“สอบเทียบวุฒิ ม.6 GED” ถือเป็นทางเลือกยอดนิยมที่ฮอตฮิตที่สุดในกลุ่มน้อง ๆ นักเรียน ม.ปลาย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่น้อง ๆ สามารถเรียนรู้และเตรียมสอบเองได้ ก่อนที่จะไปสอบวัดผลจริง ซึ่งวุฒิ GED ยังสามารถใช้ยื่นเรียนต่อมหาวิทยาลัยและการทำงานได้จริงเหมือนกับวุฒิ ม.6 สายสามัญ
และถึงแม้ข้อสอบ GED จะมีเนื้อหาออกสอบเพียง 4 วิชา แต่เสียงร่ำลือจากเหล่าน้อง ๆ นักเรียนคอร์สติว GED ที่สอบผ่านเรียบร้อยแล้วกับ The Planner บอกเลยว่า “ห้ามชะล่าใจเด็ดขาด” เพราะเนื้อหาวิชา GED อาจร้ายกว่าที่น้อง ๆ หรือเพื่อน ๆ คิด แต่จะเป็นแบบที่น้อง ๆ กล่าวไว้จริงไหมนะ บล็อกนี้มาดูกันว่า GED วิชาไหนยากที่สุด? และถ้าอยากสอบให้ผ่าน ต้องเตรียมรับมือกันยังไง?
GED สอบวิชาอะไรบ้าง?
อย่างที่น้อง ๆ ได้ทราบกันไปเบื้องต้นแล้วว่าหลักสูตรสอบเทียบวุฒิ ม.6 GED มีเนื้อหาวิชาให้เตรียมสอบอยู่ทั้งหมด 4 วิชา โดยวิชาเหล่านั้น จะประกอบไปด้วย
- Reasoning Through Language Arts หรือ RLA
ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ ที่ทดสอบความสามารถในการอ่านและการใช้ไวยากรณ์ (Reading comprehension and gramma) รวมถึงความสามารถด้านการเขียน (Argumentative Essay) และความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผู้สอบ
- Social Studies
ข้อสอบวิชาสังคมศึกษา ที่ทดสอบทักษะการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์รวมถึงการเมืองการปกครองของอเมริกา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของตัวเลข กราฟ ตาราง และแผนที่เข้ามาร่วมด้วย
- Mathematical Reasoning
ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจะทดสอบน้อง ๆ ในเรื่องคณิตศาสตร์เบื้องต้น การบวกลบคูณหาร เลขทศนิยม เศษส่วน เรขาคณิต อัตราส่วน ความน่าจะเป็น รวมไปถึงเรื่องระบบสมการ การแก้สมการ อสมการ กราฟและฟังก์ชันอีกด้วย
- Science
ข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ที่ทดสอบความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้จริงตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยจะครอบคลุมหัวข้อเกี่ยวกับฟิสิกส์(Physical Science) ชีววิทยา(Life Science) และหัวข้อโลกและอวกาศ(Earth & Space Science)
GED วิชาไหนยากที่สุด?
ในแง่มุมของความคุ้นเคยและประสบการณ์ วิชาที่มีแนวโน้ม “ยากที่สุด” ในเด็กนักเรียนไทยจะสามารถมองออกได้ง่ายจากผลลัพธ์ระหว่างเรียนในคลาสและคะแนนสอบที่ได้ นั่นคือวิชา GED RLA และ GED Social Studies ทำไมถึงเป็นแบบนั้น เรามาดูการวิเคราะห์ในเบื้องต้นกัน
- วิชา Reasoning Through Language Arts หรือ RLA
อย่างที่ทราบกันว่า RLA จะเป็นวิชาที่ทดสอบเกี่ยวกับทักษะการอ่าน (Reading) และการเขียน (Writing) รวมถึงการคิดวิเคราะห์ในภาษาอังกฤษ ซึ่งภาษาอังกฤษนั้น จัดว่าเป็น “ภาษาที่สอง” หรือไม่ใช่ “ภาษาแม่ (Mother Tongue)” สำหรับนักเรียนที่เกิดและเติบโตในประเทศไทย ที่มีภาษาหลักในการสื่อสารเป็นภาษาไทย
จึงทำให้เมื่อมีการเรียนหรือทดสอบทางภาษาอังกฤษ นักเรียนไทย โดยเฉพาะหากไม่ใช่น้อง ๆ ที่เรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษอยู่แล้ว หรือได้มีประสบการณ์เรียนที่ต่างประเทศมาก่อน ก็จะต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการใช้ภาษาอังกฤษที่ตนเองมีความคุ้นเคยด้วยน้อย ดังนั้นจึงพอจะอนุมานได้ว่าวิชา GED RLA จึงอาจเป็นวิชาที่ยากมากเป็นอันดับต้น ๆ ในการสอบ GED
- วิชา Social Studies
“สังคมศึกษา” วิชาด้านนี้ หากเป็นการเรียนการสอนในประเทศไทยซึ่งน้อง ๆ ที่มีสถานะเป็นพลเมืองไทย ก็จะจะพอมีพื้นฐานความรู้เบื้องต้นกันอยู่บ้าง เนื่องจากน้อง ๆ จะมีโอกาสได้พบเจอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องผ่านการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับชมละครทีวี การรับฟังข่าวสาร และการฟังประกาศต่าง ๆ
แต่สำหรับวิชา Social Studies หรือ สังคมศึกษา ในหลักสูตรการสอบเทียบวุฒิ GED จะเป็นอะไรที่แทบจะใหม่สำหรับน้อง ๆ ที่เตรียมสอบ GED ทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่มุ่งเน้นเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศมหาอำนาจโลก ดังนั้น ความยากของวิชานี้จึงอยู่ที่การจำคำศัพท์เฉพาะต่าง ๆ รวมถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ กฎหมายในประเทศ และไทม์ไลน์เวลาต่าง ๆ ของอเมริกาแทบจะทั้งหมด
เตรียมตัวสอบ GED ยังไง ให้ได้คะแนนสูง?
- Reasoning Through Language Arts หรือ RLA
ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ ที่ไม่เพียงแต่ต้องฝึกความเข้าใจในระบบไวยากรณ์และท่องจำคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องแล้ว น้อง ๆ จำเป็นต้องฝึกการคิดและวิเคราะห์บทความอย่างรวดเร็วด้วย ดังนั้น ทักษะด้านการอ่านเพื่อเข้าใจเนื้อหาโดยรวม (Skimming) และทักษะการอ่านเพื่อค้นหาเชิงลึก (Scanning) จะช่วยน้อง ๆ ประหยัดเวลาไปได้มากขึ้นระหว่างการทำข้อสอบ
- Social Studies
ข้อสอบวิชาสังคมศึกษา น้อง ๆ จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคการจดจำเป็นอย่างมาก ซึ่ง The Planner แนะนำให้น้อง ๆ เน้นทำความเข้าใจในแต่ละหัวข้อให้ละเอียดไปเลย แทนการจำไปสอบอย่างลวก ๆ เนื่องจากเมื่อน้อง ๆ ไปสอบจริง ในวิชานี้ เช่นหัวข้อประวัติศาสตร์อเมริกา อาจจะไม่ได้มาในรูปแบบบทความเพียงอย่างเดียว แต่จะมาในรูปแบบโปสเตอร์ กราฟ หรือแผนที่ต่าง ๆ ก็เป็นได้
- Mathematical Reasoning
ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ หากน้อง ๆ เข้าใจเนื้อหาในหัวข้อหลัก ๆ มาแล้ว เช่น พื้นฐานทางคณิตศาสตร์, เรขาคณิต หรือการแก้สมการพื้นฐาน ฯลฯ จุดนี้ก็อาจจะไม่เป็นปัญหามากนักเนื่องจากในข้อสอบมีสูตรมาให้อยู่แล้ว แต่จุดที่ต้องระวัง คือ เรื่องเวลาในการทำข้อสอบ รวมถึงการฝึกคิดเลขให้เร็วโดยไม่ใช้เครื่องคิดเลข เนื่องจากในบางพาร์ท น้อง ๆ จะไม่สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้
- Science
ข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ จะออกสอบในหัวข้อ Life Science ที่ประมาณ 40% Physical Science ประมาณ 40% และ Earth & Space Science จะอยู่ที่ประมาณ 20% ดังนั้น น้อง ๆ นักเรียน GED จึงต้องเข้าใจในภาพรวมของหัวข้อทั้งหมดให้ได้ก่อน และค่อย ๆ เจาะละเอียดไปในแต่ละหัวข้อ ซึ่งหัวข้อที่ควรเน้นเป็นพิเศษคือเรื่อง Life science และ Physical Science
อ่านบทความ รีวิวข้อสอบ GED 4 วิชา คลิกที่นี่
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่มีความกังวล ไม่มั่นใจในเนื้อหา หรือ Struggle กับการสอบวิชา GED แนะนำให้เข้ามาปรึกษากับพี่ ๆ แอดมิน The Planner Education ก่อนได้เลย เนื่องจากทางสถาบัน มี คอร์สติว GED ระยะสั้น 90 ชั่วโมง ที่มุ่งเน้นให้น้อง ๆ สอบผ่านทั้ง 4 วิชาได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่สอบ การันตีผลหากสอบไม่ผ่าน เรียนซ้ำฟรี
และถ้าหากน้อง ๆ ยังมีอายุไม่ถึงเกณฑ์การสอบ (16 ปีบริบูรณ์) ทางสถาบันก็มีคอร์สปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษ Pre-GED ไว้รองรับน้อง ๆ ที่อยากเพิ่มทักษะทางภาษาอังกฤษและเตรียมพร้อมก่อนติวสอบ GED จริงอีกด้วย
เลือกติวสอบ GED และ Pre-GED ที่ The Planner Education ได้ทักษะแน่นครบ 4 วิชา พร้อมรับการบริการที่ครบวงจร ดูแลน้อง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้น จนได้วุฒิ ม.6 เลย!!
สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT/GSAT | ACT | IELTS | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ARTS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!