GED RLA : Subject & Verb Agreement ผันกริยาให้สอดคล้องกับประธาน

ต่อจากบทความครั้งที่แล้วเราคุยกันไปเรื่องการผันคำกริยา (Verb Conjugation) ในภาษาอังกฤษ วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดในประเด็นแรกที่เด็ก ๆ น่าจะคุ้นเคยและท่องกันมาว่า “ประธานเอกพจน์  Verb เติม s/es ประธานพหูพจน์ Verb ไม่เติม s” ซึ่งมีชื่อเรียกเก๋ ๆ ในวงการไวยากรณ์ว่า Subject & Verb Agreement หรือ การผันคำกริยาให้สอดคล้องกับประธาน ในการพัฒนาภาษาอังกฤษหรือติว GED RLA เรื่องนี้ก็จะเป็นหนึ่งเรื่องที่จำเป็นที่สุดเลยล่ะครับ

แน่นอนครับว่าหากจะผันกริยาให้ถูกต้องได้ ขั้นแรกน้องจะต้องมองประธานให้ออกก่อนครับ ว่าประธานมี จำนวน เท่าไร (1 = เอกพจน์ , 2 ขึ้นไป = พหูพจน์) โดยสังเกตง่าย ๆ จากการดูว่าข้างหลังคำนามมีการเติม s ไหม ถ้ามีแปลว่านามนั้นส่วนใหญ่น่าจะเป็นพหูพจน์ครับ เช่น a train (รถไฟ 1 ขบวน) VS trains (รถไฟหลายขบวน), a veterinarian (สัตวแพทย์ 1 คน) VS veterinarians (สัตวแพทย์หลายคน) และ a microwave (ไมโครเวฟ 1 เครื่อง) VS microwaves (ไมโครเวฟหลายเครื่อง)

หลังจากที่น้องแยกประเภทประธานออกแล้ว ขั้นตอนต่อมาน้อง ๆ ก็สามารถลงมือผันกริยาได้เลยครับ โดยพี่สรุปเป็นตารางสั้น ๆ ข้างล่างนี้ เพื่อช่วยให้น้องเข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น

ประธานเอกพจน์ Verb เติม s / es
ประธานพหูพจน์ Verb ไม่เติม s

ตัวอย่างเช่น

A patient seeks a medical advice to improve his health condition.

– ผู้ป่วยต้องการคำแนะนำจากแพทย์เพื่อฟื้นฟูสุขภาพของเขา เนื่องจากมีผู้ป่วยแค่คนเดียว (patient) กริยา seek เลยเติม s

Several plastic bottles have been recycled as a table for the disable.

– ประโยคนี้ bottles ลงท้ายด้วย s เพราะ มีจำนวนขวดหลายชิ้น ซึ่งใช้กับกริยา have

มาถึงตรงนี้ น้องหลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องเป็น have พี่เลยอยากบอกว่า กริยาบางตัวนะครับ ซึ่งหลัก ๆ มี is/ am/are, was/were,  has/ have และ does/do โดยกริยา 4 กลุ่มนี้เป็นกริยาพิเศษ ถ้าใช้กับประธานคนละพจน์ มักจะผันรูปไปเลย

แต่วิธีการยังเหมือนเดิมครับ คือ is/was/does/has ลงท้ายด้วย s ใช่ไหมครับ ถ้าอย่างนั้นก็ใช้กับประธานเอกพจน์ไปเลยครับ ขณะที่ am ใช้กับประธาน I เท่านั้น (ย้ำว่าเท่านั้น!) ส่วนตัวอื่นที่เหลือ คือ are/were/do/have ก็ใช้กับประธานพหูพจน์ครับ เดี๋ยวกริยาพวกนี้เราจะไปดูหน้าที่พวกมันตอนที่เราคุยกันเรื่อง Tense ครับตอนนี้แค่ให้พอรู้ก่อนว่ากริยาตัวไหนใช้กับประธานพจน์อะไร

My sisters are moving to New York while I consider visiting them next month.

– น้องสาวหลายคนกำลังย้ายไปนิวยอร์กซึ่งตามกฎที่เราคุยกันไปข้างบนกริยาประเภท Verb to be ก็เลยต้องผันเป็น are ครับ ในขณะที่ประโยคข้างหลังคำเชื่อม while ประธานเป็น I ซึ่งถือเป็นพหูพจน์กริยา consider จึงไม่เติม s

Finally, he has decided to participate in the archery competition’s final round.

– ประโยคสุดท้ายนี้ ใช้สรรพนาม หรือ pronoun (คำที่ใช้แทนคำนาม) he (เขาผู้ชาย) ซึ่งเป็นเอกพจน์ ดังนั้นเลยใช้กริยา has ในบริบทนี้

สำหรับการติว GED RLA เล็กๆวันนี้ในเรื่อง การผันกริยาให้สอดคล้องกับประธาน หรือ Subject and Verb Agreement จริง ๆ แล้วไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแต่เราต้องมีสติ หมั่นตรวจเช็คสิ่งที่เราเขียน (Proofread) เนื่องจากเป็นกฎที่ไม่มีในไวยากรณ์ไทยจึงอาจทำให้เราเผลอหลงลืม ส่วนครั้งหน้าเราจะมาดูกันต่อนะครับว่า การผันกริยาตามกาลเวลาเบื้องต้น (Tense) จะทำได้อย่างไร รวมถึงมีเทคนิคการจำอย่างไร อย่าพลาดนะครับ Stay Tuned!

ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply