เปิดเกณฑ์การรับสมัครเข้าจุฬาฯ ภาคอินเตอร์ ฉบับอัปเดต 2025

เตรียมตัวให้พร้อม! ข้อมูลที่ควรรู้ก่อนเข้าจุฬาฯ ภาคอินเตอร์ กับเกณฑ์การรับสมัครฉบับอัปเดตปี 2025  ใกล้เข้ามาแล้วกับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสำหรับ DEK68 ใครที่เล็งจุฬาฯ หลักสูตรนานาชาติไว้จะต้องอ่านบล็อกนี้ เพราะ The Planner ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญที่น้อง ๆ ต้องรู้ รวมถึงเกณฑ์การรับสมัครในปี 2025 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในฝันของใครหลายคน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภาคอินเตอร์การแข่งขันก็ไม่ได้น้อยไปกว่าภาคไทยเลย เพราะนอกจากคนไทยที่ต้องการเข้าศึกษาต่อแล้ว นักเรียนต่างชาติในประเทศไทยก็สนใจเข้าเรียนที่จุฬาฯ ไม่ต่างกัน การเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง จึงไม่เกินจริงสำหรับการสมัครเรียนจุฬาฯ อินเตอร์ เพราะถ้าเรารู้เกณฑ์คะแนนและข้อมูลต่าง ๆ ไว้ก่อน ก็จะช่วยเตรียมความพร้อมให้น้อง ๆ ได้เข้าไปเป็นนิสิตจุฬาฯ ได้มากขึ้น Source: www.chula.ac.th ทำไมอินเตอร์จุฬาฯ น่าเรียน มหาวิทยาลัยชั้นนำ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของไทยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยติดอันดับ Impact Rankings 2021 ที่ 1 ในเอเชีย และที่ 23 ของโลก จัดอันดับโดย Times Higher Education[...]

เปิดปฏิทินเด็กอินเตอร์ TCAS68 กำหนดการวันไหน? เตรียมคะแนนยังไง? ต้องรู้!

TCAS67 กำลังจะผ่านไป ใกล้เข้ามาแล้วกับหนทางเข้าสู่มหาวิทยาลัยของน้อง ๆ TCAS68 โดยเฉพาะน้อง ๆ ที่มีเป้าหมายอยากเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติ ที่อาจต้องมีการเตรียมตัวมากขึ้นเป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องของกำหนดการรับสมัครของแต่ละหลักสูตร และการเตรียมสอบอินเตอร์เพื่อยื่นสมัครในหลักสูตรที่ต้องการ เนื่องจากในทุก ๆ ปี กำหนดการของทุกรอบรับสมัคร TCAS จาก ทปอ. หรือจากทางมหาวิทยาลัยเอง มักจะมีกำหนดออกมาใกล้เคียงกับปีก่อนอยู่เสมอ ในบทความนี้ The Planner จึงขอมาเปิดปฏิทิน TCAS68 สำหรับเด็กอินเตอร์ ฉบับคาดการณ์ ให้ได้เตรียมใจ เตรียมคะแนนกันตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่ละจุดที่น้อง ๆ TCAS68 ภาคอินเตอร์ต้องให้ความสำคัญจะมีอะไรบ้าง? อ่านข้อมูลด้านล่างนี้ได้เลย  กำหนดการ TCAS68 หลักสูตรอินเตอร์ Pre-TCAS: ช่วงก่อนสิงหาคม 2567 ในช่วงนี้ถือเป็นช่วงโอกาสทองของน้อง ๆ สายอินเตอร์ทุกคน ที่จะได้ใช้เวลาเต็มที่ในการติวสอบและเตรียมคะแนนสอบที่ต้องการ เช่น คะแนน GED, SAT, IELTS หรือคะแนนสอบอินเตอร์อื่น ๆ รวมถึงการเริ่มเก็บสะสมผลงานของตัวเอง เพื่อให้ใช้ยื่นได้ทันตั้งแต่รอบแรกของการรับสมัครหรือรอบ Portfolio [...]

ตามรอย Civil Rights Movement ยุค 1950s เหตุการณ์สำคัญออกสอบ GED Social Studies

ย้อนอดีตสู่ยุค 50s กับ Civil Rights Movement เหตุการณ์สำคัญที่ออกสอบ GED Social Studies “ความเท่าเทียม” หรือ Equality เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนในสังคมควรได้รับโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะเป็นความเท่าเทียมทางการศึกษา ความเท่าเทียมทางการทำงาน ความเท่าเทียมทางเพศ หรือความเท่าเทียมทางสีผิวก็ตาม  แต่ในความเป็นจริง เรื่องของ ความเท่าเทียมในสังคม กลับถูกหยิบยกออกมาพูดถึงหรือเรียกร้องในหลาย ๆ ครั้ง ผ่านประเด็นทางการเมืองและการบริหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ในบางพื้นที่หรือบางประเทศ ความเท่าเทียมหลายเรื่องจะได้รับการยอมรับและสนับสนุนจนเกิดขึ้นจริงแล้ว แต่ในบางพื้นที่ ปัญหาในเรื่องของความเท่าเทียมหลาย ๆ ด้าน ก็ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขหรือคลี่คลายอย่างถูกต้อง ทำให้เรายังสามารถเห็นบรรยากาศของการออกมาประท้วงสิทธิ์เพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ผู้คนเหล่านั้นควรจะได้รับอยู่เนือง ๆ  ในการสอบ GED Social Studies ในพาร์ทของเนื้อหา Civics and Government น้อง ๆ ก็มีโอกาสเจอเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพด้านต่าง ๆ ของพลเมืองในอเมริกาด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในไทม์ไลน์ของ The Civil Rights Movement ในยุค 1950s ซึ่งมีเรื่องราวในเหตุการณ์ค่อนข้างเข้มข้นและต้องอาศัยความเข้าใจในเนื้อหาก่อนไปสอบอยู่พอสมควร[...]

5 ไวยากรณ์ต้องรู้ ก่อนลุย GED RLA!

ก่อนสอบ GED ต้องรู้! แนะนำ 5 ไวยกรณ์สำคัญไว้ใช้ในการสอบ GED พาร์ท Reasoning Through Language Arts (RLA) สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบ GED เทียบวุฒิ ม.6 ต้องบอกก่อนเลยว่า ข้อสอบทั้ง 4 วิชาของ GED นั้นเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ดังนั้นน้อง ๆ ต้องเตรียมพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเริ่มติว GED ตั้งแต่ไวยากรณ์พื้นฐาน หากน้อง ๆ กำลังลังเลว่าจะติว GED ที่ไหนดี อยากมีคนช่วยแบบครบทุกขั้นตอน ขอแนะนำมาที่ The Planner Education แนะนำ 5 ไวยากรณ์สำคัญที่จะช่วยให้น้อง ๆ ตะลุยข้อสอบได้อย่างง่ายดายตามนี้เลย 1. ประเภทของคำ (Parts of Speech) ในภาษาอังกฤษได้แบ่งประเภทของคำทั้งหมดไว้ 8 ประเภท ได้แก่ คำนาม[...]

GED Social Studies ยากตรงไหน? ทำไมใคร ๆ ก็กลัว

ใครวางแผนติวสอบ GED อยู่บ้าง? อย่างที่น้อง ๆ ได้ทราบกันมาเบื้องต้นแล้วว่า หลักสูตร GED จะต้องเรียนและสอบให้ผ่านครบทั้ง 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA), Mathematical Reasoning, Science และ Scocial Studies จึงจะสามารถเข้ารับวุฒิ GED หรือวุฒิเทียบเท่า ม.6 ของไทยได้  ซึ่งจากที่ The Planner ได้สำรวจความคิดเห็นของน้อง ๆ คอร์สติว GED ที่สถาบัน The Planner Education แนวโน้มส่วนใหญ่ให้น้ำหนักตรงกันว่า วิชา GED Social Studies เป็นวิชาที่ “ค่อนข้างยากและซับซ้อน” ซึ่งหากติวเองหรืออ่านหนังสือสอบเองก็อาจจะต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษในการสรุปเนื้อหาให้เข้าใจได้ทั้งหมด  ดังนั้น ในบทความนี้ The Planner ขอมาแบไต๋ ไขข้อกระจ่างให้เข้าใจไปพร้อมกันว่า วิชา GED[...]

5 ปัญหาที่ชาว GEN Z เจอ!? แถมเทคนิคทำยังไงให้โฟกัสดีขึ้น

คิดว่าชาว Gen Z ที่ยังอยู่ในวัยเรียนหลายคนต้องเคยเจอปัญหาหรือความกังวลเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น เรียนหนัก ตารางเรียนแน่น เรียนหลายวิชา เรียนต่อสาขาอะไรให้ไม่ตกงาน และสารพัดความกังวลที่ทำให้น้อง ๆ อดไม่ได้ที่จะเผลอปวดหัวอยู่หลายครั้ง The Planner รวบรวมปัญหาและทางออกดี ๆ สำหรับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วไว้ในกระทู้นี้แล้ว เรียนหนัก การบ้านเยอะ ตารางเรียนโดยทั่วไปจะมีทั้งวิชาหลักและวิชาเพิ่มเติม ในแต่ละภาคการศึกษาอาจต้องเรียนมากถึง 13 วิชา ดังนั้นหากสมมุติว่าแต่ละวิชามอบหมายงานให้ 1 ชิ้นต่อสัปดาห์ การบ้านหรือชิ้นงานต่อ 1 ภาคการศึกษาก็ถือว่าไม่น้อย ทำให้น้อง ๆ ต้องแบ่งเวลาแบบรัดตัวมาก ๆ ทางออกที่ใช่ เขียน To-do List: แนะนำให้น้อง ๆ เขียนรายการชิ้นงานหรือการบ้านที่ได้รับมอบหมายในทุกครั้งที่มีการอัปเดตจากแต่ละรายวิชา เพราะการเขียนออกมาจะทำให้เราเห็นการเตือนตัวเองที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ทำให้น้อง ๆ สามารถนำรายการเหล่านี้ไปจัดลำดับความสำคัญ ระบุวันกำหนดส่งได้ชัดเจน และสามารถวางแผนจัดเวลาในการทำชิ้นงานให้เสร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น *ไม่แนะนำให้จำอย่างเดียวโดยไม่จด เพราะน้อง ๆ อาจจะเผลอลืมได้ การเขียนเป็นหลักฐานที่เราสามารถย้อนกลับมาดูอีกครั้งนั่นเอง ตารางเรียนแน่น ตารางเรียนรายสัปดาห์แน่นจนแทบไม่มีช่วงว่างให้ได้ผ่อนคลายเลยทีเดียว เนื่องจากใน 1 วัน[...]

อัปเดต 2024! อยากเป็นหมอ ยื่น GED เข้าแพทย์ในไทยที่ไหนได้บ้าง

แพทยศาสตร์ ไม่ว่าจะอีกกี่ปีก็ยังคงเป็นหลักสูตรยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของเด็กไทยและหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก เนื่องด้วยบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะ “แพทย์รักษาโรค” ยังคงขาดแคลนและไม่เพียงพอต่อประชากรโลกที่ต้องการเข้าถึงการรักษา และทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า แพทย์ เป็นหลักสูตรที่เรียนค่อนข้างยาก และต้องใช้ความสามารถทางวิชาการสูงในการสอบเข้าศึกษา ซึ่งนักเรียนที่จะสามารถเข้าไปเรียนแพทย์ได้ส่วนใหญ่ มักอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเรียนจบในหลักสูตรแกนกลาง หรือหลักสูตร ม.ปลาย ที่มีการรองรับคุณภาพ   แต่ในปัจจุบัน หลักสูตรแพทยศาสตร์ เปิดกว้างให้กับผู้ที่ต้องการเรียนแพทย์หรืออยากเป็นหมอมากขึ้น โดยการขยายโอกาสยื่นเข้าศึกษาผ่านการใช้วุฒิการศึกษาเทียบเท่า GED จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่เริ่มมีการเปิดรับหลักสูตร GED ให้ยื่นเข้าเรียนแพทย์ได้มากขึ้นในหลาย ๆ สถาบัน และในบทความนี้ The Planner จะขอพาน้อง ๆ ไปดูกันว่า วุฒิ GED เรียนแพทย์ในไทยที่ไหนได้บ้าง? อัปเดตล่าสุดปี 2024!  GED เรียนแพทย์ในไทยที่ไหนได้บ้าง? วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CICM) วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ Chulabhorn International College of[...]

GED เรียนเภสัชได้! เภสัช อินเตอร์ มข. สานฝันเด็กเทียบวุฒิเป็น “หมอยา”

เภสัชศาสตร์ หลักสูตรยอดนิยมสายวิทย์ติดอันดับต้น ๆ ที่มียอดการแข่งขันเข้าเรียนสูงไม่แพ้สายแพทย์ โดยทั่วไปแล้ว นักเรียนหรือน้อง ๆ ที่จะยื่นคะแนนเข้าในหลักสูตรนี้ จำเป็นที่จะต้องเรียนจบในสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือสายการเรียนที่มีความเข้มข้นในเรื่องของวิทยาศาสตร์ตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ก็มักจะมีความชัดเจนในเรื่องของการ “ไม่รับนักเรียนเทียบวุฒิ” แบบนี้หลายคนคงจะสงสัยกันไม่น้อยว่า แล้วเภสัชรับ GED ไหม ถ้าเป็นหลักสูตรอินเตอร์? คำตอบก็คือ “มีหลักสูตรรับ GED อยู่ 1 ที่” นั่นคือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ นานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้เปิดโอกาสอย่างเป็นทางการในการ “รับวุฒิ GED หรือนักเรียนสายเทียบวุฒิ” เพื่อพิจารณาเป็นนักศึกษา ที่มาและรายละเอียดของหลักสูตรเภสัช อินเตอร์ ม.ขอนแก่นจะเป็นอย่างไร? ยื่นหลักสูตรนี้ใช้คะแนน GED อย่างเดียวหรือไม่? อ่านข้อมูลด้านล่างได้เลย เภสัช อินเตอร์ ม.ขอนแก่น หลักสูตรแรกในไทยที่สอนเภสัชแบบ “นานาชาติ” เมื่อพูดถึง หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษล้วน หรือสอนแบบนานาชาติ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คงเป็นคำตอบแรก ๆ ที่น้อง ๆ[...]

วิธีเรียนจบ ม.6 ด้วย GED SAT IELTS พร้อมเข้ามหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 16 ปี

หากน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่มีความฝัน รู้ตัวตนแล้วว่าชอบอะไร หรืออยากเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสายอะไร การจบ ม.6 เร็ว ๆ ก็คงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้น้อง ๆ มีเวลาเหลือมากพอเพื่อออกไปเรียนรู้และใช้ชีวิตเร็วขึ้นอย่างที่ใจปรารถนา และย่นระยะทางความฝันให้เข้ามาได้ใกล้มากขึ้น  แต่วิธีไหนกันที่จะช่วยเร่งสปีดความต้องการในครั้งนี้? บทความนี้ The Planner จะขอพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักคอร์สติว GED SAT และ IELTS สามคอร์สยอดฮิตจากสถาบัน The Planner Education ที่ช่วยพาน้อง ๆ ลูกศิษย์สอบผ่านและติดมหาวิทยาลัยในคณะที่ชอบตั้งแต่อายุยังน้อยมาแล้วมากกว่า 2,000 คน ข้อสอบ GED SAT IELTS คืออะไร? จะช่วยให้จบ ม.6 ไวและติดมหาวิทยาลัยเร็วขึ้นได้จริงไหม? ดูข้อมูลด้านล่างได้เลย GED SAT IELTS ทางลัดสู่ความสำเร็จตั้งแต่อายุ 16  GED คืออะไร GED (General Educational Development) คือ การสอบเทียบวุฒิการศึกษาระดับ[...]

MU INTER กับ MUIC ต่างกันยังไง?

อีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรเยอะเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ คือ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่น้อง ๆ ทราบกันหรือไม่ว่านอกจากหลักสูตรอินเตอร์ของวิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล (MUIC) ทั้ง 17 หลักสูตร ยังมีหลักสูตรอินเตอร์อีก 10 กว่าหลักสูตรที่เปิดอยู่ในสังกัดของมหาวิทยาลัยมหิดลหรือฝั่งบ้านใหญ่ด้วย ในบทความนี้ The Planner อยากขอพาไปเคลียร์กันให้ชัดว่า MUIC กับ มหิดลอินเตอร์ ต่างกันอย่างไร? แล้วมีหลักสูตรอินเตอร์หลักสูตรไหนกันบ้างที่ต้องให้ความสำคัญ MUIC คืออะไร? Mahidol University International College (MUIC) หรือวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนหลักสูตรอินเตอร์ทั้งหมด 8 คณะ 17 สาขา โดยทุกหลักสูตรใช้เกณฑ์คะแนนเดียวกัน แต่มีบางหลักสูตรที่อาจมีเพิ่มคะแนนอย่างคณิตศาสตร์หรือคะแนนอื่น ๆ เข้ามาเป็นเงื่อนไขในการรับเข้าศึกษา MUIC 17 หลักสูตรมีอะไรบ้าง? Business Administration 1.1) Business Economics 1.2) Finance 1.3) International[...]

คอร์ส Pre-GED คืออะไร? เหมาะกับใคร? ควรเรียน Pre-GED ก่อน หรือติว GED ไปเลย?

น้อง ๆ ที่ตัดสินใจแล้วว่าจะสอบ GED อาจกำลังมีคำถามอยู่ในใจว่าจำเป็นต้องเก่งภาษาอังกฤษก่อนไหม หรือระดับภาษาอังกฤษของตัวเองควรอยู่ในระดับไหน ต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนติว GED ได้อย่างคล่องแคล่วเลยหรือเปล่า แล้วติว GED ที่ไหนก็ยากเหมือน ๆ กันไหม หากน้อง ๆ กำลังมีคำถามพวกนี้ หรือกำลังหาที่ติว GED ที่ไหนดี แต่ยังไม่มั่นใจในสกิลภาษาอังกฤษของตัวเอง ต้องการพัฒนาทักษะภาษาเพิ่มเติมเพื่อไปสอบ GED ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ที่ The Planner Education มีคอร์สเรียนที่รังสรรมาแบบเอ็กซ์คลูซีฟเพื่อน้อง ๆ โดยเฉพาะ! คอร์สติว Pre-GED ปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษติว GED ที่ The Planner Education คอร์สติว Pre-GED จะเรียนทั้งหมด 4 วิชา (RLA, Social Studies, Math, Science) ครบทุกวิชาในการสอบ GED แต่ว่าคอร์ส Pre-GED จะเน้นปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษเป็นหลัก ทั้งแกรมม่า[...]

7 คณะฮิต เติบโต 10 ปี!

ช่วงนี้น้อง ๆ #dek67 กำลังทยอยยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยคณะต่าง ๆ บางคนอาจจะยังลังเลอยู่ว่า จริง ๆ แล้วเราเหมาะกับสายไหน ทำอาชีพอะไรในอนาคตถึงจะปัง ใน Blog นี้ The Planner มาแชร์ 7 คณะยอดฮิต เติบโตยาว 10 ปี ด้านล่างนี้เลย Aerospace Engineering เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่มีความชอบหรือสนใจด้านการบินและกลไกเครื่องบินต่าง ๆ แบบเจาะลึก สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐ เอกชน และนานาชาติ ตั้งแต่ฝ่ายการผลิตเครื่องบิน เทคโนโลยีการบินและพลังงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการบำรุงรักษาเครื่องบินหรือยานยนต์ต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกัน เรียกได้ว่า มีอาชีพดี ๆ มั่นคง ผลตอบแทนสูงรอน้อง ๆ อยู่แน่นอน หากอ้างอิงตามเว็บไซต์ Bureau of Labor Statistics (BLS) สายงานนี้เติบโต 6% นับตั้งแต่ปี 2021 ไปจนถึงปี[...]

หลักสูตรภาคไทย 6 ม.ดัง วุฒิ GED ยื่นเข้าได้!! อัปเดต 2567

รู้หรือไม่? GED หรือ General Educational Development นอกจากจะสามารถใช้เทียบเท่าวุฒิ ม.6 ไทยและใช้ยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติได้แล้ว วุฒิ GED ยังสามารถใช้ยื่นสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในหลักสูตรภาคไทยได้อีกด้วย  หากน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่มีฝัน อยากเรียนจบ ม.6 เร็ว ๆ แต่ก็ยังอยากเรียนมหาวิทยาลัยหลักสูตรภาคไทยอยู่ คอร์สติว GED ที่ The Planner Education ติวจบ ม.6 จริงใน 1 เดือน พร้อมดูแลน้อง ๆ ตั้งแต่เริ่มติวสอบ จนยื่นติดคณะที่ต้องการ และถ้าใครยังไม่มีไอเดียว่าจะเรียนต่อที่ไหน หรือยังไม่รู้ว่าหลักสูตรภาคไทยคณะไหนที่รับวุฒิ GED บ้าง? บทความนี้ The Planner รวมข้อมูล หลักสูตรภาคไทย 6 ม.ดัง รับวุฒิ GED มาบอกกันแบบครบ ๆ อัปเดตใหม่ล่าสุดปี 2567 จะมีหลักสูตรในดวงใจน้อง ๆ หรือไม่[...]

วิธีค้นหาคณะที่ใช่ จากวิชาที่ชอบ ฉบับเด็กสายเทียบวุฒิ ม.6

ระยะเวลาช่วง Admission เข้ามหาวิทยาลัยเริ่มใกล้เข้ามา น้อง ๆ หลายคนที่กำลังศึกษาอยู่ใน หลักสูตรเทียบวุฒิ ม.6 ไม่ว่าจะหลักสูตร GED หรือ เตรียมศึกษาในหลักสูตร IGCSE | AS/A-LEVEL อาจจะกำลังเป็นกังวลและกดดันอยู่ไม่น้อย เพราะ “ไม่รู้ว่าตัวเองชอบสายงานอะไร หรืออยากเรียนต่อในคณะอะไรดี?”  The Planner อยากให้น้อง ๆ นักเรียน GED หรือผู้ที่กำลังจะเรียน IGCSE | AS/A-LEVEL ได้พิจารณาจากสิ่งที่น้อง ๆ คุ้นเคยกับมันเป็นประจำดู นั่นคือ วิชาเรียน โดยในแต่ละวิชาจะสามารถทำนายทายทักความชอบ หรือหนทางการเรียนต่อคณะที่ใช่ยังไงได้บ้าง? บทความนี้มีแนวทางที่น่าสนใจมาบอกน้อง ๆ กัน    วิชาที่ชอบบอกคณะที่ใช่ แบบเด็กเทียบวุฒิ GED อย่างที่ทราบกันดีว่าหลักสูตรติวสอบเทียบวุฒิ ม.6 GED ที่ The Planner เป็นหลักสูตรระยะสั้น 90 ชั่วโมง สำหรับคนที่อยากเรียนจบเร็ว ๆ และได้ไปต่อในเส้นทางที่ตนเองมุ่งหวังไว้ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและการตามฝันในรูปแบบอื่น[...]

อัปเดตล่าสุด! GED Ready Q&A ตอบทุกคำถาม การสอบนี้คืออะไร? ทำไมต้องสอบ?

น้อง ๆ ที่กำลังเรียน GED หรือเตรียมสอบ GED อาจพอทราบมาแล้วเบื้องต้นว่านอกจากการสอบ GED เพื่อเทียบวุฒิ ม.6 แล้ว ยังมี การสอบ GED Ready ที่ทาง GED Official บังคับให้นักเรียน GED ทุกคนต้องสอบให้ผ่านด้วย และเพื่อเคลียร์จบทุกข้อข้องใจที่น้อง ๆ มี และเป็นการชี้แนวทางการสอบให้เข้าใจง่ายมากขึ้น The Planner Education จึงรวบรวมทุกคำถามที่น้อง ๆ สงสัยเกี่ยวกับ GED Ready มาตอบไว้ให้แล้วในบทความนี้ 1.Q: GED Ready คืออะไร? A:  GED Ready คือ การทำข้อสอบ GED เสมือนจริงผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ทั้ง 4 วิชา โดยแนวข้อสอบทั้งหมดจะใกล้เคียงกับข้อสอบจริงมากที่สุด และมีการแจ้งผลคะแนนแบบเดียวกับการสอบ GED จริงด้วย โดยจุดประสงค์ของการทดสอบ GED Ready[...]

ทำไมอยากเป็นศิลปินถึงควรสอบเทียบ GED

หากน้อง ๆ เป็นเด็กคนหนึ่งที่มีความฝันอันยิ่งใหญ่ และมีเป้าหมายประจำใจของตัวเองอยู่ตั้งแต่ยังเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นศิลปิน อาชีพที่ต้องอาศัยทักษะอย่างการฝึกฝนและเวลาในการทุ่มเทเพื่อความฝัน แน่นอนว่าการเรียนก็สำคัญ การตามฝันในการเป็นศิลปินก็สำคัญเช่นกัน น้อง ๆ รู้ไหมคะว่าน้อง ๆ สามารถทำตามความฝันไปด้วยแต่การเรียนก็ไม่ทิ้งไปด้วย ได้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จากวุฒิ GED ที่จะช่วยให้น้อง ๆ ประหยัดเวลาในการเรียน และเพิ่มเวลาในการทุ่มเทให้ความฝันกันค่ะ  อาชีพศิลปินเป็นคำกว้าง ๆ ที่มีอาชีพหลากหลายแตกแขนงไปอีกมากมาย ไม่ใช่แค่การเป็นศิลปินนักร้องเท่านั้น ยกตัวอย่างอาชีพในสายศิลปินเช่น นักดนตรี นักแสดง จิตรกร ประติมากร ฯลฯ ซึ่งอาชีพที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแล้วแต่ใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน รวมไปถึงทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมาก อย่างการสื่อสาร เพราะตัวศิลปินคือผู้สร้างงานศิลปะที่ต้องสื่อสารเรื่องราวให้ผู้ชมเข้าใจ ต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะที่ต้องใช้เวลาอย่างสม่ำเสมอ การเรียนในระบบของโรงเรียนปกติอาจจะไม่ตอบโจทย์น้อง      ที่อยากเป็นศิลปินในเรื่องของเวลา การเรียนในระบบโรงเรียนยากมาก ๆ ที่จะสามารถเรียนไปด้วย ทำงานในด้านศิลปินอย่างเต็มที่ไปด้วย เพราะนอกจากเนื้อหาที่ต้องเรียนแล้ว ยังมีกิจกรรมที่น้อง ๆ ต้องเข้าร่วมอีก แล้วน้อง ๆ จะมีเวลาพอสำหรับการฝึกซ้อมหรือทำตามฝันของตัวไหม[...]

สอบเทียบอะไรดี ระหว่าง GED หรือ IGCSE

ในปัจจุบันสังคมเปิดกว้างให้กับความหลากหลายมากยิ่งขึ้น การเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่การศึกษาในรูปแบบระบบโรงเรียนเท่านั้นอีกต่อไป เด็กยุคใหม่ก็ต่างเป็นวัยรุ่นที่เต็มเปี่ยมไปด้วยไฟแห่งความฝัน การสอบเทียบจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เด็กยุคใหม่เลือกกัน แล้วการสอบเทียบแบบไหนกันล่ะที่จะใช่สำหรับน้อง ๆ GED หรือ IGCSE กันแน่ที่จะตอบโจทย์ของน้อง ๆ The Planner พร้อมแล้วที่จะพาน้อง ๆ ไปตามหาการสอบเทียบที่จะเหมาะกับน้อง ๆ ในบทความนี้  ไม่ว่าจะเป็นการสอบเทียบ GED หรือ IGCSE ต่างก็มีจุดแข็งของตัวเอง อยู่ที่ว่าเป้าหมายของน้องคืออะไร และจุดประสงค์ที่ต้องการสอบเทียบของน้อง ๆ คืออะไร นอกจากจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับการสอบทั้งสองตัวแล้ว ยังจะพาน้อง ๆ ไปเคลียร์กันให้ชัดว่า “การสอบเทียบ GED หรือ IGCSE การสอบเทียบแบบไหนเหมาะกับเรา”  การสอบเทียบ GED GED (General Educational Development) เป็นการสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของสหรัฐอเมริกา การสอบเทียบสุดฮิตขวัญใจเด็กเจนซี การจะสอบเทียววุฒิ GED ได้ต้องมีอายุอย่างน้อย 16 ปี และต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ปกครอง (Parental[...]

วิศวกรรมชีวการแพทย์ อินเตอร์ ม.มหิดล VS ม.ลาดกระบัง ต่างกันยังไง? มาเทียบให้ดู

“วิศวะ ชีววิทยา และการแพทย์” สามหลักสูตรที่ใครก็คงพอทราบว่ามีเป้าหมายทางการศึกษาที่ค่อนข้างแตกต่างกัน แต่รู้หรือไม่? ปัจจุบัน 3 หลักสูตรนี้ เราสามารถเรียนไปพร้อมกันได้แล้วนะ แถมความต้องการในตลาดแรงงานยังมีมากด้วย หลักสูตรนั้นมีชื่อว่า วิศวกรรมชีวการแพทย์ และสำหรับภาคอินเตอร์ ในประเทศไทยเราเปิดสอนเพียงแค่ 2 สถาบันเท่านั้น คือที่มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ คืออะไร? จบไปทำอะไรได้บ้าง? และหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ นานาชาติ ระหว่าง ม.มหิดล และ ม.ลาดกระบัง จะมีความแตกต่างกันอย่างไร? ใครกำลังหาข้อมูลหลักสูตรนี้อยู่ The Planner สรุปข้อมูลมาให้ได้อ่านกันแล้ว หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ คืออะไร?  วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering) คือ คือหลักสูตรที่รวบรวมศาสตร์ของ “วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) และแพทยศาสตร์” เข้าไว้ด้วยกัน จุดประสงค์เพื่อพัฒนา “นวัตกรรม-เทคโนโลยีทางการแพทย์” อย่างที่ทราบกันดีว่าเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน และเทคโนโลยีทันสมัยที่ตอบโจทย์กับการรักษาโรคในปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อวงการการแพทย์และการบำบัดรักษาทั่วโลก เพราะจะช่วยให้การรักษาเป็นไปด้วยความราบรื่น แม่นยำ ทุ่นแรงบุคลากรทางการแพทย์ และยังสร้างความหวังใหม่ให้กับผู้ป่วยที่มีกระบวนการรักษาพิเศษกว่าปกติด้วย[...]

ELECTORAL COLLEGE คืออะไร? เรียน GED SOCIAL STUDIES ควรรู้!

ตามสถิติถามเด็กไทยกี่คนกี่คนต่างก็ไม่ค่อยมีคนถูกใจในวิชาสังคมศึกษานัก ทำให้อนุมานกันได้ว่าน้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจติว GED หรือกำลังเตรียมตัวสอบ GED อยู่วิชาที่น้อง ๆ ต่างกลัวและไม่ค่อยถูกใจในความยากของมันก็คงหนีไม่พ้น Social Studies หรือก็วิชาสังคมศึกษาของอเมริกานั่นเองค่ะ ในบทความนี้ The Planner เลยจะพาน้อง ๆ ไปเอาตัวรอดกับ GED Social Studies ผ่านความรู้เรื่อง “Electoral College”  ในข้อสอบ GED Social Studies เรื่องที่ออกข้อสอบในหมวดนี้มากที่สุดคือ Civil and government ซึ่งออกในข้อสอบมากถึง 50% การจะเอาตัวรอดในวิชานี้ให้ได้ การติวและหมั่นฝึกทำข้อสอบในหมวดนี้ให้คล่อง ก็การันตีในการก้าวขาหนึ่งข้างผ่านเส้นยาแดง เข้าใกล้การสอบผ่าน GED Social Studies แล้วค่ะ  Electoral College อีกหนึ่งเรื่องที่ออกในข้อสอบ GED Social Studies ในพาร์ทของ Civil and government ซึ่งถ้าน้อง ๆ[...]