นักทดลองเข้าห้องแล็บ มาทางนี้ รวมคณะอินเตอร์สายวิทยาศาสตร์

เดินทางมาถึงคณะอินเตอร์สายวิทยาศาสตร์ที่น้องๆ รอคอย คณะในสายวิทยาศาสตร์แยกเป็นความเฉพาะทางอีกหลากหลาย ที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น สายเคมี สายชีวภาพ สายฟิสิกส์ สายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งน้องๆ ที่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ การค้นพบอะไรใหม่ๆ รักการเรียนภาคทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ ห้ามพลาดบทความนี้เด็ดขาด เพราะเราได้รวบรวมทางเลือกคณะสายวิทยาศาสตร์ภาคอินเตอร์ 5 คณะ จาก 3 มหาวิทยาลัยสุดปัง! ได้แก่ ?BSAC, BBTECH จุฬาฯ ?Bachelor of Science วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล ?Bioscience and Technology, Integrated Chemistry เกษตรศาสตร์ การเรียนการสอนทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติของคณะสายวิทยาศาสตร์ ในระดับอินเตอร์ จะผลักดันให้น้องๆ ได้มีโอกาสในอาชีพที่กว้างมากขึ้น สามารถประกอบอาชีพ เช่น นักวิจัย, นักพัฒนาผลิตภัณฑ์, นักสิ่งแวดล้อม, งาน QA / QC ฯลฯ โดยสามารถทำงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในระดับประเทศหรือระดับโลก  BSAC : Bachelor[…]

IELTS VS IELTS UKVI เรียนต่อ UK สอบแบบไหนดี?

น้องๆ ที่สนใจสอบ IELTS อาจจะเคยเห็นคำว่า IELTS UKVI ผ่านๆ ตา รวมไปถึงน้องๆ ที่สนใจศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร ที่จำเป็นจะต้องรู้ว่า IELTS UKVI คืออะไร แตกต่างจาก IELTS แบบธรรมดายังไง มาเปรียบเที่ยบการสอบ IELTS VS IELTS UKVI กันดูว่ามีข้อแตกต่างกันอย่างไร แล้วใครจำเป็นต้องสอบแบบไหน โดยก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า รูปแบบข้อสอบของ IELTS และ IELTS UKVI นั้นเหมือนกัน กล่าวคือมี 4 พาร์ท ได้แก่ Reading, Listening, Writing และ Speaking ลักษณะการสอบเหมือนกันคือสามารถสอบได้ทั้งแบบ Computer-based และ Paper-based อีกทั้งยังมีเกณฑ์การให้คะแนนแบบเดียวกันอีกด้วย ความแตกต่างระหว่าง IELTS และ IELTS UKVI ที่ต้องรู้ ! IELTSการสอบ IELTS โดยทั่วไปคือการวัดผลภาษาอังกฤษ[…]

อัปเดตเกณฑ์เทียบวุฒิ ม.ปลาย ปี 64 คะแนนเท่าไหร่? ยื่นมหาวิทยาลัยได้

ทางเลือกของการศึกษาไม่ได้อยู่แค่ในโรงเรียนเท่านั้น เพราะน้องๆ สามารถใข้การเทียบวุฒิการศึกษา หรือการสอบเทียบชั้นมัธยมปลาย เพื่อนำวุฒิการศึกษาไปยื่นเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องเป็นเกณฑ์ที่ได้รับการรองรับจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยวุฒิที่น้องๆ นิยมใช้ยื่นได้แก่ GED หรือ General Educational Development การสอบเทียบวุฒิระบบอเมริกัน, IGCSE และ A-Level ระบบอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติ IB หรือ International Baccalaureate สามารถยื่นเทียบวุฒิได้ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน ข้อดีของการสอบเทียบวุฒิ– กระชับเวลามากกว่าการศึกษาในโรงเรียน– วิชาเรียนน้อยกว่า เหมาะกับน้องที่มีเป้าหมายชัดเจน– วางแผนการเรียนได้เป็นสัดเป็นส่วน– ยื่นคะแนนเข้าภาคอินเตอร์ มาส่องเกณฑ์การเทียบวุฒิมัธยมปลาย อัปเดทของปี 64 จากมหาวิทยาลัยรัฐฯ ที่น้องๆ  มักจะถามถึงบ่อยๆ ทั้งของ GED, IGCSE และ A-Level ระบบอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติ IB ไปพร้อมๆ กัน* ทั้งนี้ในการยื่นคะแนนแต่ละครั้ง ขอให้น้องๆ เช็คเกณฑ์การเทียบวุฒิจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรง เพราะในแต่ละปีมักจะมีการเปลี่ยนแปลงค่ะ   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบบอเมริกัน– สมัครสอบ GED ตั้งแต่[…]

10 FACTS คะแนน SAT ไม่รู้ไม่ได้ !

การสอบ SAT ใกล้จะวนมาอีกครั้งแล้ว บทความนี้ได้รวบรวม FACT ข้อควรรู้ที่เกี่ยวข้องกับคะแนน SAT มาไว้ 10 ข้อด้วยกัน โดยเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ของ College Board ผู้จัดสอบ SAT นั่นเอง อาจมีข้อเท็จจริงบางข้อที่น้องๆ ยังไม่รู้ หรือหากรู้อยู่แล้วก็ถือว่าเป็นการอุ่นเครื่องทบทวนไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบในรอบถัดไป มาเตรียมพร้อมพิชิต High Score ไปพร้อมๆ กัน ? Score Structureโครงสร้างของข้อสอบ SAT แบ่งออกเป็น 2 วิชา คะแนนเต็ม 1,600 แบ่งออกเป็น 2 พาร์ทคือ Evidence-Based Reading & Writing – ซึ่งถูกแยกออกเป็นพาร์ท Reading จำนวน 52 ข้อ และ พาร์ท Writing and Language จำนวน[…]

ชอบเรียนสังคมศาสตร์ต้องรู้ ! รวมคณะสายอินเตอร์เกี่ยวกับสังคมฯ

หลังจากเราได้รวบรวมหลักสูตรในสายภาษา ซึ่งรวมไปถึงสายมนุษย์และอักษรกันไปแล้ว ยังมีอีกหลักสูตรสำหรับน้องๆ ที่ชอบและสนใจทางด้านมนุษยศาสตร์, วัฒนธรรม, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, ความเป็นไปของโลก นั่นก็คือหลักสูตรอินเตอร์ด้านสังคมศาสตร์ ? หลักสูตรทางด้านสังคมที่เรารวบรวมมาในวันนี้มีการเรียนการสอน และเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่? PGS : Politics and Global Studies จุฬาฯ? BIR : Political Science Program in Politics and International Relations ธรรมศาสตร์? SPD: Social Policy and Development (International Programme) ธรรมศาสตร์? IRGA : The International Relations and Global Affairs วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล? BASS : Social Sciences (International Program) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[…]

Step by Step ขั้นตอนการเตรียมตัวสอบ GED

การเตรียมตัวสอบเทียบวุฒิ GED มักจะถูกเข้าใจว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และต้องใช้เวลาเตรียมตัวนาน, เอกสารวุ่นวายทั้งการส่ง Consent Form หรือการขอ Diploma วันนี้ The Planner Education ผู้เชี่ยวชาญด้านการติวสอบ GED ในประเทศไทย จึงจะมาอธิบาย ขั้นตอนการสอบ GED ซึ่งเป็นการเทียบวุฒิมัธยมปลาย ในหลักสูตรอเมริกาแบบ Step by Step เข้าใจง่ายตั้งแต่เริ่มจนถึงการยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัย ติดตามได้ในบทความนี้ ในเรื่องของระยะเวลาการเตรียมตัว อาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับพื้นฐานและการแบ่งเวลาในการเรียนและฝึกฝนของน้องๆ โดยอาจใช้เวลาเพียงแค่ 1 – 3 เดือนเท่านั้น ก่อนอื่น น้องๆ ต้องทำความเข้าใจรูปแบบของข้อสอบเสียก่อน  ซึ่งข้อสอบ GED ประกอบไปด้วย 4 วิชา ได้แก่ อ่านบทความเจาะลึกข้อสอบ Mathematical Reasoning : https://bit.ly/3mJiq7w อ่านบทความเจาะลึกข้อสอบ Social Studies : https://bit.ly/37CTyYu อ่านบทความเจาะลึกข้อสอบ Science :[…]

รวม 11 หมวด 110 ศัพท์ (+สำนวน) อัพคะแนน IELTS พาร์ท speaking

รวม 110 ศัพท์จาก 11 หมวด IELTS พาร์ท Speaking คำศัพท์, สำนวน, วลี ที่ควรเก็บไว้เป็นอาวุธลับอัพคะแนน สำหรับการสอบ IELTS พาร์ท Speaking วัดระดับทักษะการพูด ฉะนั้นการที่เรายกระดับคำศัพท์ก็จะช่วยให้เราได้รับคะแนนจาก Examiner มากขึ้น ? โดยในวันนี้เราได้รวบรวมกว่า 110 คำศัพท์จาก 11 Topic ที่มักจะเจอตอนสอบ Speaking รับรองว่าต้องเป็นประโยชน์สำหรับการสอบ รวมถึงช่วยไกด์ในการฝึกฝนทักษะการพูดได้อีกด้วย ‼️ #แชร์ไว้ได้ใช้แน่นอน หมวด Travel & Holidaysaccommodation ที่พักcharter flight เที่ยวบินราคาถูกshort break วันหยุดสั้นๆyouth hostel ที่พักราคาประหยัดลักษณะแบบหอพักlocal crafts งานฝีมือจากท้องถิ่นgetting away from it all หลีกหนีกิจวัตรประจำวันเพื่อพักผ่อนpicturesque village หมู่บ้านที่ดี, หมู่บ้านที่สวยงามtourist trap สถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากto[…]

SAT Vocabulary Part 2 70 ศัพท์ จาก 7 หมวดที่มักออกสอบ

ศัพท์ SAT ขึ้นชื่อว่าค่อนข้างยากและมักจะเป็นศัพท์ที่ไม่ค่อยเห็นผ่านตา โพสต์นี้เราจึงมาพบกันอีกครั้งใน Part 2 ที่ได้รวบรวมอีก 7 หมวด และ 70 คำศัพท์ที่มักจะปรากฏในข้อสอบ SAT สำหรับน้องๆ ที่เตรียมตัวสอบ SAT ในรอบถัดไป เรายังมีทริคในการจำศัพท์มาฝากด้วยค่ะ ย้อนอ่านศัพท์ SAT 7 หมวด 70 คำ พาร์ท 1 ?? https://theplannereducation.com/home/blog/ศัพท์-sat-7-หมวด-70-คำ-ท่องให้คร/ ? ทริคจำศัพท์– ใช้สมุดจดศัพท์ให้เป็นระเบียบ อ่านง่าย– หลังท่องศัพท์ 24 ชั่วโมงให้ทบทวนความจำอีกครั้ง– ทำให้ตัวเอง “เห็น” คำศัพท์ผ่านตาบ่อยๆ อาจใช้วิธีตั้งเป็นรูป wallpaper– ทายศัพท์กับเพื่อน สนุกกว่า– จำวันละ 8 – 10 คำ เป็นจำนวนที่กำลังดี– ใช้คำศัพท์บ่อยๆ ประมาณ 10 ครั้งเราจะจำคำศัพท์นี้ได้ขึ้นใจ หมวด friends and[…]

หลักสูตรนานาชาติ ด้านการออกแบบ

ต่อจากบทความ เทียบหลักสูตรนานาชาติของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งนี้เราได้หยิบหลักสูตรใกล้เคียงที่น้องๆ สนใจมาพูดถึง นั่นก็คือ หลักสูตรนานาชาติ ด้านการออกแบบ เหมาะกับน้องๆ ที่ชอบเรื่องการออกแบบ หรืออยากเป็น Designer ซึ่งการออกแบบในยุคนี้มีหลากหลายมากๆ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์, การออกแบบเว็บไซต์, การออกแบบแอปพลิเคชัน, Graphic Design, Art Director ฯลฯ โดยบางหลักสูตรน้องๆ อาจจะสับสนว่าแตกต่างกับหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์อย่างไร เพราะส่วนมากก็มักจะสังกัดอยู่ในคณะสถาปัตย์ฯ ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันอยู่มากโดยน้องๆ สามารถเข้าใจหลักสูตรด้านการออกแบบได้มากขึ้น รวมถึงรู้แนวทางอาชีพในอนาคตได้จากบทความนี้ CommDe – Communication Design จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตร : Bachelor of Fine and Applied Arts (BFA) programme in communication design การออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ หรือที่เรียกกันว่า CommDe (คอมดี) เป็นภาควิชาเกี่ยวกับการออกแบบ สังกัดในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คอมดีเน้นการออกแบบเพื่อสื่อสาร ซึ่งรวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์, graphic[…]

รวม 50 ศัพท์ หมวด Social Studies ครบทุกหัวข้อในข้อสอบ GED

บทความนี้รวมมาให้แล้วทุก Topic ที่ออกสอบ American History, Geography, Economics, Civics และ Government ท่องก่อนสอบ #แชร์ไว้ได้ใช้แน่นอนอ่านบทความคำศัพท์หมวด Science : https://bit.ly/3m7CX5V หมวด American History Colony อาณานิคม, กลุ่มคนในอาณานิคม Mercantilism ลัทธิพาณิชย์นิยม (มุ่งสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศ)Plantation การเพาะปลูก, พื้นที่เพาะปลูกTaxation การจัดเด็บภาษีTyranny ปกครองแบบเผด็จการAlly ประเทศพันธมิตร Federalism ระบอบสหพันธรัฐAbolition การเลิกล้ม, การล้มล้างEmancipation การปลดปล่อยTranscontinental ข้ามทวีป หมวด GeographyBiodiversity ความหลากหลายทางชีวภาพContinent ทวีปEmigrate อพยพEthnicity ชาติพันธุ์Diaspora การพลัดถิ่นHemisphere ซีกโลกTerrain ภูมิประเทศ, ผืนดินRefugee ผู้ลี้ภัยPeninsula คาบสมุทรAssimilation การกลืนกลายวัฒนธรรม หมวด EconomicsAntitrust การต่อต้านการผูกขาดCommodity สินค้า, ของใช้ประจำDeficit การขาดดุล, ขาดทุนสะสมDeflation การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ, เงินฝืดFiscal งบประมาณMonopoly[…]

เทียบหลักสูตรอินเตอร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์

เทียบหลักสูตรนานาชาติของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งวันนี้เราได้หยิบยกภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมโดยตรงจาก 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความแตกต่างกันออกไปในสาขาวิชา เป้าหมายการเรียนและการประกอบอาชีพ จะมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร ศึกษาเบื้องต้นได้จากบทความนี้เลย นอกจากหลักสูตรอินเตอร์ของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ยังมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ โดยบางหลักสูตรนั้นสังกัดอยู่ในคณะสถาปัตฯ เช่นกัน โดยเราจะรวบรวมมาให้อ่านในอีกบทความค่ะ   International Program in Design and Architecture (INDA)การออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ  หลักสูตร : การออกแบบและสถาปัตยกรรม หลักสูตร 4 ปี สังกัดอยู่ใน Faculty of Architecture หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้นิสิตที่จะศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมถึงเป็นการสร้างองค์ความรู้ระดับอินเตอร์เพื่อเปิดโอกาสในการทำงานได้กว้างขึ้น นิสิตจะไม่ได้เรียนแค่การออกแบบสถาปัตยกรรม แต่ยังได้เรียนรู้โครงสร้าง, Landscape Architecture และ Urban Design โดยจะได้เรียนกับอาจารย์ต่างชาติมากมาย และหลักสูตรยังมีทริปและการเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ[…]

สอบ CU-ATS ทางเลือกแทน SAT Subject Test ยื่นคณะอินเตอร์จุฬาฯ

คณะอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายของน้องๆ หลายคน เนื่องจากมาตราฐานของหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง และหลักสูตรที่หลากหลาย เหมาะกับความสนใจในวิชาชีพของเด็กๆ ในยุคปัจจุบัน โดยปัจจุบันมีหลักสูตรอินเตอร์ 17 หลักสูตร และเป็นอันดับต้นๆ ในหลากหลายสาขาระดับประเทศ อาทิ BBA การบัญชี, EBA เศรษฐศาสตร์, BALAC ภาษาและวัฒนธรรม, CommDe ออกแบบนิเทศศิลป์, INDA การออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึง SIE รวมหลักสูตรทางวิศวกรรม และยังมีอีกหลากหลายหลักสูตร (ดูข้อมูลได้ที่ : https://www.chula.ac.th/admissions/international-programs/) เกณฑ์การสมัครเข้าเรียน             หากต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาฯ น้องๆ ต้องมีวุฒิม.6 หรือวุฒิเทียบเท่าที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการ เช่น GED หรือ IGCSE และ A-Level ประกอบกับคะแนนที่ใช้วัดผลทางภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ โดยอาจใช้คะแนนสอบที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลอย่าง SAT, IELTS หรือการสอบ CU-ATS ซึ่งเปิดสอบโดยศูนย์ทดสอบทางวิชาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการสอบความถนัดทางวิชาการ สำหรับน้องๆ ที่ต้องการใช้คะแนนในวิชาเฉพาะ เช่น Physics[…]

วิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ Part 2

รวมหลักสูตรนานาชาติของคณะวิศวกรรมศาสตร์  ต่อจาก Part 1 ที่ได้พูดถึง จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, มหิดล และเกษตรศาสตร์ไปแล้ว ใน Part 2 เราจะรวบรวมหลักสูตรนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ของ มศว ที่มีสาขาวิชาแปลกใหม่น่าจับตามอง และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) รวมไปถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ซึ่งมีความโดดเด่นในการเรียนการสอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ International Programs มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ 3 หลักสูตร ได้แก่ Concert Engineering and Multimedia วิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย เกิดขึ้นจากความต้องการของภาคเอกชนที่ต้องการบุคคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจตลาดอุตสาหกรรมด้านคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย มีความเข้าใจองค์รวมด้านแสง สี เสียง รวมไปถึงด้านวิศวกรรม ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะสามารถตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในด้านนี้ได้ เช่น สามารถประกอบอาชีพ วิศวกรในสถานประกอบการคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย, นักพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือและผู้ออกแบบโครงสร้างและกลไกที่เกี่ยวกับคอนเสิร์ต เป็นต้น อีกทั้งหลักสูตรนี้ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนระดับประเทศและนานาชาติ Petroleum and Natural Gas Engineering วิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ หลักสูตรมุ่งสร้างความรู้ความสามารถพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม[…]

รวมศัพท์หมวดวิทย์ 30 คำ ท่องก่อนสอบ GED Science

รวมศัพท์หมวดวิทยาศาสตร์ 30 คำ ที่ต้องเจอในข้อสอบ GED วิชา Science ท่องไว้ก่อนสอบรับรองว่าปัง  เพราะฉะนั้น #แชร์ไว้ได้ใช้แน่นอน ? การสอบ GED คือการสอบเทียบวุฒิ ม.6 เป็นการสอบเทียบวุฒิหลักสูตรอเมริกาเพื่อยื่นศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย  โดยมีกระทรวงศึกษาธิการของรับรองวุฒิ การสอบจะเป็นภาษาอังกฤษ ทั้ง 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA) การอ่าน&การเขียน Social Studies สังคม Science วิทยาศาสตร์ Mathematical Reasoning คณิตศาสตร์ 30 คำศัพท์เพื่อสอบ GED วิชา Science Process กระบวนการ, ขั้นตอน Embryo ตัวอ่อนของคน, สัตว์ Constant ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา, ที่ไม่เปลี่ยนแปลง Conceive ตั้งครรภ์ Transplant ปลูกถ่ายอวัยวะ เนื้อเยื่อ[…]

6 FACTS ABOUT GED SOCIAL STUDIES เตรียมตัวสอบผ่านที่นี่!

มีทริคการเตรียมตัวสอบ GED มาฝากอีกแล้ว วันนี้เป็นคิวของวิชา Social Studies ซึ่งข้อสอบวิชานี้มักจะถูกเข้าใจว่าเนื้อหาเยอะมาก, ต้องอาศัยการท่องจำ, ต้องรู้ทฤษฎี ฯลฯ วันนี้เราจึงหยิบเอา “6 FACTS ABOUT GED SOCIAL STUDIES” มาบอก มีข้อเท็จจริงอะไรบ้างที่ต้องรู้ เพื่ออัพคะแนนวิชาสังคมฯ รวมถึงสกิลที่ต้องมีเพื่อเอาชนะวิชานี้ ติดตามอ่านและเตรียมตัวสอบผ่านได้ที่บทความนี้เลย ! FACT : สัดส่วน Topic ไม่รู้ไม่ได้! ข้อสอบ Social Studies หรือวิชาสังคมศาสตร์ในการสอบ GED นั้นจะถูกแบ่ง Topic ออกเป็น 4 เรื่องหลัก ได้แก่ Civics and Government (50% of the section) S. History (20%) Economics (15%) Geography and the World[…]

สอบ IELTS พาร์ท Listening ให้ปัง ฟังอย่างไรให้ตอบถูก ?

ใครที่กังวลพาร์ท Listening ของ IELTS ตรงเข้ามา!พลาดไม่ได้แล้วกับทริคฟังให้รอดและเทคนิคตอบให้ถูก เพราะใครหลายคนอาจกังวลในพาร์ทนี้ เนื่องจากต้องตั้งใจฟัง + คิดวิเคราะห์ + เติมคำตอบ ในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้นมีอะไรบ้างที่ต้องรู้ก่อนสอบ และอีก 5 เทคนิคฝึกฝนง่ายๆ ที่จะทำให้ไปไกลได้ถึง Band 7.0+ ข้อสอบ IELTS Listening เป็นอย่างไรมารู้ทันโครงสร้างข้อสอบไปพร้อมๆ กัน ข้อสอบ IELTS วัดทักษะการฟัง หรือพาร์ท Listening นั้น ประกอบไปด้วย 4 Section แต่ละ Section จะมีคำถาม 10 ข้อ รวมทั้งหมด 40 ข้อ ระยะเวลาในการทำข้อสอบพาร์ทนี้ประมาณ 35 นาทีการตอบ : Multiple Choice, Short Answer ตอบแบบสั้นๆ ลงในช่องที่เว้นไว้, เติมคำตอบในช่องว่างของประโยค, เติมคำตอบในตารางข้อมูลหรือแผนภาพ เป็นต้นเกณฑ์การให้คะแนน :[…]

วิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ Part 1 รวมหลักสูตรวิศวะ อินเตอร์ พาร์ทแรกกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ธรรมศาสตร์, มหิดล และ เกษตรศาสตร์ :)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยISE วิศวกรรมศาสตร์ อินเตอร์ หลักสูตร : ISE  หรือ International School of Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาตรีหลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์ ประกอบไปด้วย 5 สาขาที่มีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1. ADME (Automotive Design and Manufacturing Engineering) สาขาวิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ – ประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตแหล่งใหญ่ของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ วิศวกรสายออกแบบและผลิตยานยนต์จึงถือเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูง รวมไปถึงในระดับโลกด้วย สาขาวิชา ADME ให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบส่วนประกอบ การสร้างแนวคิดของ Product รวมถึงภาคการผลิตในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การควบคุมการผลิตวัสดุไปจนถึงส่วน Automationจำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 147 หน่วยกิต 2. NANO (Nano Engineering) สาขาวิศวกรรมนาโน – วิศวกรรมนาโนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค ซึ่งเทคโนโลยีนาโนมีผลอย่างมากกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งต่อไป สาขามุ่งสร้างองค์ความรู้ด้าน Biomedical Chemical, Electrical, Materials Engineering[…]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ด้านภาษา จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหิดล มศว

BALAC : จุฬาฯ BEC, BAS, International Studies ASEAN China (IAC) : ธรรมศาสตร์ The Intercultural Studies and Languages : วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล Language for Careers, Language for Communication, Intercultural Communication : มศว การเรียนอินเตอร์ในสายภาษาคือการเรียนรู้ในเชิงลึกของวัฒนธรรม หรือศึกษาในสาขาวิชาที่ต้องเน้นการใช้ภาษาต่างประเทศและการทำงานกับองค์กรต่างประเทศ คณะวิชาเกี่ยวกับภาษาในภาคอินเตอร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยที่ยกมา จึงจะมีความแตกต่างกันในเรื่องหลักสูตรที่เรียน เช่น เรียนภาษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมศึกษา, เรียนภาษาเกี่ยวกับ Business, เรียนเพื่ออาชีพ หรือเรียนเพื่อการสื่อสาร เป็นต้น จบอินเตอร์สายภาษาไปทำอะไร ? เนื่องจากความหลากหลายของหลักสูตร และความต้องการผู้ที่มีความสามารถในการภาษาต่างประเทศของตลาดแรงงาน ทำให้มีทางเลือกสายอาชีพที่หลากหลาย ประกอบกับการเรียนในภาคอินเตอร์ยิ่งเพิ่มโอกาสในการได้ทำงานกับองค์กรต่างประเทศอีกด้วย เช่น องค์กรสหประชาชาติ, การทูต, สายการบิน, การโรงแรม, บริษัทข้ามชาติ นอกจากนี้ยังมีสายงานที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา เช่น[…]

เทียบ Structure ข้อสอบ CU-TEP vs TU-GET ข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ พิชิตคณะเป้าหมาย!

ข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ สำหรับน้องๆ ที่สนใจศึกษาต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นข้อสอบที่เปิดสอบโดยสถาบันเอง ได้แก่ CU-TEP (เปิดสอบโดยจุฬาฯ) และ TU-GET (เปิดสอบโดยธรรมศาสตร์) โดยข้อสอบของทั้ง 2 สถาบัน ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานในการวัดทักษะ ทั้งด้านการฟัง, พูด, อ่าน และเขียน เทียบเท่ากับข้อสอบวัดระดับของสากล เช่น TOELF จึงสามารถใช้ยื่นเข้าสมัครเรียนได้ ทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ซึ่งสำคัญมากๆ สำหรับน้องๆ ที่มีเป้าหมายในคณะอินเตอร์ ของ 2 มหาวิทยาลัยดังกล่าว เนื่องจาก Requirement  ในรอบรับตรงที่มักจะกำหนดให้ใช้คะแนนวัดระดับภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ในการเข้าศึกษา โดยทั้ง 2 ข้อสอบ มีความแตกต่างกันในด้านของโครงสร้างข้อสอบอย่างไร หาคำตอบได้จากบทความนี้เลย CU-TEP CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) คือข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับการใช้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา โดยเป็นการวัดทักษะการฟัง การอ่าน และการเขียน มีคะแนนเต็มอยู่ที่ 120 คะแนน[…]

สำรวจเกณฑ์ IELTS Academic คำนวณคะแนน เพื่อ Band เป้าหมาย

คะแนน IELTS มีเกณฑ์การคิด Overall Band Score 1 – 9 เป็นคะแนนจาก 4 พาร์ท ได้แก่ Listening, Reading, Writing และ Speaking โดยนำคะแนนในแต่ละพาร์ทมารวมกันแล้วหาร 4 หากมีเศษจะปัดไปที่แบนด์ที่ใกล้เคียงที่สุด ซึ่ง Band Score ของ IELTS จะมีแค่คะแนนเต็ม (Whole band) และครึ่งคะแนน (Half band) เท่านั้น ไม่มีเป็นคะแนนเศษ *การคิดคะแนนของ IELTS Academic และ General Training มีรูปแบบการคิดคะแนนแบบเดียวกัน แต่ข้อสอบของ General Training จะมีคำศัพท์ ข้อความ หรือรูปแบบที่ซับซ้อนมากกว่าอีกระดับหนึ่ง ยกตัวอย่างการคำนวณ Overall Band Score  : จากตารางตัวอย่างจะเห็นว่า หากคะแนนเฉลี่ยจากการหาร 4[…]