CU-TEP vs TU-GET เปรียบเทียบแนวข้อสอบ คิดคะแนนยังไง?

น้อง ๆ ที่กำลังสนใจอยากเข้ามหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย คงจะคุ้นเคยกับการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการสอบ IELTS หรือการสอบ TOEFL แต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์คะแนนแตกต่างกันไปตามแต่ละคณะ ซึ่งอีก 2 ข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่เป็นที่รู้จักไม่แพ้กันเลยก็คือ CU-TEP ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ TU-GET ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Consult a Personalised Tutoring Click Here CU-TEP และ TU-GET ถึงจะเป็นข้อสอบที่มาจากมหาวิทยาลัยจุฬาฯ และธรรมศาตร์ แต่มหาวิทยาลัยอื่นก็ใช้ยื่นได้เช่นกัน เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรนานาชาติ ความแตกต่างระหว่าง CU-TEP และ TU-GET CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) เป็นข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับการใช้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ข้อสอบ CU-TEP มีทั้งหมดกี่ข้อ ให้เวลากี่นาที? Listening – การฟัง โดยจะเป็นการฟังบทสนทนาทั้งแบบสั้นและยาว[...]

ข้อสอบ SAT ของไทยกับของอเมริกา ต่างกันยังไง?

สำหรับน้อง ๆ ที่มีแผนเตรียมสอบเพื่อยื่นคะแนนเข้าคณะอินเตอร์หรือมหาวิทยาลัย หลักสูตรนานาชาติ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ คงต้องคุ้นหน้าคุ้นตากับ “ข้อสอบ SAT” กันเป็นอย่างดี เพราะเป็นหนึ่งในข้อสอบเฉพาะสำคัญที่ใช้พิจารณาทักษะด้านการวิเคราะห์เหตุผลและตรรกะของน้อง ๆ นอกเหนือจากการสอบ IELTS ซึ่งจะวัดทักษะด้านภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่น้อง ๆ ทราบกันไหมคะว่า การสอบ SAT ไม่ได้มีแค่ประเทศไทยเท่านั้นนะคะที่สอบกัน ในบล็อกนี้มาดูกันว่า ข้อสอบ SAT มีที่มาที่ไปอย่างไร? และระหว่างการสอบข้อสอบนี้ในประเทศไทย และประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการสอบ SAT มีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? ถ้าพร้อมแล้ว เราไปรู้กันได้เลย Consult a Personalised Tutoring Click Here SAT คืออะไร? SAT ย่อมาจาก Scholastic Aptitude Test หรือ Scholastic Assessment Test จัดสอบโดยหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาชื่อ College Board โดยจะเป็นข้อสอบมาตรฐานสากลที่ใช้วัดทักษะความรู้ความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Reading[...]

กำเนิด New World สหรัฐอเมริกา

การเรียน GED Social Studies หรือก็คือวิชาสังคมศึกษาที่เด็กไทยคุ้นเคย เพียงแต่การเรียนสังคมศึกษาในหลักสูตรการเรียน GED จะแตกต่างและอาจจะยากสำหรับเด็กไทย เพราะเนื้อหาของ GED Social Studies จะโฟกัสไปที่เรื่องของสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศมหาอำนาจมากกว่า ซึ่งในหลักสูตรสังคมศึกษาของไทยมีเรียนเรื่องพวกนี้ไม่เยอะ วันนี้ The Planner Education เลยจะมาสรุปเรื่องราวการกำเนิดโลกใหม่อย่างทวีปอเมริกาและอเมริกาในปัจจุบัน แบบย่อ ๆ ตรงจุดสำคัญให้น้อง ๆ ในบทความนี้ค่ะ Consult a Personalised Tutoring Click Here ทวีปอเมริกาเริ่มตั้งแต่ยุคที่มีการสำรวจทางทะเล คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวอิตาลี ออกสำรวจทางทะเลเพื่อออกตามหาทวีปเอเชีย ๆ แต่จริง ๆ ที่โคลัมบัสเจอคือ “ทวีปเอเชีย” อเมริโก เวสปุชชี เดินทางไปดูว่าที่โคลัมบัสเจอ ใช่เอเชียจริงไหม เกร็ดความรู้ : แม้โคลัมบัสจะค้นพบอเมริกาก่อนอเมริโก แต่ที่ตั้งชื่อทวีปเป็นชื่ออเมริกาที่มาจากอเมริโก เพราะว่าอเมริโกเป็นผู้ชี้ให้เห็นถูกต้องว่าตรงที่โคลัมบัสพบคือแผ่นดินใหม่ ไม่ใช่ทวีปเอเชีย การสำรวจทางทะเลเปิดเส้นทางใหม่ชาวยุโรปอพยพมายังแผ่นดินใหม่ (อเมริกา) สเปนเป็นชาติแรกที่ตั้งอาณานิคมในอเมริกา สาเหตุที่ชาวสเปนอพยพมาอเมริกา -[...]

GSSE ทีมธรรมศาสตร์ คณะที่ตอบโจทย์ การเป็นผู้บริหารยุคใหม่ในอนาคต

หากน้องเป็นคนหนึ่งที่อยากเรียนคณะหลักสูตรนานาชาติ หรือยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากเรียนต่อคณะไหนดี วันนี้ The Planner จะพาน้องไปรู้จักกับคณะที่เป็นหนึ่งในหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างวิทยาลัยโลกคดีศึกษา หรือเรียกย่อ ๆ ได้ว่า “GSSE” หลักสูตรการศึกษาแนวใหม่ที่จะตอบโจทย์ทั้งเด็กยุคใหม่และสายงานในอนาคต Consult a Personalised Tutoring Click Here GSSE คืออะไร GSSE ย่อมาจาก Global Studies and Social Entrepreneurship เป็นหลักสูตรปริญญาตรี (นานาชาติ) ภายใต้วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ GSSE เรียนอะไร GSSE หลักสูตรนานาชาติ เรียน 4 ปี ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เน้นการเรียนแบบ Active Learning และมี 3 หัวใจหลักของการเรียนใน GSSE คือ “การบริหาร รัฐศาสตร์ และจิตวิทยา” ซึ่งทั้ง 3 อย่างจะประกอบสร้างขึ้นมาเป็น “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” การจะเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ดีได้[...]

BMAT vs กสพท ต่างกันยังไง

เพราะคำว่า “โอกาส” ไม่ได้มาเคาะหน้าประตูบ้านทุกวัน โอกาสความเป็นไปได้ในการสอบติดก็เช่นกัน น้อง ๆ สามารถเปิดโอกาสและสร้างหนทางให้ตัวเองได้ โดยการใช้ทุกโอกาสและความเป็นไปได้ทุกอย่างที่จะทำให้น้อง ๆ บรรลุเป้าหมาย น้อง ๆ ว่าที่นิสิตนักศึกษาคณะสายแพทย์ มันจะดีกว่าไหมหากน้อง ๆ มีโอกาสสอบติดคณะสายแพทย์นอกจากรอบการสอบกสพท.เพียงอย่างเดียว อีกหนึ่งการสอบที่สามารถเพิ่มโอกาสที่น้องจะสอบติดคณะสายการแพทย์ได้ เรียกว่า การสอบ BMAT วันนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักข้อแตกต่างระหว่างการสอบ BMAT และการสอบกสพท.กันค่ะ Consult a Personalised Tutoring Click Here BMAT คืออะไร BMAT ย่อมาจาก Biomedical Admission Test คือ ข้อสอบภาษาอังกฤษเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในคณะสายการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ หรือเภสัชศาสตร์ โดยมี Cambridge Assessment เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบ BMAT ก็คือการรับเข้ารอบ 1 หรือรอบ[...]

รวมหลักสูตรไทย ยื่น GED ได้ อัปเดต 2566

น้อง ๆ รู้กันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ว่า GED หรือ General Educational Development เทียบเท่าได้กับวุฒิมัธยมปลายของไทย แล้วคำถามยอดฮิตในหัวน้อง ๆ GED หลายคนคือ GED ใช้ยื่นเข้าคณะหลักสูตรไทยได้ไหม คำตอบคือ “ได้ค่ะ” บางหลักสูตรไทย สามารถใช้ GED ยื่นได้ โดยเฉพาะคณะสายศิลป์ แทบทุกหลักสูตร จาก 6 มหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ The Planner สรุปข้อมูลมาให้น้อง ๆ โดยอ้างอิงจาก www.mytcas.com ปีล่าสุด 2566 ตามไปดูกันค่ะว่า “คณะหลักสูตรไทยจาก 6 มหาวิทยาลัย คณะไหนบ้างที่รับเด็ก GED” Consult a Personalised Tutoring Click Here GED[...]

GED วิชาที่ยากที่สุด คืออะไร? ต้องรับมือยังไงถ้าไม่เก่งวิชานั้น

“สอบเทียบวุฒิ ม.6 GED” ถือเป็นทางเลือกยอดนิยมที่ฮอตฮิตที่สุดในกลุ่มน้อง ๆ นักเรียน ม.ปลาย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่น้อง ๆ สามารถเรียนรู้และเตรียมสอบเองได้ ก่อนที่จะไปสอบวัดผลจริง ซึ่งวุฒิ GED ยังสามารถใช้ยื่นเรียนต่อมหาวิทยาลัยและการทำงานได้จริงเหมือนกับวุฒิ ม.6 สายสามัญ และถึงแม้ข้อสอบ GED จะมีเนื้อหาออกสอบเพียง 4 วิชา แต่เสียงร่ำลือจากเหล่าน้อง ๆ นักเรียนคอร์สติว GED ที่สอบผ่านเรียบร้อยแล้วกับ The Planner บอกเลยว่า “ห้ามชะล่าใจเด็ดขาด” เพราะเนื้อหาวิชา GED อาจร้ายกว่าที่น้อง ๆ หรือเพื่อน ๆ คิด แต่จะเป็นแบบที่น้อง ๆ กล่าวไว้จริงไหมนะ บล็อกนี้มาดูกันว่า GED วิชาไหนยากที่สุด? และถ้าอยากสอบให้ผ่าน ต้องเตรียมรับมือกันยังไง? Consult a Personalised Tutoring Click Here GED สอบวิชาอะไรบ้าง? อย่างที่น้อง[...]

Conjunction คืออะไร? เกี่ยวยังไงกับการสอบ IELTS

ภาษาอังกฤษ ในความคิดของใครหลายคนอาจจะคิดว่า "แค่พูดและสื่อสารได้ ก็เพียงพอแล้วไม่ใช่เหรอ?" แน่นอนว่าความคิดนี้อาจจะถูกต้อง และอาจไม่ถูกต้องเสียทีเดียวก็ได้ โดยเฉพาะหากเป็นน้อง ๆ หรือใครก็ตาม ที่ต้องการสอบ IELTS เพื่อใช้ใฝ่หาความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยและการทำงานในสายงานที่กว้างกว่า ภาษาอังกฤษและองค์ประกอบต่าง ๆ ในการใช้งาน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยและควรต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง องค์ประกอบในการใช้ภาษาอังกฤษนั้นมีอยู่มากมาย แต่บทความนี้ The Planner จะขอยกเรื่องราวเกี่ยวกับ Conjunction จุดเชื่อมสำคัญในภาษาอังกฤษ มาเล่าให้น้อง ๆ ได้ฟัง สิ่งนี้นั้นคืออะไร? และเป็นประโยชน์อย่างไรกับการสอบ IELTS? มาเข้าใจมากขึ้นไปพร้อมกันดีกว่า Consult a Personalised Tutoring Click Here Conjunction คืออะไร Conjunction หรือภาษาทางการคนไทยจะเรียกว่า คำสันธาน คือ ชนิดของคำที่มีหน้าที่เชื่อมคำ ประโยค วลี หรือประโยคย่อยเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้บ่อยครั้งผู้ใช้ก็อาจจะเรียกมันว่า คำเชื่อม คำเชื่อม มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการช่วยให้รูปประโยคและสารที่เราต้องการจะสื่อออกมามีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน มีความกระชับ และสละสลวยได้มากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ในภาษาอังกฤษเท่านั้นที่จะมีคำเชื่อม แต่คำชนิดนี้ยังอยู่ร่วมกับการสื่อสารในภาษาอื่น ๆ[...]

พาทำความรู้จัก 3 หลักสูตร ภาษาอินเตอร์

IELTS เปรียบเหมือนประตูของโดเรม่อนที่สามารถพาน้องไปทั่วโลกในทุกที่ที่อยากไปได้ การติว IELTS จึงเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เพราะการที่น้อง ๆ จะใช้ประโยชน์จาก IELTS ได้นั้น น้อง ๆ จะต้องได้คะแนน IELTS Band สูง ๆ ก่อนนะคะ พูดเท่านี้อาจจะยังไม่เห็นภาพ วันนี้ The Planner เลยจะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบว่า “ทำไม IELTS ถึงสำคัญ” ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ภาษาอังกฤษก็ยังคงมีความสำคัญสำหรับทั่วโลกอยู่ ภาษาอังกฤษยังคงเป็นสื่อกลางที่คนทั่วโลกใช้กันจนมันกลายเป็นภาษาสากล และบรรจุอยู่ในระบบการศึกษาแทบทั้งโลกเลยก็ว่าได้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ IELTS ซึ่งก็คือผลทดสอบทางภาษาอังกฤษที่ได้รับรองมาตรฐานระดับสากล มีความสำคัญอย่างมากกับหลาย ๆ ด้านของคนทั่วโลกนั่นเองค่ะ Consult a Personalised Tutoring Click Here ทำไม IELTS ถึงสำคัญ วัดทักษะความรู้ด้านภาษาอังกฤษ การสอบ IELTS วัดทักษะภาษาอังกฤษทั้งหมด 4 ด้าน คือ ทักษะการฟัง[...]

รีวิวข้อสอบ GED

ไม่ว่าจะการสอบอะไร หากเราไปสอบทั้ง ๆ ที่ไม่เตรียมตัวอ่าน หรือฝึกทำข้อสอบ หรือทำการบ้านเกี่ยวกับตัวข้อสอบ ว่าข้อสอบที่เรากำลังจะสอบออกเรื่องอะไรบ้าง หากเราไม่รู้เรื่องพวกนี้ก่อนเลย อาจจะตกม้าตายในการทำข้อสอบได้ ข้อสอบ GED ก็เช่นกัน การจะสอบเทียบ GED ผ่าน ไม่ใช่เรื่องยาก และก็ไม่เรื่องง่าย ต้องอาศัยการฝึกฝนและตั้งใจ น้อง ๆ ทุกคนสามารถสอบผ่านได้ค่ะ วันนี้ The Planner จะมารีวิว ตีแตกข้อสอบ GED กันว่า แต่ละวิชาออกเรื่องอะไรกันบ้าง GED มีสอบทั้งหมด 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts, Social Studies, Mathematical Reasoning และ Science โดยผู้ที่สอบเทียบ GED ในไทย ต้องสอบแต่ละวิชาให้ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 145 คะแนนทุกวิชาก่อน จึงจะสามารถเทียบวุฒิมัธยมปลายได้สำเร็จ แต่หากน้อง ๆ จะใช้วุฒิ GED[...]

หลักสูตรแพทย์อินเตอร์ในประเทศไทย เปิดสอนที่ไหนบ้าง?

“คณะแพทยศาสตร์” นับเป็นคณะแรก ๆ ในมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีเกณฑ์การรับเข้าศึกษาที่โหดที่สุด เนื่องด้วยเป็นอาชีพที่เมื่อเรียนจบไปแล้ว จะต้องใช้ทักษะในหลาย ๆ ด้านเพื่อทำการรักษาอาการและดูแลสุขภาพของผู้ป่วย สำหรับประเทศไทยเองนั้น คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรภาษาไทย ได้มีการเปิดสอนในหลาย ๆ มหาวิทยาลัยแล้วทั่วประเทศ ในวันนี้ The Planner อยากพาน้อง ๆ มาสัมผัสในมุมของ “คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรที่เป็นนานาชาติ หรือแบบอินเตอร์” ว่ามีเปิดสอนที่ไหนในประเทศไทยบ้าง? แล้วแต่ละหลักสูตรจะมีจุดเด่นหรือข้อแต่ต่างกันอย่างไร ตาม The Planner มาดูกันได้เลย Consult a Personalised Tutoring Click Here Chulalongkorn University หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ CU-MEDi จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะขึ้นชื่อในหลักสูตรภาคไทยแล้ว มหาวิทยาลัยแห่งนี้ยังมีหลักสูตรภาคอินเตอร์ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยความน่าสนใจของหลักสูตรนี้ คือ นักเรียนสามารถเรียนจบแพทย์ได้ภายในระยะเวลาแค่ 4 ปี เท่านั้น ซึ่งต่างจากหลักสูตรแพทยศาสตร์ในแบบปกติ ที่ต้องเรียนกันถึง 6 ปี และมีโอกาสไปฝึกงานในต่างประเทศด้วย[...]

พาทำความรู้จัก 3 หลักสูตร ภาษาอินเตอร์

เอาใจน้องเด็กศิลป์หัวใจรักภาษากับ 3 หลักสูตรนานาชาติด้านภาษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงจะเรียนเกี่ยวกับภาษาเหมือนกัน ทว่าการเรียนการสอนของทั้ง 3 สาขาค่อนข้างแตกต่างกันเลยนะคะ ก่อนที่จะไปรู้จักกันให้มากขึ้นว่าธรรมศาสตร์มีหลักสูตรนานาชาติสายภาษาหลักสูตรไหนบ้าง ก็ต้องแอบกระซิบข่าวดีกับน้อง ๆ ก่อนเลยว่า หากอยากเข้าหลักสูตรเหล่านี้น้อง ๆ สอบภาษาอังกฤษก็ยื่นได้ทุกสาขา น้องเด็กศิลป์ไม่ต้องห่วงเลยว่าต้องสอบคณิตศาสตร์ด้วย ไม่มีแน่นอนค่ะ ตามไปทำความรู้จักทีมภาษาอินเตอร์ของธรรมศาสตร์กับ The Planner ได้เลย Consult a Personalised Tutoring Click Here Faculty of Liberal Arts หรือคณะศิลปศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ ทั้งหมด 2 สาขาคือ BAS และ BC The British and American Studies (BAS) หรือสาขาอังกฤษอเมริกันศึกษา เรียนอะไร คณะนี้จะสอนให้น้อง ๆ ได้เห็นถึงความสอดคล้องกันของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอังกฤษกับประเทศสหรัฐอเมริกา โดยน้อง ๆ จะได้เรียนตั้งแต่เรื่องวัฒนธรรม วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ไปจนถึงเรื่องระบอบการเมืองการปกครองของประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา[...]

Thomas Jefferson ผู้ประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา

GED Social Studies วิชาที่เรียกได้ว่าน้อง ๆ เด็กที่กำลังจะเริ่มติว GED หรือกำลังติว GED อยู่ ต้องเริ่มจากศูนย์กับวิชานี้จริง ๆ เพราะช่วงชีวิตการเรียนของน้อง ๆ แทบจะไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ สังคม การเมืองของสหรัฐอเมริกากันเลยใช่ไหมคะ หรือต่อให้เรียนก็เรียนกันแค่แบบเผิน ๆ เท่านั้น วิชานี้จึงเป็นหนึ่งในวิชาที่น้อง ๆ หลายคนกังวลกันมาก และวันนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปตีแตกหมวดที่ออกเยอะที่สุดใน GED Social Studies อย่างหมวด Civil and Government ที่ออกในข้อสอบถึง 40% เลย มาตีแตกหมวดนี้กันผ่านบุคคลที่ชื่อว่า “โธมัส เจฟเฟอร์สัน” กันค่ะ Consult a Personalised Tutoring Click Here โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) คือใคร โธมัส[...]

Bluebook คืออะไร? ทำไมเด็กที่สอบ SAT ทุกคนต้องรู้จัก

สำหรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอบ SAT จากแบบ Paper มาเป็นการสอบแบบ Digital ในช่วงต้นปี 2023 สิ่งหนึ่งที่เรียกได้ว่าน้อง ๆ ที่กำลังจะติวสอบ SAT ทุกคนต้องให้ความสำคัญและรู้จักกันให้เป็นอย่างดี นั่นคือโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่ใช้ในการสอบ SAT หรือที่เราพอรู้จักกันมาบ้างว่าคือ Bluebook™ โปรแกรมนี้ จะเข้ามาปรับเปลี่ยนวิธีการสอบของน้อง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางไหนบ้าง? ขณะใช้งานจะต้องเตรียมรับมืออย่างไร? กรณีน้อง ๆ ที่ไม่เคยสอบ Digital SAT รอบ Test มาก่อน วันนี้ The Planner ได้รวบรวมข้อมูลของโปรแกรม Bluebook™ นี้มาให้กับน้อง ๆ แล้ว ไปอ่านพร้อมกันได้เลย Consult a Personalised Tutoring Click Here Bluebook™ คืออะไร Bluebook™ หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า Bluebook คือ แอปพลิเคชันที่น้อง ๆ[...]

วิศวะ ISE, SIIT, SIIE สามคณะนี้แตกต่างกันยังไง มาดูกัน

ประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เปิดสอน หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ และผลิตวิศวกรคุณภาพได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยเฉพาะในหลักสูตรอินเตอร์ที่ปีหนึ่ง ๆ มีนักเรียนที่สนใจเรียนรวมแล้วมากกว่าหลายพันคน และสามคณะแรกที่เด็กนักเรียนไทยและนักเรียนต่างชาตินิยมยื่นคะแนนเข้าศึกษาคือ คณะ ISE , SIIT และ SIIE แต่ก็มีน้อง ๆ จำนวนไม่น้อยที่เกิดความสับสนกับชื่อหลักสูตรที่ค่อนข้างคล้ายกัน และยังไม่รู้ว่าจะเรียนวิศวะที่ไหนดี บทความนี้ The Planner จะพาไปรู้จักแต่ละหลักสูตร และเปรียบเทียบความต่างของทั้ง 3 คณะนี้ให้ได้รู้กัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันได้เลย Consult a Personalised Tutoring Click Here คณะ ISE CU คณะ ISE หรือ International School of Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยหลักสูตรนี้ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2005 หรือเกือบ 20 ปีผ่านมาแล้ว โดยหลักสูตร ISE[...]

ขั้นตอนสมัครสอบ GED

น้อง ๆ เด็ก GED มือใหม่ที่กำลังคิดจะเรียน GED หรือกำลังติว GED อยู่ วันนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปดูกันว่าสอบเทียบ GED ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มสมัคร ไปจนถึงได้ใบเทียบวุฒิ GED มานอนกอดเตรียมยื่นเรียนต่อระดับอุดมศึกษา มีด่านไหนบ้างที่น้อง ๆ ต้องเคลียร์ Consult a Personalised Tutoring Click Here ก่อนอื่นอย่างที่น้อง ๆ หลายคนทราบกันดีว่า GED คือหลักสูตรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเทียบเท่าได้กับวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของไทย และเป็นทางเลือกทางการเรียนที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้ร่นระยะเวลาการเรียนมัธยมปลาย 3 ปี ให้สั้นลง อย่างนักเรียนที่ติว GED ที่ The Planner Education ก็สามารถจบม.6 ได้ภายในระยะเวลา 1 เดือนมาแล้ว การสอบเทียบ GED[...]

เทรนด์การเรียน 2023 สไตล์การเรียนไหน เหมาะกับเด็กรุ่นใหม่

การศึกษารูปแบบไหนกันเป็น “การศึกษาที่ดีที่สุด” คำตอบคือ “ไม่มี” ค่ะ ทุกระบบล้วนแล้วแต่มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป การที่เราอยู่ในระบบการศึกษาระบบหนึ่งอาจทำให้เรามองเห็นแต่ข้อเสียของตัวระบบที่เราอยู่ แต่คนนอกระบบกลับเห็นข้อดีของระบบนั้น ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นนะคะ อย่างเราเรียนในระบบโรงเรียนรัฐบาลของไทย เรามองไม่เห็นข้อดีของระบบนี้เลย แต่เมื่อถามเด็กจากโรงเรียนอินเตอร์ก็จะบอกข้อดีของเราว่า เด็กรัฐบาลดูเก่งทุกเรื่องเลย นั้นก็เพราะว่าโรงเรียนรัฐบาลให้เด็กเรียนทุกอย่างเลยนั่นเองค่ะ ในบทความนี้จะนำน้อง ๆ ไปรู้จักกับนิยามของห้องเรียนที่ดีที่สุดคืออะไร ในแบบฉบับของน้อง ๆ เอง ผ่านเทรนด์การศึกษาปี 2023 ห้องเรียนที่ดีที่สุดที่น้องสามารถเลือกจัดสรรได้ด้วยตัวเอง โดยมี The Planner Education เป็นสื่อกลางช่วยน้อง ๆ สร้างห้องเรียนที่ดีที่สุดของตัวเองขึ้นมา Consult a Personalised Tutoring Click Here น้อง ๆ คิดว่าการศึกษาที่ดีคืออะไร และห้องเรียนที่ดีเป็นแบบไหน The Planner Education สามารถช่วยน้อง ๆ สร้างห้องเรียนที่ดีที่สุดสำหรับน้อง ๆ ได้ น้องสามารถจัดสรรช่วงเวลาเรียนและวิชาที่น้อง ๆ เรียนก็สามารถเลือกได้เอง ผ่านระบบการเรียน A-LEVEL หรือหากน้อง ๆ[...]

ก่อนคว้าวุฒิต้องรู้ สอบเทียบ GED เหมาะกับใครบ้าง?

น้อง ๆ คงพอทราบกันอยู่แล้วว่า การเรียนหลักสูตร GED หรือการสอบ GED ทั้ง 4 วิชา ก็เพื่อที่จะเทียบวุฒิการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลาย หรือคว้าวุฒิเทียบ ม.6 เช่นเดียวกับการเรียนในหลักสูตรปกติทั่วไป และถ้าหากน้องคนไหนที่กำลังจะตัดสินใจเรียนในหลักสูตรนี้ วันนี้ The Planner มีข้อพิจารณามาฝากกันว่า หลักสูตร GED เหมาะกับใครบ้าง? ถ้าน้อง ๆ เลือกเรียนแล้วจะตรงตามความต้องการจริงหรือเปล่า? ไม่ต้องรอช้าให้เสียเวลา เราไปดูข้อพิจารณาเหล่านั้นกันได้เลย Consult a Personalised Tutoring Click Here GED เหมาะกับน้องที่อยากพัฒนาภาษาอังกฤษ ในหลักสูตร GED หรือ General Educational Development หลักสูตรเทียบวุฒิ ม.6 จากประเทศสหรัฐอเมริกา ทุกวิชาในการเรียนจะมีเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษล้วน รวมถึงในตัวข้อสอบ GED Ready และข้อสอบจริงด้วย โดยไม่มีการแปลเนื้อหาเป็นภาษาอื่น ๆ ตามประเทศที่สอน ดังนั้น หากน้อง ๆ[...]

รวมเกณฑ์เทียบวุฒิ GED คณะอินเตอร์ ม.ท็อป

GED เป็นการสอบเทียบของสหรัฐอเมริกา สามารถเทียบวุฒิได้เท่ากับวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของไทย แล้วน้อง ๆ เด็ก GED ที่กำลังจะสอบเทียบ GED หรือกำลังติว GED เพื่อเตรียมยื่นเข้าศึกษาต่อคณะหลักสูตรนานาชาติในไทย ต้องทำคะแนนให้ได้วิชาละเท่าไหร่ ตรงตามที่ทปอ. ประกาศไว้ในหลักเกณฑ์เทียบวุฒิไหมที่ต้องทำให้ได้วิชาละ 145 คะแนนถึงจะเทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ เราตามมาดูกันค่ะว่าคณะหลักสูตรนานาชาติของ 6 มหาวิทยาลัยในไทย ต้องทำคะแนน GED ให้ได้เท่าไหร่จึงจะสามารถยื่นเข้าศึกษาต่อได้ Consult a Personalised Tutoring Click Here จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลสอบ GED ก่อนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 GED 5 วิชา รวมกัน ≥2250 และแต่ละวิชาคะแนน ≥410 ผลสอบ GED หลังพฤษภาคม พ.ศ. 2560 แต่ละวิชาคะแนน ≥145 ใช้เหมือนกันทุกคณะ  เกณฑ์คะแนนยื่นหลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ที่[...]