ทำความรู้จัก ABAC มีคณะอะไรบ้าง ใช้คะแนนอะไรยื่นได้บ้าง

มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังและมีประวัติศาสตร์อันยาวนานเพราะเริ่มเปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 นั่นก็คือ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University) หรือเอแบค (ABAC) นั่นเองค่ะ หากน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่อยากได้ประสบการณ์การเรียนที่หาได้ยากในประเทศไทยอย่างการได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน บอกได้เลยค่ะว่าน้องจะหาประสบการณ์นี้ได้จาก ABAC เพราะที่นี่มีทั้งอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านซึ่งมาจากทั่วทุกมุมโลกและยังมีเพื่อนต่างชาติหลากหลายสัญชาติที่มาศึกษาที่ ABAC อีกต่างหาก ชีวิตในรั้ว ABAC ของน้อง ๆ จะได้ใช้ทั้งภาษาอังกฤษหรืออาจจะเป็นภาษาที่สามในชีวิตประจำวันแน่ ๆ ค่ะ  ข่าวดีสำหรับน้อง ๆ ที่กำลังติว GED อยู่ หรือกำลังคิดที่จะเรียน GED เพื่อสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ABAC เปิดให้น้อง ๆ ใช้วุฒิ GED เพื่อยื่นเข้าศึกษาต่อด้วยนะคะ และหากน้อง ๆ ยังไม่รู้ว่าควรเริ่มติว GED จากตรงไหนดี ขอแนะนำ The Planner Education สถาบันการติวที่เชี่ยวชาญด้านการติว GED มีผลงานการสอบผ่านทั้งนักเรียนไทยและนักเรียนต่างชาติ เคยมีนักเรียน GED ของ[...]

เปิดเกณฑ์คะแนนใช้ยื่นอินเตอร์ จุฬาฯ 2023

มหาวิทยาลัยในฝันของเด็กไทยหลายคน แน่นอนว่าชื่อในหัวของน้อง ๆ หลายคน ต้องมีมหาวิทยาลัยรั้วจามจุรีอย่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในนั้นใช่ไหมคะ แล้วรู้กันไหมคะว่าถึงจุฬาฯจะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่หลักสูตรของจุฬาฯมีหลักสูตรนานาชาติหลายสาขา อีกทั้งแต่ละหลักสูตรยังโดดเด่นและมีการแข่งขันสูงไม่แพ้มหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลกเลย แอบกระซิบว่าคะแนน SAT ที่ใช้ยื่นเข้า BBA ของจุฬาฯ สามารถใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชื่อดังของสหรัฐอเมริกาได้เลยนะคะ และแน่นอนว่าคะแนนที่ใช้ยื่นหลักสูตรนานาชาติของจุฬาฯเกณฑ์ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว The Planner จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการติวสอบที่ดีของน้อง ๆ เลยนะคะ รับคำปรึกษารายบุคคล คลิกที่นี่ หลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับทั้งหมด 2 รอบ (ยกเว้นหลักสูตร CU-MED หรือหลักสูตรแพทย์อินเตอร์) คือ รอบแรก Early Admission ปีนี้เปิดรับสมัคร 25 พฤศจิกายน ถึง 22 ธันวาคม 2022 และรอบสองคือ Admission ปีนี้เปิดรับสมัคร 21 กุมภาพันธ์ ถึง 28 มีนาคม 2023 และอาจมีรอบรับเพิ่มเติมหากจำนวนนิสิตใหม่ยังไม่ครบตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ วันนี้ The Planner จะพาน้อง[...]

IELTS สอบติดแล้วห้ามทิ้ง ถ้าอยากไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ

น้อง ๆ หลายคนหลังสอบติดมหาวิทยาลัยแล้ว ต่างก็เท IELTS กันไปหมดแล้ว เพราะคิดว่าคงไม่ได้ใช้แล้วใช่ไหมคะ มันอาจจะจริงที่ใน 4 ปีนี้น้อง ๆ สามารถทิ้ง IELTS ได้เลย ทว่า IELTS เป็นตัวสำคัญที่จะทำให้น้องได้รับโอกาสดี ๆ ในการไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ ได้ไปเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ซึ่งเป็นโอกาสที่หาได้ยากมาก ๆ แต่ IELTS สามารถทำให้น้องคว้าโอกาสนั้นไว้ได้ค่ะ การเรียน IELTS สำคัญมากแค่ไหน จากช่วงเวลาการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ผ่านมาของน้อง ๆ คงจะได้เห็นกันมาบ้างแล้วว่าการเรียน IELTS สำคัญยังไง ทว่าเกณฑ์ต่าง ๆ ทำให้ผลคะแนน IELTS มีอายุการใช้งานได้แค่เพียง 2 ปีเท่านั้น แต่การแลกเปลี่ยนต่างประเทศมักจะเริ่มต้นในปี 3 คะแนน IELTS ที่น้อง ๆ ยื่นตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยจึงอาจจะใช้ไม่ได้ หากน้อง ๆ อยากไปแลกเปลี่ยนจะต้องสอบ IELTS ใหม่อีกครั้งค่ะ และวันนี้ The Planner[…]

ไขข้อสงสัย จบโรงเรียนหลักสูตรไทย เรียนต่อคณะอินเตอร์ได้ไหม

ความกังวลของเด็กหลักสูตรไทยที่มีความฝันอยากเรียนคณะอินเตอร์ คือความกลัวที่จะต้องเริ่มต้น ตัวเองจะเริ่มต้นกับอะไรก่อนดี ควรเริ่มต้นอ่านหนังสือที่เรื่องอะไร ควรไปติวหรือไปเรียนพิเศษวิชาไหนบ้าง ตลอดจนความกังวลหลังสอบติดว่าเราจะเรียนตามเพื่อน ๆ ทันไหม จะเรียนรู้เรื่องไหม หากต้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษล้วน ทั้งที่ทั้งชีวิตเราเรียนเป็นภาษาไทยมาโดยตลอด บอกเลยค่ะว่าก่อนจะไปถึงคณะในฝัน น้อง ๆ ควรจะเลิกกลัวการเริ่มต้นก่อนเลยค่ะ และเพื่อคลายความกังวลหลาย ๆ อย่างของน้อง ๆ The Planner จะมาช่วยไกด์ไลน์การเรียนการวางแผนเตรียมตัวสู่คณะอินเตอร์ ฉบับเด็กนักเรียนหลักสูตรไทยกันค่ะ ก่อนอื่นจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับคะแนนตัวสำคัญที่ใช้ในการยื่นเข้าภาคอินเตอร์ทุกคณะในไทยกันก่อนเลย นั่นคือ IELTS และ TOEFL ผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษหลัก ๆ ที่สามารถใช้ยื่นเข้าคณะอินเตอร์ได้ทุกที่ เรียกได้เลยว่าหากน้อง ๆ จะสอบเข้าภาคอินเตอร์น้อง ๆ จะต้องมีผลคะแนนภาษาอังกฤษ 1 ใน 2 ตัวนี้เป็นสำคัญ แม้ว่าหลายคณะจะมีตัวเลือกอื่นให้น้องได้ยื่นเข้าแทน IELTS หรือ TOEFL แต่ตัวเลือกเหล่านั้นก็ยังไม่สามารถยื่นเข้าได้ทุกคณะเหมือน IELTS และ TOEFL การที่เราโฟกัสทั้ง 2 ตัวนี้เป็นสำคัญเลย มันน่าจะดีใช่ไหมคะ ต่อมาจะเป็นเรื่องสายของคณะอินเตอร์ว่าแต่ละหลักสูตรอยู่สายไหน[…]

อยากเป็นหมอ ต้องรู้ก่อนสอบ! รวม Tips BMAT แต่ละพาร์ทที่ไม่ควรพลาด

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเนื้อหาการสอบ BMAT สำหรับน้อง ๆ เตรียมยื่นคณะแพทย์ เป็นอะไรที่ปราบเซียนและต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์สูง ดังนั้นใครที่กำลังเตรียมตัวสอบข้อสอบชนิดนี้ รีบมาอ่านบทความนี้ก่อนให้จบ พี่ The Planner สถาบันติวสอบ BMAT รวมเกร็ดความรู้เพื่อเพิ่มคะแนนสอบครบทั้ง 3 พาร์ท พร้อมเนื้อหาที่น้อง ๆ ควรรู้ก่อนสอบมาให้แล้ว ทั้งหมดจะมีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันได้เลย BMAT ทางเลือกสอบเข้าแพทย์กับโอกาสที่มากกว่าBMAT ย่อมาจากภาษาอังกฤษเต็มที่ชื่อว่า The BioMedical Admissions Test จัดทำโดย Cambridge Assessment Admissions Testing, University of Cambridge เป็นการสอบเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์, ทันแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ น้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะสายแพทย์ จะสามารถใช้คะแนน BMAT ในการสอบเข้าแพทย์ได้ตั้งแต่รอบ Portfolio (TCAS1) โดยไม่ต้องสอบ กสพท. ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการยื่นติดแพทย์เร็วขึ้น และมีคู่แข่งในการสอบเข้าแพทย์ที่น้อยกว่า ทั้งนี้ แต่ละสถาบันที่เปิดรับพิจารณาคะแนน BMAT[…]

ไขข้อสงสัย เด็ก GED เรียนคณะไหนได้บ้าง

เรียน GED เรียนแล้วได้อะไร สอบเทียบ GED เพื่อให้ได้วุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 เสียเปรียบเด็กที่จบมัธยมตอนปลายมากไหม แล้วถ้าเราเรียน GED เราจะยื่นได้แค่คณะภาคอินเตอร์จริง ๆ ใช่ไหม น้อง ๆ ที่กำลังลังเลว่าจะเรียน GED ดีไหม อาจจะมีคำถามเหล่านี้อยู่ในหัว วันนี้ The Planner จะพาน้องไปไขข้อสงสัยเหล่านี้เองค่ะ ทำไมถึงควรเรียน GEDการเรียน GED เรียกได้ว่าเป็นหลักสูตรเร่งรัดสำหรับผู้ที่อยากเรียนจบเร็ว ๆ น้องสามารถเรียน GED เพียงไม่กี่เดือนก็จบมัธยมปลายได้โดยไม่ต้องรอเรียนถึง 3 ปี อีกทั้งมหาวิทยาลัยในไทยยังค่อนข้างเปิดโอกาสให้เด็กที่จบ GED สามารถยื่นเข้าศึกษาต่อได้ทั้งหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรไทย แม้หลักสูตรไทยน้อง ๆ อาจจะยื่นไม่ได้ทุกคณะ แต่มีคณะมากมายทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ให้น้อง ๆ ได้เลือกเรียนเลยค่ะ หากน้อง ๆ รู้ตัวเองเร็วว่าชอบอะไร อยากเข้าคณะไหน อนาคตอยากไปในทิศทางไหน มันก็คงจะดีใช่ไหมคะถ้าน้อง ๆ สามารถเดินตามฝันของตัวเองได้เร็วกว่าเดิม หรือถ้าหากน้อง ๆ ยังหาตัวเองไม่เจอ การสอบเทียบ GED[…]

TOEFL – IELTS ตัวแปรสำคัญ ส่งน้องติดรอบ Portfolio

การสอบเข้ามหาวิทยาลัยเปรียบดั่งก้าวแรกสู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กนักเรียนนับแสนคนล้วนบากบั่นพยายามตั้งใจเรียนมาทั้งชีวิตเพื่อเป้าหมายการสอบเข้าคณะในฝันและมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เด็กหลายคนมักจะมองข้ามรอบ Portfolio ซึ่งเป็นรอบแรกของการสอบเข้า มองว่ามันยุ่งยากและอาจจะยากเกินความสามารถของตัวเอง ทำให้เด็กจำนวนไม่น้อยต่างรอแย่งชิงที่นั่งกันในรอบ Admission เท่านั้น ทว่าหากมองในมุมกลับกัน มันจะดีกว่าไหมหากเราคว้าทุกโอกาสเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อคว้าเส้นชัยเส้นนั้น รอบ Portfolio สำคัญแค่ไหน ก็ต้องสำคัญอยู่แล้ว การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นรอบไหน ๆ ต่างก็สำคัญทุกรอบ เพราะฉะนั้นน้อง ๆ ไม่ควรจะทิ้งรอบไหนสักรอบเลยค่ะ อีกทั้งอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญนอกจากแฟ้มสะสมผลงานก็คือ คะแนน TOEFL หรือ IELTS นั่นเอง ใน Requirement รอบ Portfolio หลายคณะต่างก็ต้องใช้คะแนนส่วนนี้ หากน้อง ๆ อยากเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นสมัครในรอบนี้ การเริ่มติว TOEFL หรือติว IELTS ก็คือหนึ่งในกุญแจสำคัญเพื่อเปิดประตูสู่มหาวิทยาลัยในรอบ Portfolio ความสำคัญของรอบ Portfolio 1.รอบ Portfolio เป็นรอบแรกของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หากยื่นสมัครรอบนี้แล้วไม่ผ่าน น้อง ๆ ยังมีรอบอื่นให้แก้ตัวใหม่อีกครั้งค่ะ 2.รอบ Portfolio มีคู่แข่งน้อยกว่ารอบ Admission[…]

ไป Work & Study ต่างประเทศ เลือกสอบภาษาอังกฤษตัวไหน ได้ใช้คะแนนชัวร์?

ใครที่กำลังวางแผนไป work and study ที่ต่างประเทศบอกเลยว่าบล็อกนี้สำคัญสุด ๆ เนื่องจากหลากหลายโครงการมีข้อกำหนดในการเข้าศึกษา ในการใช้คะแนนสอบวัดระดับภาษาอังกฤษเป็นใบเบิกทาง แต่ปัจจุบัน ต้องขอบอกเลยว่าการวัดระดับภาษาอังกฤษนั้น มีอยู่หลากหลายการสอบมาก ๆ แล้วเราจะเลือกสอบอะไรถึงจะเหมาะสม วันนี้ พี่ The Planner  อาสาไขทุกข้อสงสัยให้น้อง ๆ เอง ทำไมต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษก่อนไป Work and Study?เนื่องจากเมื่อน้อง ๆ ต้องออกไปทำงานและเรียนไปด้วยในต่างประเทศ ทางโครงการที่รับน้อง ๆ ไปจะต้องมั่นใจว่าน้อง ๆ ไม่มีปัญหาทางการสื่อสารภาษาอังกฤษ สามารถทำงานกับเจ้าของกิจการต่างชาติได้เป็นอย่างดี และไม่มีปัญหาในระหว่างการเรียน ที่แน่นอนว่าต้องใช้ภาษาอังกฤษล้วน เพราะหากน้อง ๆ มีความสามารถทางภาษาอังกฤษไม่เพียงพอ ไม่เพียงแค่การมีผลคะแนนภาษาอังกฤษ แต่รวมไปถึงการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน เพราะอาจมีผลกระทบกับการสัมภาษณ์วีซ่า หรือการดำเนินเรื่องติดต่อเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้น การมีความสามารถทางภาษาอังกฤษและมีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษการันตี จึงเป็นสิ่งที่ดีแน่นอน เลือกสอบภาษาอังกฤษตัวไหน ถึงมั่นใจว่าดีชัวร์?ในการทดสอบวัดระดับทางภาษาอังกฤษ ปัจจุบันมีอยู่หลากหลายรูปแบบการสอบ อย่างที่เรารู้จักกันดี เช่น TOEIC, TOEFL, IELTS หรือข้อสอบภาษาอังกฤษอื่น[…]

ยุคหลัง COVID-19 เรียนสายอาชีพอะไรแล้วรุ่ง แถมตลาดต้องการและงานที่มั่นคง

แม้ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 จะเริ่มคลี่คลายล  แต่คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การวางแผนด้านการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียน เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมาก เพราะการวางแผนการศึกษา เท่ากับเป็นการวางแผนให้กับอนาคตและช่วยการันตีว่าสิ่งที่น้อง ๆ กำลังจะเลือกเรียน จบไปจะไม่ตกงาน วันนี้ พี่ The Planner มีแนวทางสายอาชีพมาแนะนำให้กับน้อง ๆ 3 แนวทางอาชีพและตัวอย่างคณะ/สาขาอินเตอร์ที่เกี่ยวข้อง ที่มีแนวโน้มเติบโต และพัฒนาได้อีกยิ่ง ๆ ขึ้นไปหลังการก้าวผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคร้าย พร้อมแนวทางการเตรียมตัวให้ติดคณะอินเตอร์ในดวงใจมาให้อ่านกัน ไปดูพร้อมกันเลยจ้า สาย Computer และ ITหลังจากการเปลี่ยนแปลงการการทำงานเข้ามาสู่ระบบ Work from home มากขึ้น ในหลากหลายธุรกิจจึงให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี ระบบคอมพิวเตอร์และโครงข่ายในการอำนวยความสะดวกกิจการหรือองค์กรมากขึ้นเป็นเท่าตัว เกิดการจ้างงานและเพิ่มตำแหน่งที่เข้ามาช่วยดูแลระบบหลังบ้านมากขึ้น คณะและสาขาที่น่าสนใจ เช่น สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ), TU สาขาเทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Creative Technology), MUIC สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ), KMUTNB สาย Technology และ Engineeringเนื่องจากตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลง เน้นการใช้เทคโนโลยีและระบบหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรกลเข้ามามีส่วนช่วยในการผลิตแทนแรงงานคนมากขึ้น ดังนั้นอาชีพที่มีหน้าที่ผลิต ควบคุมดูแลและซ่อมบำรุงอุปกรณ์เหล่านี้จึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานสูง[…]

อยาก Rescore GED มีขั้นตอนยังไง

มหาวิทยาลัยที่รับวุฒิ GED บางแห่งอาจจะดูคะแนน GED แค่ผ่าน 145 ในแต่ละวิชาก็สามารถยื่นได้แล้ว แต่มหาวิทยาลัยรัฐที่เป็นที่นิยมของน้อง ๆ The Planner อย่างเช่น จุฬา ธรรมศาสตร์ มหิดล บางคณะจะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำเอาไว้สูงกว่าแค่ 145 คะแนน ซึ่งถ้าในกรณีที่น้อง ๆ สอบผ่านแล้ว แต่อยาก Rescore GED ให้ได้คะแนนที่สูงขึ้นตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการจะเข้า พี่ The Planner จะมาบอกให้ฟังว่าขั้นตอนการ Rescore GED ต้องทำยังไง ไปดูกันเลย สอบผ่านแล้วแต่อยาก Rescore GED ทำได้มั้ย?เกณฑ์คะแนน GED ในปัจจุบัน จะมีคะแนนเต็มวิชาละ 200 คะแนน นั่นคือคะแนนรวม 4 วิชา (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาอังกฤษ) ทั้งหมด 800 คะแนน น้อง ๆ จะต้องทำคะแนนไม่ต่ำกว่า[…]

อยากเรียนนิเทศอินเตอร์ CommArts vs BJM

นิเทศศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ อีกหนึ่งคณะสุดฮอตฮิตติดลมบนของเด็กอินเตอร์ น้อง ๆ หลายคนใฝ่ฝันอยากเรียนนิเทศอินเตอร์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะไปเรียน Comm Arts ดี หรือ BJM ดี ทั้งสองหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรนิเทศศาสตร์ อินเตอร์เหมือนกัน แต่การเรียนการสอนค่อนข้างจะแตกต่างกันเป็นอย่างมาก คะแนนที่ใช้ยื่นเข้าก็มีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่คะแนนภาษาอังกฤษตัวที่ต้องใช้ยื่นเหมือนกัน น้อง ๆ จึงสามารถติวเข้า Comm Arts กับ BJM โดยการติว IELTS ติว TOEFL ติว SAT ไปในครั้งเดียวเพื่อยื่นเข้าทั้งสองที่ได้เลยค่ะ และอยากจะมาย้ำก่อนว่าน้อง ๆ ควรศึกษาตัวหลักสูตรให้ดี ๆ นิเทศเหมือนกันแต่เรียนคนละเวย์กันเลยนะคะ  วันนี้ The Planner จะพามาหาคำตอบกันค่ะว่าน้อง ๆ มีความชอบแบบนี้ น้องน่าจะไปเรียน Comm Arts ดี หรือ BJM กันนะ  ความแตกต่างของ Comm Arts vs BJM[…]

รอบ Portfolio อักษรศาสตร์ จุฬาฯ 2023

ขอต้อนรับเข้าสู่เดือนตุลาคม เดือนแรกแห่งการเดินทางสู่เป้าหมายในระดับมหาวิทยาลัยของน้อง ๆ DEK66 เดือนนี้ คณะต่าง ๆ ของหลายมหาวิทยาลัยจะเริ่มทยอยประกาศเกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาใหม่ รวมถึงคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่พึ่งประกาศโครงการต่าง ๆ ที่รับใน TCAS รอบ 1 Portfolio น้อง ๆ อ่านชื่อบางโครงการอาจจะสงสัยว่า อักษรศาสตร์เรียนภูมิศาสตร์ เรียนละคร กันด้วยจริงไหม เพราะความคุ้นชินและภาพจำเมื่อพูดถึงคณะอักษรศาสตร์ น้อง ๆ หลายคนอาจนึกออกแต่เรื่องภาษา คณะนี้ต้องเรียนภาษาแน่ ๆ คำตอบคือใช่ค่ะ อักษรฯเรียนภาษา ทว่าอักษรฯไม่ได้สอนแค่เพียงภาษาเท่านั้น ภาษาก็คือส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ แต่ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกที่จะทำให้เราเข้าใจมนุษย์มากขึ้น รวมถึงเรื่องภูมิศาสตร์ และศิลปการละครก็เช่นกัน ก่อนที่จะไปดูเกณฑ์การคัดเลือก พี่ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปรู้จัก 2 สาขาวิชานี้ที่สอนในคณะอักษรศาสตร์กันก่อนค่ะ อักษรศาสตร์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ พูดได้เลยค่ะว่าสาขานี้เป็นสาขาเดียวในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่บังคับใช้คะแนนคณิตศาสตร์ยื่นในรอบ Admission เท่านั้น ใช้ความถนัดทางภาษายื่นไม่ได้ น้อง ๆ[…]

Gap Year ค้นหาตัวเองหลังจบ ม.ปลาย ได้ไว ไม่ต้องรอ 3 ปี หลักสูตร GED สานฝันให้เป็นจริงได้

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมปลาย หรือระดับชั้นอื่น ๆ คงเป็นกัน คือไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร อยากทำงานอะไร และอะไรคือเป้าหมายสำคัญในชีวิต ในช่วงวัยรุ่นอย่างเรา มันยากที่จะหลีกหนีภาระทางการศึกษาภาคบังคับ และเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยเพื่อสานต่อความฝันในการทำงาน แต่มันจะดีกว่าไหม ถ้าเราเอาช่วงเวลารอยต่อระหว่างหลังจบ ม.6 และมหาวิทยาลัย ไปค้นหาตัวตนที่แท้จริงของเราเองได้ วันนี้พี่ เดอะ แพลนเนอร์ เอดดูเคชั่น ขอพาน้อง ๆ ทุกคนไปรู้จักกับการ “Gap Year” ช่วงเวลาดี ๆ ในชีวิตที่นักเรียนหลักสูตร GED สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ นิยมทำกัน จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย Gap Year คืออะไรGap year คือ ช่วงเวลาของปี ที่เป็นช่องว่าง “คั่นระหว่างการเป็นนักเรียน ม.ปลาย กับนักศึกษามหาวิทยาลัย” หรือพูดง่าย ๆ คือช่วงเวลา 3 เดือนถึง 1 ปีหลังจบการศึกษาสำหรับเด็ก ม.6 ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง[…]

2023 ธรรมศาสตร์ยกเลิกอินเตอร์หลักสูตรไหนบ้าง ?

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าเปิดหลักสูตรนานาชาติมานาน และมีหลักสูตรนานาชาติหลายหลักสูตร แต่ละหลักสูตรมีความหลากหลาย อีกทั้งยังเรียกได้ว่ามีการเปิดตัวหลักสูตรใหม่งอกเพิ่มแทบทุกปีเลยก็ว่าได้ ทว่าบางหลักสูตรนานาชาติของธรรมศาสตร์ก็มีการปิดตัวลงไปบ้าง น้อง ๆ รู้กันไหมคะว่ามีหลักสูตรไหนปิดตัวกันไปบ้าง หนึ่งในหลักสูตรนั้นมีหลักสูตรที่น้อง ๆ สนใจกันอยู่ไหม เรามาอัปเดตกันหน่อยดีกว่าค่ะ ว่า ตอนนี้หลักสูตรนานาชาติของธรรมศาสตร์หลักสูตรไหนปิดไปแล้วบ้าง หลักสูตร PBIC วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงศ์ สาขาวิชาอินเดียศึกษา วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมและการจัดการ (นานาชาติ) วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (นานาชาติ) วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (นานาชาติ) แม้ว่า 4 หลักสูตรนี้จะปิดตัวลงไปแล้ว แต่น้อง ๆ อย่าพึ่งเสียใจกันไปเลยนะคะ เพราะยังมีหลักสูตรนานาชาติอีกหลายหลักสูตรของธรรมศาสตร์ให้น้อง ๆ ได้เลือกเรียนเลย อย่าง PBIC วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงศ์ ที่ยกเลิกสาขาวิชาอินเดียศึกษาไปแล้ว แต่สาขาจีนศึกษาและไทยศึกษาก็ยังคงเปิดสอนอยู่ PBIC จึงเป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่น่าสนใจเลยค่ะ หลักสูตรนี้เรียกได้ว่าเป็นหลักสูตรที่เอาใจคอสังคมที่ชอบทุกศาสตร์เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะภูมิศาสตร์ การเมืองการปกครอง รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือนิติศาสตร์ ใน PBIC มีครบ น้อง[…]

Let’s talk about Comm De

Comm De หรือคอมดีที่ไม่ได้เรียนเอกคอมนะคะ Comm De มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Communication Design ซึ่งสาขานี้นอกจาก MUIC ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เปิดสอนแล้ว วันนี้จะพามารู้จัก Comm De ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาที่อยู่ในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่นเองค่ะ มาถึงตรงนี้น้อง ๆ อาจจะสงสัยว่า แล้วมันเรียนเกี่ยวกับสถาปัยตกรรม ออกแบบบ้าน ออกแบบภายในหรอ คำตอบคือ “ไม่ใช่ค่ะ” บทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับคณะนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ และถ้าน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่เริ่มสนใจในคณะนี้แล้ว น้อง ๆ สามารถเริ่มติววิชาการอย่าง ติว SAT ติว IELTS ติว TOEFL ติว CU – ATT ได้เลยค่ะ เพราะคณะนี้ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายของเพื่อน ๆ อีกหลายคนเช่นกัน เริ่มก่อนได้เปรียบในการเก็บเนื้อหามากกว่าค่ะ บอกเลย!! Comm De[…]

สัตวแพทย์และสัตวศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร? ใครอยากเรียนต่อ 2 คณะนี้ห้ามจำสับสน

น้อง ๆ คนไหนเป็นคนรักสัตว์ ชื่นชอบการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ และมีแผนที่จะเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในด้านนี้ ต้องรีบอ่านบล็อกนี้เลย รู้กันหรือไม่? คณะสัตวแพทยศาสตร์และสาขาสัตวศาสตร์ “ไม่เหมือนกัน” และทำหน้าที่ในอาชีพแตกต่างกันอีกด้วยนะ สงสัยกันแล้วใช่ไหมว่า 2 คณะนี้หรือ 2 อาชีพนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร พี่ The Planner Education สถาบันติวเข้าคณะอินเตอร์ จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ ทำงานเกี่ยวกับ “สัตว์” เหมือนกัน แต่เป้าหมายต่างกันอย่างที่เราทราบกันดีว่า เมื่อสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราป่วยหรือไม่สบาย สิ่งแรกที่เราคำนึงถึงนั่นคือ “สัตวแพทย์” ที่อยู่ประจำคลินิกรักษาสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่โดยตรงของสัตวแพทย์ หรือ Veterinarian คือ ดูแลเกี่ยวข้องกับสุขภาพของสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ทั่วไป การวินิจฉัยโรค การป้องกัน การรักษาโรคจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ทั่วไป บำบัดรักษาโรคสัตว์โดยการใช้ยา เป็นผู้ผ่าตัด หรือใช้รังสีในการรักษา ป้องกันโรคระบาดจากสัตว์ไม่ให้แพร่กระจายมาสู่ทั้งสัตว์และคน ดังนั้น กล่าวได้ง่าย ๆ เลยคือ ผู้ที่เรียนจบจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ และประกอบอาชีพด้านสัตวแพทย์ จะทำหน้าที่ “ดูแลรักษาสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงและวินิจฉัยโรคสัตว์ทั่วไป” ที่ไม่ใช่เพื่อการปศุสัตว์ หรือการใช้เพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกัน[…]

ชวนมารู้จัก BSTA สาขาเกษตรเขตร้อน นานาชาติ มก. สาขาอนาคตไกล ตอบโจทย์คนหัวใจรักการเกษตร

ทุกคนเคยได้ยินชื่อ “สาขาเกษตรเขตร้อน นานาชาติ” ม.เกษตรศาสตร์ กันหรือไม่? บางส่วนคงเคยได้ยินและรู้จักกันแล้ว แต่ยังคงมีน้อง ๆ อีกหลายคนที่ยังสงสัยกันอยู่ว่าคณะนี้ มีที่มาอย่างไรแล้วเขาเรียนอะไรกัน วันนี้ พี่ The Planner Education สถาบันติวสอบเข้าคณะอินเตอร์ จะขอเปิดประตูรถ ต้อนรับน้อง ๆ ทุกคนไปทัวร์และทำความรู้จักกับสาขาเกษตรอินเตอร์นี้กันแบบเข้าเส้น ทุกแง่ทุกมุม แบบอ่านแล้วอ๋อทันที สาขานี้จะมีอะไรให้น่าสนใจกันบ้าง ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยจ้า  เกษตรเขตร้อน นานาชาติ เรียนเกี่ยวกับอะไร? หลักสูตรเกษตรเขตร้อน (นานาชาติ) Bachelor of Science Program in Tropical Agriculture (International Program) หลักสูตร 4 ปี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า BSTA เป็นหลักสูตรอินเตอร์ โครงการพิเศษของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เน้นศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจและการเกษตร โดยเฉพาะด้านการเกษตรในภูมิภาคเขตร้อน หลักสูตรนี้ มีระบบการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร[…]