รอบสัมภาษณ์สำคัญยังไงกับเด็กที่อยากเข้าคณะหลักสูตรนานาชาติ น้ำหนักคะแนนรอบสัมภาษณ์มีมากแค่ไหน น้อง ๆ รู้กันไหมคะ ว่าบางคณะน้ำหนักคะแนนรอบสัมภาษณ์ชี้อนาคตการสอบติดของน้อง ๆ ได้เลย เพราะบางคนที่ยื่นคะแนนสูง ๆ เข้าไป แต่พลาดไม่ติดเพราะคะแนนรอบสัมภาษณ์ก็มีมาแล้ว เพราะฉะนั้นน้อง ๆ ที่อยากเรียนหลักสูตรนานาชาติ อย่าพึ่งชะล่าใจว่าทำคะแนนได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำในคณะที่อยากเข้าแล้ว สอบติดชัวร์ ๆ แน่ ๆ เลย หยุดก่อนค่ะ ยังมีรอบสัมภาษณ์ด่านสุดท้ายให้น้อง ๆ ต้องฝ่าฟันไปอีก พี่ The Planner เลยจะพาน้อง ๆ ไปเตรียมตัวสำหรับการสอบสัมภาษณ์กันค่ะ
- รู้เขารู้เรา : เช็กข้อมูลก่อนว่าคณะที่น้อง ๆ ยื่น น้ำหนักคะแนนข้อเขียนกับน้ำหนักคะแนนรอบสัมภาษณ์มีมากน้อยแค่ไหน เตรียมหาข้อมูลทำการบ้านเกี่ยวกับคณะที่น้อง ๆ จะไปสัมภาษณ์ให้ดี ๆ และเตรียมพก Portfolio ไปเผื่อด้วยนะคะ
ดูวิธีการทำ Portfolio ยังไงให้ปังได้ที่ ทำ Portfolio แบบนี้ ใคร ๆ ก็อยากรับเข้าไปเรียน! - เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ตอบคำถามด้วยภาษาอังกฤษทั้งหมด เพราะคณะหลักสูตรนานาชาติจะสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดอยู่แล้วค่ะ
- เตรียมดูเรื่องข่าวสารที่เป็นประเด็นในปัจจุบันไปบ้าง
- แนะนำตัวยังไงให้ปังมาดูกัน
- Past (อดีต) : พูดถึงการศึกษาของเรา กำลังเรียนโรงเรียนอะไร เรียนสายไหนมา และกิจกรรมที่เคยทำในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียนมีอะไรบ้าง
- Present (ปัจจุบัน) : ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ตอนนี้เรามีแพสชันในเรื่องของอะไร ชอบอะไร เรากำลังสนใจในเรื่องอะไรอยู่ และที่สำคัญควรเชื่อมโยงกับคณะที่เรากำลังสัมภาษณ์อยู่ เช่น ถ้าสัมภาษณ์คณะ BBA น้อง ๆ อาจจะตอบว่าสนใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ฯลฯ
- Future (อนาคต) : เป้าหมายของเราในอนาคตคืออะไร และคณะนี้จะทำให้เป้าหมายของเราสำเร็จได้ยังไง
- คำถามพื้นฐานที่มักเจอในการสอบสัมภาษณ์
- Why do you want to major in…? (ทำไมถึงอยากเข้าคณะ….) : น้องควรตอบทวนคำถามแล้วจึงค่อยบอกเหตุผลที่อยากเข้า I want to major in…(ชื่อคณะ) because…
- What do you do in your free time? (งานอดิเรกของคุณคืออะไร)
- What do you hope to do after graduation? (หลังเรียนจบคุณจะทำอะไร)
- Who in your life has most influenced you? (ใครที่บทบาทในชีวิตของคุณ) : น้อง ๆ อาจจะตอบไปว่า พ่อแม่ หรือใครก็ตามที่เป็นไอดอลของเรา
- What three adjectives describe you? (สามคำที่อธิบายตัวคุณ)
- What do you see yourself doing 10 years from now? (อีก 10 ปีข้างหน้า คุณมองตัวคุณเป็นยังไง)
- Who most helped you get to where you are today? (ใครช่วยคุณให้มาอยู่ตรงนี้ได้)
- What is your biggest weakness? (อะไรเป็นจุดอ่อนที่สุดของคุณ)
- What subject in your high school did your favourite? (วิชาอะไรตอนมัธยมที่คุณชอบ)
- เมื่อเจอคำถามที่ตอบไม่ได้ควรทำยังไง : ส่วนใหญ่เป็นคำถามที่วัดตรรกะและไหวพริบ
- ออกตัวอย่างมีชั้นเชิง : อาจจะตอบยังเชิงเริ่มต้นก่อนว่า “ฉันไม่แน่ใจ แต่ฉันคิดว่า….(คำตอบของเรา)” เพราะถ้าเราไม่ตอบยังเชิงก่อน แต่ตอบอย่างมั่นใจไปเลย คนสัมภาษณ์อาจถามคำถามนี้กับเราต่อแบบลึกกว่าเดิม
- ตอบพร้อมเหตุผล : ทุกคำตอบของเราควรมีเหตุผล เหตุผลไม่มีถูกไม่มีผิด ไม่มีคำตอบตายตัว แต่กรรมการแค่อยากฟังความคิดเห็นของเราเท่านั้นเองค่ะ น้อง ๆ อย่าพึ่งไปกลัวว่าจะตอบผิดเลย
- ทิ้งท้ายคำตอบให้ประทับใจ เช่น น้อง ๆ อาจจะทิ้งท้ายคำตอบของตัวเองว่า “ถึงคำถามนี้ฉันจะตอบอย่างไม่มั่นใจ แต่หลังจากนี้ฉันจะไปศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมันค่ะ”
- ก่อนจบการสัมภาษณ์ กรรมการมักเปิดโอกาสให้เราได้ถามคำถามเขา ถ้าเป็นไปได้เราควรถามเขากลับจะเป็นคำถามอะไรก็ได้ค่ะ
ตัวอย่างคำถามสัมภาษณ์ของแต่ละคณะ
- BALAC (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) : ถ้าต้องเป็นคนที่จัดการเรื่องโรฮิงญาจะจัดการยังไง, ทำไมภาษาอังกฤษยังคงมีความเจริญรุ่งเรืองแม้จะผ่านมานานแล้ว
- JIPP (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) : สุ่มบทความเกี่ยวกับจิตวิทยาให้เราฟังแล้วให้เราวิเคราะห์, neuroscience คืออะไร
- BBA (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) : เล่าข่าวให้ฟัง, รู้อะไรเกี่ยวกับหลักการทางการตลาดบ้าง
- CICM : คำถามวัดทัศนคติความเข้าใจ ความพร้อมในการเป็นหมอ เช่น ถ้าต้องตัดสินใจเลือกผ่าตัดได้แค่คนเดียว จะเลือกผ่าตัดให้ใคร ระหว่างคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นคนดี ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาโดยตลอด แต่หากผ่าตัดให้เขามี % รอดน้อยกว่าไม่รอด กับอีกคนเป็นคนที่ชอบดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ชอบทำกิจกรรมที่ทำให้สุขภาพแย่ลง แต่โอกาสผ่าตัดรอดมีสูงกว่าไม่รอด คุณจะเลือกผ่าตัดให้ใคร คำถามเป็นแบบปลายเปิด ไม่มีคำตอบที่ถูกตายตัว เน้นวัดทักษนคติของผู้สัมภาษณ์
ก่อนจะถึงรอบสอบสัมภาษณ์น้อง ๆ จะต้องมีคะแนนถึงเกณฑ์ก่อนนะคะ มาดูกันค่ะว่า Requirement ของแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นยังไงกันบ้าง
- เปิดเกณฑ์คะแนน จุฬาฯ อินเตอร์ 2566
- เปิดเกณฑ์คะแนน ธรรมศาสตร์ อินเตอร์ 2566
- เปิดเกณฑ์คะแนน เกษตรศาสตร์ อินเตอร์ 2566
เป็นยังไงกันบ้างคะกับการเตรียมตัวรอบสอบสัมภาษณ์ที่ The Planner นำมาฝากน้อง ๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องทุกคนนะคะ หัวใจหลักของการสัมภาษณ์ไม่ใช่อยู่ที่คำตอบถูกหรือคำตอบผิด แต่จะวัดกันที่ทัศนคติความคิดของน้อง ๆ เป็นหลัก ฝ่าฟันมาจนถึงด่านสุดท้ายอย่างการสัมภาษณ์แล้ว พี่เชื่อว่าน้อง ๆ ต้องผ่านด่านนี้ไปได้อย่างแน่นอน คิดซะว่าการสัมภาษณ์คณะในฝันก็เหมือนการซ้อมเป็นนิสิตนักศึกษาในคณะนั้นโดยการพูดคุยกับอาจารย์ล่ะกันค่ะ และสุดท้ายนี้ก่อนจะสอบสัมภาษณ์น้อง ๆ ต้องมีคะแนนถึงเกณฑ์ที่แต่ละคณะกำหนดก่อนนะคะ ไม่ว่าจะคะแนน SAT IELTS มาเตรียมความพร้อม ติว SAT IELTS ที่ The Planner Education คะแนนถึงสอบติดแน่นอน
สนใจติว IELTS | IGCSE | GED | SAT/GSAT | ACT | A-LEVEL | IB | AP | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ARTS | TU-GET | Academic Writing ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!