED Science : PHOTOSYNTHESIS

INTRODUCTION ติว GED Science วันละนิด เรื่องที่ต้องเราต้องเจอในการเรียน GED Science แน่ๆคือเรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) คือ กระบวนการทางเคมีที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ภายใต้สภาวะที่มีแสงและรงควัตถุสีเขียว หรือ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ สารประกอบน้ำตาลกลูโคส และ ผลิตภัณฑ์เสริม ได้แก่ ก๊าซออกซิเจน ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการทางเคมีตามด้านล่างนี้ การสังเคราะห์ด้วยแสงพบได้ในสิ่งที่มีชีวิตที่มีคลอโรฟิลล์ ได้แก่ พืช (plant), แบคทีเรียประเภทสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobacteria) หรือ โปรโตซัวบางชนิด (protozoa) ประโยชน์หลักของการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ การสร้างกลูโคสเพื่อใช้เป็นสารอาหารในการดำรงชีพ  ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จะเรียกโดยรวมว่า autotroph ซึ่งหมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ และยังเป็นผู้ผลิต (producer) ที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารอีกด้วย นอกจากนี้ประโยชน์ทางอ้อมของการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ การผลิตก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็นก๊าซที่จำเป็นในการหายใจของสัตว์ทุกชนิด ด้วยเหตุนี้สัตว์ส่วนใหญ่จึงนิยมอาศัยอยู่ในป่าซึ่งอุดมไปด้วยก๊าซออกซิเจน ดังนั้นการสังเคราะห์ด้วยแสงจึงส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างมีนัยสำคัญทั้งต่อสัตว์รวมไปถึงมนุษย์อีกด้วย เราต้องเข้าใจกระบวนการนี้เมื่อเราติว GED Science ก่อนสอบนะครับ  […]

GED Math : DATA ANALYSIS

ติว GED วันละนิด พิชิตสอบ ในเนื้อหา GED Mathematical Reasoning วิชานี้ Data analysis เป็นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เป็นเครื่องมือตัดสินใจในการวางแผนในประเมินผลงานหรือกำหนดนโยบายต่าง ๆ ถูกนำไปใช้ในการวางแผนหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ, ด้านวิทยาศาสตร์ หรือ ด้านการจัดการ เป็นต้น ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (ค่าสถิติ) และ ข้อมูลเชิงคุณภาพ (ข้อเท็จจริง) ในการติว GED ข้อสอบ GED Mathematical Reasoning มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นหลัก เนื่องจากเป้าหมายของการวิเคราะห์ข้อมูล คือความรวดเร็ว ดังนั้นหัวข้อนี้จึงมีสูตรสำเร็จรูปที่ช่วยให้ผู้เข้าสอบคำนวณได้อย่างรวดเร็ว แต่ในบทความนี้ยังมุ่งเน้นวิธีการหาค่าทางสถิติโดยเน้นกระบวนการคิดมากกว่าสูตรคำนวณ โดยเนื้อหาที่ออกในข้อสอบนั้น เวลาที่เราเรียน GED Mathematical Reasoning เราจะเจาะลึกในส่วนของการวัดค่าแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง (measures of central tendency) ซึ่งเป็นวิธีทางสถิติที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งชุดจำเป็นต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก การวัดค่าแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลางจึงเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาในการคำนวณ การหาค่าตัวเลขเพียงค่าเดียวที่จะใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งชุด[…]

GED RLA : mass noun

Mass Noun ไม่ว่าน้องจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษหรือติวสอบ GED RLA กันอยู่ ก็อย่าลืมเรื่องนี้นะครับ น้อง ๆ รู้กันไหมครับต่อให้น้อง ๆ จะมี ”การบ้านมากแค่ไหน” แต่คำว่า Homework ก็เติม s เพื่อทำเป็นนามพหูพจน์ไม่ได้ (Plural Noun) หรือ แม้แต่คำว่า work ที่ปกติเราแปลว่า “ภาระงาน” ก็เติม s ไม่ได้ น้อง ๆ ทราบกันไหมครับว่าทำไม … เฉลย นั่นก็เพราะว่า คำนามเหล่านี้เราเรียกว่าเป็น Mass Noun หรือ นามนับไม่ได้นั่นเอง ดังนั้น น้อง ๆ จึง ห้ามเติม s เพื่อทำให้คำเหล่านี้กลายเป็นพหูพจน์เด็ดขาด! (Pluralization) เรื่องนี้สำคัญมากๆในห้องสอบ GED RLA หรือในขณะที่ติว GED RLA พี่อยากให้น้อง ๆ[…]