เลือกวิชา IGCSE อย่างไรให้ตอบโจทย์ 7 Skills มาแรงแห่งยุค!

การเรียน IGCSE หรือ International General Certificate Secondary Education เป็นการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนเลือกวิชาเรียนเองได้ ซึ่งในหลักสูตร IGCSE วิชาที่มีให้เลือกก็มีอยู่มากมาย แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ Languages Humanities Sciences Mathematics Creative, Technical and Vocational แต่การจะเลือกวิชาเรียนหลักสูตร IGCSE อาจต้องอาศัยทั้งการทำความเข้าใจในตัวเองและความสำคัญของวิชานั้นๆ ต่ออนาคตการเรียนในมหาวิทยาลัยหรือการทำงาน ยิ่งวิชาเรียนใน IGCSE มีมากเท่าไหร่ คนที่ยังมองเป้าหมายของตัวเองได้ไม่ชัดเจนก็จะยิ่งสับสน เพราะฉะนั้นเราจึงอยากนำเสนอไอเดียอีกทางหนึ่ง ที่จะทำให้น้องๆ มองภาพรวมได้ชัดเจนขึ้นว่าควรจะเลือกเรียนวิชาอะไรในหลักสูตร IGCSE เพราะนอกจากวิชาหลักที่ต้องเรียนแล้ว เรายังสามารถสนุกกับวิชาอื่นๆ ที่ตรงกับความชอบของเราอีกด้วย 7 ทักษะมาแรง! ที่ครบทั้งทักษะวิเคราะห์ สื่อสาร การตลาดและดีไซน์ เรามาดูกันว่าวิชาไหนในหลักสูตร IGCSE จะเป็นตัวช่วยเพิ่มทักษะที่จำเป็นต่างๆ ของเราให้แข็งแกร่งขึ้นได้ Strong Communication Skills ➤ Language เช่น EFL[…]

เขียน GED Essay ให้ปั๊วะ! ต้อง Proofreading ให้ปัง!

การสอบ GED RLA หรือ Reasoning Through Language Arts ทุกคนจะต้องเจอกับการเขียนเรียงความ GED Essay Writing ในส่วนที่สองของข้อสอบ ทุกคนจะมีเวลา 45 นาทีเพื่อเขียนเรียงความ GED Essay ให้สมบูรณ์ แต่ทว่าหลายคนใช้เวลาทั้งหมดที่ได้ในการก้มหน้าก้มตาเขียนเรียงความอย่างเดียว โดยหลงลืมที่จะตรวจสอบความถูกต้องหลังจากเขียนเสร็จ ซึ่งถ้าหากมีข้อผิดพลาดก็อาจทำให้เสียคะแนนบางส่วนของ GED Essay ไปอย่างน่าเสียดาย เราจึงขอแนะนำมาให้ทุกคนใช้เวลาประมาณ 5-10 นาทีสุดท้ายกับการ “Proofreading” เพื่อทำให้ชิ้นงานเขียน GED Essay ของเราออกมาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Proofreading คือ การอ่านทวนงานเขียนของตัวเองเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของงานเขียน ขณะที่เราอ่านหรือตรวจทาน GED Essay เราควรจะมองหาข้อผิดพลาด (Error)  ทั้งเรื่องการสะกดคำ (Spelling), ไวยากรณ์ (Grammar), การเรียงลำดับเนื้อหาข้อมูล (Essay Organization) และความสอดคล้องกันของเนื้อหา (Cohesion) หากเราพบจุดผิดพลาดบน GED Essay ของเรา[…]

แนะนำวิธีทำข้อสอบ SAT Reading เมื่อเจอโจทย์ “ทดสอบคำศัพท์” ได้ผลจริง!

ในการทำข้อสอบ SAT Reading คำถามปราบเซียนที่น้องๆ หลายคนมักโอดครวญ คือ คำถามประเภทวัดความหมายของคำศัพท์ เพราะไม่ว่าเราจะพยายามจำศัพท์เข้าไปแค่ไหน แต่เอาเข้าจริงๆ เวลาอยู่ในห้องสอบ SAT เราก็ยังคงเจอและประหลาดใจกับคำศัพท์หลายคำที่เราไม่รู้เสมอ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว หลายคนที่กำลังติว SAT กันอยู่ ก็คงเริ่มตั้งคำถามว่าจะยังนั่งท่องศัพท์ SAT ในส่วนของ Synonym กันต่อไปอีกทำไม ในเมื่อท่องเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอสำหรับการอ่านบทความในข้อสอบ SAT Reading ใจเย็นกันก่อน… ถึงแม้ว่าเราอาจยังเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้ในข้อสอบ SAT Reading อยู่ตลอดเวลา แต่ก็อยากให้น้องทุกคนยังมีความหวัง และเห็นประโยชน์ของการท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยรู้ไว้ในหัวก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย อีกอย่างการมีคลังศัพท์ที่เยอะก็ช่วยให้เราเตรียมพร้อมทำความเข้าใจบริบทในสถานการณ์ที่หลากหลาย ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อทำข้อสอบ SAT Reading เท่านั้น ข้อสอบ SAT มักจะทดสอบคำศัพท์ 2 รูปแบบ ทดสอบ “คำศัพท์ยาก” ที่คิดว่าคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ (Hard Words) อย่างเช่น agitation (ความยุ่งยาก), abnegation(การละทิ้ง) หรือ gratuitous (ฟรีหรือให้เปล่า) ซึ่งจะเห็นว่าคำศัพท์ยากเหล่านี้ที่จะเจอในข้อสอบ[…]

SAT English ‘Skim’ กับ ‘Scan’ เคล็ดลับมาร ตัวช่วยเรื่องการอ่าน

สำหรับใครที่กำลังจะสอบ SAT ทุกคนก็น่าจะเคยได้ยินเสียงร่ำลือถึงความยากของข้อสอบ Sat กันมาแล้วในส่วนของ  SAT Verbal ซึ่งในการสอบ SAT Verbal จะถูกแบ่งออกเป็น 2 Parts นั่นคือ Reading Part และ  Writing Part ทุกคนคิดว่าระหว่างการอ่านและการเขียน แบบไหนยากกว่ากัน?             เชื่อว่าหลายคนน่าจะมองว่า SAT reading จะยากกว่ามาก เนื่องจากการอ่านเป็นทักษะเฉพาะที่ไม่มีกฎตายตัวให้จำ ทำให้ต้องอาศัยการฝึกฝนและประสบการณ์ค่อนข้างมากถึงจะสามารถอ่านบทความได้อย่างคล่องแคล่ว นอกจากนี้ตัวบทความของข้อสอบ SAT เองก็ค่อนข้างโหด เพราะมักจะออกเนื้อหาเฉพาะทางที่ยากและไม่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวันบ่อยนัก เช่น วิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ ข้อสอบ SAT ก็จะมีการใช้คำศัพท์ที่ยากอีกด้วย และต้องอาศัยทักษะการตีความค่อนข้างมาก ถึงจะอ่านบทความได้เข้าใจ             แต่ยังไม่หมดเท่านั้น ความยากอีกอย่างหนึ่งของข้อสอบ SAT คือ เรื่องของเวลา เพราะผู้เข้าสอบทุกคนจะมีเวลาทำข้อสอบแค่ 65 นาที ในการอ่านบทความที่ค่อนข้างยาวถึง 5 เรื่อง เพื่อตอบคำถาม 52 ข้อ ย้ำอีกครั้ง[…]

IGCSE English Literature เช็คลิสต์ที่ต้องมี ถ้าอยากคว้า A*

หลักสูตรการเรียน IGCSE หรือ International General Certificate of Secondary Education เท่าที่หลายคนคงทราบแล้วว่าหลักสูตร IGCSE นี้มีวิชาให้นักเรียนได้เลือกเรียนกันอย่างสนุกสนาน จำนวนมากเป็นสิบวิชา เรียกได้ว่าครอบคลุมความสามารถและความสนใจเฉพาะของนักเรียนกันเลยทีเดียว ถึงขนาดที่ว่าแม้แต่วิชา English ก็ยังมีหลายแขนง เช่น Eng First Language, English as a Second Language, English Literature เป็นต้น สำหรับใครที่กำลังเรียนหลักสูตร IGCSE อยู่แล้วในตอนนี้ แน่นอนว่าต้องคาดหวังคะแนนเกรด A* แน่นอน ครั้งนี้ก็เลยมาแจก checklist สำหรับคนเรียน IGCSE English Literature ที่นอกเหนือจากโครงสร้างภาษาอังกฤษที่ต้องเรียนรู้อย่างลึกซึ้งแล้ว สิ่งสำคัญคือการรอบรู้เรื่องรูปแบบโครงสร้างของบทกวีต่างๆ ที่มีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละอย่างที่ต้องเจอใน IGCSE English Literature ก็รายละเอียดที่ต้องจดจำ เพราะฉะนั้นเรามาดู checklist สิ่งที่ต้องรู้ใน Poetry, Prose และ[…]

ข้อสอบ SAT กับการใช้ ‘Who’ และ ‘Whom ที่อาจไม่ได้ยากอย่างที่คิด

น้องๆ ที่กำลังติว SAT English ตอนนี้อาจจะพบว่าในข้อสอบ SAT ที่ว่ายากซับซ้อน ก็ยังมีเรื่องที่เราคุ้นเคยอยู่เป็นประจำอย่างแบบทดสอบการใช้ who และ whom โผล่มาให้เห็น เพราะถึงแม้ว่าจะดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก็มีหลายคนมองข้ามและใช้ผิดในชีวิตประจำวันอยู่บ่อยๆ เพราะฉะนั้นข้อสอบ SAT จึงแอบหยิบมาทดสอบเราอยู่บ้าง ปกติแล้วเวลาที่เราต้องการจะเพิ่มคำบรรยายหรือขยายความของประโยคเรามักจะใช้โครงสร้าง Relative Clause หรือประโยคย่อยที่ขึ้นต้นด้วย who หรือ whom เพื่อทำหน้าที่ขยายนามตัวข้างหน้าที่เป็นคน ย้ำว่าต้องขยายคนเท่านั้น (เพราะถ้าเป็นนามประเภทอื่นที่ไม่ใช่คนต้องใช้กับ which) แล้วทุกคนเคยสงสัยกันไหมครับ ถ้า who กับ whom ใช้กับคนแล้วสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร Who และ Whom เป็นหนึ่งใน relative pronoun ที่ไว้ใช้ขึ้นต้นส่วนขยายของคำนามที่อยู่ด้านในประโยคหลัก โดยส่วนขยายเหล่านี้เป็นได้ทั้ง dependent (ละไม่ได้) และ independent (ละได้) clause เราจะใช้ who เพื่อทำหน้าที่เป็นประธาน (คนทำกริยา) ของส่วนขยายเสมอ ในขณะที่ whom[…]

GED ต้องเก่งภาษาอังกฤษแค่ไหน ถึงจะสอบได้?

การสอบ GED หรือ General Educational Development เป็นข้อสอบเทียบวุฒิมัธยมปลายที่ได้รับการรับรองระดับนานาชาติ ข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ภาษาอื่นที่มีให้เลือกจะมีภาษาสเปนและฝรั่งเศส แต่ไม่มีภาษาไทย เพราะฉะนั้นน้องๆ จะต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการสอบ GED นี่จึงเป็นที่มาที่มีน้องๆ หลายคนตั้งคำถามว่า “จะต้องเก่งภาษาอังกฤษขนาดไหน ถึงจะสามารถสอบ GED เพื่อคว้าวุฒิ ม.ปลายได้บ้าง” น้องๆ ที่ตั้งคำถามนี้ก่อนตัดสินใจติว GED แบบจริงๆ จังๆ มองว่าน่าจะพอเข้าใจแล้วว่าข้อสอบ GED มีอยู่ทั้งหมด 4 วิชา พี่ๆ ขอไล่ลำดับวิชาที่ต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษจากมากไปหาน้อย ดังนี้ RLA > Social Studies > Science > Math แน่นอนอยู่แล้วว่าข้อสอบ GED RLA ก็คือการทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษแบบตรงไปตรงมาเลยทีเดียว ต้องเข้าใจโครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และในข้อสอบ GED RLA ยังมีพาร์ท writing ที่เป็นส่วนที่เรียกได้ว่าใช้ทดสอบทักษะภาษาอังกฤษแบบมวลรวม รวมถึงในส่วนของ GED พาร์ท[…]

GED Social Studies Skill Needed อยากสอบผ่าน คะแนน 145 – 164 ทักษะไหนต้องมี เช็คเลย!

จะสอบ GED ให้ผ่านก็ต้องคว้าให้ครบทั้ง 4 วิชา วันนี้มาถึงทักษะที่จำเป็นในการสอบ GED Social Studies ให้ผ่านเกณฑ์ 145 จนถึง 164 คะแนน น้องๆ ที่กำลังติว GED Social Studies อยู่ตอนนี้ อาจจะเริ่มเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วว่าข้อสอบ GED Social Studies อาจไม่ใช่แค่ท่องจำ แต่ต้องมีความเข้าใจประวัติศาสตร์ สังคมหรือการเมืองอเมริกัน จนถึงวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันได้ เพื่อใช้ในการประกอบการตอบคำถามข้อสอบ GED Social Studies นั่นเอง แต่อย่าเพิ่งตกใจว่ามันจะยากเกินกว่าที่จะสอบผ่านไปได้ เพราะช่วงคะแนนของข้อสอบ GED มีอยู่หลายช่วง หากเรามีเป้าหมายเพื่อคว้าวุฒิมัธยมปลายที่คะแนน 145 – 164 คะแนน ไปอ่านทักษะที่จำเป็นสำหรับ GED Social Studies กันเลยค่ะ ทักษะในการวิเคราะห์และอธิบายในเชิงสังคมศึกษา สามารถระบุลักษณะเชิงประวัติศาสตร์จากมุมมองหรือจุดประสงค์ของผู้เขียนได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ สามารถเปรียบเทียบวิธีเขียนเชิงสังคมศึกษาหรือแสดงแหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลายมาใช้สนับสนุนหัวข้อเดียวกันได้ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างแหล่งข้อมูลได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ ทักษะในการใช้ความรู้เชิงสังคมศึกษาในการวิเคราะห์และสนับสนุนข้อโต้แย้ง  สามารถระบุโครงสร้างเรื่องราวของประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลาและต่อเนื่องกันได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ สามารถเปรียบเทียบชุดความคิดหลายทางที่เกี่ยวเนื่องในเชิงการเมือง[…]

สอบ GED RLA ให้ปัง! ต้องแม่นโครงสร้าง Essay!

ข้อสอบ GED Reasoning Through Language Arts หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า GED RLA เป็นข้อสอบที่วัดทักษะภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้เรื่องไวยากรณ์และการอ่าน แต่ยังมีพาร์ทที่น้องๆ หลายคนกำลังติว GED RLA กันอย่างขมักเขม้นต่างบ่นกันว่ายาก นั่นก็คือพาร์ท Writing ที่ต้องเขียนเรียงความ (GED Essay) นั่นเอง การเขียนเรียงความที่ดีในข้อสอบ GED นอกเหนือจากที่จะต้องคำนึงเรื่องความถูกต้องทางไวยากรณ์และคำศัพท์ที่เลือกใช้ อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเกณฑ์ในการประเมินวัดคุณภาพของงานคือ เรื่องของโครงสร้างและการเรียบเรียงเนื้อหา หรือที่เราเรียกว่า Essay Structure / Organization ภายในเวลา 45 นาทีในการทำข้อสอบ GED RLA Part Writing  ทุกคนทราบไหมว่าเราจำเป็นต้องเขียนกี่ย่อหน้าและแต่ละย่อหน้าทำหน้าที่อะไร?เฉลย: ในข้อสอบ GED RLA ไม่ได้มีการกำหนดย่อหน้าตายตัวว่าแต่ละคนจะเขียนกี่ย่อหน้า แต่ตามหลักการทุกคนควรจะเขียนประมาณ 3-5 ย่อหน้า อย่างไรก็ตามจำนวนย่อหน้าที่คนส่วนใหญ่นิยมเขียนคือ 5 paragraphs (แต่ถ้าไม่ทันจะลดเหลือแค่ 4 ก็พอรับได้) และแต่ละย่อหน้าใน GED[…]

GED Science Skill Needed อยากสอบผ่าน คะแนน 145 – 164 ทักษะไหนต้องมี เช็คเลย!

ใครที่ไม่ถนัดวิชาวิทยาศาสตร์ กำลังติว GED Science ไปก็กุมขมับไปด้วย เริ่มกลัวว่าจะสอบ GED Science ไม่ผ่าน อย่าเพิ่งท้อถอยอ่อนแรงค่ะ ข้อสอบทั้ง 4 รายวิชาต่างก็มีขอบเขตทักษะที่ต้องการวัดและระดับของการทดสอบที่แบ่งออกไปตามช่วงคะแนน GED แต่ละวิชา ซึ่ง GED Science ก็เช่นกันค่ะ ถึงแม้หลายคนจะคิดว่าเนื้อหามันยากและมีหลายอย่างที่จะต้องจดจำ แต่อยากให้น้องๆ ตั้งเป้าหมายคะแนนกันก่อนเป็นอย่างแรกว่าเราต้องการคะแนน GED วิชานี้ที่เท่าไหร่ หากเราต้องการเพียงให้ผ่านเกณฑ์หรือก็คือ Level 2 (Pass/High School Equivalency: 145 – 164)  เราอาจจะปรับการติว GED ให้มีความรู้เพียงพอต่อการสอบ GED Science ให้ผ่านให้ได้ เพราะเมื่อเป้าหมายในการสอบ GED Science ชัดเจน เราก็จะบริหารเวลาและติว GED ถูกทางนั่นเอง เรามาดูทักษะที่จำเป็นต่อการสอบ GED Science ให้ผ่านเกณฑ์ รายละเอียดในการทดสอบผู้สอบ GED Science ที่คะแนน 145[…]

SAT Hot Words ไฮไลท์คำศัพท์ออกสอบในพาร์ท Reading

วันนี้พี่มีคำศัพท์สุดร้อนแรงที่มักจะออกข้อสอบ SAT ในส่วนของ Reading มานำเสนอ! โดยคำศัพท์ที่ออกสอบ SAT กลุ่มนี้เหมาะสำหรับเด็กที่กำลังติว SAT อยู่แต่หลงทางและไม่รู้ว่าจะเริ่มท่องศัพท์จากตรงไหนให้ครอบคลุมเพียงพอต่อการสอบ SAT คำเหล่านี้มีแนวโน้มที่ข้อสอบ SAT จะนำกลับมาใช้อีกในอนาคตอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากเคยออกข้อสอบแล้ว ยกตัวอย่างคำศัพท์ที่ค่อนข้างยากและพบไม่บ่อยในชีวิตประจำวัน แต่มีให้เห็นในข้อสอบ SAT ตามรูปนี้ แต่คำศัพท์ที่ออกสอบ SAT ที่เราไม่คุ้นเคยก็ยังมีอีกมากมาย ไม่ได้มีเพียงแค่ไม่กี่คำนี้ พี่ลิสต์คำศัพท์ SAT มาให้ดูกันแบบหนำใจ อยากให้น้องๆ จดจำและเรียนรู้การใช้งานคำเหล่านี้ให้ดีเป็นพิเศษ เพื่อจะได้ติว SAT อย่างมีขอบเขตและจุดหมาย เพราะนั่นจะทำให้เราติว SAT ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง ไปดูคำศัพท์ที่มักออกสอบ SAT ที่เหลือกันเลย! คำศัพท์ หน้าที่คำ ความหมาย Irrational Adj. ไร้เหตุผล Consternation N. ความตกใจ Gesture N. ท่าทาง Corridor N. ระเบียง/ทางเดิน Enormous Adj. ใหญ่โต/มหึมา[…]

GED Math Skill Needed อยากสอบผ่าน คะแนน 145 – 164 ทักษะไหนต้องมี รีบเตรียมตัวเลย!

ข้อสอบ GED Mathematical Reasoning หนึ่งใน 4 วิชาที่นักเรียนที่กำลังติว GED จะต้องสอบ คะแนนเต็มของวิชานี้ก็ยังเป็น 200 คะแนนเท่ากับวิชาอื่นๆ หากอยากสอบ GED Math ผ่าน เกณฑ์คะแนนในการสอบผ่านหรือ Level 2 (Pass/High School Equivalency: 145 – 164) ก็มีรายละเอียดในการทดสอบผู้สอบ GED ซึ่งจะแตกย่อยออกมาเป็น 3 หัวข้อหลักๆ คือ ทักษะการแก้ปัญหาเชิงปริมาณในจำนวนตรรกยะ ทักษะการแก้ปัญหาเชิงปริมาณในแบบปริมาตร ทักษะการแก้ปัญหาเชิงพีชคณิตในรูปแบบสำนวนและความสมดุล รายละเอียดการทดสอบทักษะเหล่านี้จะทำให้น้องๆ ที่กำลังติว GED กันอยู่ตอนนี้หรือที่กำลังหลงทางอยู่ว่าจะติว GED Math ไปในทิศทางไหนดี ต้องท่องสูตรหรือจำวิธีทำอะไรบ้าง ทุกคนจะเริ่มมองเห็นหนทางและจับต้นชนปลายถูกแล้วว่าจะต้องติว GED Math ในขอบเขตเรื่องอะไร และจะไม่ต้องท้อแท้ว่าสิ่งที่ต้องเรียนรู้มันจะครองจักรวาลเกินไป เพราะหากต้องการสอบ GED ผ่านในระดับคะแนน 145-164 ทักษะ 3 หัวข้อหลักๆ นี้เอง[…]

คะแนน SAT แค่ไหนที่เรียกว่าดี? มาดู percentiles ของคะแนนแต่ละช่วงกันดีกว่า

ข้อสอบ SAT ในปัจจุบันจะใช้หลักคะแนนเต็ม 1600 คะแนน ซึ่งเมื่อก่อนนั้นจะเป็น 2400 คะแนน ขอเดาว่าหลายคนที่เข้ามาอ่านเนื้อหานี้ก็ต้องมีคำถามอยู่ในหัวว่า คะแนน SAT ต้องได้เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าดี นักเรียนที่ทำข้อสอบ SAT ก็มีเป้าหมายในการใช้คะแนนที่ต่างกัน แต่ทุกคนก็ต้องอยากรู้ว่าคะแนนสอบ SAT ของตัวเองอยู่ในระดับไหนกันแน่ แย่หรือดี แล้วต้องเทียบวัดคะแนนสอบ SAT แบบไหนที่เรียกว่าตามมาตรฐานทั่วไป เพราะฉะนั้นเรามาดูหลักเกณฑ์ที่ College Board ได้จัดเทียบกับ percentiles มาให้ ทั้งแบบรายวิชาและแบบคะแนนรวมเลย จะเห็นว่า Percentile Score ทำหน้าที่ชี้วัดประสิทธิภาพคะแนนสอบ SAT ของเราได้อย่างเข้าใจง่ายว่าเราจัดเป็นผู้สอบ SAT ที่มีผลคะแนนดีหรือไม่ แต่ถ้าต้องการเจาะจงเปรียบเทียบกับผู้สอบ SAT ทั่วไปว่าส่วนใหญ่ได้คะแนน SAT เท่าไหร่ ก็มีสรุปมาว่าได้คะแนน SAT เฉลี่ยกันอยู่ที่ 1060 คะแนน ในจำนวน 75% จะมีคะแนนสอบ SAT ที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี คือ ระหว่าง 1190[…]

GED RLA Skill Needed อยากสอบผ่าน ทักษะต้องมีบ้าง?

น้องๆ หลายคนก็มีคำถามว่า อยากจะสอบ GED บ้างจะทำได้มั้ย? ยากมั้ย? ต้องเก่งภาษาอังกฤษหรือเปล่า? เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าข้อสอบ GED หรือ General Educational Development Test มีรายวิชาที่ต้องสอบให้ผ่านทั้งหมด 4 วิชา คือ Reasoning Through Language Arts, Mathematical Reasoning, Science และ Social Studies ซึ่งข้อสอบ GED ทุกรายวิชาจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เพราะวุฒิ GED เป็นวุฒิการศึกษาเทียบเท่ามัธยมปลายที่ได้รับการรับรองทั่วโลก หากน้องๆ ที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษ แต่อยากจะติว GED เพื่อสอบเทียบวุฒิบ้าง สิ่งที่แนะนำได้ดีที่สุดก็คงต้องพัฒนาภาษาอังกฤษให้อยู่ในระดับที่ดีก่อน เพื่อที่ว่าจะได้ไม่เป็นอุปสรรคในการทำข้อสอบ GED ในอนาคต หากน้องๆ ยังจินตนาการได้ไม่ชัดว่าจะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับไหน ลองอ่านทักษะที่ต้องมีเพื่อที่สอบผ่านรายวิชาแรกของข้อสอบ GED นั่นก็คือวิชาที่เรียกกันสั้นๆ ว่า RLA (Reasoning Through Language Arts) แล้วน้องๆ[…]

SAT Grammar Rules กฎไวยากรณ์ 10 ข้อ ต้องรู้!

ข้อสอบ SAT Evidence-Based Reading and Writing มีกฎไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (grammar rules) มีอยู่มากมายวาไรตี้ แต่กฎที่มักจะออกมาในข้อสอบ SAT ให้เราเห็นอยู่บ่อยๆ ก็ค่อนข้างมีมาให้จับสังเกตได้ น้องๆ ที่กำลังติว SAT เพื่อจะลงสนามสอบครั้งหน้า อาจจะต้องมีการเตรียมตัว จับจุดข้อสอบ SAT ให้ได้ เพราะไม่ใช่แค่ทำข้อสอบได้ดีขึ้น แต่ยังใช้เวลาในการทำข้อสอบ SAT ได้เร็วขึ้นเช่นกัน ยกตัวอย่างว่าเราติว SAT มาล่วงหน้าด้วยการลองฝึกทำกฎไวยากรณ์ต่างๆ ที่ควรเน้น เราก็จะเคยชินกับข้อสอบ SAT และเมื่อต้องลงสนามจริง บังเอิญเจอกับโจทย์ SAT คล้ายกันที่ผ่านตาผ่านมือมาแล้ว เราก็จะตอบคำถามข้อสอบ SAT ข้อนั้นได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาคิดนาน เห็นมั้ยว่าการติว SAT ให้ตรงจุดมาล่วงหน้า ทำให้ได้ทั้งคะแนนแล้วยังประหยัดเวลาจริงๆ! เรามาดูกฎไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่เตรียมตัวดีก็มีชัยในการทำข้อสอบ SAT แน่ๆ!  จากที่เราดูกฎไวยากรณ์ภาษาอังกฤษต่างๆ ข้างต้น สามารถนำไปปรับใช้ในการติว SAT เพื่อหาจุดบกพร่องที่เรามักจะทำผิดอยู่บ่อยๆ ถ้าเราปิดจุดบอดที่มักทำพลาดหรือตกหล่นได้ การสอบ SAT ครั้งหน้าก็คว้าชัยแน่นอน![…]

A-Level หรือ IB เรียนหลักสูตรแบบไหนถึงจะใช่ตัวเรา มาวิเคราะห์กัน

นี่อาจเป็นช่วงเวลาสำคัญของน้องๆ นักเรียนนานาชาติหลายคนที่กำลังต้องเลือกว่าจะเรียนต่อหลักสูตร A-Level (the General Certificate of Education Advanced Level) หรือหลักสูตร IB (the International Baccalaureate Diploma Program) ทั้งสองหลักสูตรคือการเรียนในระดับชั้นมัธยมปลาย โดยเป็นการเลือกเรียนในช่วงสองปีสุดท้ายหรือสำหรับนักเรียนที่อายุ 16 ปีขึ้นไป แต่จะเรียน A-Level หรือเรียน IB ดีล่ะ? แบบไหนถึงจะเหมาะกับเราและเป็นต้นทุนในการเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ตรงจุด เรามาดูความแตกต่างหลักๆ ที่เห็นเด่นชัดกันดีกว่า มาดูบทสรุปว่าหลักสูตรแบบไหนถึงจะเหมาะกับเรา? สรุปหลักสูตร A-Level ➡ หลักสูตรนี้เหมาะกับน้องๆ ที่มั่นใจมากๆ ว่าจะไปเรียนต่อคณะและมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ เพราะหลักสูตรนี้ยึดตามระบบของประเทศอังกฤษค่ะ บ่อยครั้งที่ในการสัมภาษณ์เข้าเรียนบางคณะ เช่น การสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Oxford และ Cambridge นักเรียนหลายคนจะเจอคำถามที่เป็นพื้นฐานของหลักสูตร A-Level รวมอยู่ด้วย หากเรียนมาตรงหลักสูตรก็ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งเลยใช่มั้ยล่ะ อีกทั้งการเรียน A-Level จะเป็นการศึกษาเนื้อหาความรู้แบบเจาะลึกในสิ่งที่เราจะไปใช้ต่อยอดในคณะที่ใฝ่ฝัน .สรุปหลักสูตร IB ➡ หลักสูตรนี้เหมาะกับน้องๆ ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะไปเรียนต่อคณะและมหาวิทยาลัยใดในโลกไปนี้[…]

5 จุดเด่นของนักเรียน IB ที่ไม่ได้เก่งแค่ในห้องเรียนเท่านั้น

หลักสูตรการเรียน IB (The International Baccalaureate Diploma Program) คิดค้นโดยประเทศเยอรมันนี เป็นหลักสูตรที่ยอมรับในระดับสากลและยังถูกพูดถึงว่าเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนชั้นเยี่ยม! หลักสูตรการเรียน IB เรียกได้ว่าเกิดขึ้นมาเพื่อนักเรียนที่ชอบความท้าทายและพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นรอบด้านโดยไม่จำกัดแค่ในหนังสือเรียน หากน้องๆ เป็นหนึ่งในนักเรียนที่ฝันไกล ใส่ใจเรื่องรอบตัวจนถึงรอบโลก ไม่เกรงกลัวต่อการเรียนรู้วิชาการที่เข้มข้นและภาวะกดดันของการบริหารเวลา หลักสูตรการเรียน IB ก็ถือว่าเป็นหลักสูตรที่เหมาะกับน้องๆ เรามาดูกันว่าการได้เรียน IB จะทำให้น้องๆ มีจุดเด่นแบบไหนบ้างที่ไม่เหมือนที่อื่น สมองฟิตพร้อมพิชิตเป้าหมาย นักเรียน IB จะต้องเลือกวิชาในบรรดารายวิชาที่หลากหลาย สิ่งสำคัญก็คือการเลือกวิชาที่จะต้องมีความยากง่ายคละอยู่ด้วยกัน จะมีทั้งวิชาในระดับพื้นฐานและระดับสูง ซึ่งวิชาที่มีความยากในระดับสูงนั้นเรียกได้ว่าเป็นเนื้อหาสำคัญในการเรียนต่อมหาวิทยาลัย อีกทั้งนักเรียนหลายคนยังใช้เก็บหน่วยกิตวิชานั้นๆ ในมหาวิทยาลัยได้เลยอีกด้วย เนื้อหาความรู้ในเชิงวิชาการแบบนี้จะช่วยผลักดันนักเรียน IB ให้ขยายลิมิตการเรียนรู้ของตัวเองให้ไกลขึ้น จึงเป็นที่มาของสมองฟิตพร้อมพิชิตเป้าหมายนั่นเอง! มีทักษะการใช้ชีวิต ตามหลักสูตรการเรียน IB นักเรียนจะไม่ใช่แค่เรียนรู้วิชาการอย่างเข้มข้น แต่ในรูปแบบการเรียนนั้นจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้นักเรียน IB ต้องเรียนรู้การบริหารจัดการเวลา คิดอย่างมีตรรกะ วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และทักษะอีกหลากหลายที่ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนช่วยให้ออกไปใช้ชีวิตในโลกภายนอกได้อย่างแข็งแกร่ง รู้จักยืดหยุ่น อดทนและบริหารเวลาได้ดี สามทักษะนี้จะเป็นทักษะที่สำคัญมากๆ เพราะในช่วงสองปีในการเรียน IB Diploma Program นักเรียนจะต้องพบเจอกับรูปแบบการเรียนที่ต้องมีการวางแผนที่ดี เช่น[…]

เช็คลิสต์ 8 ข้อ เตรียมสอบ SAT Reading & Writing แบบไม่มีตกหล่น!

ติว SAT อยู่นาน เตรียมสอบอยู่แต่บนหน้าข้อสอบเก่ากองพะเนินเทินทึก ลองเงยหน้าขึ้นมาหายใจหายคอกันสักหน่อยมั้ย มีอะไรตกหล่นหรือเปล่า ฝึกฝนความรู้เตรียมสอบ SAT Reading & Writing ให้ได้คะแนนมากขึ้นมานาน แต่ก็ยังเหมือนกับว่าจะหลงทางไม่เลิก ดูท่าทางต้องมาตรวจสอบเช็คลิสต์เคล็ด(ไม่)ลับที่จะทำให้การสอบ SAT Reading & Writing ที่กำลังจะมาถึงนี้ เป็นไปอย่างใจต้องการแล้วล่ะ 1. หาจุดอ่อนของตัวเองให้เจอติว SAT อยู่เรื่อยๆ ฝึกทำข้อสอบ SAT อยู่บ่อยๆ แล้วเราเคยสังเกตและทำความเข้าใจตัวเองมั้ยว่า เรามีจุดอ่อนในด้านไหนบ้าง ถ้าเอาแต่ทำข้อสอบเก่าโดยไม่เคยสำรวจตัวเองเลยว่าไม่ถนัดหัวข้อไหนในข้อสอบ SAT ถึงเวลาที่จะต้องจดโน้ตในส่วนที่ไม่เข้าใจเพื่อที่จะได้นำมาฝึกฝนหนักขึ้นและหาความรู้ในส่วนนั้นเพิ่มเติมจนชำนาญ 2. ไวยากรณ์ต้องแน่น!ภาษาดีเป็นเลิศ คำศัพท์เพื่อสอบ SAT ก็ท่องจำมาแล้วหลายตลบ แต่อย่ามองข้ามเรื่องสุดสำคัญอย่างไวยากรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดูไม่น่าพลาดอย่าง punctuation และ spelling แต่เก่งมาจากไหนก็ตาม ถ้าไม่ตรวจทานให้รอบคอบล่ะก็… คะแนนหายไปไม่รู้ตัวนะขอบอก 3. เขียนอย่างสร้างสรรค์ ใส่ความเป็นตัวตนข้อสอบ SAT อาจจะไม่ได้เจาะจงวัดความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอบ แต่อย่างน้อยก็คงดีกว่าแน่ ถ้าเราใส่ความเป็นตัวตนลงไปบ้าง ให้ข้อสอบของเราไม่เหมือนกับการท่องจำเข้ามา 4. เขียนให้ครบองค์ประกอบไม่ว่าจะสอบ[…]

5 หลักไวยากรณ์ต้องโฟกัส ถ้าอยากสอบผ่าน GED RLA

ข้อสอบ GED Reasoning Through Language Arts ปราบเซียนมานักต่อนัก จนติว GED กันหัวจุกข้อสอบเพื่อจะเอาชนะเจ้าข้อสอบ GED RLA นี้ให้ได้ ความสำเร็จได้มาจากความรู้ที่แน่น และความรู้ที่แน่นปึกก็มาจากการเตรียมตัวที่ถูกทาง เพราะนอกจากการฝึกฝนทำข้อสอบ GED แล้ว เนื้อหาที่เป็นแก่นสำคัญของข้อสอบ GED ก็สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือเรื่องไวยากรณ์อันเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เรามาดูกันว่ามีไวยากรณ์แบบไหนบ้างที่โผล่มาให้เราต้องไขปริศนากันอยู่เรื่อย Subject-Verb agreement คือ การใช้ประธานและกริยาให้สอดคล้องตามหลักไวยากรณ์ Pronouns ก็คือ คำสรรพนาม Idioms สำนวนภาษาอังกฤษต่างๆ Punctuations การใช้เครื่องหมายวรรคตอนที่ถูกต้อง Verb Tenses คำกริยาบ่งบอกกาลเวลา เช่น อดีต ปัจจุบัน อนาคต ไวยากรณ์ข้างต้นอาจจะดูเป็นเรื่องทั่วไปที่ไม่น่าจะยากเย็นอะไรสำหรับน้องๆ หลายคน แต่ความรอบคอบเป็นกุญแจสำคัญในการทำข้อสอบ ไม่แพ้ความรู้และความชำนาญในเรื่องภาษาเลยล่ะ ลองเริ่มจากการหมั่นตรวจทานสิ่งที่เราเขียน ดูซิว่าตกหล่นไวยากรณ์ตัวไหนโดยไม่ตั้งใจหรือเปล่า เพราะไม่แน่ว่าในชีวิตประจำวันยังตกหล่นได้ แล้วโอกาสที่จะตกหล่นในตอนที่ต้องทำข้อสอบ GED ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน ข้อสอบ GED RLA ยังมีอีกหลายจุดให้เจาะลึกและฝึกฝน[…]

5 สิ่งต้องทำ! ถ้าอยากเอาชนะ GED RLA อ่านเร็วขึ้น เข้าใจทุกมิติ

การที่จะเอาชนะข้อสอบ GED RLA หรือชื่อวิชาเต็มๆ คือ GED Reasoning through Language Arts เราจะต้องอ่านอย่างระมัดระวังเพื่อเข้าใจสิ่งที่อ่าน และจะต้องมีทักษะในการอ่านเร็ว นักเรียนที่กำลังติว GED หลายคนก็มักจะมีปัญหากับการทำข้อสอบ GED RLA เพราะเมื่ออ่านช้าก็ทำข้อสอบไม่ทัน อ่านไม่เข้าใจก็ตอบคำถามไม่ได้ การเรียน GED ให้สอบได้คะแนนดีและแม่นยำในการทำข้อสอบจึงต้องพ่วงมากับเทคนิคที่มีประโยชน์ เรามาดู 5 สิ่งที่ต้องทำ ถ้าอยากเอาชนะข้อสอบ GED RLA กันดีกว่า! Stop reading aloud การอ่านออกเสียงเป็นเทคนิคที่ดีและมีประโยชน์ในการทำ proofreading แต่นั่นอาจไม่เหมาะกับการอ่านในเวลาทำข้อสอบ เพราะการอ่านออกเสียงนั้นทำให้เราอ่านบทความได้ช้าลงนั่นเอง ใครที่ติดกับการอ่านออกเสียงอยู่และรู้ตัวว่ากำลังอ่านข้อสอบได้ช้า อาจจะต้องมาฝึกฝนตัวเองให้ไม่ออกเสียงทุกคำที่อ่าน หรืออย่างมากที่สุดก็ทำได้แค่พึมพำ ลองปรับดูแล้วจะพบว่าการอ่านของเราเร็วขึ้นหลายเท่า! Read groups of words แทนที่จะอ่านเป็นคำๆ เราควรฝึกฝนตัวเองได้มองตัวหนังสือเป็นกลุ่มหรือรูปประโยค นั่นไม่ใช่แค่การอ่านที่ไวขึ้น แต่กลับทำให้เรารับรู้และเข้าใจข้อมูลของสิ่งที่อ่านได้ง่ายขึ้นนั่นเอง Stop rereading หากใครกำลังพบว่าตัวเองมักจะอ่านไปอ่านมาแล้วหลุดบรรทัด หลงทางว่าตัวเองอ่านถึงบรรทัดไหนแล้ว จนทำให้ต้องกลับไปอ่านทวนใหม่ซ้ำๆ นั่นทำให้เสียเวลาอย่างเห็นได้ชัด แนะนำให้มีสมาธิอยู่กับที่อ่านมากขึ้น[…]