GED RLA : Common Pronoun Errors

          เรียน GED RLA วันละนิด วันนี้เรามาดูว่าเวลาที่เราใช้คำสรรพนาม (Pronoun) แทนคำนามที่ถูกกล่าวถึงไปแล้วในประโยค นอกเหนือจากเราจะต้องคำนึงเรื่องการใช้รูปฟอร์มของสรรพนามให้สอดคล้องกับหน้าที่ เช่น การใช้รูปประธาน  (I, You, We, They) หรือรูปแสดงความเป็นเจ้าของ (his, its, their, my) ทุกคนควรจะระมัดประเด็นต่อไปนี้ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการใช้คำสรรพนามที่เราพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน (Common Pronoun Errors) และในข้อสอบ GED RLA ด้วย 1 ต้องเปรียบเทียบ Pronoun กับสิ่งที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ – My hair is longer than yours. (My hair is longer than your hair) หากจะเปรียบเทียบความยาวของเส้นผม เราก็ต้องเปรียบเทียบกับความยาวเส้นผมของอีกคนหนึ่ง      ห้ามเปรียบเทียบของคนละประเภท เช่น My hair is longer[…]

SAT English – Confusing Words

            ติว SAT กัน วันละตอน วันนี้จะมาดูคำที่ต้องรู้ความแตกต่าง ในชีวิตนี้ทุกคนน่าจะเคยประสบปัญหาเวลาเจอคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีลักษณะคล้ายกัน (อย่างการออกเสียงคล้ายกันหรือการสะกดคำคล้ายกัน) มักจะทำให้เราสับสนและเผลอใช้คำศัพท์เหล่านั้นผิดบริบท เช่น two VS to VS to, than VS then และ advice VS advise             จะเห็นได้ชัดเลยว่าคำกลุ่มนี้มักสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้เสมอ พี่เจอบ่อยๆจากน้องๆที่เรียน SAT กัน คำกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า Confusing Words (ลักษณะคล้ายแต่มีความหมายและการใช้งานแตกต่าง) ข้อสอบ SAT เองก็มักจะทดสอบว่าพวกเรารู้คำศัพท์ รู้ความแตกต่างและการใช้งานคำศัพท์แต่ละคำมากเพียงพอที่จะไม่สับสนเวลาทำข้อสอบหรือเปล่า             วันนี้พี่ก็เลยจะมานำเสนอคำศัพท์ที่มีลักษณะคล้ายกันมากจนสร้างความสับสนให้กับน้องๆที่ติว SAT และผู้ใช้ภาษา เรื่องนี้มักจะออกข้อสอบ SAT กันครับ เราลองมาดูกันทีละคู่เลยดีกว่า Affect VS Effect             คำคู่แรกนี้เป็นคำคู่ที่ง่ายที่สุด แต่ก็ยังมีเด็กหลายคนที่ใช้งานผิดนะครับ สองคำนี้มีความหมายคล้ายกัน แปลว่า “(มี)ผลกระทบ” แตกต่างกันคือ affect =[…]

GED RLA – Cause and Effect

ติว GED RLA วันละนิดวันนี้ การอ่านบทความประเภท non-fiction นอกเหนือจากเราจะต้องจับใจความสำคัญ หรือ Main Idea ของเรื่องแล้ว สิ่งที่ทุกคนควรจะต้องทำต่อมาคือการทำความเข้าใจของโครงสร้างงานเขียนและตีความหาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดในเรื่อง (Inferring Relationships between Ideas) บ่อยครั้งที่ผู้เขียนมักจะเชื่อมโยงความคิดในเรื่องโดยการใช้ความสัมพันธ์ประเภทสาเหตุและผลลัพธ์ ( Cause and Effect) ความสัมพันธ์ประเภทนี้หมายความว่า “ความคิด” (หรืออาจเป็นเหตุการณ์) หนึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด”ความคิด” (หรือเหตุการณ์)อีกเรื่อง สามารถพูดอีกอย่างได้ว่า “ความคิดที่สอง”เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจาก “ความคิดแรก” เช่น Siri forgot to take medicine, so her symptom got worse. (ลืมกินยา = cause, อาการแย่ลง = effect) สังเกตว่า เวลาเราพยายามแยกแยะความสัมพันธ์ระหว่างสองประโยคเราสามารถใช้คำเชื่อม (transition) เพื่อช่วยระบุความสัมพันธ์ระหว่างความคิดได้ ** จำไว้ว่า คำเชื่อมกลุ่ม “because” จะตามหลังด้วยสาเหตุ[…]

GED Math – Basic concept of functions

วันนี้มาเรียน GED Mathematics กันซักนิด ฟังก์ชัน (Function) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรในคู่อันดับใด ๆ ของความสัมพันธ์นั้น คู่อันดับของฟังก์ชันจะประกอบไปด้วย input variable (ตัวแปรขาเข้า) อันเป็นสมาชิกตัวแรกในคู่อันดับ และ output variable (ตัวแปรขาออก) อันเป็นสมาชิกตัวหลังในคู่อันดับ โดยมีเงื่อนไขว่า ในแต่ละ input จะต้องมี output เพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น มิเช่นนั้นความสัมพันธ์จะไม่เป็นฟังก์ชัน   ตัวอย่าง คู่อันดับของ (เมือง, ประเทศ) โดยที่เมือง คือ input variable และประเทศ คือ output variable f = {(กรุงเทพ, ประเทศไทย), (ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ)} f เป็นฟังก์ชันเพราะ แต่ละ input จะต้องมี output เพียงแค่ตัวเดียว g =[…]

GED Science – Chromosome

ติว GED Science วันละนิดวันนี้เรื่อง Chromosome ครับ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมมนุษย์แต่ละคนถึงมีหน้าตาไม่เหมือนกันเลย แต่ทำไมฝาแฝดถึงมีหน้าตาเหมือนกันทุกประการ เพื่อไขข้อข้องใจ พี่จึงจะมาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครโมโซม เพราะโครโมโซมนี่แหละที่เป็นองค์ประกอบในเซลล์ที่ทำให้หน้าตาของมนุษย์แต่ละคนแตกต่างกันออกไป โครโมโซม (Chromosome) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่พบในนิวเคลียส (Nucleus) ของเซลล์ และเป็นที่อยู่ของ ยีน (Gene) ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โครโมโซมประกอบไปด้วย 1. ดีเอ็นเอ (DNA, Deoxyribonucleic acid) และ             2. โปรตีนฮิสโตน (Histone protein) ซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน (Amino acid) ตั้งแต่ 100-200 โมเลกุล ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน เพื่อปรับสมดุลสภาวะความเป็นกรด-เบส ให้เหมาะสมแก่เซลล์ ดังนั้นลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ จะเกี่ยวข้องกับโปรตีนเสมอ เช่น เส้นผมของมนุษย์ เกิดจากการรวมตัวของโปรตีนที่เรียกว่า เคราติน (Keratin) สามารถถ่ายทอดลักษณะของเส้นผม ได้ 2 ลักษณะ เช่น เส้นผมตรง(Straight hair)[…]

GED Social Studies – Bill of Rights

ล่าสุดนี้สหรัฐอเมริกามีอัตราผู้ติดเชื้อไวรัส COVID -19 ถึง 1,237,633 คนซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อมากที่สุดในโลกและยังมีแนวโน้มว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ (ข้อมูลประจำวันที่ 6/5/2020) แม้ว่าจะมีอัตราผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตสูงขนาดนี้ ประชาชนชาวอเมริกาส่วนหนึ่งก็ยังออกมารวมตัวกันประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมาตรการปิดเมือง/ประเทศ (Lockdown) เนื่องจากปัญญาด้านเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยลงทำให้ประชาชนเริ่มเผชิญสภาวะอดอยาก อีกทั้งประชาชนกลุ่มนี้มองว่ามาตรการ Lockdown เป็นการละเมิดสิทธิ อิสรภาพและเสรีภาพของประชาชน (ชาวอเมริกาให้ความสำคัญสิทธิดังกล่าวมาก)  จนถึงขั้นให้เหตุผลว่ารัฐบาลกำลังนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลความรุนแรงของไวรัสโควิดเกินจริงและใช้ไวรัสโควิดเป็นเครื่องมือในการควบคุมและละเมิดสิทธิประชาชน ว่าแต่ทุกคนสงสัยไหมว่ากลุ่มผู้ประท้วงไม่กลัวหรอครับว่าการออกมาเดินขบวนนี้อาจทำให้เขาถูกจับเข้าคุก ?  (ปล. สำหรับคนที่สงสัยว่าพวกเขาไม่กลัวอันตรายของไวรัสบ้างหรอ ถ้าเขาออกมาเดินขบวนได้ขนาดนี้พี่ก็อยากบอกว่าคงไม่ต้องสงสัยแล้วว่าพวกเขากลัวไวรัสหรือเปล่า 555) กลับมาที่ประเด็นของเราดีกว่า ว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับการเรียนGED Social Studies อย่างไร สาเหตุที่ผู้ประท้วงออกมาเดินขบวนท้าทายมาตรการของรัฐและเจ้าหน้าที่ได้ขนาดนี้ เพราะพวกเขาได้รับการปกป้องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitution) อยู่ครับ ในเนื้อหาติว GED Social Studies ย้อนกลับไปในสมัยที่อเมริกาเพิ่งก่อตั้งประเทศสำเร็จหลังจากสามารถเอาชนะเจ้าอาณานิคมอย่างจักรวรรดิอังกฤษ ได้เกิดความพยายามรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลางและเกิดงานประชุมหารือเพื่อร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐขึ้น (The Constitutional Convention) ในงานประชุมนี้กลุ่มผู้ต่อต้านการรวมอำนาจของรัฐบาลกลาง (Anti-Federalist) ได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาในตอนแรกยังไม่ได้ระบุและปกป้องสิทธิของประชาชนเอาไว้ ซึ่งจากการการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้มีการเพิ่มเติมร่างกฎหมายสิทธิพลเมือง (Bill of Rights)เข้าไปในปี 1791 เพื่อรับประกันสิทธิของประชาชน โดยบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนี้มีจำนวนทั้งหมด 10 มาตราซึ่งในการเรียน[…]

GED RLA : Causative Verb

            สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาติว GED RLA กันหน่อยนะครับ น้อง ๆ เคยขอเงินคุณพ่อ คุณแม่ไปตัดผม ทำเล็บ หรือซ่อมรถบ้างไหมครับ ถ้าหากเคย น้อง ๆ บอกพวกท่านอย่างไรกันครับ ระวังดี ๆ นะครับ เพราะถ้าน้องบอกคุณแม่ว่าแม่เดี๋ยวไปตัดผมนะโดยพูดเป็นภาษาอังกฤษว่า I will cut my hair น้องกำลังโกหกท่านอยู่นะครับ เพราะประโยคดังกล่าวแปลว่า “น้องจะตัดผมตัวเอง” (หมายถึง น้องหยิบเอากรรไกร หรือ ปัตตาเลี่ยนขึ้นมาจัดการเล็มผมตัวเอง) แต่ในความเป็นจริงน้องไปจ้าง หรือไปขอให้คนอื่นตัดผมให้ ดังนั้นถ้าไม่อยากสื่อสารแล้วทำให้คนอื่นเข้าใจผิดน้องจะต้องเรียนรู้เรื่อง Causative Verb หรือ คำกริยาที่เอาไว้ใช้บอกว่า “ประธานไม่ได้ทำกริยาเองแต่ขอให้คนอื่นทำให้” ซึ่งนี่ถือเป็นโครงสร้างพิเศษที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย โดยเราจะใช้กริยาดังต่อไปนี้มาช่วยบรรยาย คือ have, make, let และ get ในการติว GED RLA เรื่องนี้ก็สำคัญมากเหมือนกันจะครับ วิธีการจำสูตรโครงสร้าง “have, make,[…]

SAT : Answer Choice

                เวลาที่น้อง ๆ ทำโจทย์หรือติว SAT Reading หลายคนน่าจะเคยลังเล เลือกคำตอบที่ถูกต้องไม่ได้ถึงแม้ว่าจะอ่านบทความเสร็จแล้วก็ตาม หรือแม้ว่าจะพยามยามตัดchoice แล้วสุดท้ายก็จะเหลือตัวเลือกไว้สองข้ออยู่ดี ซึ่งเราก็ต้องเสี่ยงดวง 50% ว่าเราจะตอบถูกไหม ดังนั้นวันนี้พี่ก็เลยจะมาแนะนำหลักการตัด choice ที่พี่ชอบใช้เวลาทำโจทย์ เพื่อเพิ่มโอกาสการทำโจทย์ SAT ให้ถูกต้องกับทุกคนนะครับ                 เราลองมาดูกันนะครับว่าลักษณะคำตอบที่ผิดและมักจะเป็นตัวหลอก (Distractor) ใน Reading ภาษาอังกฤษมีอะไรกันบ้าง ในการติว SAT เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ Off-topic คือ choice ที่นอกเรื่องไปเลย อยู่ดี ๆ โจทย์ก็หยิบประเด็นหรือคำอะไรไม่รู้มาเติมทำให้ประโยคหลุดประเด็นไป เช่น ในบทความพูดถึงการทำอาหาร แต่ใน choice พูดเรื่องการทำอาหาร Too broad/narrow ลักษณะ choice นี้จะผิดเพราะกว้างเกินไป หรือแคบเกินไป เช่น ในบทความพูดถึงนักชีวะวิทยา (Biologist) แต่ใน choice ใช้คำว่า Scientists ซึ่งหมายถึงนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ก็จะทำให้[…]

SAT Math : COMPLEX NUMBER

วันนี้เราจะมาดูเนื้อหาการเรียน SAT Math เรื่อง complex number หลายคนเคยสงสัยว่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเอาตัวเลขติดลบมาถอด square root ของตัวเลขติดลบ เช่น  คำตอบ ก็คือ เป็นไปไม่ได้ เพราะตัวเลขเหมือนกัน 2 ตัว คูณกันแล้วไม่มีทางที่จะได้จำนวนลบเลย เช่น 1 x 1 = 1 หรือ -1 x -1 = 1 อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดทางคณิตศาสตร์ถูกกำจัดทิ้งไปด้วยการสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมาด้วยการคิดสัญลักษณ์ค่าหนึ่งออกมาเพื่อให้สามารถตอบข้อสงสัยดังกล่าวได้ ด้วยการกำหนดว่า  =   โดย  เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่เป็นองค์ประกอบในจำนวนเชิงซ้อน (complex number) ซึ่งเป็นตัวเลขที่เขียนในรูป a + b โดย a และ b คือจำนวนจริง ติว SAT Math ก่อนสอบน้องๆอย่าลืมติวกันเรื่องนี้ด้วยนะครับ จำนวนเชิงซ้อนแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่[…]

GED Science : HYBRID CAR

ใน 20 ปีข้างหน้าพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง อันเนื่องมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ไม่เว้นแม้แต่วงการอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ไฮบริดเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตกำลังพัฒนาอย่างแข็งขันในช่วง 5 ปีหลังมานี้ เมื่อติว GED Science เราจะได้เห็นเรื่อง technology ก้นด้วย วันนี้พี่เลยอยากยกตัวอย่างหัวข้อติว GED วิชา Science เรื่องนี้มาดูกัน รถยนต์ไฮบริด (Hybrid Cars) เป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าในการเป็นแหล่งจ่ายพลังงานเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน โดยเครื่องยนต์จะสร้างพลังงานจากการเผาไหม้ของน้ำมัน และมอเตอร์ไฟฟ้าจะได้พลังงานจากความร้อนที่สูญเสียไปกับการเผาไหม้ ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เครื่องยนต์ทำงานโดยสูญเปล่า เช่น ขณะเบรกเพื่อชะลอความเร็ว ข้อดีของรถยนต์ไฮบริด คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของรถยนต์ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ร่วมกับพลังงานกลจากเครื่องยนต์ อีกทั้งประหยัดการใช้น้ำมันลงเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน ในขณะที่รถยนต์ยังหยุดนิ่ง ทำให้รถไฮบริดเหมาะกับผู้ที่ขับขี่ในตัวเมืองที่มีการจราจรหนาแน่นเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฮบริดจำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่าแบตเตอรี่รถยนต์ธรรมดาเพื่อกักเก็บพลังงานไฟฟ้า และ มีระบบควบคุมที่ซับซ้อน ทำให้แบตเตอร์รี่มีราคาสูงและยังมีค่าซ่อมบำรุงที่สูงมากเช่นกัน แม้ว่าการใช้รถยนต์ไฮบริดจะช่วยลดการใช้น้ำมันลงก็ตาม นอกจากนี้การชาร์จแบตเตอร์รี่ยังต้องใช้เวลานานกว่าการเติมน้ำมันเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้รถยนต์ไฮบริดยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในปัจจุบันผู้พัฒนารถยนต์จึงให้ความสำคัญกับศักยภาพของแบตเตอร์รี่ควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนการผลิตอย่างคุ้มค่า ในระยะยาว รถไฮบริดจะได้รับความนิยมมากขึ้นและเป็นรถยนต์กระแสหลัก เนื่องจากการรถยนต์ไฮบริดช่วยลดมลพิษทางอากาศได้อย่างมากเมื่อเทียบกับการใช้รถยนต์ทั่วไปที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเครื่องยนต์สู่ชั้นบรรยากาศ อีกทั้งยังช่วยลดการใช้น้ำมัน ซึ่งในอนาคตปริมาณน้ำมันจะมีใช้อย่างจำกัด ดังนั้นรถยนต์ไฮบริดจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภคในยุคที่เทคโนโลยีคือกระแสสำคัญ ในคลาสติว GED Science[…]

GED RLA : If Clause

                “ถ้าสมมุติฉันถูกหวย ฉันจะบินไปกลับกรุงเทพ-ลอนดอนสัก 50 รอบ” น้อง ๆ เคยมีจิตนาการหรือเคยสมมุติเรื่องอะไรแปลก ๆ ในหัวบ้างไหมครับ อย่างเช่น ถ้าฉันมีกระเป๋าโดราเอมอน ฉันจะใช้ไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต พี่เองก็เคยจินตนาการแบบนี้มาก่อน คนเราทุกคนต่างมีความฝัน ต่างมีจินตนาการ และเรามักจะตั้งเงื่อนไขบางอย่างให้ตัวเองอยู่เสมอ ว่าแต่น้อง ๆ รู้วิธีถ่ายทอดเงื่อนไขเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษไหมครับ ถ้าไม่รู้วันนี้พี่จะมาติว GED RLA ด้าน Structure เรื่องการใช้ If Clause หรือประโยคแสดงเงื่อนไข เนื่องจากว่าในภาษาอังกฤษมีการกำหนดเงื่อนไข (Condition)โดยการใช้คำว่า if ซึ่งแปลว่า “ถ้า”อยู่หลายรูปแบบ เราเลยจะมาเรียนรู้โครงสร้างของการกำหนดเงื่อนไขแบบต่าง ๆ เพื่อเอาไปใช้ในห้องสอบและชีวิตประจำวันหรือเรียน GED RLA ครับ โดยเราสามารถแบ่งประเภทของ If Clause ออกเป็น 3 ประเภทดังนี้                 เรียน GED RLA: รูปแบบที่ 1 ใช้กับเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้น                 โครงสร้าง[…]

GED Science : CARBON EMISSION

ในปัจจุบันสังคมได้เริ่มตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน ในเนื้อหาการติว GED Science ก็เช่นกัน จะมีออกเรื่องนี้ตลอดเลยครับ ภาวะโลกร้อนนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศเป็นวงกว้าง เช่น การขาดแคลนอาหารของสัตว์ป่า  การสูญพันธุ์ของสัตว์สงวน พื้นที่ป่าและที่อยู่อาศัยถูกทำลาย  ตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมาจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) เมื่อก๊าซเรือนกระจกลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจะทำหน้าที่เสมือนเป็นเกราะป้องกันไม่ใช้รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์หลุดรอดออกไปจากชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็นปัญหาภาวะโลกร้อนตามมา ด้วยเหตุนี้เอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสิ่งแวดล้อมให้การจับตามอง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide)  เป็นอย่างมาก เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ถูกผลิตมากที่สุด ซึ่งก๊าซชนิดนี้ถูกผลิตจากกระบวนการสันดาปของเชื้อเพลิงเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้กลุ่มประเทศที่มีกำลังการผลิตสูง อาทิ จีน, สหรัฐอเมริกา และอินเดีย จากกราฟแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าในปี 2019 ทั้งสามประเทศ มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมกันคิดเป็น 48.63% หรือประมาณครึ่งนึงของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาทั้งหมดทั่วโลก นอกจากนี้ยังพบว่าในปัจจุบัน ปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเป็น 8 เท่าของปริมาณการปล่อยก๊าซเมื่อ 80 ปีที่แล้ว และยังพบว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากกราฟพบว่า จีนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในศตวรรษใหม่ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า จีนกำลังจะเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดในโลก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก ย่อมส่งผลต่อระบบนิเวศโดยตรง นานาประเทศทั่วโลกจึงหารือเพื่อหาวิธีรับมือปัญหา ด้วยการวางแผนนโยบายในการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon footprint)[…]

GED Social : Colonialism 1

ก่อนหน้านี้เราเคยคุยกันเกี่ยวกับเรื่องสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกาในการเรียนวิชา GED Social Studies ใช่ไหมครับ ในตอนนั้นเรามีการเกริ่นถึงยุคแห่งการสร้างอาณานิคม (Colonialism) ที่บรรดาประเทศมหาอำนาจฝั่งยุโรปต่างแห่แหนกันเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อสร้างอาณานิคม (Colony) ของตัวเองช่วงภายหลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาในปี 1492  แต่เรายังไม่ได้ลงรายละเอียดว่าบรรดา 13 อาณานิคมที่เราพูดถึงในบทความครั้งก่อนนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร และประกอบไปด้วยอาณานิคมใดบ้าง วันนี้พี่ก็เลยต้องการจะมาไขความกระจ่างบทความติว GED Social Studies ให้น้อง ๆ ครับ *เกร็ดความรู้เรียน GED Social Studies ในสมัยนั้นโคลัมบัสเข้าใจผิดคิดว่าตนเองเดินทางมาถึงหมู่เกาะบริเวณประเทศอินเดีย เขาจึงเรียกคนที่อยู่บริเวณนั้นว่าอินเดียน (Indians) จนภายหลังเราก็เปลี่ยนมาเรียกกลุ่มคนที่อยู่อาศัยในทวีปอเมริกามาก่อนชาวยุโรปว่าอินเดียแดง หรือชาว Native American จนกระทั่งAmerigo Vespucci – อเมริโก เวสปุชชี นักเดินเรือและนักทำแผนที่ชาวอิตาลีเป็นผู้ชี้ทางสว่างว่าพื้นที่ที่โคลัมบัสค้นพบหาใช่ส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย แต่เป็นแผ่นดินใหม่ที่เพิ่งจะค้นพบ ดังนั้นจึงมีการตั้งชื่อทวีปใหม่นี้ตามชื่อของอเมริโกเพื่อเป็นเกียรติให้แก่เขา (อเมริโกคือภาษาละติน แต่ในภาษาอังกฤษเรียกอเมริกา)   ในปี 1585 ชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งมีความพยายามที่จะเข้ามาตั้งอาณานิคมบริเวณเกาะ Roanoke บริเวณนอกชายฝั่งของ North Carolina แต่ความพยายามของพวกเขาก็ล้มเหลวและคนกลุ่มนี้ก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย กระทั่งประมาณอีก 20[…]

GED Science : FOOD CHAIN

ระบบนิเวศ เป็นหัวข้อสำคัญเมื่อติว GED Science นะครับออกข้อสอบอยู่บ่อยๆ ซึ่งระบบนิเวศนี้เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ต่างอยู่ร่วมกัน การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดอยู่ร่วมกันได้นั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ แสง ภูมิประเทศ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพ สภาพแวดล้อมดังกล่าว หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่สิ่งมีชีวิตสามารถหาอาหารได้อย่างสะดวก ดังนั้นจุดร่วมกันอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์ คือ ความต้องการสารอาหารในการสร้างพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีพ ซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักการของห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ในข้อสอบ GED Science มีเรื่องนี้ทุกรอบเลยก็ว่าได้นะครับ             เมื่อติว GED Science หัวข้อนี้ ที่พลาดไม่ได้ก็จะมีอีกเรื่องคือ ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ที่เป็นกระบวนการถ่ายทอดพลังงานในรูปของอาหารเป็นลำดับขั้นจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกหนึ่งโดยการกินกันเป็นทอดๆ ทำให้สารอาหารและพลังงานถ่ายทอดไปในหมู่สิ่งมีชีวิตและตกลงสู่สิ่งแวดล้อม โดยห่วงโซ่อาหารถูกอธิบายด้วยแผนภาพพีระมิดแสดงลำดับขั้นของสิ่งมีชีวิต โดยฐานของพีระมิดบ่งบอกถึงลำดับขั้นต่ำสุด ในขณะที่ยอดพีระมิดบ่งบอกถึงลำกับขั้นสูงสุด ห่วงโซ่ถูกจำแนกตามลักษณะของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ Producer (ผู้ผลิต) คือ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ เช่น พืชทุกชนิด และแบคทีเรียจำพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เพราะพืชสร้างอาหารได้เองด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์แสงคือ น้ำตาลซึ่งนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องบริโภคสิ่งมีชีวิต ในทางชีววิทยาจากภาพแสดงให้เห็นว่า ต้นหญ้าเป็นผู้ผลิต Primary[…]

GED Social : Demand and Supply

น้องเคยสงสัยไหมครับว่าทำไมอยู่ดี ๆ สินค้าที่เราบริโภคในชีวิตประจำวันถึงมีราคาสูงขึ้น เช่น ทำไมปัจจุบันหน้ากากอนามัยถึงมีราคาแพงขึ้น หรือ ทำไมในช่วงเทศกาลตรุษจีนราคาเนื้อหมูและไก่ถึงสูงขึ้น คำตอบนี้ไม่ยากเลยครับ เรื่องนี้หากอาศัยความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ก็สามารถไขคำตอบได้แล้ว และเมื่อติว GED Social Studies ก็อย่าลืมเรื่องนี้กันนะครับ สาเหตุที่ราคาสินค้าต่าง ๆ ในตลาดเปลี่ยนแปลงไปเป็นผลจากกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ อดัม สมิธ (Adam Smith) บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีกลไกราคาขึ้นมา ซึ่งถูกบรรยายไว้ในหนังสือ The Wealth of Nations ในปี 1776 อดัม สมิธเสนอว่าในตลาดมีสิ่งที่เรียกว่า Invisible Hands หรือ มือที่มองไม่เห็น ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมราคาสินค้าต่าง ๆ โดยกลไกนี้ประกอบไปด้วยฟันเฟืองสองตัว นั่นคือ Demand (อุปสงค์) และ Supply (อุปทาน) ในคลาสเรียน GED Social Studies เรื่องนี้ก็จะถูกสอนเพราะมันสำคัญมากนะครับ หรือหากน้องๆติว GED Social กันเองก็ต้องทำความเข้าใจให้ดีนะครับ Demand[…]

GED RLA : Adverb

มาติว GED RLA กันอีกแล้ววันนี้พี่เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนน่าจะท่องจำกันมาว่าคำที่ลงท้ายด้วย -ly  เช่น beautifully, faithfully หรือ sincerely จะทำหน้าที่เป็น Adverb หรือ คำกริยาวิเศษณ์โดยทำหน้าที่ขยาย Verb หรือ ไม่ก็ขยาย Adjective กันใช่ไหมครับ แต่น้อง ๆ รู้กันไหมอันที่จริงแล้ว Adverb บางตัวก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย –ly หรือ Adverb บางตัวหากเติม –ly ต่อท้ายจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ในเนื้อหาเรียน GED RLA จะมีเรื่องนี้ วันนี้พี่เลยจะมาแนะนำ Adverb บางตัวที่มักสร้างความสับสนเพื่อที่น้องจะได้ใช้คำวิเศษณ์เหล่านี้อย่างถูกต้องนะครับ                 อยากสอบ GED RLA ผ่านต้องรู้เรื่องนี้นะครับ ปกติแล้ว Adverb ทั่วไป 80%-90% มักจะนำ Adjective มาต่อท้ายด้วย –ly ทำหน้าที่ขยายคำกริยา หรือ คำคุณศัพท์[…]

GED Science : WHAT IS SOLAR SYSTEM?

ภาพจำลองระบบสุริยะแบบตัดขวาง ในการติว GED Science เราจะได้เรียน Earth Science และวันนี้เรามาดูเรื่อง ระบบสุริยะ (Solar system) ประกอบไปด้วย ดวงอาทิตย์ (Sun) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ (Star) เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ และถือว่าเป็นศูนย์กลางและแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ และ วัตถุอื่นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวเคราะห์ (Planet) และดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) รวมไปถึงยังดาวเคราะห์บางชนิดที่โคจรรอบดาวเคราะห์ เรียกว่า ดวงจันทร์ (Moon) อย่างที่ทราบกันดี โลกของเรามีดวงจันทร์ 1 ดวงเป็นบริวาร ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่า “Lunar” ในขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นอาจมีดวงจันทร์มากกว่า 1 ดวงเป็นบริวารก็ได้ เช่น ดาวพฤหัส (Jupiter) มีดวงจันทร์เป็นบริวารถึง 79 ดวงด้วยกัน หากเรามีความรู้นี้ไว้เมื่อติว GED Science ก่อนสอบหรืออ่านทวนก็ตาม แน่นอนว่าเราก็จะได้เปรียบคนที่ไม่รู้เรื่องนี้เลย อีกอย่างหนึ่งคือในเนื้อเรื่องเรียน GED Science จะมีสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความแตกต่างสำคัญระหว่างดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ คือ[…]

GED Social : มูลเหตุ World War 1 (เนื้อหาเรียน GED Social Studies)

ล่าสุดนี้เพิ่งมีการจัดงานประกาศรางวัล OSCARS  ครั้งที่ 92 ประจำปี 2020 โดยภาพยนตร์ที่กวาดรางวัลออสการ์ไปถึง 3 รางวัล ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง 1917 ของผู้กำกับชื่อดัง แซม เมนเดส (Sam Mendes) ภาพยนตร์นี้ถ่ายทอดเรื่องราวของคู่หูนายทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้ที่ต้องออกไปปฏิบัติภารกิจลับเพื่อส่งสารหยุดยั้งการบุกโจมตีของกองทหารแนวหน้า เนื่องจากเป็นกลลวงของข้าศึก และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับความสำเร็จของภาพยนตร์นี้ เราเลยจะมาคุยกันถึงสาเหตุที่นำไปสู่มหาสงครามโลกครั้งที่ 1 กันครับ ความรู้เรื่อง World History เป็นสิ่งสำคัญมากเมื่อเราติว GED Social Studies กันนะครับ เมื่อเรียน GED Social Studies ที่เราต้องรู้คือ ปัจจัยที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 หรือ World War 1 Militarism – ลัทธินิยมทหาร คือ ความต้องการในสร้างและขยายแสงยานุภาพของกองทัพประเทศตนเพื่อความปลอดภัยและอำนาจ Nationalism – ชาตินิยม หรือ ความรักชาติ ความภูมิใจและการอุทิศตนให้ชาติของตน[…]

GED RLA : Quantifier

หลังจากเรียนรู้เรื่องคำนามไปบ้างแล้ว วันนี้การติว GED RLA เราจะมาดูเรื่อง คำบอกปริมาณ (Quantifier) ที่ไว้ระบุจำนวนหรือบอกปริมาณของคำนามซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจและใช้งานผิดกันนะครับ โดยพี่แบ่งคำต่าง ๆ ที่คนชอบสับสนไว้เป็นคู่ จะได้เปรียบเทียบการใช้งานให้ชัดไปเลย Much VS Many             สำหรับคำบอกปริมาณคู่แรก ทั้งคู่เป็นคำพื้นฐานใช้บอกปริมาณคำนามที่มีจำนวนเยอะโดยแปลว่า “มาก” ส่วนความแตกต่างก็คือ  many จะใช้กับนามพหูพจน์ เช่น many swimmers, many platforms (ชานชาลาจำนวนมาก) และ many pillowsในขณะที่ much ใช้กับคำนามนับไม่ได้ เช่น much water, much time และ much experience             ในคลาสติว GED RLA สั้นๆนี้ลองมาดูตัวอย่างการใช้งานกันนะครับ Many students seem confused with the theory he mentions.[…]

GED Math : TAXES & DISCOUNTS

ในการติว GED Math นั้นมีเรื่องนึงที่เราต้องเรียนรู้ ฝึกทำโจทย์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อที่จะได้สอบผ่านได้ในรอบเดียวเลย ก็คือเรื่อง Taxes & discounts นั่นเองครับ เนื้อหาเรียน GED Math นั้นเราจะต้องเรียนเรื่อง ส่วนลดและภาษีซึ่งเป็นสิ่งพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อผู้ซื้อมีการแลกเปลี่ยนเงินผ่านการใช้สินค้าและบริการ เหตุผลที่สินค้าและบริการจึงมีราคาขายสุทธิแตกต่างจากจากราคาตั้งต้นที่ทางร้านค้าประกาศ อันเกิดจากสองปัจจัยหลัก ได้แก่ อัตราการเพิ่มมูลค่าสินค้าซึ่งพบได้จาก ภาษี (Tax), ค่าบริการ (Service charge) หรือ ค่าธรรมเนียม (Fee) ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าที่ต้องจ่ายตามจริงนั้นเพิ่มขึ้น และ อัตราการลดมูลค่าสินค้าอันได้แก่ ส่วนลด (Discount), สมนาคุณ (reward), การคืนเงิน (refund) หรือ ของแถม (premium) เป็นต้น   เมื่อติวเนื้อหาเรียน GED Math การทำข้อสอบบทนี้ต้องอาศัยทักษะในชีวิตประจำวันและประสบการณ์จากการซื้อสินค้าและบริการเข้ามาช่วยเป็นกรอบความคิดในการแก้โจทย์ปัญหา สูตรการคำนวณในหัวข้อนี้มีทั้งหมดสองสูตรดังนี้ สูตรที่ 1;               ราคาสุทธิ = ราคาตั้งต้น x (100% +[…]