หลักสูตรนานาชาติ ด้านการออกแบบ

ต่อจากบทความ เทียบหลักสูตรนานาชาติของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งนี้เราได้หยิบหลักสูตรใกล้เคียงที่น้องๆ สนใจมาพูดถึง นั่นก็คือ หลักสูตรนานาชาติ ด้านการออกแบบ เหมาะกับน้องๆ ที่ชอบเรื่องการออกแบบ หรืออยากเป็น Designer ซึ่งการออกแบบในยุคนี้มีหลากหลายมากๆ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์, การออกแบบเว็บไซต์, การออกแบบแอปพลิเคชัน, Graphic Design, Art Director ฯลฯ โดยบางหลักสูตรน้องๆ อาจจะสับสนว่าแตกต่างกับหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์อย่างไร เพราะส่วนมากก็มักจะสังกัดอยู่ในคณะสถาปัตย์ฯ ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันอยู่มากโดยน้องๆ สามารถเข้าใจหลักสูตรด้านการออกแบบได้มากขึ้น รวมถึงรู้แนวทางอาชีพในอนาคตได้จากบทความนี้ CommDe – Communication Design จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตร : Bachelor of Fine and Applied Arts (BFA) programme in communication design การออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ หรือที่เรียกกันว่า CommDe (คอมดี) เป็นภาควิชาเกี่ยวกับการออกแบบ สังกัดในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คอมดีเน้นการออกแบบเพื่อสื่อสาร ซึ่งรวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์, graphic[…]

รวม 50 ศัพท์ หมวด Social Studies ครบทุกหัวข้อในข้อสอบ GED

บทความนี้รวมมาให้แล้วทุก Topic ที่ออกสอบ American History, Geography, Economics, Civics และ Government ท่องก่อนสอบ #แชร์ไว้ได้ใช้แน่นอนอ่านบทความคำศัพท์หมวด Science : https://bit.ly/3m7CX5V หมวด American History Colony อาณานิคม, กลุ่มคนในอาณานิคม Mercantilism ลัทธิพาณิชย์นิยม (มุ่งสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศ)Plantation การเพาะปลูก, พื้นที่เพาะปลูกTaxation การจัดเด็บภาษีTyranny ปกครองแบบเผด็จการAlly ประเทศพันธมิตร Federalism ระบอบสหพันธรัฐAbolition การเลิกล้ม, การล้มล้างEmancipation การปลดปล่อยTranscontinental ข้ามทวีป หมวด GeographyBiodiversity ความหลากหลายทางชีวภาพContinent ทวีปEmigrate อพยพEthnicity ชาติพันธุ์Diaspora การพลัดถิ่นHemisphere ซีกโลกTerrain ภูมิประเทศ, ผืนดินRefugee ผู้ลี้ภัยPeninsula คาบสมุทรAssimilation การกลืนกลายวัฒนธรรม หมวด EconomicsAntitrust การต่อต้านการผูกขาดCommodity สินค้า, ของใช้ประจำDeficit การขาดดุล, ขาดทุนสะสมDeflation การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ, เงินฝืดFiscal งบประมาณMonopoly[…]

เทียบหลักสูตรอินเตอร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์

เทียบหลักสูตรนานาชาติของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งวันนี้เราได้หยิบยกภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมโดยตรงจาก 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความแตกต่างกันออกไปในสาขาวิชา เป้าหมายการเรียนและการประกอบอาชีพ จะมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร ศึกษาเบื้องต้นได้จากบทความนี้เลย นอกจากหลักสูตรอินเตอร์ของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ยังมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ โดยบางหลักสูตรนั้นสังกัดอยู่ในคณะสถาปัตฯ เช่นกัน โดยเราจะรวบรวมมาให้อ่านในอีกบทความค่ะ   International Program in Design and Architecture (INDA)การออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ  หลักสูตร : การออกแบบและสถาปัตยกรรม หลักสูตร 4 ปี สังกัดอยู่ใน Faculty of Architecture หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้นิสิตที่จะศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมถึงเป็นการสร้างองค์ความรู้ระดับอินเตอร์เพื่อเปิดโอกาสในการทำงานได้กว้างขึ้น นิสิตจะไม่ได้เรียนแค่การออกแบบสถาปัตยกรรม แต่ยังได้เรียนรู้โครงสร้าง, Landscape Architecture และ Urban Design โดยจะได้เรียนกับอาจารย์ต่างชาติมากมาย และหลักสูตรยังมีทริปและการเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ[…]

วิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ Part 2

รวมหลักสูตรนานาชาติของคณะวิศวกรรมศาสตร์  ต่อจาก Part 1 ที่ได้พูดถึง จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, มหิดล และเกษตรศาสตร์ไปแล้ว ใน Part 2 เราจะรวบรวมหลักสูตรนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ของ มศว ที่มีสาขาวิชาแปลกใหม่น่าจับตามอง และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) รวมไปถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ซึ่งมีความโดดเด่นในการเรียนการสอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ International Programs มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ 3 หลักสูตร ได้แก่ Concert Engineering and Multimedia วิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย เกิดขึ้นจากความต้องการของภาคเอกชนที่ต้องการบุคคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจตลาดอุตสาหกรรมด้านคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย มีความเข้าใจองค์รวมด้านแสง สี เสียง รวมไปถึงด้านวิศวกรรม ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะสามารถตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในด้านนี้ได้ เช่น สามารถประกอบอาชีพ วิศวกรในสถานประกอบการคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย, นักพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือและผู้ออกแบบโครงสร้างและกลไกที่เกี่ยวกับคอนเสิร์ต เป็นต้น อีกทั้งหลักสูตรนี้ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนระดับประเทศและนานาชาติ Petroleum and Natural Gas Engineering วิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ หลักสูตรมุ่งสร้างความรู้ความสามารถพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม[…]

รวมศัพท์หมวดวิทย์ 30 คำ ท่องก่อนสอบ GED Science

รวมศัพท์หมวดวิทยาศาสตร์ 30 คำ ที่ต้องเจอในข้อสอบ GED วิชา Science ท่องไว้ก่อนสอบรับรองว่าปัง  เพราะฉะนั้น #แชร์ไว้ได้ใช้แน่นอน ? การสอบ GED คือการสอบเทียบวุฒิ ม.6 เป็นการสอบเทียบวุฒิหลักสูตรอเมริกาเพื่อยื่นศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย  โดยมีกระทรวงศึกษาธิการของรับรองวุฒิ การสอบจะเป็นภาษาอังกฤษ ทั้ง 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA) การอ่าน&การเขียน Social Studies สังคม Science วิทยาศาสตร์ Mathematical Reasoning คณิตศาสตร์ 30 คำศัพท์เพื่อสอบ GED วิชา Science Process กระบวนการ, ขั้นตอน Embryo ตัวอ่อนของคน, สัตว์ Constant ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา, ที่ไม่เปลี่ยนแปลง Conceive ตั้งครรภ์ Transplant ปลูกถ่ายอวัยวะ เนื้อเยื่อ[…]

6 FACTS ABOUT GED SOCIAL STUDIES เตรียมตัวสอบผ่านที่นี่!

มีทริคการเตรียมตัวสอบ GED มาฝากอีกแล้ว วันนี้เป็นคิวของวิชา Social Studies ซึ่งข้อสอบวิชานี้มักจะถูกเข้าใจว่าเนื้อหาเยอะมาก, ต้องอาศัยการท่องจำ, ต้องรู้ทฤษฎี ฯลฯ วันนี้เราจึงหยิบเอา “6 FACTS ABOUT GED SOCIAL STUDIES” มาบอก มีข้อเท็จจริงอะไรบ้างที่ต้องรู้ เพื่ออัพคะแนนวิชาสังคมฯ รวมถึงสกิลที่ต้องมีเพื่อเอาชนะวิชานี้ ติดตามอ่านและเตรียมตัวสอบผ่านได้ที่บทความนี้เลย ! FACT : สัดส่วน Topic ไม่รู้ไม่ได้! ข้อสอบ Social Studies หรือวิชาสังคมศาสตร์ในการสอบ GED นั้นจะถูกแบ่ง Topic ออกเป็น 4 เรื่องหลัก ได้แก่ Civics and Government (50% of the section) S. History (20%) Economics (15%) Geography and the World[…]

ข้อสอบ GED วิชา Mathematical Reasoning ออกเรื่องอะไร?

มาเตรียมตัวสอบผ่านไปด้วยกัน! การสอบ GED วิชา Mathematical Reasoning หรือวิชาเลข สำหรับน้องๆ ที่กำลังเริ่มต้นศึกษาข้อมูลก่อนเริ่มเรียน GED น้องๆ ควรจะรู้เท่าทันข้อสอบ ทั้งเรื่อง Topic ที่มักออกสอบ, รูปแบบข้อสอบ รวมไปถึงเวลาในการสอบ เพื่อให้ฝึกฝนและเตรียมความพร้อมได้ตรงจุด และไม่พลาดคะแนนในพาร์ทต่างๆ วันนี้นอกจากจะพาน้องๆ มารู้เท่าทันข้อสอบ GED วิชา Math แล้ว เรายังมี Tricks ข้อควรรู้ก่อนจะเข้าสู่สนามสอบมาฝากอีกด้วยค่ะ ? ข้อสอบ GED วิชา Mathematical Reasoning ออกเรื่องอะไร? Topic ที่มักออกสอบ แบ่งออกเป็น 4 เรื่องใหญ่ ดังนี้ คณิตศาสตร์พื้นฐาน บวก, ลบ, คูณ, หาร พื้นฐานและการใช้เครื่องคิดเลข รวมไปถึงเรื่องเศษส่วน, ทศนิยม, รูท และเลขยกกำลัง เรขาคณิต การใช้สูตรที่เกี่ยวข้องกับรูปร่าง การหาพื้นที่วัตถุ อาจต้องดูการวาดรูปร่างและใช้สูตรเพื่อหาพื้นที่ผิว,[…]

หลักสูตรอินเตอร์ด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศ จุฬา vs ธรรมศาสตร์ vs มหิดล

CommArts จุฬาฯ J.M. ธรรมศาสตร์ Com.Arts วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล สื่ออยู่รอบตัวเราในทุกๆ ที่ไม่ใช่แค่ในทีวีเท่านั้น ในปัจจุบันโลกถูกขับเคลื่อนด้วยสื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความรู้ความเข้าใจ, ความเชื่อ, มีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจ และทำให้ผู้คนในโลกขยับเข้าใกล้กันมากขึ้น จึงไม่แปลกใจเลยที่คณะทางด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศศาสตร์จะกลายเป็นคณะยอดนิยมของน้องๆ ยุคใหม่ เพราะเป็นสาขาวิชาที่มีการเรียนรู้อย่างก้าวไกล ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี อีกทั้งยังแตกสาขาวิชาออกไปอีกหลากหลาย ได้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จบนิเทศฯ, วารสารฯ อินเตอร์ ทำอาชีพอะไรดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดังมักจะจบจากคณะนิเทศฯ หรือวารสารฯ แต่อาชีพของบัณฑิตจากคณะเหล่านี้แตกไลน์ออกไปอย่างกว้างขวางมากๆ เช่น เบื้องหลังงานโปรดักชั่น, สื่อมวลชน, กองบรรณาธิการ, นักประชาสัมพันธ์, เอเจนซีโฆษณา ฯลฯ โดยหลักสูตรอินเตอร์ทางด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศฯ ของไทยได้รับการยอมรับฝีมือในสากล น้องๆ ภาคอินเตอร์ที่ได้เรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษยังมีโอกาสได้ทำงานกับบริษัทต่างชาติ, พาร์ทเนอร์ระดับอินเตอร์ หรือการทำงานในต่างประเทศ CommArts จุฬาฯ หลักสูตร : CommArts หรือ Bachelor of Arts (Communication Arts) International Program คือ นิเทศศาสตร์หลักสูตรอินเตอร์ คณะยอดนิยมของน้องๆ[…]

ข้อสอบ CU-AAT สอบวัดผลคณิต – อังกฤษ เข้าคณะอินเตอร์จุฬาฯ อัปเดตวันสอบปี 64!

คณะอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายของน้องๆ หลายคน เนื่องจากมาตราฐานของหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง และหลักสูตรที่หลากหลาย เหมาะกับความสนใจในวิชาชีพของเด็กๆ ในยุคปัจจุบัน โดยปัจจุบันมีหลักสูตรอินเตอร์ 17 หลักสูตร และเป็นอันดับต้นๆ ในหลากหลายสาขาระดับประเทศ อาทิ BBA การบัญชี, EBA เศรษฐศาสตร์, BALAC ภาษาและวัฒนธรรม, CommDe ออกแบบนิเทศศิลป์, INDA การออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึง SIE รวมหลักสูตรทางวิศวกรรม และยังมีอีกหลากหลายหลักสูตร (ดูข้อมูลได้ที่ : https://www.chula.ac.th/admissions/international-programs/) เกณฑ์การสมัครเข้าเรียนหากต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาฯ  น้องๆ ต้องมีวุฒิม.6 หรือวุฒิเทียบเท่าที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการ เช่น GED หรือ IGCSE และ A-Level ประกอบกับคะแนนที่ใช้วัดผลทางภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ โดยอาจใช้คะแนนสอบที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลอย่าง SAT, IELTS หรือการสอบ CU-AAT ซึ่งเปิดสอบโดยศูนย์ทดสอบทางวิชาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการสอบความถนัดทางวิชาการ เพื่อวัดผลทางภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ที่สามารถใช้ยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์ต่างๆ ของจุฬาฯ ได้ สอบ CU-AAT คือข้อสอบ[…]

รวมคณะเศรษฐศาสตร์อินเตอร์ 5 มหาวิทยาลัย TOP

หลักสูตรอินเตอร์ของคณะเศรษฐศาสตร์ จาก 5 มหาวิทยาลัยรัฐบาล EBA จุฬาฯ BE ธรรมศาสตร์ Business Economics วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล Econ. มศว BEcon และ EEBA เกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์เป็นการเรียนเชิงลึกเกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจ การเงิน ธุรกิจ ซึ่งในส่วนของภาคอินเตอร์น้องๆ จะได้เรียนรู้เรื่องดังกล่าวในระดับประเทศไปจนถึงระดับโลก ซึ่งเรื่องเศรษฐกิจโลกมีความเชื่อมโยงกันอยู่เสมอโดยเป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์ จบเศรษฐศาสตร์อินเตอร์ ทำอาชีพอะไร ?น้องๆ ที่เรียนในหลักสูตรอินเตอร์ จะได้เรียนทั้งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ พร้อมเสริมสร้างความแข็งแรงในการสื่อสารภาษาอังกฤษ มีโอกาสได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบาย ทำงานในสถาบันการเงิน หรือองค์กรระดับนานาชาติ พร้อมโอกาสทางอาชีพอีกมากมาย EBA จุฬาฯ หลักสูตร : EBA หรือชื่อเต็ม The Bachelor of Arts Program in Economics ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 สังกัดอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติที่โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับด้านมาตรฐานในระดับสากล ด้วยหลักสูตรที่เสริมความเชี่ยวชาญด้านทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์, เศรษฐกิจ,[…]

เรียน BBA อินเตอร์ที่ไหนดี? ข้อมูล BBA จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, มหิดล, เกษตรฯ, ลาดกระบัง

วุฒิปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) Bachelor of Business Administration หรือที่เรียกเป็นชื่อคณะสั้นๆ ว่า BBA นับเป็นคณะยอดนิยมของน้องๆ มัธยมที่ต้องการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจ ระดับมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาที่หลากหลาย เช่น Accounting, Management, Finance, Marketing ซึ่งปัจจุบันได้มีการเปิดการเรียนการสอน BBA หลักสูตรอินเตอร์ เพื่อรองรับการทำธุรกิจที่ก้าวหน้าและไร้พรมแดน เราได้รวบรวมข้อมูลหลักสูตร BBA อินเตอร์ยอดนิยมในมหาวิทยาลัยรัฐ ได้แก่ จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนานาชาติมหิดล, เกษตรศาสตร์ และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีข้อมูลอะไรที่น้องๆ ควรรู้ก่อนเลือกเรียน BBA ในสถาบันต่างๆ มาดูกัน 🙂 BBA จุฬาฯ หลักสูตร : Bachelor of Business Administration หรือ BBA เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีหลักสูตรแรกที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดอยู่ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Faculty of Commerce and[…]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ ทางเลือกเด็กยุคใหม่ จาก 9 มหาวิทยาลัยรัฐ

การเรียนการสอนหลักสูตรอินเตอร์ในระดับชั้นมหาวิทยาลัย เป็นทางเลือกยอดนิยมของน้องๆ รุ่นใหม่ ในช่วงที่ผ่านมามหาวิทยาลัยของภาครัฐจึงได้เปิดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรอินเตอร์อย่างแพร่หลาย เราได้คัด 9 มหาวิทยาลัยภาครัฐยอดนิยมของน้องๆ ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยเปิดสอนในหลักสูตรอะไรบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับน้องที่กำลังวางแผนเข้ามหาวิทยาลัยในภาคอินเตอร์ 1.หลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯEBA เศรษฐศาสตร์BSAC เคมีประยุกต์BBTech BiotechnologyINDA การออกแบบสถาปัตยกรรมCommDe การออกแบบนิเทศศิลป์COMMARTS การจัดการการสื่อสารBAScii นวัตกรรมบูรณาการBALAC ภาษาและวัฒนธรรมPGS การเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษาJIPP วิทยาศาสตร์จิตวิทยาBBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชี BBA การบัญชี BBA การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ISE (International school of Engineering) AERO วิศวกรรมอากาศยาน ICE วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร RAIE วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ADME วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ NANO วิศวกรรมนาโน   2.หลักสูตรอินเตอร์ ธรรมศาสตร์BBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชีBEC ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารBAS หลักสูตรอังกฤษและอเมริกันศึกษาBE เศรษฐศาสตร์BIR การเมืองและการระหว่างประเทศBJM วารสารศาสตร์BSI นวัตกรรมการบริการDBTM การจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยีISC วิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการSIIT[…]

Skimming & Scanning อ่านไวตอบได้เร็ว เทคนิคอ่านจับใจความที่ต้องรู้ก่อนสอบ

ในการสอบไม่ว่าจะเป็นการสอบ GED SAT IELTS ฯลฯ ที่มีเวลาจำกัด แต่ข้อสอบมักจะมีพาร์ทที่ให้เราอ่านบทความยาวๆ เพื่อหาคำตอบ ดังนั้นอุปสรรคอันดับต้นๆ ของน้องๆ คือการเสียเวลาให้กับการอ่านข้อสอบ วันนี้เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่ต้องรู้ก่อนสอบมาฝาก นั่นก็คือเทคนิคการอ่านไวแบบ “Skimming” Skimming และ Scanning เทคนิคการอ่านเพื่อทำข้อสอบนอกจาก Skimming ยังมี Scanning อีกเทคนิค ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นเทคนิคการอ่านแบบกวาดตาอ่านไวๆ เพื่อหา Keywords จากในเนื้อหาอย่างรวดเร็ว แต่ทั้ง 2 เทคนิคยังมีความแตกต่างกันนั่นคือ Skimming จะเน้นอ่านไวเพื่อให้ทราบภาพรวมของเนื้อหา ส่วน Scanning จะเป็นการอ่านไวเพื่อหาข้อเท็จจริงแบบเฉพาะเจาะจงในเนื้อหา ดังนั้นหากจุดประสงค์ในการอ่านเพื่อ “ตอบโจทย์” เราจึงควรใช้ทั้ง 2 เทคนิคประกอบกันไป เพราะ Skimming จะบอกเราว่าข้อมูลที่เราหาคำตอบอยู่ส่วนไหนของบทความ และ Scanning จะบอกข้อเท็จจริงให้กับเราค่ะ การใช้ Skimming และ Scanning ตอนสอบ Skimming คล้ายกับการอ่านพรีวิวก่อนอ่านจริง ในขณะที่เรามีเวลาจำกัดและเราต้องการทราบ main[…]

รีวิวข้อสอบ GED RLA จากติวเตอร์ตัวจริง สิ่งที่นักเรียนมักจะพลาดตอนสอบ

จากข้อสอบ GED ทั้ง 4 วิชา น้องๆ นักเรียนส่วนมากมักจะมีความกังวลในวิชา Reasoning Through Language Arts หรือเรียกสั้นๆ ว่า RLA มากที่สุด บทความนี้เป็นพาร์ทสุดท้ายของการรีวิวข้อสอบ GED กับติวเตอร์ The Planner Education หลังจากก่อนหน้านี้ 3 พาร์ทเราได้พูดถึงวิชา Science, Social Studies และ Mathematical Reasoning วันนี้จึงเป็นคิวของ “ครูใบเฟิร์น” ที่จะมาพูดถึงภาพรวมข้อสอบ ทริคการทำข้อสอบ วิธีเซฟเวลาฯลฯ เพื่อเป็นประโยชน์กับน้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวเตรียมใจสอบ GED กันค่ะ 🙂 สำหรับน้องๆ ที่อยากฟังข้อมูลจากติวเตอร์ทั้ง 4 วิชาแบบเต็มๆ สามารถเข้าไปติดตามได้จากคลิป The Planner Talk ใน EP ที่เชิญติวเตอร์ขั้นเทพ 4 วิชาจากข้อสอบ GED มาเจาะลึกพูดคุยกันแบบครบถ้วนทุกข้อที่น้องควรรู้ก่อนสอบ[…]

รวมคีย์ลัดเรียน GED ให้มีประสิทธิภาพ สอบผ่านใน 1 เดือน

ใครเตรียมตัวสอบ GED ห้ามพลาดบทความนี้! การสอบ GED คือการสอบเทียบชั้นมัธยมปลาย สามารถเริ่มสอบได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี ดังนั้นน้องๆ จึงสามารถสอบเทียบจบมัธยมปลายได้ตั้งแต่ ม.4 สำหรับการสอบ GED จะประกอบไปด้วย 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA), Science, Social Studies และ Mathematical Reasoning  เกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนน GED เพื่อยื่นเข้ามหาวิทยาลัย คือวิชาละ 145 คะแนน และคะแนนรวม 660 คะแนน น้องสามารถทำการ Retake ได้หากสอบไม่ผ่าน (สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเได้ที่ : บทความสอบ GED ทางลัดพิชิตฝันน้องมัธยม https://bit.ly/3m6kkyq) แต่วันนี้เราได้รวบรวมทริค “รวมคีย์ลัดเรียน GED ให้มีประสิทธิภาพ สอบผ่านใน 1 เดือน” ว่านอกจากการอ่านหนังสือแล้ว[…]

รีวิวข้อสอบ GED วิชา Mathematical Reasoning คีย์สำคัญในการสอบจากติวเตอร์

เดินทางมาถึงพาร์ทที่ 3 ของวิชาที่ 3 จากซีรีส์การรีวิวข้อสอบ GED แบบรายวิชา หลังจากได้รีวิวข้อสอบ Science และ Social Studies โดยติวเตอร์ The Planner Education ไปแล้วก่อนหน้านี้ วันนี้ถึงคิวของติวเตอร์สุดยอดนักคำนวณประจำสถาบัน ได้แก่ “ครูเนิส” ที่จะมารีวิวข้อสอบ GED วิชา Mathematical Reasoning พร้อมคีย์สำคัญในการพิชิตคะแนนสอบ น้องๆ ที่เตรียมตัวสอบ GED แล้วอยากรู้ว่าภาพรวมข้อสอบเป็นอย่างไร ต้องเจอกับอะไรในสนามสอบบ้าง ห้ามพลาดบทความนี้เด็ดขาด! และเช่นเคยก่อนที่เราจะเดินทางเข้าสู่บทความกันก็มาย้ำน้องๆ อีกครั้ง ว่าบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากคลิป The Planner Talk ใน EP ที่เชิญติวเตอร์ขั้นเทพ 4 วิชาจากข้อสอบ GED มาเจาะลึกพูดคุยกันแบบครบถ้วนทุกข้อที่น้องควรรู้ก่อนสอบ GED แบบรายวิชา ดังนั้นนอกจากเนื้อหาที่น้องๆ จะได้อ่านต่อไปนี้ ในคลิปจากติวเตอร์ทั้ง 4 ของเรายังมีเนื้อหาที่น้องๆ พลาดไม่ได้อยู่อีกมาก ซึ่งรวมไปถึงน้องๆ ที่ยังไม่มีพื้นฐาน[…]

ไขคำตอบข้อสอบสังคม รีวิว GED ข้อสอบ Social Studies จากติวเตอร์ The Planner

หลังจากในพาร์ทก่อนหน้านี้เราได้พาครูภูมิมาเจาะลึกข้อสอบ GED พาร์ท Science กันไปแล้วทั้งการรีวิวภาพรวมของข้อสอบ ทริคพิชิตคะแนนสอบ และจุดที่นักเรียนมักจะพลาด วันนี้ถึงคิวของครูมด ติวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชา Social แห่งสถาบัน The Planner Education ที่จะมารีวิวข้อสอบ GED พาร์ท Social Studies ให้น้องๆ ได้เห็นภาพรวมของข้อสอบ ทริคการเตรียมตัว และความท้าทายของวิชาดังกล่าวเป็นยังไง ไปดูกัน ก่อนอื่นจะมาย้ำกับน้องๆ อีกครั้งว่าบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากคลิป The Planner Talk ใน EP ที่เชิญติวเตอร์ขั้นเทพ 4 วิชาจากข้อสอบ GED มาเจาะลึกพูดคุยกันแบบครบถ้วนทุกข้อที่น้องควรรู้ก่อนสอบ GED แบบรายวิชา ดังนั้นนอกจากเนื้อหาที่น้องๆ จะได้อ่านต่อไปนี้ ในคลิปจากติวเตอร์ทั้ง 4 ของเรายังมีเนื้อหาที่น้องๆ พลาดไม่ได้อยู่อีกมาก ซึ่งรวมไปถึงน้องๆ ที่ยังไม่มีพื้นฐาน และกังวลว่าควรเริ่มจากตรงไหนอย่างไร สามารถติดตามได้ที่ FB และ YouTube The Planner Education นะคะ[…]

รีวิวข้อสอบ GED Science จากติวเตอร์ สัดส่วน Topic ในข้อสอบและสิ่งที่นักเรียนมักจะพลาด?

รีวิวข้อสอบ GED พาร์ท Science กับครูภูมิติวเตอร์คนเก่งขวัญใจนักเรียนคอร์ส GED เพราะครูภูมิใจดีและมักจะมีทริคเก็บคะแนนสอบ GED มาแชร์อยู่เสมอเลยค่ะ วันนี้พี่ๆ ทีมงาน The Planner Education จึงชักชวนครูภูมิมาพูดคุยแบบเจาะลึกเกี่ยวกับข้อสอบพาร์ท Science ทั้งรูปแบบข้อสอบ, สัดส่วน Topic, จุดที่นักเรียนมักจะพลาด รวมถึงทริคดีๆ ในการทำข้อสอบให้ผ่านฉลุย! แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าบทความนี้จะเป็นเพียงน้ำจิ้มเท่านั้น เพราะถ้าใครอยากติดตามแบบเต็มๆ ว่าครูภูมิจะงัดทริคเด็ดๆ อะไรมาให้น้องๆ บ้างต้องไปติดตามชมคลิปวิดีโอ The Planner Talk ใน EP ที่เชิญติวเตอร์ขั้นเทพ 4 วิชาจากข้อสอบ GED มาเจาะลึกพูดคุยกันแบบครบถ้วนทุกข้อที่น้องควรรู้ก่อนสอบ GED แบบรายวิชากันไปเลย สปอยล์ไว้นิดนึงว่าถึงน้องๆ ที่ไม่มีพื้นฐานเลยคุณครูแต่ละท่านก็เตรียมแนวปูพื้นฐานไว้ให้เรียบร้อยว่าต้องเริ่มอ่านจากตรงไหนอย่างไร?  สามารถติดตามได้ที่ FB และ YouTube The Planner Education นะคะ มาเริ่มต้นกับข้อที่ควรรู้กับข้อสอบ GED วิชา Science กันเลยค่ะข้อสอบจะถูกแบ่งออกเป็น 3[…]

สอบ GED ทางลัดพิชิตฝันน้องมัธยม สอบเทียบวุฒหลักสูตรอเมริกา

GED หรือ General Educational Development คือการสอบเทียบวุฒิหลักสูตรอเมริกาเพื่อยื่นศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย อีกทางเลือกหนึ่งของการศึกษาซึ่งเป็นที่นิยมมากๆ ในช่วงที่ผ่านมา ไหน ใครยังไม่รู้จักการสอบ GED ยกมือสูงๆ เลย ??‍♀️ เพราะวันนี้ The Planner Education เราเป็นมือหนึ่งด้านการพาน้องๆ พิชิตฝันสอบผ่านมาแล้วกว่าพันคน จะมาแนะนำการสอบ GED ให้น้องๆ รู้จักกันค่ะ การสอบ GED คือการสอบเทียบชั้น โดยเป็นหลักสูตรของสหรัฐอเมริกาผู้ที่สอบผ่านกระทรวงศึกษาธิการก็จะรับรองวุฒิ ม.6 ให้ โดยสามารถสอบได้ตั้งแต่อายุ 16 ปีบริบูรณ์ แต่ในกรณีที่น้องอายุยังไม่ถึง 18 ปี จำเป็นต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง (Consent Form) เพื่อยื่นทำเรื่องขอสอบ • GED จะมีการสอบ 4 วิชา ได้แก่1.Reasoning Through Language Arts (RLA) การอ่าน&การเขียน2.Social Studies สังคม3.Science วิทยาศาสตร์4.Mathematical Reasoning[…]

ส่อง 7 มหาวิทยาลัย ที่สามารถใช้คะแนน GED สมัครได้ กว่า 80 คณะ! ปังๆ!

หลังจากส่งน้องๆ ถึงเป้าหมายมาแล้วกว่า 1,000+ คน สำหรับคอร์ส GED ที่เราดูแลตั้งแต่เริ่มสมัครจนถึงวางแผนเข้ามหาวิทยาลัย น้องๆ หลายคนที่กำลังวางแผนสอบ GED หรือน้องๆ ที่กำลังสนใจ อาจมีข้อสงสัยว่าเราจะใช้คะแนนเข้าที่ไหนได้บ้าง? วันนี้จึงขอรวบรวมคณะที่สามารถใช้การเทียบวุฒิ GED สมัครเข้าเรียนได้ จาก 7 มหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากคณะและมหาวิทยาลัยเหล่านี้ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยทั้งม.รัฐ และม.เอกชน ให้น้องๆ ลองศึกษาเพิ่มเติมถึง Requirement ต่างๆ เพื่อเริ่มวางแผนได้ตั้งแต่ตอนนี้เลย   สมัครเรียนพร้อมช่วยวางแผนเข้ามหาวิทยาลัยที่ Line @theplanner  หรือคลิกเพื่อดูข้อมูลคอร์สและตารางเรียน https://bit.ly/30mWyFG #theplannereducation #คอร์สกวดวิชา #โรงเรียนกวดวิชา #สอบเทียบ #สอบเทียบชั้น #GED #เรียนGED #ติวGED   ดูคอร์สเรียนทั้งหมด ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666หรือ LINE: @theplanner