University pathways ฉบับ Inter program เข้าคณะอินเตอร์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

คณะหรือภาคอินเตอร์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของน้องๆ นักเรียน การเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษช่วยเปิดกว้างองค์ความรู้ใหม่ๆ พร้อมกับครูผู้สอนและเพื่อนๆ ต่างเชื้อชาติ ถือเป็นทางเลือกที่สร้างโอกาสและได้ฝึกฝนสกิลด้านภาษา เพื่อนำมาใช้ในอนาคต ปัจจุบันคณะอินเตอร์ในไทยมีอยู่หลากหลายสถาบันทั้งของเอกชนอย่าง ม.กรุงเทพ ABAC ฯลฯ หรือมหาวิทยาลัยชั้นนำของภาครัฐ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหิดล เกษตรศาสตร์ มศว และอีกมากมาย เปิดโอกาสให้น้องๆ สามารถยื่นคะแนนเข้าศึกษาในหลักสูตรอินเตอร์ เพื่อสร้างทางเลือกของอาชีพในอนาคต แต่การจะสมัครเข้าไปเรียนในคณะอินเตอร์จะมีความเฉพาะบางอย่างที่เพิ่มขึ้นมา เช่น เรื่องการวัดผลทางด้านภาษาอังกฤษ การวัดผลความเฉพาะทางอื่นๆ เพื่อเข้าเรียนในคณะ นอกจากนี้เนื่องจากเป็นหลักสูตรอินเตอร์ที่เปิดกว้างสำหรับคนไทยและต่างชาติ จึงสามารถใช้วุฒิเทียบ ม.6 ของหลักสูตรต่างประเทศยื่นได้ รายละเอียดสามารถติดตามได้ในบทความนี้เลย ? High School Diploma : วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า ก่อนจะไปถึงคะแนนวัดผลต่างๆ แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ วุฒิจบ ม.6 หรือเทียบเท่า เพื่อยืนยันว่าเราได้ผ่านการศึกษาในระดับมัธยมปลายมาแล้ว ทั้งนี้เราสามารถใช้ ”วุฒิเทียบเท่า” ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่ากับการศึกษาระดับมัธยมปลายของไทยยื่นเข้าภาคอินเตอร์ได้ โดยวุฒิเทียบเท่าหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง ได้แก่ GED ระบบอเมริกา/แคนนาดา, IGCSE &[…]

Skimming & Scanning อ่านไวตอบได้เร็ว เทคนิคอ่านจับใจความที่ต้องรู้ก่อนสอบ

ในการสอบไม่ว่าจะเป็นการสอบ GED SAT IELTS ฯลฯ ที่มีเวลาจำกัด แต่ข้อสอบมักจะมีพาร์ทที่ให้เราอ่านบทความยาวๆ เพื่อหาคำตอบ ดังนั้นอุปสรรคอันดับต้นๆ ของน้องๆ คือการเสียเวลาให้กับการอ่านข้อสอบ วันนี้เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่ต้องรู้ก่อนสอบมาฝาก นั่นก็คือเทคนิคการอ่านไวแบบ “Skimming” Skimming และ Scanning เทคนิคการอ่านเพื่อทำข้อสอบนอกจาก Skimming ยังมี Scanning อีกเทคนิค ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นเทคนิคการอ่านแบบกวาดตาอ่านไวๆ เพื่อหา Keywords จากในเนื้อหาอย่างรวดเร็ว แต่ทั้ง 2 เทคนิคยังมีความแตกต่างกันนั่นคือ Skimming จะเน้นอ่านไวเพื่อให้ทราบภาพรวมของเนื้อหา ส่วน Scanning จะเป็นการอ่านไวเพื่อหาข้อเท็จจริงแบบเฉพาะเจาะจงในเนื้อหา ดังนั้นหากจุดประสงค์ในการอ่านเพื่อ “ตอบโจทย์” เราจึงควรใช้ทั้ง 2 เทคนิคประกอบกันไป เพราะ Skimming จะบอกเราว่าข้อมูลที่เราหาคำตอบอยู่ส่วนไหนของบทความ และ Scanning จะบอกข้อเท็จจริงให้กับเราค่ะ การใช้ Skimming และ Scanning ตอนสอบ Skimming คล้ายกับการอ่านพรีวิวก่อนอ่านจริง ในขณะที่เรามีเวลาจำกัดและเราต้องการทราบ main[…]

รีวิวข้อสอบ GED RLA จากติวเตอร์ตัวจริง สิ่งที่นักเรียนมักจะพลาดตอนสอบ

จากข้อสอบ GED ทั้ง 4 วิชา น้องๆ นักเรียนส่วนมากมักจะมีความกังวลในวิชา Reasoning Through Language Arts หรือเรียกสั้นๆ ว่า RLA มากที่สุด บทความนี้เป็นพาร์ทสุดท้ายของการรีวิวข้อสอบ GED กับติวเตอร์ The Planner Education หลังจากก่อนหน้านี้ 3 พาร์ทเราได้พูดถึงวิชา Science, Social Studies และ Mathematical Reasoning วันนี้จึงเป็นคิวของ “ครูใบเฟิร์น” ที่จะมาพูดถึงภาพรวมข้อสอบ ทริคการทำข้อสอบ วิธีเซฟเวลาฯลฯ เพื่อเป็นประโยชน์กับน้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวเตรียมใจสอบ GED กันค่ะ 🙂 สำหรับน้องๆ ที่อยากฟังข้อมูลจากติวเตอร์ทั้ง 4 วิชาแบบเต็มๆ สามารถเข้าไปติดตามได้จากคลิป The Planner Talk ใน EP ที่เชิญติวเตอร์ขั้นเทพ 4 วิชาจากข้อสอบ GED มาเจาะลึกพูดคุยกันแบบครบถ้วนทุกข้อที่น้องควรรู้ก่อนสอบ[…]

รวมคีย์ลัดเรียน GED ให้มีประสิทธิภาพ สอบผ่านใน 1 เดือน

ใครเตรียมตัวสอบ GED ห้ามพลาดบทความนี้! การสอบ GED คือการสอบเทียบชั้นมัธยมปลาย สามารถเริ่มสอบได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี ดังนั้นน้องๆ จึงสามารถสอบเทียบจบมัธยมปลายได้ตั้งแต่ ม.4 สำหรับการสอบ GED จะประกอบไปด้วย 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA), Science, Social Studies และ Mathematical Reasoning  เกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนน GED เพื่อยื่นเข้ามหาวิทยาลัย คือวิชาละ 145 คะแนน และคะแนนรวม 660 คะแนน น้องสามารถทำการ Retake ได้หากสอบไม่ผ่าน (สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเได้ที่ : บทความสอบ GED ทางลัดพิชิตฝันน้องมัธยม https://bit.ly/3m6kkyq) แต่วันนี้เราได้รวบรวมทริค “รวมคีย์ลัดเรียน GED ให้มีประสิทธิภาพ สอบผ่านใน 1 เดือน” ว่านอกจากการอ่านหนังสือแล้ว[…]

รีวิวข้อสอบ GED วิชา Mathematical Reasoning คีย์สำคัญในการสอบจากติวเตอร์

เดินทางมาถึงพาร์ทที่ 3 ของวิชาที่ 3 จากซีรีส์การรีวิวข้อสอบ GED แบบรายวิชา หลังจากได้รีวิวข้อสอบ Science และ Social Studies โดยติวเตอร์ The Planner Education ไปแล้วก่อนหน้านี้ วันนี้ถึงคิวของติวเตอร์สุดยอดนักคำนวณประจำสถาบัน ได้แก่ “ครูเนิส” ที่จะมารีวิวข้อสอบ GED วิชา Mathematical Reasoning พร้อมคีย์สำคัญในการพิชิตคะแนนสอบ น้องๆ ที่เตรียมตัวสอบ GED แล้วอยากรู้ว่าภาพรวมข้อสอบเป็นอย่างไร ต้องเจอกับอะไรในสนามสอบบ้าง ห้ามพลาดบทความนี้เด็ดขาด! และเช่นเคยก่อนที่เราจะเดินทางเข้าสู่บทความกันก็มาย้ำน้องๆ อีกครั้ง ว่าบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากคลิป The Planner Talk ใน EP ที่เชิญติวเตอร์ขั้นเทพ 4 วิชาจากข้อสอบ GED มาเจาะลึกพูดคุยกันแบบครบถ้วนทุกข้อที่น้องควรรู้ก่อนสอบ GED แบบรายวิชา ดังนั้นนอกจากเนื้อหาที่น้องๆ จะได้อ่านต่อไปนี้ ในคลิปจากติวเตอร์ทั้ง 4 ของเรายังมีเนื้อหาที่น้องๆ พลาดไม่ได้อยู่อีกมาก ซึ่งรวมไปถึงน้องๆ ที่ยังไม่มีพื้นฐาน[…]

ไขคำตอบข้อสอบสังคม รีวิว GED ข้อสอบ Social Studies จากติวเตอร์ The Planner

หลังจากในพาร์ทก่อนหน้านี้เราได้พาครูภูมิมาเจาะลึกข้อสอบ GED พาร์ท Science กันไปแล้วทั้งการรีวิวภาพรวมของข้อสอบ ทริคพิชิตคะแนนสอบ และจุดที่นักเรียนมักจะพลาด วันนี้ถึงคิวของครูมด ติวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชา Social แห่งสถาบัน The Planner Education ที่จะมารีวิวข้อสอบ GED พาร์ท Social Studies ให้น้องๆ ได้เห็นภาพรวมของข้อสอบ ทริคการเตรียมตัว และความท้าทายของวิชาดังกล่าวเป็นยังไง ไปดูกัน ก่อนอื่นจะมาย้ำกับน้องๆ อีกครั้งว่าบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากคลิป The Planner Talk ใน EP ที่เชิญติวเตอร์ขั้นเทพ 4 วิชาจากข้อสอบ GED มาเจาะลึกพูดคุยกันแบบครบถ้วนทุกข้อที่น้องควรรู้ก่อนสอบ GED แบบรายวิชา ดังนั้นนอกจากเนื้อหาที่น้องๆ จะได้อ่านต่อไปนี้ ในคลิปจากติวเตอร์ทั้ง 4 ของเรายังมีเนื้อหาที่น้องๆ พลาดไม่ได้อยู่อีกมาก ซึ่งรวมไปถึงน้องๆ ที่ยังไม่มีพื้นฐาน และกังวลว่าควรเริ่มจากตรงไหนอย่างไร สามารถติดตามได้ที่ FB และ YouTube The Planner Education นะคะ[…]

แกะรอย Soft Skills จากซีรีส์ “Start-Up” ว่าด้วยเรื่องทักษะที่จะเอาชนะโลกอนาคต

เป็นซีรีส์เกาหลีที่ฮิตสุดๆ ในช่วงนี้สำหรับ Start-Up (สตาร์ทอัพ) Original Series จาก Netflix ซึ่งนอกจากจะชวนติดตามด้วยนักแสดงนำซึ่งเป็นที่นิยม ซีรีส์เรื่องนี้ยังมีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจ Start-Up ซึ่งกลุ่มพระนางของเรื่องมีความโดดเด่นเรื่องการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ประกอบธุรกิจ นำเทคโนโลยีมาใช้เป็นโซลูชั่นที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์โลกในยุคปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่ามีการนำเทคโนโลยี AI และ Automation เข้ามาปรับใช้ในวงการธุรกิจเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกับวิถีชีวิตประจำวัน แต่ยังเกี่ยวเนื่องและส่งผลในด้านการงาน อาชีพ การศึกษา มีงานวิจัยระดับโลกที่บอกว่า Automation จะมาแทนที่งานถึง 40% ของคนในช่วงวัย 18-34 ปี ซึ่งส่งผลโดยตรงกับเด็กจบใหม่ ด้วยสกิลของหุ่นยนต์ที่มีความแม่นยำ ทำงานอึด ถึก ทน จะแย่งงานคนในสายงานต่างๆ ทั้งงานในภาคอุตสาหกรรม, งานบริการ, งาน Data, HR,Finance ฯลฯ ซึ่งไทยมีแนวโน้มที่งานจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก รองจากอับดับ 1 เอธิโอเปีย และอันดับ 2 จีน แต่กระนั้นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราสามารถเอาชนะหุ่นยนต์, AI,[…]

รีวิวข้อสอบ GED Science จากติวเตอร์ สัดส่วน Topic ในข้อสอบและสิ่งที่นักเรียนมักจะพลาด?

รีวิวข้อสอบ GED พาร์ท Science กับครูภูมิติวเตอร์คนเก่งขวัญใจนักเรียนคอร์ส GED เพราะครูภูมิใจดีและมักจะมีทริคเก็บคะแนนสอบ GED มาแชร์อยู่เสมอเลยค่ะ วันนี้พี่ๆ ทีมงาน The Planner Education จึงชักชวนครูภูมิมาพูดคุยแบบเจาะลึกเกี่ยวกับข้อสอบพาร์ท Science ทั้งรูปแบบข้อสอบ, สัดส่วน Topic, จุดที่นักเรียนมักจะพลาด รวมถึงทริคดีๆ ในการทำข้อสอบให้ผ่านฉลุย! แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าบทความนี้จะเป็นเพียงน้ำจิ้มเท่านั้น เพราะถ้าใครอยากติดตามแบบเต็มๆ ว่าครูภูมิจะงัดทริคเด็ดๆ อะไรมาให้น้องๆ บ้างต้องไปติดตามชมคลิปวิดีโอ The Planner Talk ใน EP ที่เชิญติวเตอร์ขั้นเทพ 4 วิชาจากข้อสอบ GED มาเจาะลึกพูดคุยกันแบบครบถ้วนทุกข้อที่น้องควรรู้ก่อนสอบ GED แบบรายวิชากันไปเลย สปอยล์ไว้นิดนึงว่าถึงน้องๆ ที่ไม่มีพื้นฐานเลยคุณครูแต่ละท่านก็เตรียมแนวปูพื้นฐานไว้ให้เรียบร้อยว่าต้องเริ่มอ่านจากตรงไหนอย่างไร?  สามารถติดตามได้ที่ FB และ YouTube The Planner Education นะคะ มาเริ่มต้นกับข้อที่ควรรู้กับข้อสอบ GED วิชา Science กันเลยค่ะข้อสอบจะถูกแบ่งออกเป็น 3[…]

สอบ GED ทางลัดพิชิตฝันน้องมัธยม สอบเทียบวุฒหลักสูตรอเมริกา

GED หรือ General Educational Development คือการสอบเทียบวุฒิหลักสูตรอเมริกาเพื่อยื่นศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย อีกทางเลือกหนึ่งของการศึกษาซึ่งเป็นที่นิยมมากๆ ในช่วงที่ผ่านมา ไหน ใครยังไม่รู้จักการสอบ GED ยกมือสูงๆ เลย ??‍♀️ เพราะวันนี้ The Planner Education เราเป็นมือหนึ่งด้านการพาน้องๆ พิชิตฝันสอบผ่านมาแล้วกว่าพันคน จะมาแนะนำการสอบ GED ให้น้องๆ รู้จักกันค่ะ การสอบ GED คือการสอบเทียบชั้น โดยเป็นหลักสูตรของสหรัฐอเมริกาผู้ที่สอบผ่านกระทรวงศึกษาธิการก็จะรับรองวุฒิ ม.6 ให้ โดยสามารถสอบได้ตั้งแต่อายุ 16 ปีบริบูรณ์ แต่ในกรณีที่น้องอายุยังไม่ถึง 18 ปี จำเป็นต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง (Consent Form) เพื่อยื่นทำเรื่องขอสอบ • GED จะมีการสอบ 4 วิชา ได้แก่1.Reasoning Through Language Arts (RLA) การอ่าน&การเขียน2.Social Studies สังคม3.Science วิทยาศาสตร์4.Mathematical Reasoning[…]

ส่อง 7 มหาวิทยาลัย ที่สามารถใช้คะแนน GED สมัครได้ กว่า 80 คณะ! ปังๆ!

หลังจากส่งน้องๆ ถึงเป้าหมายมาแล้วกว่า 1,000+ คน สำหรับคอร์ส GED ที่เราดูแลตั้งแต่เริ่มสมัครจนถึงวางแผนเข้ามหาวิทยาลัย น้องๆ หลายคนที่กำลังวางแผนสอบ GED หรือน้องๆ ที่กำลังสนใจ อาจมีข้อสงสัยว่าเราจะใช้คะแนนเข้าที่ไหนได้บ้าง? วันนี้จึงขอรวบรวมคณะที่สามารถใช้การเทียบวุฒิ GED สมัครเข้าเรียนได้ จาก 7 มหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากคณะและมหาวิทยาลัยเหล่านี้ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยทั้งม.รัฐ และม.เอกชน ให้น้องๆ ลองศึกษาเพิ่มเติมถึง Requirement ต่างๆ เพื่อเริ่มวางแผนได้ตั้งแต่ตอนนี้เลย   สมัครเรียนพร้อมช่วยวางแผนเข้ามหาวิทยาลัยที่ Line @theplanner  หรือคลิกเพื่อดูข้อมูลคอร์สและตารางเรียน https://bit.ly/30mWyFG #theplannereducation #คอร์สกวดวิชา #โรงเรียนกวดวิชา #สอบเทียบ #สอบเทียบชั้น #GED #เรียนGED #ติวGED   ดูคอร์สเรียนทั้งหมด ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666หรือ LINE: @theplanner

Q&A เรื่อง GED Ready กับพี่ๆ The Planner Education

GED Ready คืออะไร? ทำไมต้องสอบ? น้องๆ ที่กำลังเรียน GED เตรียมสอบอาจจะเกิดความสงสัยเนื่องจากกฎใหม่จาก Official ที่บังคับให้ต้องสอบ GED Ready ก่อนสอบจริง วันนี้พี่ๆ The Planner Education รวบรวมคำถามที่น้องๆ สงสัยเกี่ยวกับ GED Ready มาตอบไว้ให้ในที่เดียวค่ะ 🙂 Q: GED Ready คืออะไรA:  GED Ready คือการฝึกทำข้อสอบ GED เสมือนจริงทั้ง 4 วิชา แนวข้อสอบใกล้เคียงของจริงมากที่สุด และมีคะแนนแจ้งเราด้วยว่าได้เท่าไหร่ เพื่อวัดความพร้อมของน้องๆ โดยผลการทดสอบ GED Ready จะเป็นตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ของน้องๆ ในการทดสอบ GED อย่างเป็นทางการได้แม่นยำมาก Q:กฏใหม่ของ GED ว่าด้วยเรื่องการสอบ GED ReadyA: ที่ผ่านมาไม่ได้มีกฎบังคับว่าผู้เข้าสอบ GED ทุกคนต้องผ่านการสอบ GED Ready ถึงจะสามารถเข้าสอบได้ แต่ล่าสุดได้มีกฏใหม่สำหรับน้องๆ[…]

GED Social : Brown V. Board of Education

            ในเนื้อหาการเรียน GED Social Studies หลังจากสงครามกลางเมืองของอเมริกา (Civil War) จบลงทำให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 13 (Thirteenth Amendment) ซึ่งประกาศให้มีการเลิกทาสทั่วประเทศอเมริกา เหตุการณ์ความขัดแย้งนี้ดูเหมือนจะจบลงอย่างงดงาม ทว่าแม้ระบบทาสจะสิ้นสุดบุคคลที่เคยเป็นทาสมาก่อน (Former Slaves) ก็ยังต้องทนทุกข์ทรมานกับการถูกชาวอเมริกาผิวขาวกดขี่และปฏิบัติต่อแบบเหยียดสีผิว (Racism)              เราต้องรู้เรื่องราวนี้ในเนื้อหาเรียน GED Social Studies เพื่อทำคะแนนสอบด้วยนะครับ สังคมอเมริกาหลังจบสงครามกลางเมืองเต็มไปด้วยการแบ่งแยกเชื้อชาติระหว่างคนผิดขาวกับคนผิวดำ (Segregation) โดยที่คนผิดขาวมักจะมองว่าตนเหนือกว่าและมีสิทธิมากกว่า กฎหมายในสังคมตอนนั้นก็สนับสนุนให้เกิดการแบ่งแยกและกดขี่พร้อมทั้งลิดรอนสิทธิของอดีตทาส เช่น กฎหมาย Jim Crow ที่ระบุว่าคนขาวกับคนดำห้ามใช้สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะร่วมกัน อาทิม้านั่งและน้ำดื่มสาธารณะ, คนผิดขาวและคนผิวดำห้ามแต่งงานกัน และห้ามเด็กผิวขาวกับเด็กผิวสีเรียนในโรงเรียนร่วมกัน             แต่การแบ่งแยกเชื้อชาติและการเหยียดสีผิวก็เริ่มลดลงเนื่องจากคำตัดสินของศาลฎีกาสูงสุดของอเมริกา (US Supreme Court) ในคดีครั้งสำคัญที่ชื่อว่า Brown V. Board of Education (คดีนี้ชอบออกข้อสอบ Social ฉะนั้นเรียน GED Social Studies ต้องมีเรื่องนี้นะครับ)[…]

GED Math : Order of operations

ติว GED Math วันนี้เราจะมาดูเรื่องการคำนวณทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น ประกอบไปด้วย การบวก, การลบ, การคูณ และ การหาร เพียงแค่สี่การก็สามารถนำมาประกอบรวมกันกลายเป็นการคำนวณที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การคำนวณร้อยละ, การยกกำลัง และ การหาค่าเฉลี่ย แต่ก่อนที่จะมาคำนวณ เราจะต้องเข้าใจพื้นฐานของลำดับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Order of operations) เสียก่อน เพราะเป็นเนื้อหาสำคัญในการคำนวณโจทย์คณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน หากไม่เข้าใจลำดับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ จะส่งผลกระทบต่อการคำนวณผิดพลาดอย่างรุนแรง แม้ว่าในข้อสอบ GED Mathematical Reasoning จะไม่ได้ออกเนื้อหานี้โดยตรง แต่ก็ถูกนำไปประยุกต์รวมกับเนื้อหากว่าครึ่งหนึ่งของข้อสอบทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราเรียน GED Math เรื่องนี้ เนื้อหาที่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการคำนวณทางคณิตศาสตร์ มีดังต่อไปนี้ พหุนาม (Polynomial) เลขยกกำลัง (Exponential) เศษส่วน, อัตราส่วน และ ร้อยละ (Fraction, Ratio and Percent) การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว (Linear Equation) การแก้ระบบสมการ (System of[…]

GED Science : Atom particles

ในการเรียน GED Science วิชาเคมี ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนว่า ในธาตุจะประกอบไปด้วยหน่วยที่เล็กที่สุด เรียกว่า (Atom) ซึ่งในอะตอมก็ประกอบไปด้วยอนุภาคทั้งหมด 3 อย่างได้แก่ โปรตอน (Proton, p+) มีประจุเป็นบวกทางไฟฟ้า ธาตุเดียวกันจะต้องมีจำนวนโปรตอนเท่ากันเสมอ ดังนั้นโปรตอนจึงเป็นอนุภาคที่ใช้กำหนดเอกลักษณ์ของธาตุ นักวิทยาศาสตร์คนใดที่อยากคิดค้นธาตุใหม่จำเป็นต้องทำให้จำนวนโปรตอนในธาตุมีปริมาณที่ไม่ซ้ำกับธาตุดั้งเดิม ซึ่งพบว่าในปัจจุบันธาตุใหม่อาจต้องใส่โปรตอนเข้าไปในอะตอม ไม่ต่ำกว่า 120 ตัว ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในวงการวิทยาศาสตร์ นิวตรอน (Neutron, n0) มีสมบัติเป็นกลางทางไฟฟ้า 3. อิเล็กตรอน (Electron, e–) มีประจุเป็นลบทางไฟฟ้า ก่อนสอบเมื่อเราเรียน GED Science เราต้องรู้เรื่องนี้กันด้วยนะครับ ทั้งโปรตอนและนิวตรอนจะรวมตัวกันอยู่บริเวณตรงกลางอะตอม เรียกว่า นิวเคลียส (Nucleus) ซึ่งมีมวลมาก และทั้งสองอนุภาคมีมวลใกล้เคียงกัน โดยนิวตรอนและโปรตอนไม่เคลื่อนที่แต่จะสั่นเพราะมีแรงทางนิวเคลียร์ดึงดูดให้โปรตอนกับนิวตรอนอยู่ติดกัน ในขณะที่อิเล็กตรอนจะมีมวลน้อยกว่าโปรตอนและนิวตรอนกว่ามาก ในการติว GED Science ผู้เข้าสอบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาจำนวนอนุภาคพื้นฐานเหล่านี้ให้ได้ โดยใช้เครื่องมือชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ตารางธาตุ (Periodic Table) เพราะตารางธาตุเป็นหัวใจสำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้ม สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีของธาตุได้[…]

GED RLA : Common Pronoun Errors

          เรียน GED RLA วันละนิด วันนี้เรามาดูว่าเวลาที่เราใช้คำสรรพนาม (Pronoun) แทนคำนามที่ถูกกล่าวถึงไปแล้วในประโยค นอกเหนือจากเราจะต้องคำนึงเรื่องการใช้รูปฟอร์มของสรรพนามให้สอดคล้องกับหน้าที่ เช่น การใช้รูปประธาน  (I, You, We, They) หรือรูปแสดงความเป็นเจ้าของ (his, its, their, my) ทุกคนควรจะระมัดประเด็นต่อไปนี้ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการใช้คำสรรพนามที่เราพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน (Common Pronoun Errors) และในข้อสอบ GED RLA ด้วย 1 ต้องเปรียบเทียบ Pronoun กับสิ่งที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ – My hair is longer than yours. (My hair is longer than your hair) หากจะเปรียบเทียบความยาวของเส้นผม เราก็ต้องเปรียบเทียบกับความยาวเส้นผมของอีกคนหนึ่ง      ห้ามเปรียบเทียบของคนละประเภท เช่น My hair is longer[…]

GED RLA – Cause and Effect

ติว GED RLA วันละนิดวันนี้ การอ่านบทความประเภท non-fiction นอกเหนือจากเราจะต้องจับใจความสำคัญ หรือ Main Idea ของเรื่องแล้ว สิ่งที่ทุกคนควรจะต้องทำต่อมาคือการทำความเข้าใจของโครงสร้างงานเขียนและตีความหาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดในเรื่อง (Inferring Relationships between Ideas) บ่อยครั้งที่ผู้เขียนมักจะเชื่อมโยงความคิดในเรื่องโดยการใช้ความสัมพันธ์ประเภทสาเหตุและผลลัพธ์ ( Cause and Effect) ความสัมพันธ์ประเภทนี้หมายความว่า “ความคิด” (หรืออาจเป็นเหตุการณ์) หนึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด”ความคิด” (หรือเหตุการณ์)อีกเรื่อง สามารถพูดอีกอย่างได้ว่า “ความคิดที่สอง”เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจาก “ความคิดแรก” เช่น Siri forgot to take medicine, so her symptom got worse. (ลืมกินยา = cause, อาการแย่ลง = effect) สังเกตว่า เวลาเราพยายามแยกแยะความสัมพันธ์ระหว่างสองประโยคเราสามารถใช้คำเชื่อม (transition) เพื่อช่วยระบุความสัมพันธ์ระหว่างความคิดได้ ** จำไว้ว่า คำเชื่อมกลุ่ม “because” จะตามหลังด้วยสาเหตุ[…]

GED Math – Basic concept of functions

วันนี้มาเรียน GED Mathematics กันซักนิด ฟังก์ชัน (Function) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรในคู่อันดับใด ๆ ของความสัมพันธ์นั้น คู่อันดับของฟังก์ชันจะประกอบไปด้วย input variable (ตัวแปรขาเข้า) อันเป็นสมาชิกตัวแรกในคู่อันดับ และ output variable (ตัวแปรขาออก) อันเป็นสมาชิกตัวหลังในคู่อันดับ โดยมีเงื่อนไขว่า ในแต่ละ input จะต้องมี output เพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น มิเช่นนั้นความสัมพันธ์จะไม่เป็นฟังก์ชัน   ตัวอย่าง คู่อันดับของ (เมือง, ประเทศ) โดยที่เมือง คือ input variable และประเทศ คือ output variable f = {(กรุงเทพ, ประเทศไทย), (ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ)} f เป็นฟังก์ชันเพราะ แต่ละ input จะต้องมี output เพียงแค่ตัวเดียว g =[…]

GED Science – Chromosome

ติว GED Science วันละนิดวันนี้เรื่อง Chromosome ครับ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมมนุษย์แต่ละคนถึงมีหน้าตาไม่เหมือนกันเลย แต่ทำไมฝาแฝดถึงมีหน้าตาเหมือนกันทุกประการ เพื่อไขข้อข้องใจ พี่จึงจะมาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครโมโซม เพราะโครโมโซมนี่แหละที่เป็นองค์ประกอบในเซลล์ที่ทำให้หน้าตาของมนุษย์แต่ละคนแตกต่างกันออกไป โครโมโซม (Chromosome) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่พบในนิวเคลียส (Nucleus) ของเซลล์ และเป็นที่อยู่ของ ยีน (Gene) ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โครโมโซมประกอบไปด้วย 1. ดีเอ็นเอ (DNA, Deoxyribonucleic acid) และ             2. โปรตีนฮิสโตน (Histone protein) ซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน (Amino acid) ตั้งแต่ 100-200 โมเลกุล ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน เพื่อปรับสมดุลสภาวะความเป็นกรด-เบส ให้เหมาะสมแก่เซลล์ ดังนั้นลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ จะเกี่ยวข้องกับโปรตีนเสมอ เช่น เส้นผมของมนุษย์ เกิดจากการรวมตัวของโปรตีนที่เรียกว่า เคราติน (Keratin) สามารถถ่ายทอดลักษณะของเส้นผม ได้ 2 ลักษณะ เช่น เส้นผมตรง(Straight hair)[…]

GED Social Studies – Bill of Rights

ล่าสุดนี้สหรัฐอเมริกามีอัตราผู้ติดเชื้อไวรัส COVID -19 ถึง 1,237,633 คนซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อมากที่สุดในโลกและยังมีแนวโน้มว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ (ข้อมูลประจำวันที่ 6/5/2020) แม้ว่าจะมีอัตราผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตสูงขนาดนี้ ประชาชนชาวอเมริกาส่วนหนึ่งก็ยังออกมารวมตัวกันประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมาตรการปิดเมือง/ประเทศ (Lockdown) เนื่องจากปัญญาด้านเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยลงทำให้ประชาชนเริ่มเผชิญสภาวะอดอยาก อีกทั้งประชาชนกลุ่มนี้มองว่ามาตรการ Lockdown เป็นการละเมิดสิทธิ อิสรภาพและเสรีภาพของประชาชน (ชาวอเมริกาให้ความสำคัญสิทธิดังกล่าวมาก)  จนถึงขั้นให้เหตุผลว่ารัฐบาลกำลังนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลความรุนแรงของไวรัสโควิดเกินจริงและใช้ไวรัสโควิดเป็นเครื่องมือในการควบคุมและละเมิดสิทธิประชาชน ว่าแต่ทุกคนสงสัยไหมว่ากลุ่มผู้ประท้วงไม่กลัวหรอครับว่าการออกมาเดินขบวนนี้อาจทำให้เขาถูกจับเข้าคุก ?  (ปล. สำหรับคนที่สงสัยว่าพวกเขาไม่กลัวอันตรายของไวรัสบ้างหรอ ถ้าเขาออกมาเดินขบวนได้ขนาดนี้พี่ก็อยากบอกว่าคงไม่ต้องสงสัยแล้วว่าพวกเขากลัวไวรัสหรือเปล่า 555) กลับมาที่ประเด็นของเราดีกว่า ว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับการเรียนGED Social Studies อย่างไร สาเหตุที่ผู้ประท้วงออกมาเดินขบวนท้าทายมาตรการของรัฐและเจ้าหน้าที่ได้ขนาดนี้ เพราะพวกเขาได้รับการปกป้องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitution) อยู่ครับ ในเนื้อหาติว GED Social Studies ย้อนกลับไปในสมัยที่อเมริกาเพิ่งก่อตั้งประเทศสำเร็จหลังจากสามารถเอาชนะเจ้าอาณานิคมอย่างจักรวรรดิอังกฤษ ได้เกิดความพยายามรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลางและเกิดงานประชุมหารือเพื่อร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐขึ้น (The Constitutional Convention) ในงานประชุมนี้กลุ่มผู้ต่อต้านการรวมอำนาจของรัฐบาลกลาง (Anti-Federalist) ได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาในตอนแรกยังไม่ได้ระบุและปกป้องสิทธิของประชาชนเอาไว้ ซึ่งจากการการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้มีการเพิ่มเติมร่างกฎหมายสิทธิพลเมือง (Bill of Rights)เข้าไปในปี 1791 เพื่อรับประกันสิทธิของประชาชน โดยบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนี้มีจำนวนทั้งหมด 10 มาตราซึ่งในการเรียน[…]

GED RLA : Causative Verb

            สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาติว GED RLA กันหน่อยนะครับ น้อง ๆ เคยขอเงินคุณพ่อ คุณแม่ไปตัดผม ทำเล็บ หรือซ่อมรถบ้างไหมครับ ถ้าหากเคย น้อง ๆ บอกพวกท่านอย่างไรกันครับ ระวังดี ๆ นะครับ เพราะถ้าน้องบอกคุณแม่ว่าแม่เดี๋ยวไปตัดผมนะโดยพูดเป็นภาษาอังกฤษว่า I will cut my hair น้องกำลังโกหกท่านอยู่นะครับ เพราะประโยคดังกล่าวแปลว่า “น้องจะตัดผมตัวเอง” (หมายถึง น้องหยิบเอากรรไกร หรือ ปัตตาเลี่ยนขึ้นมาจัดการเล็มผมตัวเอง) แต่ในความเป็นจริงน้องไปจ้าง หรือไปขอให้คนอื่นตัดผมให้ ดังนั้นถ้าไม่อยากสื่อสารแล้วทำให้คนอื่นเข้าใจผิดน้องจะต้องเรียนรู้เรื่อง Causative Verb หรือ คำกริยาที่เอาไว้ใช้บอกว่า “ประธานไม่ได้ทำกริยาเองแต่ขอให้คนอื่นทำให้” ซึ่งนี่ถือเป็นโครงสร้างพิเศษที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย โดยเราจะใช้กริยาดังต่อไปนี้มาช่วยบรรยาย คือ have, make, let และ get ในการติว GED RLA เรื่องนี้ก็สำคัญมากเหมือนกันจะครับ วิธีการจำสูตรโครงสร้าง “have, make,[…]