GED วิชาที่ยากที่สุด คืออะไร? ต้องรับมือยังไงถ้าไม่เก่งวิชานั้น

“สอบเทียบวุฒิ ม.6 GED” ถือเป็นทางเลือกยอดนิยมที่ฮอตฮิตที่สุดในกลุ่มน้อง ๆ นักเรียน ม.ปลาย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่น้อง ๆ สามารถเรียนรู้และเตรียมสอบเองได้ ก่อนที่จะไปสอบวัดผลจริง ซึ่งวุฒิ GED ยังสามารถใช้ยื่นเรียนต่อมหาวิทยาลัยและการทำงานได้จริงเหมือนกับวุฒิ ม.6 สายสามัญ

และถึงแม้ข้อสอบ GED จะมีเนื้อหาออกสอบเพียง 4 วิชา แต่เสียงร่ำลือจากเหล่าน้อง ๆ นักเรียนคอร์สติว GED ที่สอบผ่านเรียบร้อยแล้วกับ The Planner บอกเลยว่า “ห้ามชะล่าใจเด็ดขาด” เพราะเนื้อหาวิชา GED อาจร้ายกว่าที่น้อง ๆ หรือเพื่อน ๆ คิด แต่จะเป็นแบบที่น้อง ๆ กล่าวไว้จริงไหมนะ บล็อกนี้มาดูกันว่า GED วิชาไหนยากที่สุด? และถ้าอยากสอบให้ผ่าน ต้องเตรียมรับมือกันยังไง?

GED สอบวิชาอะไรบ้าง?

อย่างที่น้อง ๆ ได้ทราบกันไปเบื้องต้นแล้วว่าหลักสูตรสอบเทียบวุฒิ ม.6 GED มีเนื้อหาวิชาให้เตรียมสอบอยู่ทั้งหมด 4 วิชา โดยวิชาเหล่านั้น จะประกอบไปด้วย

  1. Reasoning Through Language Arts หรือ RLA

ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ ที่ทดสอบความสามารถในการอ่านและการใช้ไวยากรณ์ (Reading comprehension and gramma) รวมถึงความสามารถด้านการเขียน (Argumentative Essay) และความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผู้สอบ

  1. Social Studies

ข้อสอบวิชาสังคมศึกษา ที่ทดสอบทักษะการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์รวมถึงการเมืองการปกครองของอเมริกา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของตัวเลข กราฟ ตาราง และแผนที่เข้ามาร่วมด้วย

  1. Mathematical Reasoning

ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจะทดสอบน้อง ๆ ในเรื่องคณิตศาสตร์เบื้องต้น การบวกลบคูณหาร เลขทศนิยม เศษส่วน เรขาคณิต อัตราส่วน ความน่าจะเป็น รวมไปถึงเรื่องระบบสมการ การแก้สมการ อสมการ กราฟและฟังก์ชันอีกด้วย

  1. Science

ข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ที่ทดสอบความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้จริงตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยจะครอบคลุมหัวข้อเกี่ยวกับฟิสิกส์(Physical Science) ชีววิทยา(Life Science) และหัวข้อโลกและอวกาศ(Earth & Space Science)

 

GED วิชาไหนยากที่สุด?

ในแง่มุมของความคุ้นเคยและประสบการณ์ วิชาที่มีแนวโน้ม “ยากที่สุด” ในเด็กนักเรียนไทยจะสามารถมองออกได้ง่ายจากผลลัพธ์ระหว่างเรียนในคลาสและคะแนนสอบที่ได้ นั่นคือวิชา GED RLA และ GED Social Studies ทำไมถึงเป็นแบบนั้น เรามาดูการวิเคราะห์ในเบื้องต้นกัน

  1. วิชา Reasoning Through Language Arts หรือ RLA

อย่างที่ทราบกันว่า RLA จะเป็นวิชาที่ทดสอบเกี่ยวกับทักษะการอ่าน (Reading) และการเขียน (Writing) รวมถึงการคิดวิเคราะห์ในภาษาอังกฤษ ซึ่งภาษาอังกฤษนั้น จัดว่าเป็น “ภาษาที่สอง” หรือไม่ใช่ “ภาษาแม่ (Mother Tongue)” สำหรับนักเรียนที่เกิดและเติบโตในประเทศไทย ที่มีภาษาหลักในการสื่อสารเป็นภาษาไทย

จึงทำให้เมื่อมีการเรียนหรือทดสอบทางภาษาอังกฤษ นักเรียนไทย โดยเฉพาะหากไม่ใช่น้อง ๆ ที่เรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษอยู่แล้ว หรือได้มีประสบการณ์เรียนที่ต่างประเทศมาก่อน ก็จะต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการใช้ภาษาอังกฤษที่ตนเองมีความคุ้นเคยด้วยน้อย ดังนั้นจึงพอจะอนุมานได้ว่าวิชา GED RLA จึงอาจเป็นวิชาที่ยากมากเป็นอันดับต้น ๆ ในการสอบ GED

  1. วิชา Social Studies

“สังคมศึกษา” วิชาด้านนี้ หากเป็นการเรียนการสอนในประเทศไทยซึ่งน้อง ๆ ที่มีสถานะเป็นพลเมืองไทย ก็จะจะพอมีพื้นฐานความรู้เบื้องต้นกันอยู่บ้าง เนื่องจากน้อง ๆ จะมีโอกาสได้พบเจอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องผ่านการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับชมละครทีวี การรับฟังข่าวสาร และการฟังประกาศต่าง ๆ

แต่สำหรับวิชา Social Studies หรือ สังคมศึกษา ในหลักสูตรการสอบเทียบวุฒิ GED จะเป็นอะไรที่แทบจะใหม่สำหรับน้อง ๆ ที่เตรียมสอบ GED ทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่มุ่งเน้นเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศมหาอำนาจโลก ดังนั้น ความยากของวิชานี้จึงอยู่ที่การจำคำศัพท์เฉพาะต่าง ๆ รวมถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ กฎหมายในประเทศ และไทม์ไลน์เวลาต่าง ๆ ของอเมริกาแทบจะทั้งหมด

 

เตรียมตัวสอบ GED ยังไง ให้ได้คะแนนสูง?

  1. Reasoning Through Language Arts หรือ RLA

ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ ที่ไม่เพียงแต่ต้องฝึกความเข้าใจในระบบไวยากรณ์และท่องจำคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องแล้ว น้อง ๆ จำเป็นต้องฝึกการคิดและวิเคราะห์บทความอย่างรวดเร็วด้วย ดังนั้น ทักษะด้านการอ่านเพื่อเข้าใจเนื้อหาโดยรวม (Skimming) และทักษะการอ่านเพื่อค้นหาเชิงลึก (Scanning) จะช่วยน้อง ๆ ประหยัดเวลาไปได้มากขึ้นระหว่างการทำข้อสอบ

  1. Social Studies

ข้อสอบวิชาสังคมศึกษา น้อง ๆ จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคการจดจำเป็นอย่างมาก ซึ่ง The Planner แนะนำให้น้อง ๆ เน้นทำความเข้าใจในแต่ละหัวข้อให้ละเอียดไปเลย แทนการจำไปสอบอย่างลวก ๆ เนื่องจากเมื่อน้อง ๆ ไปสอบจริง ในวิชานี้ เช่นหัวข้อประวัติศาสตร์อเมริกา อาจจะไม่ได้มาในรูปแบบบทความเพียงอย่างเดียว แต่จะมาในรูปแบบโปสเตอร์ กราฟ หรือแผนที่ต่าง ๆ ก็เป็นได้

  1. Mathematical Reasoning

ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ หากน้อง ๆ เข้าใจเนื้อหาในหัวข้อหลัก ๆ มาแล้ว เช่น พื้นฐานทางคณิตศาสตร์, เรขาคณิต หรือการแก้สมการพื้นฐาน ฯลฯ จุดนี้ก็อาจจะไม่เป็นปัญหามากนักเนื่องจากในข้อสอบมีสูตรมาให้อยู่แล้ว แต่จุดที่ต้องระวัง คือ เรื่องเวลาในการทำข้อสอบ รวมถึงการฝึกคิดเลขให้เร็วโดยไม่ใช้เครื่องคิดเลข เนื่องจากในบางพาร์ท น้อง ๆ จะไม่สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้

  1. Science

ข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ จะออกสอบในหัวข้อ Life Science ที่ประมาณ 40%  Physical Science ประมาณ 40% และ Earth & Space Science จะอยู่ที่ประมาณ 20% ดังนั้น น้อง ๆ นักเรียน GED จึงต้องเข้าใจในภาพรวมของหัวข้อทั้งหมดให้ได้ก่อน และค่อย ๆ เจาะละเอียดไปในแต่ละหัวข้อ ซึ่งหัวข้อที่ควรเน้นเป็นพิเศษคือเรื่อง Life science และ Physical Science

อ่านบทความ รีวิวข้อสอบ GED 4 วิชา คลิกที่นี่

 

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่มีความกังวล ไม่มั่นใจในเนื้อหา หรือ Struggle กับการสอบวิชา GED แนะนำให้เข้ามาปรึกษากับพี่ ๆ แอดมิน The Planner Education ก่อนได้เลย เนื่องจากทางสถาบัน มี คอร์สติว GED ระยะสั้น 90 ชั่วโมง ที่มุ่งเน้นให้น้อง ๆ สอบผ่านทั้ง 4 วิชาได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่สอบ การันตีผลหากสอบไม่ผ่าน เรียนซ้ำฟรี

และถ้าหากน้อง ๆ ยังมีอายุไม่ถึงเกณฑ์การสอบ (16 ปีบริบูรณ์) ทางสถาบันก็มีคอร์สปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษ Pre-GED ไว้รองรับน้อง ๆ ที่อยากเพิ่มทักษะทางภาษาอังกฤษและเตรียมพร้อมก่อนติวสอบ GED จริงอีกด้วย

เลือกติวสอบ GED และ Pre-GED ที่ The Planner Education ได้ทักษะแน่นครบ 4 วิชา พร้อมรับการบริการที่ครบวงจร ดูแลน้อง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้น จนได้วุฒิ ม.6 เลย!!

สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT/GSAT | ACT | IELTS | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ARTS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Line: @theplanner หรือ Phone: 095-726-2666

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply