GED Social : Check and Balance หรือ หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ

วันนี้เรามาคุยกันในเรื่องที่สำคัญหลักๆอีกหนึ่งเรื่องในการติว GED Social Studies นั่นก็คือเรื่อง “หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ” หรือ Check and Balance ซึ่งเป็นอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในการพยายามรักษาสมดุลอำนาจผ่านการแบ่งแยกอำนาจออกเป็นหลายส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้หน่วยงานหลักของรัฐบาลหน่วยใดมีอำนาจมากเกินไปและเพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้

โดยหน่วยงานหลักของรัฐบาลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายซึ่งทำหน้าที่และมีอำนาจแตกต่างกัน ประกอบด้วย

  1. Executive Branch – ฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่ในการควบคุมและบริหารความเป็นไปของประเทศอีกทั้งทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย มีหัวหน้าก็คือประธานาธิบดี
  2. Legislative Branch – ฝ่ายนิติบัญญัติ ทำหน้าที่หลักในการออกกฎหมาย หรือที่เรารู้จักในนามรัฐสภา Congress
  3. Judicial Branch – ฝ่ายตุลาการ ทำหน้าที่ตีความกฎหมาย แต่ชื่อที่น้อง ๆ น่าจะคุ้นเคยมากกว่า คือ ศาลสูงสุด ครับ

แต่ละฝ่ายจะมีอำนาจที่แตกต่างกันเพื่อคอยคานอำนาจซึ่งกันและกัน เรามาเริ่มทำความรู้จักตัวอย่างอำนาจสำคัญที่ชอบออกข้อสอบจากฝ่ายแรก คือ ฝ่ายบริหารกันดีกว่า โดย ประธานาธิบดี มีอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมาย Veto Power ของสภาคองเกรสเพื่อให้เกิดการพิจารณาใหม่อีกครั้งหากฝ่ายบริหารไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายนั้น แต่อำนาจนี้สามารถถูกลบล้างได้หากเสียง 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเห็นชอบที่ ซึ่งอำนาจของสภา Congress นี้มีชื่อว่า Override of a Veto นอกจากที่ประธานาธิบดีจะสามารถถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ในส่วนของฝ่ายตุลาการ ประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอในการแต่งตั้งผู้พิพากษา Power to appoint judges เพื่อให้สภาสูง หรือวุฒิสภาของคองเกรสอนุมัติ นอกจากนี้ประธานาธิบดียังมีอำนาจในการให้อภัยโทษต่อบุคคลที่กระทำความผิด หรือ ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด เรียกว่า Pardon Power

ฝ่ายต่อมาที่เราต้องรู้กันเพื่อพิชิตการติว GED ให้ลุล่วงด้วยดี ได้แก่ ฝ่ายรัฐสภาคองเกรส ซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร – ส.ส. (Representative)  และ วุฒิสภา – ส.ว. (Senate)  รัฐสภามีอำนาจในการไต่สวนว่าประธานาธิบดีหรือข้าราชการฝ่ายบริหารกระทำความผิดทางอาญาจริงหรือไม่ หากมีความผิดจริงก็สามารถถอดถอนบุคคลออกให้พ้นจากตำแหน่งได้ก่อนที่จะสิ้นสุดวาระ ซึ่งอำนาจนี้เรียกว่า Impeachment Power นอกจากนี้สภาคองเกรสยังเป็นผู้รับรองการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูง (Power to appoint judges) รวมถึงอำนาจในการปลดผู้พิพากษาหากกระทำความผิด (Impeachment)

มาถึงฝ่ายสุดท้าย คือ ตุลาการ หรือ ศาลสูงสุด (Supreme Court) ซึ่งมีอำนาจค่อนข้างจำกัดในบรรดาองค์กรทั้งสามจะใช้อำนาจในการตีความว่าการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารนั้นถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ (Declare Laws and Presidential Acts Unconstitutional)

ในคลาสเรียน GED วิชาสังคมที่ The Planner เคยมีน้องถามพี่ว่า พี่แล้วฝ่ายไหนในรัฐบาลที่มีอำนาจมากที่สุดล่ะครับ คำตอบก็คือ มีอำนาจเท่า ๆ กันครับ จากหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจข้างต้น ก็ตามชื่อเลยครับเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากเกินไป หวังว่าบทเรียนในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ ทุกคนนะครับ ขอให้น้องๆทุกคนที่พยายามอ่านหรือติว GED อยู่สอบผ่านกันถ้วนหน้านะครับผม

Source: https://www.bbc.com/news/world-us-canada-38881119

ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply