อยากเรียนนิเทศอินเตอร์ CommArts vs BJM

นิเทศศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ อีกหนึ่งคณะสุดฮอตฮิตติดลมบนของเด็กอินเตอร์ น้อง ๆ หลายคนใฝ่ฝันอยากเรียนนิเทศอินเตอร์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะไปเรียน Comm Arts ดี หรือ BJM ดี ทั้งสองหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรนิเทศศาสตร์ อินเตอร์เหมือนกัน แต่การเรียนการสอนค่อนข้างจะแตกต่างกันเป็นอย่างมาก คะแนนที่ใช้ยื่นเข้าก็มีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่คะแนนภาษาอังกฤษตัวที่ต้องใช้ยื่นเหมือนกัน น้อง ๆ จึงสามารถติวเข้า Comm Arts กับ BJM โดยการติว IELTS ติว TOEFL ติว SAT ไปในครั้งเดียวเพื่อยื่นเข้าทั้งสองที่ได้เลยค่ะ และอยากจะมาย้ำก่อนว่าน้อง ๆ ควรศึกษาตัวหลักสูตรให้ดี ๆ นิเทศเหมือนกันแต่เรียนคนละเวย์กันเลยนะคะ  วันนี้ The Planner จะพามาหาคำตอบกันค่ะว่าน้อง ๆ มีความชอบแบบนี้ น้องน่าจะไปเรียน Comm Arts ดี หรือ BJM กันนะ  ความแตกต่างของ Comm Arts vs BJM[…]

รอบ Portfolio อักษรศาสตร์ จุฬาฯ 2023

ขอต้อนรับเข้าสู่เดือนตุลาคม เดือนแรกแห่งการเดินทางสู่เป้าหมายในระดับมหาวิทยาลัยของน้อง ๆ DEK66 เดือนนี้ คณะต่าง ๆ ของหลายมหาวิทยาลัยจะเริ่มทยอยประกาศเกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาใหม่ รวมถึงคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่พึ่งประกาศโครงการต่าง ๆ ที่รับใน TCAS รอบ 1 Portfolio น้อง ๆ อ่านชื่อบางโครงการอาจจะสงสัยว่า อักษรศาสตร์เรียนภูมิศาสตร์ เรียนละคร กันด้วยจริงไหม เพราะความคุ้นชินและภาพจำเมื่อพูดถึงคณะอักษรศาสตร์ น้อง ๆ หลายคนอาจนึกออกแต่เรื่องภาษา คณะนี้ต้องเรียนภาษาแน่ ๆ คำตอบคือใช่ค่ะ อักษรฯเรียนภาษา ทว่าอักษรฯไม่ได้สอนแค่เพียงภาษาเท่านั้น ภาษาก็คือส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ แต่ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกที่จะทำให้เราเข้าใจมนุษย์มากขึ้น รวมถึงเรื่องภูมิศาสตร์ และศิลปการละครก็เช่นกัน ก่อนที่จะไปดูเกณฑ์การคัดเลือก พี่ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปรู้จัก 2 สาขาวิชานี้ที่สอนในคณะอักษรศาสตร์กันก่อนค่ะ อักษรศาสตร์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ พูดได้เลยค่ะว่าสาขานี้เป็นสาขาเดียวในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่บังคับใช้คะแนนคณิตศาสตร์ยื่นในรอบ Admission เท่านั้น ใช้ความถนัดทางภาษายื่นไม่ได้ น้อง ๆ[…]

Gap Year ค้นหาตัวเองหลังจบ ม.ปลาย ได้ไว ไม่ต้องรอ 3 ปี หลักสูตร GED สานฝันให้เป็นจริงได้

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมปลาย หรือระดับชั้นอื่น ๆ คงเป็นกัน คือไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร อยากทำงานอะไร และอะไรคือเป้าหมายสำคัญในชีวิต ในช่วงวัยรุ่นอย่างเรา มันยากที่จะหลีกหนีภาระทางการศึกษาภาคบังคับ และเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยเพื่อสานต่อความฝันในการทำงาน แต่มันจะดีกว่าไหม ถ้าเราเอาช่วงเวลารอยต่อระหว่างหลังจบ ม.6 และมหาวิทยาลัย ไปค้นหาตัวตนที่แท้จริงของเราเองได้ วันนี้พี่ เดอะ แพลนเนอร์ เอดดูเคชั่น ขอพาน้อง ๆ ทุกคนไปรู้จักกับการ “Gap Year” ช่วงเวลาดี ๆ ในชีวิตที่นักเรียนหลักสูตร GED สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ นิยมทำกัน จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย Gap Year คืออะไรGap year คือ ช่วงเวลาของปี ที่เป็นช่องว่าง “คั่นระหว่างการเป็นนักเรียน ม.ปลาย กับนักศึกษามหาวิทยาลัย” หรือพูดง่าย ๆ คือช่วงเวลา 3 เดือนถึง 1 ปีหลังจบการศึกษาสำหรับเด็ก ม.6 ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง[…]

2023 ธรรมศาสตร์ยกเลิกอินเตอร์หลักสูตรไหนบ้าง ?

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าเปิดหลักสูตรนานาชาติมานาน และมีหลักสูตรนานาชาติหลายหลักสูตร แต่ละหลักสูตรมีความหลากหลาย อีกทั้งยังเรียกได้ว่ามีการเปิดตัวหลักสูตรใหม่งอกเพิ่มแทบทุกปีเลยก็ว่าได้ ทว่าบางหลักสูตรนานาชาติของธรรมศาสตร์ก็มีการปิดตัวลงไปบ้าง น้อง ๆ รู้กันไหมคะว่ามีหลักสูตรไหนปิดตัวกันไปบ้าง หนึ่งในหลักสูตรนั้นมีหลักสูตรที่น้อง ๆ สนใจกันอยู่ไหม เรามาอัปเดตกันหน่อยดีกว่าค่ะ ว่า ตอนนี้หลักสูตรนานาชาติของธรรมศาสตร์หลักสูตรไหนปิดไปแล้วบ้าง หลักสูตร PBIC วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงศ์ สาขาวิชาอินเดียศึกษา วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมและการจัดการ (นานาชาติ) วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (นานาชาติ) วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (นานาชาติ) แม้ว่า 4 หลักสูตรนี้จะปิดตัวลงไปแล้ว แต่น้อง ๆ อย่าพึ่งเสียใจกันไปเลยนะคะ เพราะยังมีหลักสูตรนานาชาติอีกหลายหลักสูตรของธรรมศาสตร์ให้น้อง ๆ ได้เลือกเรียนเลย อย่าง PBIC วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงศ์ ที่ยกเลิกสาขาวิชาอินเดียศึกษาไปแล้ว แต่สาขาจีนศึกษาและไทยศึกษาก็ยังคงเปิดสอนอยู่ PBIC จึงเป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่น่าสนใจเลยค่ะ หลักสูตรนี้เรียกได้ว่าเป็นหลักสูตรที่เอาใจคอสังคมที่ชอบทุกศาสตร์เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะภูมิศาสตร์ การเมืองการปกครอง รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือนิติศาสตร์ ใน PBIC มีครบ น้อง[…]

Let’s talk about Comm De

Comm De หรือคอมดีที่ไม่ได้เรียนเอกคอมนะคะ Comm De มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Communication Design ซึ่งสาขานี้นอกจาก MUIC ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เปิดสอนแล้ว วันนี้จะพามารู้จัก Comm De ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาที่อยู่ในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่นเองค่ะ มาถึงตรงนี้น้อง ๆ อาจจะสงสัยว่า แล้วมันเรียนเกี่ยวกับสถาปัยตกรรม ออกแบบบ้าน ออกแบบภายในหรอ คำตอบคือ “ไม่ใช่ค่ะ” บทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับคณะนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ และถ้าน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่เริ่มสนใจในคณะนี้แล้ว น้อง ๆ สามารถเริ่มติววิชาการอย่าง ติว SAT ติว IELTS ติว TOEFL ติว CU – ATT ได้เลยค่ะ เพราะคณะนี้ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายของเพื่อน ๆ อีกหลายคนเช่นกัน เริ่มก่อนได้เปรียบในการเก็บเนื้อหามากกว่าค่ะ บอกเลย!! Comm De[…]

สัตวแพทย์และสัตวศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร? ใครอยากเรียนต่อ 2 คณะนี้ห้ามจำสับสน

น้อง ๆ คนไหนเป็นคนรักสัตว์ ชื่นชอบการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ และมีแผนที่จะเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในด้านนี้ ต้องรีบอ่านบล็อกนี้เลย รู้กันหรือไม่? คณะสัตวแพทยศาสตร์และสาขาสัตวศาสตร์ “ไม่เหมือนกัน” และทำหน้าที่ในอาชีพแตกต่างกันอีกด้วยนะ สงสัยกันแล้วใช่ไหมว่า 2 คณะนี้หรือ 2 อาชีพนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร พี่ The Planner Education สถาบันติวเข้าคณะอินเตอร์ จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ ทำงานเกี่ยวกับ “สัตว์” เหมือนกัน แต่เป้าหมายต่างกันอย่างที่เราทราบกันดีว่า เมื่อสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราป่วยหรือไม่สบาย สิ่งแรกที่เราคำนึงถึงนั่นคือ “สัตวแพทย์” ที่อยู่ประจำคลินิกรักษาสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่โดยตรงของสัตวแพทย์ หรือ Veterinarian คือ ดูแลเกี่ยวข้องกับสุขภาพของสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ทั่วไป การวินิจฉัยโรค การป้องกัน การรักษาโรคจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ทั่วไป บำบัดรักษาโรคสัตว์โดยการใช้ยา เป็นผู้ผ่าตัด หรือใช้รังสีในการรักษา ป้องกันโรคระบาดจากสัตว์ไม่ให้แพร่กระจายมาสู่ทั้งสัตว์และคน ดังนั้น กล่าวได้ง่าย ๆ เลยคือ ผู้ที่เรียนจบจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ และประกอบอาชีพด้านสัตวแพทย์ จะทำหน้าที่ “ดูแลรักษาสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงและวินิจฉัยโรคสัตว์ทั่วไป” ที่ไม่ใช่เพื่อการปศุสัตว์ หรือการใช้เพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกัน[…]

ชวนมารู้จัก BSTA สาขาเกษตรเขตร้อน นานาชาติ มก. สาขาอนาคตไกล ตอบโจทย์คนหัวใจรักการเกษตร

ทุกคนเคยได้ยินชื่อ “สาขาเกษตรเขตร้อน นานาชาติ” ม.เกษตรศาสตร์ กันหรือไม่? บางส่วนคงเคยได้ยินและรู้จักกันแล้ว แต่ยังคงมีน้อง ๆ อีกหลายคนที่ยังสงสัยกันอยู่ว่าคณะนี้ มีที่มาอย่างไรแล้วเขาเรียนอะไรกัน วันนี้ พี่ The Planner Education สถาบันติวสอบเข้าคณะอินเตอร์ จะขอเปิดประตูรถ ต้อนรับน้อง ๆ ทุกคนไปทัวร์และทำความรู้จักกับสาขาเกษตรอินเตอร์นี้กันแบบเข้าเส้น ทุกแง่ทุกมุม แบบอ่านแล้วอ๋อทันที สาขานี้จะมีอะไรให้น่าสนใจกันบ้าง ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยจ้า  เกษตรเขตร้อน นานาชาติ เรียนเกี่ยวกับอะไร? หลักสูตรเกษตรเขตร้อน (นานาชาติ) Bachelor of Science Program in Tropical Agriculture (International Program) หลักสูตร 4 ปี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า BSTA เป็นหลักสูตรอินเตอร์ โครงการพิเศษของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เน้นศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจและการเกษตร โดยเฉพาะด้านการเกษตรในภูมิภาคเขตร้อน หลักสูตรนี้ มีระบบการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร[…]

เคล็ดลับคนอ่อนภาษาอังกฤษต้องรู้ ทำยังไงให้ได้คะแนน IELTS สูงปรี๊ด แบบหมัดเดียวจอด

เป็นเหมือนกันไหม ท่องศัพท์ Eng เยอะแค่ไหนก็ไม่เข้าหัว ยิ่งเรื่องแกรมม่าและทักษะการพูดโต้ตอบแล้วยิ่งแล้วใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นคน “อ่อน Eng” เข้าขั้นโคม่าเลยทีเดียว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ เพราะปัจจุบันภาษาอังกฤษถือเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารของคนบนโลก โดยเฉพาะผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS ที่มักใช้เป็นเกณฑ์ในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัยทั้งในไทยและต่างชาติ รวมถึงการยื่นเข้าทำงานและการเดินทางไปยังประเทศอื่น ๆ ซึ่งยังไงก็คงต้องให้ความสำคัญกับมันจริง ๆ ถูกไหม อย่างน้อย ๆ เพื่อความอุ่นใจ IELTS เต็ม 9.0 ก็ควรจะได้คะแนนที่ 6.0++ หรือ 6.5 ขึ้นไปแล้ว แต่ทำยังไง คนอ่อน Eng อย่างเรา ถึงจะสอบ IELTS ได้คะแนนสูง ๆ แบบนั้นกันล่ะ?  มาลองเปิดใจและสลัดความกังวลเหล่านั้นออกไปให้หมดกับบทความนี้กันนะคะ พี่ The Planner กูรูด้านการติว IELTS จะขอพาน้อง ๆ ไปดูทริคลับเปิดใจคนไม่เก่งภาษา ให้สามารถเข้าถึงและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตัวเองให้ดีขึ้นแบบสังเวียนต่อสังเวียนกันเลย จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันได้เลยค่ะ วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองสิ่งคนมีพื้นฐานภาษาอังกฤษน้อยมักมองข้าม คือการ “เข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้” ไม่มีใครเก่งทุกด้าน[…]

Let’s Talk About INDA Chula

INDA คณะอินเตอร์ยอมฮิตแห่งยุค ทั้งชื่อที่มีความเก๋ การเรียนที่เปิดกว้างทางไอเดีย และจินตนาการอย่างเต็มที่ ทำให้ INDA ซึ่งมีชื่อเต็ม ๆ ว่า International Program In Design & Architecture หรือคณะสถาปัตยกรรม หลักสูตรนานาชาติ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นชื่อแรกในความคิดของน้อง ๆ หลายคน หากมีคนถามว่า “คณะในฝันที่อยากเรียนคือคณะอะไร” ถ้าน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่อยากเข้าคณะนี้ แล้วยังไม่รู้ว่าควรเริ่มเตรียมตัวยังไงดี น้อง ๆ สามารถเริ่มติววิชาการอย่าง ติว SAT ติว IELTS ติว TOEFL ติว CU – ATT ไปพร้อม ๆ กับการติววิชาออกแบบได้เลยค่ะ หากเราวางแผนการติวแต่เนิ่น ๆ ไว้อย่างดีแล้ว เชื่อได้เลยค่ะว่า ว่าที่เด็กอินด้า จุฬาฯ อยู่ไม่ไกลเกินฝันน้อง ๆ แน่ บทความนี้จะพาน้อง ๆ[…]

แพทย์หลักสูตรใหม่ เรียน 7 ปี คว้า 2 ดีกรี

อีกหนึ่งทางเลือกใหม่สำหรับน้อง ๆ ที่ฝันอยากเป็นว่าที่คุณหมอ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัวแพทยศาสตร์หลักสูตรใหม่ ปี 2563 หลักสูตร UCL iBSc / MD แม้จะเพิ่งเปิดมาได้ไม่นาน แต่หลักสูตรนี้เรียกได้ว่ากำลังฮิตในหมู่น้อง ๆ ที่กำลังติวสอบเข้าแพทย์เลยค่ะ อีกทั้งน้อง ๆ ยังไม่ต้องติวสอบหลายวิชา แต่สามารถมุ่งติวภาษาอังกฤษได้เลย จะเลือกติว IELTS หรือ ติว TOEFL ก็ได้ตามความถนัดของน้อง ๆ เลยค่ะ กระทู้นี้นอกจากจะพาไปทำความรู้จักกับคณะแพทยศาสตร์ของที่นี่ ว่ามีความพิเศษยังไงแล้ว ยังจะพาน้อง ๆ ไปรู้วิธีเตรียมตัวเพื่อเข้าเป็นนักศึกษาแพทย์ในคณะนี้กันด้วยค่ะ คณะแพทยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นหลักสูตรแรกของไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลตามเกณฑ์ WFME จากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) และแพทยสภา อีกทั้งหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ เรียนทั้งหมด 7 ปี เป็นหลักสูตร 2 ปริญญา คือ ปริญญาบัตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (iBSc) จาก University College[…]

วิศวะ INTER หลักสูตรใหม่ของ TSE TU

หากน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่อยากเรียนวิศวกรรม หลักสูตรนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พอรู้กันใช่ไหมคะว่าต้องเตรียมตัวยังไง เตรียมติววิชาไหนบ้าง น้อง ๆ ต้องเตรียมคะแนนจากผลทดสอบภาษาอังกฤษ โดยการติวIELTS หรือติวTOEFL หรือติวTU-GET และต้องเตรียมคะแนนผลทดสอบอื่นเพิ่มเติม  โดยการติวSAT หรือติวACT หรือติวGED หรือติวA-Level นั่นเองค่ะ และเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา TSE หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า Thammasat School of Engineering ได้ประกาศข่าวดีในโอกาสครบรอบ 33 ปี คือ การเปิดตัวหลักสูตรใหม่ “วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ” ซึ่งหลักสูตรนี้จะเปิดสอนในปีการศึกษา 2566 4 หลักสูตรใหม่ของวิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการภายใต้แนวคิด TEP-TEPE : The Next Concept of Engineering Education ปฐมบทใหม่ของการเรียนวิศวกรรมเชิงบูรณาการ จุดเริ่มต้นยุคใหม่ของการเรียนด้านวิศวกรรม เพื่อผลิตวิศวกรที่ตอบโจทย์โลกยุคปัจจุบัน การพัฒนาประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการต่อยอดเพื่อเป็นผู้ประกอบการที่มีทักษะรอบด้าน[…]

พร้อมรึยังกับ SAT Digital Test

การสอบ SAT ปี 2023 จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แต่น้อง ๆ ที่ตอนนี้กำลังเรียน SAT อยู่ อย่าพึ่งตกใจกันไปค่ะ ถึงแม้รูปแบบการสอบ SAT จะเปลี่ยนไปแต่การติว SAT รูปแบบเดิมยังคงมีประโยชน์ในการสอบ SAT แน่ ๆ ค่ะ เพราะเนื้อหารูปแบบข้อสอบหลายส่วนก็ยังคงเดิม มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนไหนไปจากเดิมบ้าง บทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบกันค่ะ ในปี 2023 SAT จะเปลี่ยนรูปแบบการสอบจากแบบ Paper and Pencil ไปเป็นแบบ Digital (The Digital SAT Suite Assessment) แม้การสอบจะเปลี่ยนรูปแบบไป แต่น้อง ๆ ยังฝึกทำข้อสอบ ติว SAT จากแหล่งข้อมูล Past Paper เก่า ๆ ได้อยู่นะคะ เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ที่จะออกสอบใน SAT Digital Test[…]

ทำ Portfolio แบบนี้ ใคร ๆ ก็อยากรับเข้าไปเรียน!

สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในรอบยื่น Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน) อาจจะต้องมีความมั่นใจสักหน่อยว่าตัวเองเคยทำกิจกรรมมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการประกวด เข้าค่ายอัพสกิลความรู้ หรือว่าทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่น เช่น ไปสอนหนังสือเด็กเล็ก ซึ่งถ้าน้อง ๆ มีผลงานที่ดึงดูดใจกรรมการหรือว่าอาจารย์ที่สัมภาษณ์เรา ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการติดมหาวิทยาลับมากขึ้น ซึ่งถ้าน้อง ๆ มีผลงานที่โดดเด่นแล้ว การนำเสนอออกมาในรูปแบบของ Portfolio ก็ต้องทำให้ดีด้วย เพื่อที่จะได้เป็นที่ประทับใจมากยิ่งขึ้นไปอีก วันนี้พี่ ๆ The Planner จะมาบอกให้ฟังว่าทำ Portfolio ยังไงให้ปัง มหา’ลัยไหน ๆ ก็อยากรับเข้าไปเรียน! ควรทำอย่างไร และควรเลี่ยงอะไร ลองไปอ่านกันดูเลย สิ่งที่ขาดไม่ได้ใน Portfolio เลยก็คือ:  ชื่อ-นามสกุล คณะที่อยากเข้า ประวัติการศึกษา เหตุผลที่อยากเข้าคณะที่เลือก ผลงานที่ผ่านมา กิจกรรมที่เคยร่วม สิ่งที่ควรทำเวลาสร้าง Portfolio ให้น่าสนใจ เตะตากรรมการหรืออาจารย์  สะกดคำให้ถูกต้องเวลาที่เราพิมพ์ข้อความลงไปใน Portfolio ควรจะต้องอ่านเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีก 2 รอบเป็นอย่างน้อย เพื่อเช็คคำผิด หรือประโยคไหนที่น้อง[…]

เช็กสิสต์ 7 วันอันตราย อะไร “ไม่ควรทำ” ก่อนวันสอบ SAT

ไม่รู้ ยิ่งต้องรู้ สิ่งที่ควรทำก่อนวันสอบ SAT หลายคนคงพอจะรู้กันอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ห้ามทำล่ะ เชื่อว่าน้อง ๆ บางคนอาจยังไม่รู้แน่ ๆ วันนี้มาดูกัน กับ 5 สิ่ง (แอบ) อันตราย ใครหลุดทำลงไปในช่วง 1 อาทิตย์ก่อนวันสอบ SAT อาจพาคะแนนสู่ขิตแบบไม่รู้ตัวก็ได้ แถมยังอาจทำให้น้องบางคนชวดคะแนนสอบ หรืออดสอบได้เลยอีกด้วยน้า น่ากลัวสุด ๆ ไปเลย ว่าแต่จะมีอะไรบ้าง พี่ The Planner ตัวตึงสถาบันติวสอบ SAT จะมาเฉลยให้น้อง ๆ ได้ฟังกัน ทานอาหารแปลก ๆ หรือในสัดส่วนที่ไม่ปกติเรื่องอาหารการกินเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลย เพราะในการสอบ SAT เราใช้เวลาสอบที่ค่อนข้างนานมาก ๆ ถ้าหากน้อง ๆ ทานอะไรที่ผิดเพี้ยนแปลกไปจากเดิม หรือเผลอไปกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัว อาจส่งผลเรื่องสุขภาพร่างกาย มีอาการเจ็บป่วย การขับถ่ายไม่ดี หรือโดยรวมสภาพร่างกายไม่พร้อมต่อการสอบในระยะเวลานานได้ ตัวอย่างอาหารที่ควรเลี่ยงไว้ก่อน (เก็บไว้ตอนหลังสอบดีกว่าน้า) อาหารรสจัดมาก ๆ อาหารค้างคืน[…]

รู้แล้วหายสงสัย ลงสอบ SAT Math รอบใหม่ ทำไมยังอัปคะแนนไม่ขึ้น

ปัญหาคาใจของวัยรุ่นสอบ SAT ลงสอบใหม่ก็แล้ว ตั้งใจสอบก็แล้ว แต่ทำไมพาร์ท SAT Math คะแนนถึงร่วงไม่เป็นท่า สอบกี่ครั้งก็ไม่พอใจคะแนนตัวเองสักที อ่านบล็อกนี้แล้ว หายสงสัยได้เลย พี่ The Planner Education สถาบันติว SAT สุดปัง ขอพาน้อง ๆ ขยับเข้ามาดูใกล้ ๆ เราอยู่ใน 6 ลิสต์ปราบเซียน SAT Math เหล่านี้กันหรือเปล่านะ? รู้เนื้อหาไม่ครบ เพราะข้อสอบ SAT Math นั้น มีเนื้อหาเทียบเท่าคณิตศาสตร์ ม.ต้น และ มีเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย (หลักสูตรไทย) วัดกัน 4 ทักษะ คือ Heart of Algebra, Problem Solving and Data Analysis, Passport to Advanced Math และ Additional[...]

Let’s talk about ICT MAHIDOL

น้อง ๆ รู้ไหมคะว่าการเรียนTOEFL การเรียนIELTS การเรียนSAT การเรียนACT เพื่อสอบยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จะเป็นการวางเสาเข็มเพื่อสร้างรากฐานอนาคตทางการงงานที่มั่นคงให้แก่น้อง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนเริ่มต้นหลังจบใหม่ที่ค่อนข้างมั่นคง และอนาคตสายงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั่วโลก การันตีความสำเร็จได้ล่วงหน้าเลยถ้าน้องได้เข้าไปเรียนในคณะนี้แล้ว จากที่กล่าวมาทั้งหมดคณะที่อยากพาน้องไปรู้จักในบทความนี้มีครบทุกอย่างที่กล่าวมาเลยคือ คณะ ICT ของมหาวิทยาลัยมหิดล น้อง ๆ รู้กันไหมคะว่านอกจากคณะที่อยู่ใน MUIC แล้ว มหาวิทยาลัยมหิดลยังมีคณะนานาชาติคณะอื่นที่ไม่สังกัด MUIC อยู่ หนึ่งในคณะเหล่านั้นคือคณะ ICT ชื่อเต็มคือ Faculty of Information and Communication Technology หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) นั่นเอง คณะ ICT ดูน่าจะเรียนเหมือนกับคณะวิศวกรรม สาขาคอมพิวเตอร์ แต่จริง ๆ แล้ว คณะ ICT จะเน้นเรียนเกี่ยวกับ Software แต่คณะวิศวรกรรม สาขาคอมพิวเตอร์ จะเน้นเรียนหนักไปที่สาย Hardware  ซึ่งคณะ ICT[…]

BBA MUIC เรียนเมเจอร์ไหนดี และวิธีการเตรียมตัวสอบ TOEFL-MUIC

คณะบริหารธุรกิจถือว่าเป็นคณะที่ติดอันดับต้น ๆ ของคณะที่เด็กม.ปลายในไทยอยากเข้ามากที่สุด เพราะไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมไหนก็ต้องใช้ความรู้ในเรื่องธุรกิจ ทั้งในด้านการตลาด การเงิน หรือเศรษฐศาสตร์ ล้วนแล้วแต่เป็นที่ต้องการทั้งนั้น เรียนจบไปยังไงก็อุ่นใจได้ว่ามีงานรองรับ หรือว่าถ้าอยากจะเปิดธุรกิจเป็นของตัวเองเลยก็ได้ เพราะว่ามีพื้นฐานมาแล้ว คณะ BBA หรือว่าบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยมหิดลหลักสูตรนานาชาติ เปิดมาอย่างยาวนาน แถมยังเป็นอันดับหนึ่งของมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติอีกด้วย การันตีด้วย Top Rank ขนาดนี้ เรื่องหลักสูตรคงไม่ต้องพูดถึงว่าจะมีคุณภาพขนาดไหน น้อง ๆ คนไหนที่ไม่แน่ใจว่าจะเลือกเรียนคณะไหนดี พี่ The Planner จะมาย่อยแต่ละสาขาให้ฟังว่าน่าเรียนอย่างไรบ้าง BBA MUIC แบ่งออกเป็น 4 สาขา Marketing Business Economic Finance International Business Marketingสาขาวิชาการตลาด เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ศึกษาความต้องการของผู้กินผู้ใช้ของสินค้านั้น ๆ วิธีการตั้งราคาให้ดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมาย และเหมาะสม สินค้าควรวางขายที่ไหน และควรจะนำเสนอหรือโปรโมตสินค้าอย่างไรให้คนเห็นสินค้าของเรามากที่สุด ซึ่งน้อง ๆ จะได้เรียนรู้การค้นหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในด้านการตลาด ซึ่งก็จะได้ศึกษา Case Study ของแบรนด์ต่าง ๆ[…]

สอบเทียบ GED ยื่นคณะหลักสูตรไทยได้ไหม

การเรียนGEDเพื่อสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่6ในไทย สามารถยื่นเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในคณะหลักสูตรไทยได้หรือไม่ คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตของน้อง ๆ ที่กำลังจะเรียนGED หรือเรียนGEDอยู่เลยค่ะ อย่างที่เคยทราบข่าวกันไปว่ามีการยกเลิกการสอบเทียบของระบบไทยไปแล้ว แต่การสอบเทียบGEDยังมีอยู่นะคะ และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (Council of University Presidents of Thailand) หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ ทปอ. ก็ลงไว้ในเว็บ TCAS เรื่องคุณสมบัติในการเทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่6 เรื่องการใช้วุฒิจาการสอบ GED โดยกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของแต่ละวิชาที่สอบ GED ไว้ว่าห้ามต่ำกว่า 145 คะแนน หรือเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยและคณะจะกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำเองค่ะ GED คือ การสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาในระบบอเมริกัน (US High School Equivalency Diploma) จัดสอบโดย American Council on Education ซึ่งวุฒิ GED เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเองก็เช่นกัน การเทียบวุฒิGEDยังคงเป็นที่ยอมรับในการใช้เทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่6 เพื่อใช้เรียนต่อระดับอุดมศึกษาในไทยทั้งหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติก็สามารถใช้วุฒินี้เทียบได้ ในบทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับคณะหลักสูตรไทยจาก 6 มหาวิทยาลัยที่รับเด็ก GED โดยข้อมูลอ้างอิงมาจากปี 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[…]