ทำความรู้จัก Bill of Rights หัวข้อน่าสนใจที่ออกสอบใน GED Social Studies

เราคงพอจะทราบกันมาบ้างแล้วว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกในปัจจุบัน จะค่อนข้างสนับสนุนและให้ความสำคัญกับเรื่อง “การมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก” ค่อนข้างมาก เช่น ประชาชนจะสามารถเลือกโหวตสิ่งที่เห็นด้วย หรือออกมาประท้วงต่อต้านในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าไม่ถูกต้องก็ได้ ภายใต้ระเบียบกฎหมาย

ซึ่งเหตุผลที่พลเมืองสหรัฐอเมริกาสามารถแสดงออกและมีเสรีภาพในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย ก็เพราะพวกเขาเหล่านั้นได้รับการปกป้องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitution) อยู่นั่นเอง และกฎหมายนี้เกี่ยวข้องกับหัวข้อ Bill of Rights อย่างไร? Bill of Rights คืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับ GED Social Studies ในจุดไหน? เรามาดูคำตอบกัน

Bill of Rights เพราะเสรีภาพและการแสดงออกเป็นของทุกคน

ย้อนกลับไปในสมัยที่อเมริกาเพิ่งก่อตั้งประเทศสำเร็จหลังจากสามารถเอาชนะเจ้าอาณานิคมอย่างจักรวรรดิอังกฤษ ก็ได้เกิดความพยายามรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลาง และเกิดงานประชุมหารือเพื่อร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐขึ้น (The Constitutional Convention) 

ในงานประชุมนี้กลุ่มผู้ต่อต้านการรวมอำนาจของรัฐบาลกลาง (Anti-Federalist) ได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม เนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาในตอนแรกยังไม่ได้ระบุและปกป้องสิทธิของประชาชนเอาไว้ ซึ่งจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้มีการเพิ่มเติมร่าง บัญญัติว่าด้วยสิทธิพลเมือง (Bill of Rights) เข้าไปในปี 1791 เพื่อรับประกันสิทธิของประชาชน โดยบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนี้มีจำนวนทั้งหมด 10 มาตรา (ใน GED Social Studies จะมีการออกสอบในเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง) ดังนี้ 

  1. Freedom of Speech – รัฐจะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการเสนอความเห็น เสรีภาพของสื่อ เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพทางศาสนา และเสรีภาพในการเสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อรัฐบาล
    หมายเหตุ: ประเด็น Freedom of Speech มีออกสอบบ่อยมาก ๆ
  1. Right to bear arms – ในอเมริกาประชาชนมีสิทธิพกอาวุธเพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพของตน (Arms ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า “แขน” แต่หมายถึง “อาวุธ”) แต่กฎหมายมาตรานี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่าอาจถูกเพิกถอน (Repeal) เนื่องจากประชาชนไม่ได้ใช้อาวุธเหล่านี้ปกป้องสิทธิของตนเองแต่ดันใช้ละเมิดสิทธิคนอื่นแทน
  1. No quartering of soldiers in private homes – รัฐห้ามส่งทหารเข้าไปอาศัยในบ้านประชาชนหากปราศจากความยินยอมจากเจ้าของบ้าน (ในอดีตชาวอเมริกาสมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษถูกบังคับให้จัดหาที่อยู่เสบียงและอาหารให้ทหารอังกฤษแม้จะไม่อยู่ในสภาวะสงคราม ส่งผลให้ประชาชนไม่พอใจการกระทำดังกล่าวของรัฐบาล)
  1. Freedom from unreasonable searches and seizures –รัฐห้ามส่งเจ้าหน้าที่ไปบุกค้นหรือยึดทรัพย์สินในบ้านของประชาชนหากปราศจากหมายศาล (Warrant)
  1. Right to remain silent – เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถบังคับให้จำเลยให้การสารภาพที่อาจเป็นภัยกับตนเองได้ (จำเลยมีสิทธิเงียบ)
  1. Right to a fair and speedy trial – ประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและรวดเร็ว
  1. Right of trial by jury in all civil cases – ในคดีแพ่ง ต้องมีการพิจารณาคดีโดยใช้คณะลูกขุน (jury)
  1. Freedom from excessive bail and from cruel and unusual punishment – รัฐไม่สามารถกำหนดค่าปรับเกินควร หรือตัดสินลงโทษด้วยวิธีการที่ทารุณ และผิดปกติวิสัยได้ (จับไปแขวนคอ จุดไฟเผา หรือเสียบไม้ประจานตามกำแพงเมืองไม่ได้)
  1. Rights in addition to those stated in the constitution – ประชาชนอาจมีสิทธิอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
  1. Powers reserved to the states – บรรดาอำนาจที่ไม่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้สงวนอำนาจเหล่านั้นไว้แก่รัฐต่าง ๆ (ให้อำนาจกับรัฐในการตัดสินใจเรื่องสิทธิที่ไม่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ)

อ่านบทความ GED Soc Texas v. Johnson คดีความการเผาทำลายธง คลิกที่นี่

อย่างที่ทราบกันไปข้างต้นแล้วว่า Bill of Rights เป็นบัญญัติสิทธิที่ค่อนข้างจะครอบคลุมในอเมริกา และทำให้ประชาชนมีอิสระและเสรีภาพสูงในการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นแบบแผนให้หลาย ๆ ประเทศเริ่มปฏิบัติในรูปแบบคล้าย ๆ กัน แต่ทั้งนี้ ทุกคนต้องไม่ลืมเช่นกันว่าต่อให้จะได้รับเสรีภาพมากขนาดไหน ทุกคนก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย และกระทำการใด ๆ ไม่ให้เกินขอบเขตของความถูกต้องเช่นกัน 

Bill of Rights ออกข้อสอบ GED Social Studies ค่อนข้างบ่อยในพาร์ท Civics and Government ซึ่ง The Planner หวังว่าน้อง ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้จะเข้าใจเนื้อหาในส่วนนี้กันได้มากขึ้น และหากน้อง ๆ อยากเจาะลึกเนื้อหาให้ครบทุกด้าน พร้อมสอบจริงทุกพาร์ท ทางสถาบัน The Planner Education มีคอร์สติว GED ที่สอนโดยคุณครูที่มีประสบการณ์ตรงสาย คอยช่วยเน้นเนื้อหา และมอบทริคเด็ด ๆ ให้ทำคะแนนได้ดียิ่งขึ้นให้กับน้อง ๆ โดยหลักสูตร GED จากทางสถาบันเป็นหลักสูตรระยะสั้น น้อง ๆ สามารถเรียนจบ และเข้าใจเนื้อหาได้เป็นอย่างดีภายในระยะเวลาแค่ 90 ชั่วโมงเท่านั้น 

อยากเรียนจบ ม.6 ไว ได้คะแนนสอบ GED ปัง ๆ มาติวด้วยกันที่ The Planner เลย!

สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | GSAT | ACT | IELTS | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing

ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Line: @theplanner หรือ Phone: 095-726-2666

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply