GED Social Studies Skill Needed อยากสอบผ่าน คะแนน 145 – 164 ทักษะไหนต้องมี เช็คเลย!

จะสอบ GED ให้ผ่านก็ต้องคว้าให้ครบทั้ง 4 วิชา วันนี้มาถึงทักษะที่จำเป็นในการสอบ GED Social Studies ให้ผ่านเกณฑ์ 145 จนถึง 164 คะแนน น้องๆ ที่กำลังติว GED Social Studies อยู่ตอนนี้ อาจจะเริ่มเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วว่าข้อสอบ GED Social Studies อาจไม่ใช่แค่ท่องจำ แต่ต้องมีความเข้าใจประวัติศาสตร์ สังคมหรือการเมืองอเมริกัน จนถึงวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันได้ เพื่อใช้ในการประกอบการตอบคำถามข้อสอบ GED Social Studies นั่นเอง แต่อย่าเพิ่งตกใจว่ามันจะยากเกินกว่าที่จะสอบผ่านไปได้ เพราะช่วงคะแนนของข้อสอบ GED มีอยู่หลายช่วง หากเรามีเป้าหมายเพื่อคว้าวุฒิมัธยมปลายที่คะแนน 145 – 164 คะแนน ไปอ่านทักษะที่จำเป็นสำหรับ GED Social Studies กันเลยค่ะ ทักษะในการวิเคราะห์และอธิบายในเชิงสังคมศึกษา สามารถระบุลักษณะเชิงประวัติศาสตร์จากมุมมองหรือจุดประสงค์ของผู้เขียนได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ สามารถเปรียบเทียบวิธีเขียนเชิงสังคมศึกษาหรือแสดงแหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลายมาใช้สนับสนุนหัวข้อเดียวกันได้ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างแหล่งข้อมูลได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ ทักษะในการใช้ความรู้เชิงสังคมศึกษาในการวิเคราะห์และสนับสนุนข้อโต้แย้ง  สามารถระบุโครงสร้างเรื่องราวของประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลาและต่อเนื่องกันได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ สามารถเปรียบเทียบชุดความคิดหลายทางที่เกี่ยวเนื่องในเชิงการเมือง[…]

สอบ GED RLA ให้ปัง! ต้องแม่นโครงสร้าง Essay!

ข้อสอบ GED Reasoning Through Language Arts หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า GED RLA เป็นข้อสอบที่วัดทักษะภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้เรื่องไวยากรณ์และการอ่าน แต่ยังมีพาร์ทที่น้องๆ หลายคนกำลังติว GED RLA กันอย่างขมักเขม้นต่างบ่นกันว่ายาก นั่นก็คือพาร์ท Writing ที่ต้องเขียนเรียงความ (GED Essay) นั่นเอง การเขียนเรียงความที่ดีในข้อสอบ GED นอกเหนือจากที่จะต้องคำนึงเรื่องความถูกต้องทางไวยากรณ์และคำศัพท์ที่เลือกใช้ อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเกณฑ์ในการประเมินวัดคุณภาพของงานคือ เรื่องของโครงสร้างและการเรียบเรียงเนื้อหา หรือที่เราเรียกว่า Essay Structure / Organization ภายในเวลา 45 นาทีในการทำข้อสอบ GED RLA Part Writing  ทุกคนทราบไหมว่าเราจำเป็นต้องเขียนกี่ย่อหน้าและแต่ละย่อหน้าทำหน้าที่อะไร?เฉลย: ในข้อสอบ GED RLA ไม่ได้มีการกำหนดย่อหน้าตายตัวว่าแต่ละคนจะเขียนกี่ย่อหน้า แต่ตามหลักการทุกคนควรจะเขียนประมาณ 3-5 ย่อหน้า อย่างไรก็ตามจำนวนย่อหน้าที่คนส่วนใหญ่นิยมเขียนคือ 5 paragraphs (แต่ถ้าไม่ทันจะลดเหลือแค่ 4 ก็พอรับได้) และแต่ละย่อหน้าใน GED[…]

GED Science Skill Needed อยากสอบผ่าน คะแนน 145 – 164 ทักษะไหนต้องมี เช็คเลย!

ใครที่ไม่ถนัดวิชาวิทยาศาสตร์ กำลังติว GED Science ไปก็กุมขมับไปด้วย เริ่มกลัวว่าจะสอบ GED Science ไม่ผ่าน อย่าเพิ่งท้อถอยอ่อนแรงค่ะ ข้อสอบทั้ง 4 รายวิชาต่างก็มีขอบเขตทักษะที่ต้องการวัดและระดับของการทดสอบที่แบ่งออกไปตามช่วงคะแนน GED แต่ละวิชา ซึ่ง GED Science ก็เช่นกันค่ะ ถึงแม้หลายคนจะคิดว่าเนื้อหามันยากและมีหลายอย่างที่จะต้องจดจำ แต่อยากให้น้องๆ ตั้งเป้าหมายคะแนนกันก่อนเป็นอย่างแรกว่าเราต้องการคะแนน GED วิชานี้ที่เท่าไหร่ หากเราต้องการเพียงให้ผ่านเกณฑ์หรือก็คือ Level 2 (Pass/High School Equivalency: 145 – 164)  เราอาจจะปรับการติว GED ให้มีความรู้เพียงพอต่อการสอบ GED Science ให้ผ่านให้ได้ เพราะเมื่อเป้าหมายในการสอบ GED Science ชัดเจน เราก็จะบริหารเวลาและติว GED ถูกทางนั่นเอง เรามาดูทักษะที่จำเป็นต่อการสอบ GED Science ให้ผ่านเกณฑ์ รายละเอียดในการทดสอบผู้สอบ GED Science ที่คะแนน 145[…]

GED Math Skill Needed อยากสอบผ่าน คะแนน 145 – 164 ทักษะไหนต้องมี รีบเตรียมตัวเลย!

ข้อสอบ GED Mathematical Reasoning หนึ่งใน 4 วิชาที่นักเรียนที่กำลังติว GED จะต้องสอบ คะแนนเต็มของวิชานี้ก็ยังเป็น 200 คะแนนเท่ากับวิชาอื่นๆ หากอยากสอบ GED Math ผ่าน เกณฑ์คะแนนในการสอบผ่านหรือ Level 2 (Pass/High School Equivalency: 145 – 164) ก็มีรายละเอียดในการทดสอบผู้สอบ GED ซึ่งจะแตกย่อยออกมาเป็น 3 หัวข้อหลักๆ คือ ทักษะการแก้ปัญหาเชิงปริมาณในจำนวนตรรกยะ ทักษะการแก้ปัญหาเชิงปริมาณในแบบปริมาตร ทักษะการแก้ปัญหาเชิงพีชคณิตในรูปแบบสำนวนและความสมดุล รายละเอียดการทดสอบทักษะเหล่านี้จะทำให้น้องๆ ที่กำลังติว GED กันอยู่ตอนนี้หรือที่กำลังหลงทางอยู่ว่าจะติว GED Math ไปในทิศทางไหนดี ต้องท่องสูตรหรือจำวิธีทำอะไรบ้าง ทุกคนจะเริ่มมองเห็นหนทางและจับต้นชนปลายถูกแล้วว่าจะต้องติว GED Math ในขอบเขตเรื่องอะไร และจะไม่ต้องท้อแท้ว่าสิ่งที่ต้องเรียนรู้มันจะครองจักรวาลเกินไป เพราะหากต้องการสอบ GED ผ่านในระดับคะแนน 145-164 ทักษะ 3 หัวข้อหลักๆ นี้เอง[…]

GED RLA Skill Needed อยากสอบผ่าน ทักษะต้องมีบ้าง?

น้องๆ หลายคนก็มีคำถามว่า อยากจะสอบ GED บ้างจะทำได้มั้ย? ยากมั้ย? ต้องเก่งภาษาอังกฤษหรือเปล่า? เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าข้อสอบ GED หรือ General Educational Development Test มีรายวิชาที่ต้องสอบให้ผ่านทั้งหมด 4 วิชา คือ Reasoning Through Language Arts, Mathematical Reasoning, Science และ Social Studies ซึ่งข้อสอบ GED ทุกรายวิชาจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เพราะวุฒิ GED เป็นวุฒิการศึกษาเทียบเท่ามัธยมปลายที่ได้รับการรับรองทั่วโลก หากน้องๆ ที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษ แต่อยากจะติว GED เพื่อสอบเทียบวุฒิบ้าง สิ่งที่แนะนำได้ดีที่สุดก็คงต้องพัฒนาภาษาอังกฤษให้อยู่ในระดับที่ดีก่อน เพื่อที่ว่าจะได้ไม่เป็นอุปสรรคในการทำข้อสอบ GED ในอนาคต หากน้องๆ ยังจินตนาการได้ไม่ชัดว่าจะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับไหน ลองอ่านทักษะที่ต้องมีเพื่อที่สอบผ่านรายวิชาแรกของข้อสอบ GED นั่นก็คือวิชาที่เรียกกันสั้นๆ ว่า RLA (Reasoning Through Language Arts) แล้วน้องๆ[…]

5 หลักไวยากรณ์ต้องโฟกัส ถ้าอยากสอบผ่าน GED RLA

ข้อสอบ GED Reasoning Through Language Arts ปราบเซียนมานักต่อนัก จนติว GED กันหัวจุกข้อสอบเพื่อจะเอาชนะเจ้าข้อสอบ GED RLA นี้ให้ได้ ความสำเร็จได้มาจากความรู้ที่แน่น และความรู้ที่แน่นปึกก็มาจากการเตรียมตัวที่ถูกทาง เพราะนอกจากการฝึกฝนทำข้อสอบ GED แล้ว เนื้อหาที่เป็นแก่นสำคัญของข้อสอบ GED ก็สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือเรื่องไวยากรณ์อันเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เรามาดูกันว่ามีไวยากรณ์แบบไหนบ้างที่โผล่มาให้เราต้องไขปริศนากันอยู่เรื่อย Subject-Verb agreement คือ การใช้ประธานและกริยาให้สอดคล้องตามหลักไวยากรณ์ Pronouns ก็คือ คำสรรพนาม Idioms สำนวนภาษาอังกฤษต่างๆ Punctuations การใช้เครื่องหมายวรรคตอนที่ถูกต้อง Verb Tenses คำกริยาบ่งบอกกาลเวลา เช่น อดีต ปัจจุบัน อนาคต ไวยากรณ์ข้างต้นอาจจะดูเป็นเรื่องทั่วไปที่ไม่น่าจะยากเย็นอะไรสำหรับน้องๆ หลายคน แต่ความรอบคอบเป็นกุญแจสำคัญในการทำข้อสอบ ไม่แพ้ความรู้และความชำนาญในเรื่องภาษาเลยล่ะ ลองเริ่มจากการหมั่นตรวจทานสิ่งที่เราเขียน ดูซิว่าตกหล่นไวยากรณ์ตัวไหนโดยไม่ตั้งใจหรือเปล่า เพราะไม่แน่ว่าในชีวิตประจำวันยังตกหล่นได้ แล้วโอกาสที่จะตกหล่นในตอนที่ต้องทำข้อสอบ GED ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน ข้อสอบ GED RLA ยังมีอีกหลายจุดให้เจาะลึกและฝึกฝน[…]

5 สิ่งต้องทำ! ถ้าอยากเอาชนะ GED RLA อ่านเร็วขึ้น เข้าใจทุกมิติ

การที่จะเอาชนะข้อสอบ GED RLA หรือชื่อวิชาเต็มๆ คือ GED Reasoning through Language Arts เราจะต้องอ่านอย่างระมัดระวังเพื่อเข้าใจสิ่งที่อ่าน และจะต้องมีทักษะในการอ่านเร็ว นักเรียนที่กำลังติว GED หลายคนก็มักจะมีปัญหากับการทำข้อสอบ GED RLA เพราะเมื่ออ่านช้าก็ทำข้อสอบไม่ทัน อ่านไม่เข้าใจก็ตอบคำถามไม่ได้ การเรียน GED ให้สอบได้คะแนนดีและแม่นยำในการทำข้อสอบจึงต้องพ่วงมากับเทคนิคที่มีประโยชน์ เรามาดู 5 สิ่งที่ต้องทำ ถ้าอยากเอาชนะข้อสอบ GED RLA กันดีกว่า! Stop reading aloud การอ่านออกเสียงเป็นเทคนิคที่ดีและมีประโยชน์ในการทำ proofreading แต่นั่นอาจไม่เหมาะกับการอ่านในเวลาทำข้อสอบ เพราะการอ่านออกเสียงนั้นทำให้เราอ่านบทความได้ช้าลงนั่นเอง ใครที่ติดกับการอ่านออกเสียงอยู่และรู้ตัวว่ากำลังอ่านข้อสอบได้ช้า อาจจะต้องมาฝึกฝนตัวเองให้ไม่ออกเสียงทุกคำที่อ่าน หรืออย่างมากที่สุดก็ทำได้แค่พึมพำ ลองปรับดูแล้วจะพบว่าการอ่านของเราเร็วขึ้นหลายเท่า! Read groups of words แทนที่จะอ่านเป็นคำๆ เราควรฝึกฝนตัวเองได้มองตัวหนังสือเป็นกลุ่มหรือรูปประโยค นั่นไม่ใช่แค่การอ่านที่ไวขึ้น แต่กลับทำให้เรารับรู้และเข้าใจข้อมูลของสิ่งที่อ่านได้ง่ายขึ้นนั่นเอง Stop rereading หากใครกำลังพบว่าตัวเองมักจะอ่านไปอ่านมาแล้วหลุดบรรทัด หลงทางว่าตัวเองอ่านถึงบรรทัดไหนแล้ว จนทำให้ต้องกลับไปอ่านทวนใหม่ซ้ำๆ นั่นทำให้เสียเวลาอย่างเห็นได้ชัด แนะนำให้มีสมาธิอยู่กับที่อ่านมากขึ้น[…]

เรียนโฮมสคูลดีมั้ย? มาดู 5 ข้อเปรียบเทียบที่จะทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เด็กๆ สามารถเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รู้จักตัวเองได้ลึกซึ้งและเข้าใจว่าตัวเองต้องการอะไร หลายคนจึงสร้างเป้าหมายที่ชัดเจนตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่แปลกที่เด็กๆ จะค่อนข้างให้ความสนใจกับการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนให้เข้ากับวิถีชีวิตตัวเองมากขึ้น ไม่ว่าจะสอบเทียบวุฒิ GED เพื่อจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลายในระยะเวลาที่สั้นกว่าระบบปกติ หรือการเรียนโฮมสคูลภายใต้หลักสูตรการเรียน IGCSE และ A-Level เพื่อมีวุฒิการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ แถมยังได้เลือกเรียนวิชาที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความชอบและความถนัดของตัวเอง แต่อย่างที่ทราบกันว่าการสอบ GED คือการเรียนและเตรียมสอบนอกระบบโรงเรียนอยู่แล้ว ส่วนการเรียน IGCSE เรียน A-Level เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนแบบอังกฤษที่มีสอนอยู่ในระบบโรงเรียนนานาชาติ หลายครั้งก็ถูกนำมาสอนแบบโฮมสคูลโดยน้องๆ จะมีการจัดตารางติวและมีครูมาสอนที่บ้านหรือผ่านระบบออนไลน์ หากน้องๆ กำลังคิดว่าอยากเรียนระบบโฮมสคูล แต่ยังไม่ค่อยๆ แน่ใจว่าจะเหมาะกับตัวเองหรือเปล่า เราลองมาดูข้อเปรียบเทียบในปัจจัยต่างๆ กันค่ะ ปัจจัยแรกที่ต้องนึกถึงอย่างแน่นอนอยู่แล้วก็คือ ครอบครัว ซึ่งการเรียนโฮมสคูลอาจจะส่งผลโดยตรงกับคนเป็นพ่อเป็นแม่ที่ต้องมาบริหารจัดการตารางชีวิตให้ลูกๆ แบบเต็มร้อยเปอร์เซนท์ หากเรียน GED อาจมีวิชาที่ต้องมานั่งจัดตารางเรียนไม่มากนัก กลับกันกับการเรียน IGCSE หรือ A-Level ที่มีวิชามากมายที่ต้องเรียนให้ผ่านครบหลักสูตร โดยไม่ควรมีวิชาไหนตกหล่นเพราะเสี่ยงที่เราจะพลาดในกรณีที่ต้องเรียนต่อระดับที่สูงขึ้น แต่ถ้าหากน้องๆ เป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบในตัวเองสูง จัดลำดับความสำคัญได้ด้วยตัวเอง พ่อแม่ก็อาจจะไม่ต้องหนักใจในเรื่องนี้ ปัจจัยที่สำคัญมาก เรียกได้ว่าอาจจะต้องเอามาไตร่ตรองเป็นลำดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ก็คือ ค่าใช้จ่ายนั่นเอง[…]

สอบ GED test ยากมั้ย?

หากถามว่า GED test ยากมั้ย?ความยากที่เห็นได้ชัดของ General Educational Development (GED) test อันดับแรกคงต้องบอกว่าเป็นเรื่องความกดดันของระยะเวลาอันจำกัดในการทำข้อสอบ GED test ให้เสร็จครบทุกข้อนะคะน้องๆ ? จำนวนคำถาม 35 – 40 ข้อ⏰ ระยะเวลาในการทำ 70 – 150 นาที โดยจะขึ้นอยู่กับวิชาที่น้องๆ สอบค่ะ เราจะได้ยินคนที่สอบ GED test บ่นกันบ่อยๆ ว่า “ถ้ามีเวลามากกว่านี้ ฉันต้องทำคะแนนได้ดีแน่” แต่ตัวข้อสอบ GED test อาจไม่ได้ยากมากอย่างที่คิด เพราะคำถามใน GED test จะไม่เป็นคำถามลวงให้น้องๆ ต้องสับสนมึนงงค่ะ ส่วนใหญ่แล้วคำถามใน GED test จะเป็นคำถามแบบตรงๆ ถ้าหากน้องๆ เตรียมตัวติว GED มาอย่างดีก็สามารถทำได้ผ่านฉลุยเลยค่ะ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ของน้องๆ แต่ละคนด้วยนะคะ) สำหรับ GED test[…]

จับจุดคะแนน GED Essay เขียนยังไงให้ได้คะแนน?

[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.19.17″ custom_margin=”0px||” custom_padding=”0px||”][et_pb_row custom_padding=”0px||” custom_margin=”0px||” _builder_version=”3.19.17″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.19.17″][et_pb_text _builder_version=”3.19.17″ text_font=”Prompt||||||||” text_font_size=”17px” text_line_height=”1.5em” custom_margin=”0px||” custom_padding=”0px||”] มาจับจุดคะแนน GED Essay กัน ว่าตอบแบบไหน, เขียนอย่างไร ถึงจะได้คะแนนเยอะ โดยสิ่งแรกที่ควรรู้คือโครงสร้าง หรือ Structure ของ Essay ที่ถูกต้องจะประกอบไปด้วย – The Introduction หรือคำนำที่บอกให้รับรู้ว่าเรากำลังเขียนใน Topic อะไร รวมถึงชี้แจงแนวความคิดที่เราจะเล่าถึงใน Paragraph ถัดไป– The Body of Essay หรือเนื้อหา ส่วนนี้จะนำเสนอเหตุผลและหลักฐานที่สนับสนุนการอ้างอิงของเรา โดยในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ยาวที่สุด และควรแบ่งเป็น 2 ย่อหน้า– The Concluding Paragraph ย่อหน้าที่สรุปประเด็นแแบบกระชับ เข้าใจง่ายและอาจกล่าวอ้างอิงอีกครั้งแบบสรุป เมื่อเข้าใจโครงสร้างแล้ว เรามารู้วิธีการให้คะแนนของ[…]

อ่านก่อนวางแผนเข้ามหาวิทยาลัย รวมข้อมูลหลักสูตรอินเตอร์ ม.รัฐฯ

การเรียนการสอนหลักสูตรอินเตอร์ในระดับชั้นมหาวิทยาลัย เป็นทางเลือกยอดนิยมของน้องๆ รุ่นใหม่ ในช่วงที่ผ่านมามหาวิทยาลัยของภาครัฐจึงได้เปิดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรอินเตอร์อย่างแพร่หลาย เพื่อเปิดโอกาสและเปิดโลกกว้างให้กับเด็กรุ่นใหม่ บทความนี้เรามาดูตามหลักสูตรความสนใจของน้องๆ ว่ามหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนในหลักสูตรอะไรกันบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับน้องที่กำลังวางแผนเข้ามหาวิทยาลัยในภาคอินเตอร์ สามารถคลิกไปอ่านตามหลักสูตรได้เลย 🙂 1.หลักสูตรบริหารธุรกิจ – สาย Marketing, Accounting, Management, FinanceCU, TU, MUIC, KU, KMITLhttps://theplannereducation.com/home/blog/เรียน-bba-อินเตอร์ที่ไหนดี/ 2. หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ – ทางเลือกการเรียนเชิงลึกเกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจ การเงิน ธุรกิจ ภาคอินเตอร์CU, TU, MUIC, KU, SWUhttps://theplannereducation.com/home/blog/รวมคณะเศรษฐศาสตร์อินเต/ 3. หลักสูตรสื่อสารมวลชนและนิเทศฯ – นิเทศ, วารสาร ภาคอินเตอร์ โอกาสทำงานในวงการสื่อและอีกมากมายCU, TU, MUIChttps://theplannereducation.com/home/blog/หลักสูตรอินเตอร์ด้านสื/ 4. หลักสูตรด้านภาษา – เปิดโลกกว้างด้านภาษาและวัฒนธรรม กับทางเลือกอาชีพมากมายCU, TU, MUIC, SWU 5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ – หลากหลายทางเลือกเฉพาะทาง กว่า 47[…]

จดทริคทำคลาสออนไลน์ ให้ Productive

ถึงแม้ช่วงนี้จะต้องปรับการมาเรียนที่สถาบันเพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ ต่อสุขภาพ แต่การเรียนออนไลน์ยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้น เพราะน้องๆ ต่างมีเป้าหมายที่ต้องไปให้ถึง ☄️ เช่น การสอบ GED, SAT, IELTS หรืออื่นๆ น้องๆ รู้หรือไม่ว่าการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนที่บ้านอย่างเหมาะสมจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพทางการเรียนให้ Productive มากขึ้น วันนี้เราจึงมาแบ่งปันเคล็ดลับเพื่อให้น้องๆ ได้เตรียมพร้อมกับการเรียนออนไลน์ได้อย่างเต็มที่ เพื่อความสำเร็จที่อยู่ไม่ไกล ! Choose the Right Space – เลือกที่เรียนที่เหมาะสมการเลือกสถานที่เรียนออนไลน์ที่เหมาะสมจะสร้างความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ทั้งการเรียนและการทบทวนเนื้อหาการเรียนจะ Productive มากๆ หากน้องๆ ได้ทำบนโต๊ะทำงาน หรือโต๊ะอะไรก็ตามที่สามารถกางโน๊ตบุ๊ค วาง Paper ต่างๆ และควรเป็นที่ๆ อินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้อย่างดี ควรเป็นที่ๆ ไม่มีสัตว์เลี้ยง, เด็ก หรือแน่ใจได้ว่าจะไม่ถูกรบกวนจากคนอื่นๆ ในบ้าน และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการเรียนบนเตียงนอน, โซฟา หรือแม้กระทั่งเก้าอี้นวมนุ่มๆ เพราะค่อนข้างมีผลกับการทำสามาธิจดจ่อกับการเรียน Remove Distractions – ตัดสิ่งที่จะลดประสิทธิภาพการเรียนหลายครั้งที่เราหลุดโฟกัสจากการเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นวิชาที่เราไม่ค่อยชอบ หากเรามีสิ่งรบกวนอยู่รอบๆ ตัวก็จะถูกล่อลวงออกจากการเรียนได้ง่าย เช่น น้องๆ[…]

ไขข้อข้องใจ ต่างกันอย่างไร? GED vs IGCSE

เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ระหว่าง GED และ IGCSE ที่พ่วงมาด้วย A-Level ว่ามีข้อแตกต่างกันอย่างไร The Planner Education สถาบันติวสอบเข้าอินเตอร์หรือศึกษาต่อต่างประเทศ จึงมารวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ให้น้องๆ ที่ยังอยู่ระดับมัธยมต้น, ปลาย รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ที่กำลังหาข้อมูลแล้วเกิดความสับสน สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความนี้ค่ะ ??‍♀️ GED – General Educational Development ข้อสอบ GED คือข้อสอบเทียบวุฒิม.ปลาย ซึ่งเป็นหลักสูตรของอเมริกาและแคนาดาโดยตรง เท่ากับว่ามหาวิทยาลัยในอเมริกาและแคนาดากว่า 97% สามารถใช้ GED สมัครเข้าเรียนได้ค่ะ นอกจากสองประเทศนี้ยังยื่นเข้าหลายมหาวิทยาลัยใน #ทีมออสเตรเลีย #ทีมนิวซีแลนด์  โดย GED สอบได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี แต่ต้องมี consent form จากผู้ปกครอง ถ้าสอบตอน 18 ปีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ค่า โดยน้องๆ สามารถเช็คประเทศและรายชื่อมหาวิทยาลัยที่รับ GED ได้จาก https://ged.com/en/university-acceptance/[…]

9 Movie & Series on Netflix ที่ควรดูก่อนจบ ม.ปลาย

แนะนำ 9 Movies & Series จาก Netflix ที่ควรดูก่อนจบ ม.ปลาย! ? ช่วงอยู่บ้านยาวๆ งานอดิเรกของน้องๆ หลายคนก็หนีไม่พ้นการเสพคอนเทนต์จาก Netflix ซึ่งวันนี้เราได้หยิบเอาหนังและซีรีส์ 9 เรื่องที่สร้าง Inspiration และ Motivation ✨ ซึ่งแต่ละเรื่องมีรสชาติและความบันเทิงในมุมที่แตกต่างกันออกไป เรื่องราวของตัวละครน่าจะสร้างอะไรบางอย่างให้กับน้องๆ วัยมัธยมอย่างแน่นอน Operation Varsity Blues: The College Admissions Scandal (2021) สารคดีจำลองเหตุการณ์เกี่ยวกับแผนโกงเพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ ของเด็กจากครอบครัวเศรษฐี ตีแผ่เรื่องราวช่องโหว่ในวงการศึกษาที่สมจริง ตื่นเต้น ระทึกใจ  Barry (2016) ภาพยนตร์ชีวประวัติผู้นำสหรัฐฯ คนที่ 44  “บารัค โอบามา” ขณะศึกษาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในปี 1980 ฉายภาพนักศึกษาในยุคที่ต้องสร้างอัตลักษณ์ รับมือปัญหาความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ   The Boy Who Harnessed The[…]

วุฒิ GED เทียบ ม.ปลาย นอกจากสมัครเรียน ม.ไทย ใช้ทำอะไรได้อีก?

GED ทางเลือกการศึกษาของเยาวรุ่นยุคใหม่! GED หรือ General Educational Development ที่หลายๆ คนทราบดีว่าเป็นการสอบเทียบวุฒิหลักสูตรอเมริกาเพื่อยื่นศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย แต่ GED ยังสร้างทางเลือกให้กับน้องๆ ได้มากกว่านั้น เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาว่าเป็นการศึกษานอกรั้วโรงเรียน ที่ใช้เวลาไม่มาก และได้รับการยอมรับในระดับสากล ในบทความที่ผ่านมา เราได้เคยพูดถึงการใช้ GED ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในไทยอยู่บ่อยครั้ง ในบทความนี้จึงจะกล่าวถึงทางเลือกอื่นๆ สำหรับวุฒิ GED ที่จะสร้างโอกาสดีๆ ให้กับน้องๆ ได้อย่างแน่นอน ! หลักสูตรอเมริกาพาโกอินเตอร์GED คือวุฒิม.ปลาย หลักสูตรอเมริกาที่ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ ดังนั้นหากสอบผ่านและได้รับ GED Diploma แน่นอนว่าสามารถใช้เป็นวุฒิ ม.ปลาย เพื่อศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา และแคนาดาที่สามารถใช้วุฒิ GED ยื่นได้เกือบทุกมหาวิทยาลัย (97%) ยังรวมไปถึงมหาวิทยาลัยในประเทศอื่นๆ ทั่วทุกมุมโลก เช่น เกาหลี มาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เนปาล ฯลฯ ดังนั้นการสอบ GED จึงสร้างโอกาสให้น้องๆ ที่ต้องการศึกษาต่อในต่างประเทศ และยังรวมถึงคณะอินเตอร์ในประเทศไทย[…]

แจกความรู้ ฟรี! เตรียมพร้อมสอบ GED ช่วงอยู่บ้าน

แม้ช่วงนี้ต้องปรับการเรียนการสอนไปอยู่ในช่องทางออนไลน์ แต่ก็ถือเป็นอุปสรรคเพียงน้อยนิดสำหรับน้องๆ ที่วางเป้าหมายในการสอบ GED เพื่อรับวุฒิมัธยมปลาย สำหรับเข้ามหาวิทยาลัย เพราะน้องๆ ที่ The Planner Education ยังขยันขันแข็งตั้งใจเรียน ทางฝั่งติวเตอร์และสตาฟก็ไม่ยอมแพ้ เพราะยังอัปเดตข้อมูล พร้อมส่งต่อความรู้ให้กับน้องๆ แม้ตัวจะห่างกัน   วันนี้จึงขอรวบรวมความรู้ฟรี! จากติวเตอร์เพื่อให้น้องๆได้ทบทวนและเรียนรู้ในช่วงอยู่บ้านก่อนจะเข้าสู่สนามสอบ GED Playlist : เจาะลึกข้อสอบ GED  เพลย์ลิสต์ที่เหมาะกับน้องๆ ที่กำลังเริ่มต้นเรียน GED เพราะจะพามาเจาะลึกข้อสอบ โดยติวเตอร์ The Planner Education ครูใบเฟิร์น Reasoning Through Language Arts (RLA) การอ่าน&การเขียน, ครูมด Social Studies สังคม, ครูภูมิ .Science วิทยาศาสตร์ และครูเนิส Mathematical Reasoning คณิตศาสตร์ ซึ่งจะพาไปเจาะลึกโครงสร้างข้อสอบ ว่าแต่ละวิชามีลักษณะอย่างไร รวมไปถึงTopic ที่ออกสอบเป็นประจำ, วิธี[…]

นักทดลองเข้าห้องแล็บ มาทางนี้ รวมคณะอินเตอร์สายวิทยาศาสตร์

เดินทางมาถึงคณะอินเตอร์สายวิทยาศาสตร์ที่น้องๆ รอคอย คณะในสายวิทยาศาสตร์แยกเป็นความเฉพาะทางอีกหลากหลาย ที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น สายเคมี สายชีวภาพ สายฟิสิกส์ สายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งน้องๆ ที่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ การค้นพบอะไรใหม่ๆ รักการเรียนภาคทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ ห้ามพลาดบทความนี้เด็ดขาด เพราะเราได้รวบรวมทางเลือกคณะสายวิทยาศาสตร์ภาคอินเตอร์ 5 คณะ จาก 3 มหาวิทยาลัยสุดปัง! ได้แก่ ?BSAC, BBTECH จุฬาฯ ?Bachelor of Science วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล ?Bioscience and Technology, Integrated Chemistry เกษตรศาสตร์ การเรียนการสอนทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติของคณะสายวิทยาศาสตร์ ในระดับอินเตอร์ จะผลักดันให้น้องๆ ได้มีโอกาสในอาชีพที่กว้างมากขึ้น สามารถประกอบอาชีพ เช่น นักวิจัย, นักพัฒนาผลิตภัณฑ์, นักสิ่งแวดล้อม, งาน QA / QC ฯลฯ โดยสามารถทำงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในระดับประเทศหรือระดับโลก  BSAC : Bachelor[…]

อัปเดตเกณฑ์เทียบวุฒิ ม.ปลาย ปี 64 คะแนนเท่าไหร่? ยื่นมหาวิทยาลัยได้

ทางเลือกของการศึกษาไม่ได้อยู่แค่ในโรงเรียนเท่านั้น เพราะน้องๆ สามารถใข้การเทียบวุฒิการศึกษา หรือการสอบเทียบชั้นมัธยมปลาย เพื่อนำวุฒิการศึกษาไปยื่นเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องเป็นเกณฑ์ที่ได้รับการรองรับจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยวุฒิที่น้องๆ นิยมใช้ยื่นได้แก่ GED หรือ General Educational Development การสอบเทียบวุฒิระบบอเมริกัน, IGCSE และ A-Level ระบบอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติ IB หรือ International Baccalaureate สามารถยื่นเทียบวุฒิได้ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน ข้อดีของการสอบเทียบวุฒิ– กระชับเวลามากกว่าการศึกษาในโรงเรียน– วิชาเรียนน้อยกว่า เหมาะกับน้องที่มีเป้าหมายชัดเจน– วางแผนการเรียนได้เป็นสัดเป็นส่วน– ยื่นคะแนนเข้าภาคอินเตอร์ มาส่องเกณฑ์การเทียบวุฒิมัธยมปลาย อัปเดทของปี 64 จากมหาวิทยาลัยรัฐฯ ที่น้องๆ  มักจะถามถึงบ่อยๆ ทั้งของ GED, IGCSE และ A-Level ระบบอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติ IB ไปพร้อมๆ กัน* ทั้งนี้ในการยื่นคะแนนแต่ละครั้ง ขอให้น้องๆ เช็คเกณฑ์การเทียบวุฒิจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรง เพราะในแต่ละปีมักจะมีการเปลี่ยนแปลงค่ะ   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบบอเมริกัน– สมัครสอบ GED ตั้งแต่[…]

ชอบเรียนสังคมศาสตร์ต้องรู้ ! รวมคณะสายอินเตอร์เกี่ยวกับสังคมฯ

หลังจากเราได้รวบรวมหลักสูตรในสายภาษา ซึ่งรวมไปถึงสายมนุษย์และอักษรกันไปแล้ว ยังมีอีกหลักสูตรสำหรับน้องๆ ที่ชอบและสนใจทางด้านมนุษยศาสตร์, วัฒนธรรม, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, ความเป็นไปของโลก นั่นก็คือหลักสูตรอินเตอร์ด้านสังคมศาสตร์ ? หลักสูตรทางด้านสังคมที่เรารวบรวมมาในวันนี้มีการเรียนการสอน และเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่? PGS : Politics and Global Studies จุฬาฯ? BIR : Political Science Program in Politics and International Relations ธรรมศาสตร์? SPD: Social Policy and Development (International Programme) ธรรมศาสตร์? IRGA : The International Relations and Global Affairs วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล? BASS : Social Sciences (International Program) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[…]

Step by Step ขั้นตอนการเตรียมตัวสอบ GED

การเตรียมตัวสอบเทียบวุฒิ GED มักจะถูกเข้าใจว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และต้องใช้เวลาเตรียมตัวนาน, เอกสารวุ่นวายทั้งการส่ง Consent Form หรือการขอ Diploma วันนี้ The Planner Education ผู้เชี่ยวชาญด้านการติวสอบ GED ในประเทศไทย จึงจะมาอธิบาย ขั้นตอนการสอบ GED ซึ่งเป็นการเทียบวุฒิมัธยมปลาย ในหลักสูตรอเมริกาแบบ Step by Step เข้าใจง่ายตั้งแต่เริ่มจนถึงการยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัย ติดตามได้ในบทความนี้ ในเรื่องของระยะเวลาการเตรียมตัว อาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับพื้นฐานและการแบ่งเวลาในการเรียนและฝึกฝนของน้องๆ โดยอาจใช้เวลาเพียงแค่ 1 – 3 เดือนเท่านั้น ก่อนอื่น น้องๆ ต้องทำความเข้าใจรูปแบบของข้อสอบเสียก่อน  ซึ่งข้อสอบ GED ประกอบไปด้วย 4 วิชา ได้แก่ อ่านบทความเจาะลึกข้อสอบ Mathematical Reasoning : https://bit.ly/3mJiq7w อ่านบทความเจาะลึกข้อสอบ Social Studies : https://bit.ly/37CTyYu อ่านบทความเจาะลึกข้อสอบ Science :[…]