วิศวกรเป็นอาชีพในฝันของเด็ก ๆ หลายคนใช่ไหมคะ หากน้อง ๆ เป็นหนึ่งคนที่อยากทำงานด้านนี้ ห้ามพลาดบทความนี้ เพราะพี่ The Planner จะพาน้องไปรู้จักกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติของ 3 สถาบันสุดแกร่งและขึ้นชื่อเกี่ยวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ นั่นก็คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า หรือที่เราอาจจะคุ้นหูกันว่า “3 พระจอมฯ” โดยทั้ง 3 วิทยาเขต ไม่ว่าจะเป็นสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (KMUTNB) ทั้ง 3 พระจอมฯ เป็นหนึ่งในสถาบันที่โดดเด่นในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งวิชาการที่มีให้เลือกหลายสาขา ภาคปฏิบัติที่น้อง ๆ จะได้ลงมือฝึกทำงานจริง ๆ แล้วน้อง ๆ รู้กันไหมคะว่าทั้ง 3 พระจอมฯ มีคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติเหมือนกันนะ
ที่มาของชื่อ “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า”
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เริ่มต้นเมื่อ 23 เมษายน พ.ศ. 2514 เกิดจากการรวมตัวกันของ 3 วิทยาลัย ในสังกัดอาชีวะศึกษา คือ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี และมีอีกหนึ่งวิทยาลัยมาสมทบในภายหลังคือ วิทยาลัยก่อสร้างบางพลัด และใน พ.ศ. 2529 จึงได้แยกออกมาเป็นสถาบันอุดมศึกษาอิสระ 3 แห่ง นั่นก็คือ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (KMUTNB) 3 พระจอมฯในปัจจุบันนั่นเองค่ะ
วิศวกรรม หลักสูตรนานาชาติของ 3 พระจอมฯ มีสาขาอะไรบ้างและใช้คะแนนอะไรบ้าง
สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) : SIIE (School of International and Interdisciplinary Engineering) หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ
มี 12 สาขา ได้แก่
- Civil Engineering (วิศวกรรมโยธา)
– เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ วางแผน ก่อสร้าง และวิธีรักษาสิ่งก่อสร้าง
- Industrial Engineering & Logistics Management (วิศวกรรมอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์)
– เรียนเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในงานด้านโลจิสติกส์เพื่อให้การดำเนินงานมีคุณภาพและไม่ติดขัดอะไร ทั้งงานในด้านการขนส่ง จัดจำหน่าย คลังสินค้า ฯลฯ
- Robotics & Al Engineering (วิศวกรรมหุ่นยนต์และ AI)
– เน้นเรียนภาคปฏิบัติลงมือทำชิ้นงานจริงขึ้นมาตามโจทย์ที่อาจารย์หรือองค์กรเอกชนต่าง ๆ กำหนดและตั้งขึ้นมาให้นักศึกษาสร้างผลงานออกมา ที่พิเศษของหลักสูตรนี้คือจบมามีองค์กรรองรับน้อง ๆ เข้าทำงานทันทีค่ะ
- Biomedical Engineering (วิศวกรรมชีวการแพทย์)
– เรียนเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือทางการแพทย์ โดยนำความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์มาใช้ หลักสูตรนี้สร้างขึ้นมาเพื่อพัฒนาว่าที่วิศวกร นักวิจัยและช่างเทคนิคชีวการแพทย์ในอนาคต
- Mechanical Engineering (วิศวกรรมเครื่องกล)
– เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ การพัฒนา การสร้าง และการบำรุงรักษาเครื่องกลชนิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ รถไฟ เครื่องบิน เครื่องจักร ระบบต่าง ๆ ฯลฯ
- Electrical Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้า)
– เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของวิศวกรรมไฟฟ้า ทั้งไฟฟ้ากำลัง การสื่อสารและข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ และแมคคาทรอนิกส์
- Chemical Engineering (วิศวกรรมเคมี)
– เรียนเกี่ยวกับวิศวกรรมเคมีและเทคโนโลยี โดยจะนำความรู้ทั้งสองแขนงนี้มาใช้เพื่อยกระดับสภาพแวดล้อม ดูแลทรัพยากร และปกป้องสิ่งแวดล้อม
- Computer Innovation Engineering (วิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์)
– เรียนตั้งแต่การออกแบบ การเขียนโปรแกรมพื้นฐานและรากฐานของระบบดิจิทัล ไปจนถึงการออกแบบทางวิศวกรรมเชิงนวัตกรรมที่สำคัญ
- Energy Engineering (วิศวกรรมพลังงาน)
– เรียนเกี่ยวกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การบริการด้านพลังงาน การจัดการอาคาร วิศวกรรมโรงงาน การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก
- Financial Engineering (วิศวกรรมการเงิน)
– เรียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์การเงิน วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสามารถนำความรู้และทักษะมาใช้เพื่อแก้ปัญหาทางการเงินที่ซับซ้อน
- Engineering Management and Entrepreneurship (การจัดการวิศวกรรมและผู้ประกอบการ)
– เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการ
- Software Engineering (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)
– เรียนกี่ยวกับทุกด้านของซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์ซอฟต์แวร์ การออกแบบ การทดสอบและการพัฒนา การใช้ความคิดเชิงนามธรรมและตรรกะ มาประยุกต์กับคณิตศาสตร์และ Computer Science ฯลฯ
คะแนนที่ใช้ในการยื่นเข้า KMITL
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT)
มี 6 สาขา ได้แก่
- Chemical Engineering (วิศวกรรมเคมี)
- Civil Engineering (วิศวกรรมโยธา)
- Environmental Engineering (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)
– เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการนำความรู้ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี มาใช้เพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
- Computer Engineering (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
– เรียนเกี่ยวกับสร้างนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจและสังคม และรูปแบบการเรียนรู้ยังปลูกฝังให้มีความพร้อมในการทำงานเป็นทีมในระดับนานาชาติ
- Electrical and Information Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์)
– เรียนเกี่ยวกับด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม
- Automation Engineering (วิศวกรรมอัตโนมัติ)
– เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) โดยจะเน้นเรียนเกี่ยวกับการเรียนครอบคลุมความรู้ด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่าย เพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องจักรได้ตามความต้องการของการผลิต
คะแนนที่ใช้ในการยื่นเข้า KMUTT
ผลคะแนนภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
– IELTS ≥5.5
– TOEFL (IBT) ≥61
– CU-TEP ≥60
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (KMUTNB)
มี 3 สาขา ได้แก่
- Chemical Engineering (วิศวกรรมเคมี)
- Mechanical Engineering (วิศวกรรมเครื่องกล)
- PEO & SO Aerospace Engineering (วิศวกรรมการบินและอวกาศ)
– เรียนเกี่ยวกับเกี่ยวกับการวิจัย การออกแบบ การพัฒนา การสร้าง การทดสอบ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ อากาศยาน และอวกาศ
คะแนนที่ใช้ในการยื่นเข้า KMUTNB
- ผลคะแนนภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
– IELTS ≥6
– TOEFL (PBT / ITP) ≥500
- ผลคะแนนคณิตศาสตร์ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
– SAT ≥600
– A-Level ≥B
– IB ≥6
หากน้องอยากรู้ว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์แต่ละสาขาเรียนอะไร และสาขาไหนกันที่เข้ากับตัวน้อง ๆ สามารถตามไปอ่านได้ที่
Engineering วิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ เปิดไอเดียมหา’ลัยสำหรับคนอยากเรียนวิศวะอินเตอร์
วิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ Part 2
ไม่ว่าน้อง ๆ ว่าที่เด็กวิศวะ 3 พระจอมฯ คนไหน กำลังหาที่ติววิชาต่าง ๆ เพื่อยื่นเข้าศึกษาต่อในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า The Planner เป็นอีกสถาบันการติวที่มีให้น้องเลือก ๆ ทุกคอร์ส การติวทุกรูปแบบที่จำเป็นในการสอบเข้านะคะ อย่าลืมแวะมาปรึกษาเรื่องการศึกษาต่อและคอร์สติวได้ที่ The Planner Education
สนใจติว A-LEVEL | IGCSE | GED | SAT/GSAT | ACT | IELTS | IB | AP | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ARTS | TU-GET | Academic Writing ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!