Step by Step ขั้นตอนการเตรียมตัวสอบ GED

การเตรียมตัวสอบเทียบวุฒิ GED มักจะถูกเข้าใจว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และต้องใช้เวลาเตรียมตัวนาน, เอกสารวุ่นวายทั้งการส่ง Consent Form หรือการขอ Diploma วันนี้ The Planner Education ผู้เชี่ยวชาญด้านการติวสอบ GED ในประเทศไทย จึงจะมาอธิบาย ขั้นตอนการสอบ GED ซึ่งเป็นการเทียบวุฒิมัธยมปลาย ในหลักสูตรอเมริกาแบบ Step by Step เข้าใจง่ายตั้งแต่เริ่มจนถึงการยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัย ติดตามได้ในบทความนี้ ในเรื่องของระยะเวลาการเตรียมตัว อาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับพื้นฐานและการแบ่งเวลาในการเรียนและฝึกฝนของน้องๆ โดยอาจใช้เวลาเพียงแค่ 1 – 3 เดือนเท่านั้น ก่อนอื่น น้องๆ ต้องทำความเข้าใจรูปแบบของข้อสอบเสียก่อน  ซึ่งข้อสอบ GED ประกอบไปด้วย 4 วิชา ได้แก่ อ่านบทความเจาะลึกข้อสอบ Mathematical Reasoning : https://bit.ly/3mJiq7w อ่านบทความเจาะลึกข้อสอบ Social Studies : https://bit.ly/37CTyYu อ่านบทความเจาะลึกข้อสอบ Science :[…]

หลักสูตรนานาชาติ ด้านการออกแบบ

ต่อจากบทความ เทียบหลักสูตรนานาชาติของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งนี้เราได้หยิบหลักสูตรใกล้เคียงที่น้องๆ สนใจมาพูดถึง นั่นก็คือ หลักสูตรนานาชาติ ด้านการออกแบบ เหมาะกับน้องๆ ที่ชอบเรื่องการออกแบบ หรืออยากเป็น Designer ซึ่งการออกแบบในยุคนี้มีหลากหลายมากๆ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์, การออกแบบเว็บไซต์, การออกแบบแอปพลิเคชัน, Graphic Design, Art Director ฯลฯ โดยบางหลักสูตรน้องๆ อาจจะสับสนว่าแตกต่างกับหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์อย่างไร เพราะส่วนมากก็มักจะสังกัดอยู่ในคณะสถาปัตย์ฯ ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันอยู่มากโดยน้องๆ สามารถเข้าใจหลักสูตรด้านการออกแบบได้มากขึ้น รวมถึงรู้แนวทางอาชีพในอนาคตได้จากบทความนี้ CommDe – Communication Design จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตร : Bachelor of Fine and Applied Arts (BFA) programme in communication design การออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ หรือที่เรียกกันว่า CommDe (คอมดี) เป็นภาควิชาเกี่ยวกับการออกแบบ สังกัดในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คอมดีเน้นการออกแบบเพื่อสื่อสาร ซึ่งรวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์, graphic[…]

รวม 50 ศัพท์ หมวด Social Studies ครบทุกหัวข้อในข้อสอบ GED

บทความนี้รวมมาให้แล้วทุก Topic ที่ออกสอบ American History, Geography, Economics, Civics และ Government ท่องก่อนสอบ #แชร์ไว้ได้ใช้แน่นอนอ่านบทความคำศัพท์หมวด Science : https://bit.ly/3m7CX5V หมวด American History Colony อาณานิคม, กลุ่มคนในอาณานิคม Mercantilism ลัทธิพาณิชย์นิยม (มุ่งสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศ)Plantation การเพาะปลูก, พื้นที่เพาะปลูกTaxation การจัดเด็บภาษีTyranny ปกครองแบบเผด็จการAlly ประเทศพันธมิตร Federalism ระบอบสหพันธรัฐAbolition การเลิกล้ม, การล้มล้างEmancipation การปลดปล่อยTranscontinental ข้ามทวีป หมวด GeographyBiodiversity ความหลากหลายทางชีวภาพContinent ทวีปEmigrate อพยพEthnicity ชาติพันธุ์Diaspora การพลัดถิ่นHemisphere ซีกโลกTerrain ภูมิประเทศ, ผืนดินRefugee ผู้ลี้ภัยPeninsula คาบสมุทรAssimilation การกลืนกลายวัฒนธรรม หมวด EconomicsAntitrust การต่อต้านการผูกขาดCommodity สินค้า, ของใช้ประจำDeficit การขาดดุล, ขาดทุนสะสมDeflation การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ, เงินฝืดFiscal งบประมาณMonopoly[…]

เทียบหลักสูตรอินเตอร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์

เทียบหลักสูตรนานาชาติของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งวันนี้เราได้หยิบยกภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมโดยตรงจาก 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความแตกต่างกันออกไปในสาขาวิชา เป้าหมายการเรียนและการประกอบอาชีพ จะมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร ศึกษาเบื้องต้นได้จากบทความนี้เลย นอกจากหลักสูตรอินเตอร์ของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ยังมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ โดยบางหลักสูตรนั้นสังกัดอยู่ในคณะสถาปัตฯ เช่นกัน โดยเราจะรวบรวมมาให้อ่านในอีกบทความค่ะ   International Program in Design and Architecture (INDA)การออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ  หลักสูตร : การออกแบบและสถาปัตยกรรม หลักสูตร 4 ปี สังกัดอยู่ใน Faculty of Architecture หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้นิสิตที่จะศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมถึงเป็นการสร้างองค์ความรู้ระดับอินเตอร์เพื่อเปิดโอกาสในการทำงานได้กว้างขึ้น นิสิตจะไม่ได้เรียนแค่การออกแบบสถาปัตยกรรม แต่ยังได้เรียนรู้โครงสร้าง, Landscape Architecture และ Urban Design โดยจะได้เรียนกับอาจารย์ต่างชาติมากมาย และหลักสูตรยังมีทริปและการเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ[…]

สอบ CU-ATS ทางเลือกแทน SAT Subject Test ยื่นคณะอินเตอร์จุฬาฯ

คณะอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายของน้องๆ หลายคน เนื่องจากมาตราฐานของหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง และหลักสูตรที่หลากหลาย เหมาะกับความสนใจในวิชาชีพของเด็กๆ ในยุคปัจจุบัน โดยปัจจุบันมีหลักสูตรอินเตอร์ 17 หลักสูตร และเป็นอันดับต้นๆ ในหลากหลายสาขาระดับประเทศ อาทิ BBA การบัญชี, EBA เศรษฐศาสตร์, BALAC ภาษาและวัฒนธรรม, CommDe ออกแบบนิเทศศิลป์, INDA การออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึง SIE รวมหลักสูตรทางวิศวกรรม และยังมีอีกหลากหลายหลักสูตร (ดูข้อมูลได้ที่ : https://www.chula.ac.th/admissions/international-programs/) เกณฑ์การสมัครเข้าเรียน             หากต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาฯ น้องๆ ต้องมีวุฒิม.6 หรือวุฒิเทียบเท่าที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการ เช่น GED หรือ IGCSE และ A-Level ประกอบกับคะแนนที่ใช้วัดผลทางภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ โดยอาจใช้คะแนนสอบที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลอย่าง SAT, IELTS หรือการสอบ CU-ATS ซึ่งเปิดสอบโดยศูนย์ทดสอบทางวิชาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการสอบความถนัดทางวิชาการ สำหรับน้องๆ ที่ต้องการใช้คะแนนในวิชาเฉพาะ เช่น Physics[…]

วิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ Part 2

รวมหลักสูตรนานาชาติของคณะวิศวกรรมศาสตร์  ต่อจาก Part 1 ที่ได้พูดถึง จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, มหิดล และเกษตรศาสตร์ไปแล้ว ใน Part 2 เราจะรวบรวมหลักสูตรนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ของ มศว ที่มีสาขาวิชาแปลกใหม่น่าจับตามอง และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) รวมไปถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ซึ่งมีความโดดเด่นในการเรียนการสอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ International Programs มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ 3 หลักสูตร ได้แก่ Concert Engineering and Multimedia วิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย เกิดขึ้นจากความต้องการของภาคเอกชนที่ต้องการบุคคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจตลาดอุตสาหกรรมด้านคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย มีความเข้าใจองค์รวมด้านแสง สี เสียง รวมไปถึงด้านวิศวกรรม ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะสามารถตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในด้านนี้ได้ เช่น สามารถประกอบอาชีพ วิศวกรในสถานประกอบการคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย, นักพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือและผู้ออกแบบโครงสร้างและกลไกที่เกี่ยวกับคอนเสิร์ต เป็นต้น อีกทั้งหลักสูตรนี้ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนระดับประเทศและนานาชาติ Petroleum and Natural Gas Engineering วิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ หลักสูตรมุ่งสร้างความรู้ความสามารถพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม[…]

รวมศัพท์หมวดวิทย์ 30 คำ ท่องก่อนสอบ GED Science

รวมศัพท์หมวดวิทยาศาสตร์ 30 คำ ที่ต้องเจอในข้อสอบ GED วิชา Science ท่องไว้ก่อนสอบรับรองว่าปัง  เพราะฉะนั้น #แชร์ไว้ได้ใช้แน่นอน ? การสอบ GED คือการสอบเทียบวุฒิ ม.6 เป็นการสอบเทียบวุฒิหลักสูตรอเมริกาเพื่อยื่นศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย  โดยมีกระทรวงศึกษาธิการของรับรองวุฒิ การสอบจะเป็นภาษาอังกฤษ ทั้ง 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA) การอ่าน&การเขียน Social Studies สังคม Science วิทยาศาสตร์ Mathematical Reasoning คณิตศาสตร์ 30 คำศัพท์เพื่อสอบ GED วิชา Science Process กระบวนการ, ขั้นตอน Embryo ตัวอ่อนของคน, สัตว์ Constant ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา, ที่ไม่เปลี่ยนแปลง Conceive ตั้งครรภ์ Transplant ปลูกถ่ายอวัยวะ เนื้อเยื่อ[…]

6 FACTS ABOUT GED SOCIAL STUDIES เตรียมตัวสอบผ่านที่นี่!

มีทริคการเตรียมตัวสอบ GED มาฝากอีกแล้ว วันนี้เป็นคิวของวิชา Social Studies ซึ่งข้อสอบวิชานี้มักจะถูกเข้าใจว่าเนื้อหาเยอะมาก, ต้องอาศัยการท่องจำ, ต้องรู้ทฤษฎี ฯลฯ วันนี้เราจึงหยิบเอา “6 FACTS ABOUT GED SOCIAL STUDIES” มาบอก มีข้อเท็จจริงอะไรบ้างที่ต้องรู้ เพื่ออัพคะแนนวิชาสังคมฯ รวมถึงสกิลที่ต้องมีเพื่อเอาชนะวิชานี้ ติดตามอ่านและเตรียมตัวสอบผ่านได้ที่บทความนี้เลย ! FACT : สัดส่วน Topic ไม่รู้ไม่ได้! ข้อสอบ Social Studies หรือวิชาสังคมศาสตร์ในการสอบ GED นั้นจะถูกแบ่ง Topic ออกเป็น 4 เรื่องหลัก ได้แก่ Civics and Government (50% of the section) S. History (20%) Economics (15%) Geography and the World[…]

วิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ Part 1 รวมหลักสูตรวิศวะ อินเตอร์ พาร์ทแรกกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ธรรมศาสตร์, มหิดล และ เกษตรศาสตร์ :)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยISE วิศวกรรมศาสตร์ อินเตอร์ หลักสูตร : ISE  หรือ International School of Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาตรีหลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์ ประกอบไปด้วย 5 สาขาที่มีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1. ADME (Automotive Design and Manufacturing Engineering) สาขาวิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ – ประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตแหล่งใหญ่ของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ วิศวกรสายออกแบบและผลิตยานยนต์จึงถือเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูง รวมไปถึงในระดับโลกด้วย สาขาวิชา ADME ให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบส่วนประกอบ การสร้างแนวคิดของ Product รวมถึงภาคการผลิตในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การควบคุมการผลิตวัสดุไปจนถึงส่วน Automationจำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 147 หน่วยกิต 2. NANO (Nano Engineering) สาขาวิศวกรรมนาโน – วิศวกรรมนาโนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค ซึ่งเทคโนโลยีนาโนมีผลอย่างมากกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งต่อไป สาขามุ่งสร้างองค์ความรู้ด้าน Biomedical Chemical, Electrical, Materials Engineering[…]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ด้านภาษา จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหิดล มศว

BALAC : จุฬาฯ BEC, BAS, International Studies ASEAN China (IAC) : ธรรมศาสตร์ The Intercultural Studies and Languages : วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล Language for Careers, Language for Communication, Intercultural Communication : มศว การเรียนอินเตอร์ในสายภาษาคือการเรียนรู้ในเชิงลึกของวัฒนธรรม หรือศึกษาในสาขาวิชาที่ต้องเน้นการใช้ภาษาต่างประเทศและการทำงานกับองค์กรต่างประเทศ คณะวิชาเกี่ยวกับภาษาในภาคอินเตอร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยที่ยกมา จึงจะมีความแตกต่างกันในเรื่องหลักสูตรที่เรียน เช่น เรียนภาษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมศึกษา, เรียนภาษาเกี่ยวกับ Business, เรียนเพื่ออาชีพ หรือเรียนเพื่อการสื่อสาร เป็นต้น จบอินเตอร์สายภาษาไปทำอะไร ? เนื่องจากความหลากหลายของหลักสูตร และความต้องการผู้ที่มีความสามารถในการภาษาต่างประเทศของตลาดแรงงาน ทำให้มีทางเลือกสายอาชีพที่หลากหลาย ประกอบกับการเรียนในภาคอินเตอร์ยิ่งเพิ่มโอกาสในการได้ทำงานกับองค์กรต่างประเทศอีกด้วย เช่น องค์กรสหประชาชาติ, การทูต, สายการบิน, การโรงแรม, บริษัทข้ามชาติ นอกจากนี้ยังมีสายงานที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา เช่น[…]

เทียบ Structure ข้อสอบ CU-TEP vs TU-GET ข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ พิชิตคณะเป้าหมาย!

ข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ สำหรับน้องๆ ที่สนใจศึกษาต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นข้อสอบที่เปิดสอบโดยสถาบันเอง ได้แก่ CU-TEP (เปิดสอบโดยจุฬาฯ) และ TU-GET (เปิดสอบโดยธรรมศาสตร์) โดยข้อสอบของทั้ง 2 สถาบัน ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานในการวัดทักษะ ทั้งด้านการฟัง, พูด, อ่าน และเขียน เทียบเท่ากับข้อสอบวัดระดับของสากล เช่น TOELF จึงสามารถใช้ยื่นเข้าสมัครเรียนได้ ทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ซึ่งสำคัญมากๆ สำหรับน้องๆ ที่มีเป้าหมายในคณะอินเตอร์ ของ 2 มหาวิทยาลัยดังกล่าว เนื่องจาก Requirement  ในรอบรับตรงที่มักจะกำหนดให้ใช้คะแนนวัดระดับภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ในการเข้าศึกษา โดยทั้ง 2 ข้อสอบ มีความแตกต่างกันในด้านของโครงสร้างข้อสอบอย่างไร หาคำตอบได้จากบทความนี้เลย CU-TEP CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) คือข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับการใช้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา โดยเป็นการวัดทักษะการฟัง การอ่าน และการเขียน มีคะแนนเต็มอยู่ที่ 120 คะแนน[…]

ข้อสอบ GED วิชา Mathematical Reasoning ออกเรื่องอะไร?

มาเตรียมตัวสอบผ่านไปด้วยกัน! การสอบ GED วิชา Mathematical Reasoning หรือวิชาเลข สำหรับน้องๆ ที่กำลังเริ่มต้นศึกษาข้อมูลก่อนเริ่มเรียน GED น้องๆ ควรจะรู้เท่าทันข้อสอบ ทั้งเรื่อง Topic ที่มักออกสอบ, รูปแบบข้อสอบ รวมไปถึงเวลาในการสอบ เพื่อให้ฝึกฝนและเตรียมความพร้อมได้ตรงจุด และไม่พลาดคะแนนในพาร์ทต่างๆ วันนี้นอกจากจะพาน้องๆ มารู้เท่าทันข้อสอบ GED วิชา Math แล้ว เรายังมี Tricks ข้อควรรู้ก่อนจะเข้าสู่สนามสอบมาฝากอีกด้วยค่ะ ? ข้อสอบ GED วิชา Mathematical Reasoning ออกเรื่องอะไร? Topic ที่มักออกสอบ แบ่งออกเป็น 4 เรื่องใหญ่ ดังนี้ คณิตศาสตร์พื้นฐาน บวก, ลบ, คูณ, หาร พื้นฐานและการใช้เครื่องคิดเลข รวมไปถึงเรื่องเศษส่วน, ทศนิยม, รูท และเลขยกกำลัง เรขาคณิต การใช้สูตรที่เกี่ยวข้องกับรูปร่าง การหาพื้นที่วัตถุ อาจต้องดูการวาดรูปร่างและใช้สูตรเพื่อหาพื้นที่ผิว,[…]

หลักสูตรอินเตอร์ด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศ จุฬา vs ธรรมศาสตร์ vs มหิดล

CommArts จุฬาฯ J.M. ธรรมศาสตร์ Com.Arts วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล สื่ออยู่รอบตัวเราในทุกๆ ที่ไม่ใช่แค่ในทีวีเท่านั้น ในปัจจุบันโลกถูกขับเคลื่อนด้วยสื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความรู้ความเข้าใจ, ความเชื่อ, มีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจ และทำให้ผู้คนในโลกขยับเข้าใกล้กันมากขึ้น จึงไม่แปลกใจเลยที่คณะทางด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศศาสตร์จะกลายเป็นคณะยอดนิยมของน้องๆ ยุคใหม่ เพราะเป็นสาขาวิชาที่มีการเรียนรู้อย่างก้าวไกล ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี อีกทั้งยังแตกสาขาวิชาออกไปอีกหลากหลาย ได้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จบนิเทศฯ, วารสารฯ อินเตอร์ ทำอาชีพอะไรดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดังมักจะจบจากคณะนิเทศฯ หรือวารสารฯ แต่อาชีพของบัณฑิตจากคณะเหล่านี้แตกไลน์ออกไปอย่างกว้างขวางมากๆ เช่น เบื้องหลังงานโปรดักชั่น, สื่อมวลชน, กองบรรณาธิการ, นักประชาสัมพันธ์, เอเจนซีโฆษณา ฯลฯ โดยหลักสูตรอินเตอร์ทางด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศฯ ของไทยได้รับการยอมรับฝีมือในสากล น้องๆ ภาคอินเตอร์ที่ได้เรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษยังมีโอกาสได้ทำงานกับบริษัทต่างชาติ, พาร์ทเนอร์ระดับอินเตอร์ หรือการทำงานในต่างประเทศ CommArts จุฬาฯ หลักสูตร : CommArts หรือ Bachelor of Arts (Communication Arts) International Program คือ นิเทศศาสตร์หลักสูตรอินเตอร์ คณะยอดนิยมของน้องๆ[…]

ข้อสอบ CU-AAT สอบวัดผลคณิต – อังกฤษ เข้าคณะอินเตอร์จุฬาฯ อัปเดตวันสอบปี 64!

คณะอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายของน้องๆ หลายคน เนื่องจากมาตราฐานของหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง และหลักสูตรที่หลากหลาย เหมาะกับความสนใจในวิชาชีพของเด็กๆ ในยุคปัจจุบัน โดยปัจจุบันมีหลักสูตรอินเตอร์ 17 หลักสูตร และเป็นอันดับต้นๆ ในหลากหลายสาขาระดับประเทศ อาทิ BBA การบัญชี, EBA เศรษฐศาสตร์, BALAC ภาษาและวัฒนธรรม, CommDe ออกแบบนิเทศศิลป์, INDA การออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึง SIE รวมหลักสูตรทางวิศวกรรม และยังมีอีกหลากหลายหลักสูตร (ดูข้อมูลได้ที่ : https://www.chula.ac.th/admissions/international-programs/) เกณฑ์การสมัครเข้าเรียนหากต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาฯ  น้องๆ ต้องมีวุฒิม.6 หรือวุฒิเทียบเท่าที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการ เช่น GED หรือ IGCSE และ A-Level ประกอบกับคะแนนที่ใช้วัดผลทางภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ โดยอาจใช้คะแนนสอบที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลอย่าง SAT, IELTS หรือการสอบ CU-AAT ซึ่งเปิดสอบโดยศูนย์ทดสอบทางวิชาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการสอบความถนัดทางวิชาการ เพื่อวัดผลทางภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ที่สามารถใช้ยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์ต่างๆ ของจุฬาฯ ได้ สอบ CU-AAT คือข้อสอบ[…]

รวมคณะเศรษฐศาสตร์อินเตอร์ 5 มหาวิทยาลัย TOP

หลักสูตรอินเตอร์ของคณะเศรษฐศาสตร์ จาก 5 มหาวิทยาลัยรัฐบาล EBA จุฬาฯ BE ธรรมศาสตร์ Business Economics วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล Econ. มศว BEcon และ EEBA เกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์เป็นการเรียนเชิงลึกเกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจ การเงิน ธุรกิจ ซึ่งในส่วนของภาคอินเตอร์น้องๆ จะได้เรียนรู้เรื่องดังกล่าวในระดับประเทศไปจนถึงระดับโลก ซึ่งเรื่องเศรษฐกิจโลกมีความเชื่อมโยงกันอยู่เสมอโดยเป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์ จบเศรษฐศาสตร์อินเตอร์ ทำอาชีพอะไร ?น้องๆ ที่เรียนในหลักสูตรอินเตอร์ จะได้เรียนทั้งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ พร้อมเสริมสร้างความแข็งแรงในการสื่อสารภาษาอังกฤษ มีโอกาสได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบาย ทำงานในสถาบันการเงิน หรือองค์กรระดับนานาชาติ พร้อมโอกาสทางอาชีพอีกมากมาย EBA จุฬาฯ หลักสูตร : EBA หรือชื่อเต็ม The Bachelor of Arts Program in Economics ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 สังกัดอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติที่โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับด้านมาตรฐานในระดับสากล ด้วยหลักสูตรที่เสริมความเชี่ยวชาญด้านทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์, เศรษฐกิจ,[…]

เรียน BBA อินเตอร์ที่ไหนดี? ข้อมูล BBA จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, มหิดล, เกษตรฯ, ลาดกระบัง

วุฒิปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) Bachelor of Business Administration หรือที่เรียกเป็นชื่อคณะสั้นๆ ว่า BBA นับเป็นคณะยอดนิยมของน้องๆ มัธยมที่ต้องการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจ ระดับมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาที่หลากหลาย เช่น Accounting, Management, Finance, Marketing ซึ่งปัจจุบันได้มีการเปิดการเรียนการสอน BBA หลักสูตรอินเตอร์ เพื่อรองรับการทำธุรกิจที่ก้าวหน้าและไร้พรมแดน เราได้รวบรวมข้อมูลหลักสูตร BBA อินเตอร์ยอดนิยมในมหาวิทยาลัยรัฐ ได้แก่ จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนานาชาติมหิดล, เกษตรศาสตร์ และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีข้อมูลอะไรที่น้องๆ ควรรู้ก่อนเลือกเรียน BBA ในสถาบันต่างๆ มาดูกัน 🙂 BBA จุฬาฯ หลักสูตร : Bachelor of Business Administration หรือ BBA เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีหลักสูตรแรกที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดอยู่ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Faculty of Commerce and[…]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ ทางเลือกเด็กยุคใหม่ จาก 9 มหาวิทยาลัยรัฐ

การเรียนการสอนหลักสูตรอินเตอร์ในระดับชั้นมหาวิทยาลัย เป็นทางเลือกยอดนิยมของน้องๆ รุ่นใหม่ ในช่วงที่ผ่านมามหาวิทยาลัยของภาครัฐจึงได้เปิดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรอินเตอร์อย่างแพร่หลาย เราได้คัด 9 มหาวิทยาลัยภาครัฐยอดนิยมของน้องๆ ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยเปิดสอนในหลักสูตรอะไรบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับน้องที่กำลังวางแผนเข้ามหาวิทยาลัยในภาคอินเตอร์ 1.หลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯEBA เศรษฐศาสตร์BSAC เคมีประยุกต์BBTech BiotechnologyINDA การออกแบบสถาปัตยกรรมCommDe การออกแบบนิเทศศิลป์COMMARTS การจัดการการสื่อสารBAScii นวัตกรรมบูรณาการBALAC ภาษาและวัฒนธรรมPGS การเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษาJIPP วิทยาศาสตร์จิตวิทยาBBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชี BBA การบัญชี BBA การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ISE (International school of Engineering) AERO วิศวกรรมอากาศยาน ICE วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร RAIE วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ADME วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ NANO วิศวกรรมนาโน   2.หลักสูตรอินเตอร์ ธรรมศาสตร์BBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชีBEC ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารBAS หลักสูตรอังกฤษและอเมริกันศึกษาBE เศรษฐศาสตร์BIR การเมืองและการระหว่างประเทศBJM วารสารศาสตร์BSI นวัตกรรมการบริการDBTM การจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยีISC วิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการSIIT[…]

เปิดกล้องติวเข้มไปกับติวเตอร์ เช็ค 5 ข้อก่อนเข้าคลาสออนไลน์ กับ The Planner Education !

เพราะการศึกษาไม่มีข้อจำกัด! มาเรียนออนไลน์กับ The Planner Education เรียนได้เหมือนห้องเรียนจริง เพราะเราเป็นคลาสเรียนแบบสดๆ กับติวเตอร์ไม่ว่าจะคอร์ส GED, IGCSE A-Level SAT หรือ IELTS โดยเราเปิดสอนสำหรับน้องๆ ที่ไม่สะดวกมาที่สาขา รวมถึงน้องๆ นักเรียนจากต่างประเทศ และต่างจังหวัดอีกหลายๆ คน รับประกันความเชี่ยวชาญด้านการสอนออนไลน์จากติวเตอร์ทุกคน ว่าติวเข้มพร้อมดูแลน้องๆ เหมือนได้มาเรียนจริง หนังสือและชีทประกอบการเรียนพร้อมเดลิเวอรี่ไปถึงบ้าน ฟรี! วันนี้เราจึงเอา 5 เช็คลิสต์ มาให้น้องๆ เช็คก่อนเข้าคลาสเรียนออนไลน์ เพื่อการเรียนที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 🙂 เช็คก่อนเรียนออนไลน์ #1 – อยู่ในที่สงบ ก่อนเข้าคลาสเรียนออนไลน์ สิ่งแรกที่ต้องเช็คก็คือสภาพแวดล้อม ณ ขณะนั้น ว่าจะมีอะไรมารบกวนสมาธิเราหรือไม่ ควรเป็นพื้นที่ที่ไม่มีเสียงรบกวนเมื่อเราต้องเปิดไมโครโฟนพูดคุยกับครู เวลาเข้าคลาสน้องๆ ควรอยู่คนเดียวโดยไม่มีเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวเพื่อจะได้โฟกัสกับคลาสเรียนมากที่สุด ในกรณีที่เป็นคลาสกรุ๊ปต้องเช็คว่า Background ของเราไม่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวข้างหลัง เพราะอาจจะรบกวนสมาธิเพื่อนในคลาส เช็คก่อนเรียนออนไลน์ #2 – อุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์ เป็นส่วนสำคัญมากสำหรับการเรียนออนไลน์ เริ่มจากการเช็คสัญญาณอินเตอร์เน็ต Wifi[…]

เทรนด์การเรียนแบบ Personalized Learning ที่ The Planner Education

Personalized Learning คือการเรียนรู้เฉพาะบุคคล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทรนด์การศึกษาที่มาแรงในยุคหลังๆ มานี้ โดยรูปแบบการเรียนคือ การให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการเรียนการสอน ตามความถนัดหรือเป้าหมายของตนเอง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเราคุ้นเคยกับการเรียนแบบ Classroom ซึ่งเป็นการเรียนกับนักเรียนกลุ่มใหญ่โดยใช้หลักสูตรเดียวกัน ครูผู้สอน 1 คน ต้องดูแลนักเรียนหลายสิบคนคน กลับกันการเรียนแบบ Personalized Learning คือการตระหนักได้ว่า ไม่มีหลักสูตรใดที่สมบูรณ์แบบ และเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างหลักสูตรที่ตอบสนองนักเรียนทุกคน เพราะนักเรียนต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ต่างกันไป Personalized Learning จึงเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับระบบการศึกษาหลังจากนี้ ในโรงเรียนหลายแห่งเริ่มมีการปรับตัวรับเทรนด์ดังกล่าว ส่วนที่เห็นภาพชัดคือการศึกษานอกโรงเรียน เพราะสามารถจัดสรรคลาสเรียนขนาดเล็ก หรือแบบ Private ได้ง่ายกว่า ในการเรียนการสอนของ The Planner Education ทุกคอร์สไม่ว่าจะเป็น คอร์ส GED, IGCSE, A-Level, SAT, IELTS ฯลฯ เราเน้นการเรียนการสอนแบบ Personalized Learning มาเสมอ เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ ของนักเรียน ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนแต่ละคนมีเป้าหมายในการเข้ามหาวิทยาลัย และคณะที่แตกต่างกันออกไป เราจึงเริ่มตั้งแต่การวางแผนเป้าหมายร่วมกัน ตรวจสอบ Requirment[…]

รวม 25 แคปชั่นภาษาอังกฤษ แชร์รับปีใหม่ 2021 พร้อมคำแปล

เข้าสู่ช่วงสิ้นปี ใครที่มองหาแคปชั่นชิคๆ ไว้โพสต์คู่กับรูปภาพสวยๆ ใน Instagram หรือ Facebook เรารวบรวม 25 แคปชั่นภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลมาให้แล้ว 🙂 ไม่ว่าจะเป็นสายตลก สายคำคม นักสังสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจตั้งเป้าหมายในปีใหม่ (New Year’s Resolution) หรือจะเป็นคำอวยพรไว้ส่งต่อความสุข มาเซฟไว้ใช้บอกลาปี 2020 พร้อมรับความสุขจากปี 2021 ไปด้วยกัน “Thank U, Next.” —Me to 2020 Funny New Year’s Captions  – แคปชั่นสายตลกSorry in advance for writing “2020” on everything for the next six months.– ขอโทษล่วงหน้าที่ฉันจะยังติดเขียนปี 2020 ไปในอีก 6 เดือนข้างหน้า My New[…]