GED RLA : Redundancy หรือ การใช้คำฟุ่มเฟือย

ติว GED วันละนิด จิตแจ่มใส วิชา RLA วันนี้ลองดูกันครับว่าอีกเรื่องนึงที่สำคัญในการเรียน GED คือเรื่องอะไร เริ่มกันที่ “บ้านหลังนี้สวยสดงดงามอลังการงานสร้าง” “ฤษีตนนี้เหาะเหินเดินอากาศได้” หรือ “แจกันใบนี้ค่อนข้างเปราะบาง” หลังจากอ่านประโยคนี้ น้อง ๆ มีความรู้สึกตงิดใจตรงจุดไหนบ้างไหมครับ ถ้ารู้สึกแสดงว่าน้องเป็นคนที่มีสัมผัสในการใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างดีเลยครับ เพราะในภาษาอังกฤษจะมีกฎไวยากรณ์เรื่อง Redundancy หรือ การใช้คำฟุ่มเฟือย ซึ่งหมายถึง การใช้คำที่มีความหมายเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกันในประโยคเดียวกันมากเกินไป ทำให้ประโยคยาวเกินความจำเป็น (เว้นแต่กรณีที่ผู้เขียนจงใจใช้คำซ้ำกันเพื่อเน้น)

แต่สำหรับคนที่ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงก็ไม่ต้องคิดมากนะครับ เด็กไทยอีกหลายคนก็มีแนวโน้มที่จะบอกไม่ได้ว่าประโยคด้านบนมีการใช้คำฟุ่มเฟือย เนื่องจากภาษาไทยจะมีลักษณะของการสร้างคำแบบซ้ำซ้อน คือการเอาคำที่มีความหมายเดียวหรือคล้ายกันมารวมกัน เช่น สวยงาม เปราะบาง และเหาะเหินเดินอากาศ อบอุ่น หยิบฉวย และ เดาสุ่ม (ขนาดคำว่าซ้ำซ้อน ยังมีความซ้ำซ้อน เอ๊ะไม่งงใช่ไหม ?)

ติว GED RLA รอบนี้เรามาดูตัวอย่าง Redundancy ในภาษาอังกฤษ และตัวอย่างเพิ่มเติมของคำฟุ่มเฟือยที่เราพบได้ในชีวิตประจำวันแต่แยกมันไม่ค่อยออกกันครับ

Visible stars can be seen if the sky is dark enough.  (สังเกตนะครับว่า visible (ซึ่งมองเห็นได้) มีความหมายเหมือนกับคำว่า can be seen ดังนั้นหากเราตัดคำว่า visible ออกไปประโยคนี้ก็ยังมีความหมายเหมือนเดิมคือ “ดวงดาวสามารถมองเห็นได้หากท้องฟ้ามืดเพียงพอ”)

I used to believe and had faith in myself. (ประโยคนี้คำว่า used to believe กับ had faith มีความหมายเหมือนกัน คือ เชื่อมั่น หรือ ศรัทธา ดังนั้นเราสามารถละคำหนึ่งออกไปได้)

During high school, we sung in a trio that consisted of three people. (ในเมื่อเราร้องเพลงแบบ trio (3คน)แล้ว จะมีส่วนขยาย that consisted of three people ไปอีกทำไมกันครับ)

คราวนี้ลองมาดูตัวอย่าง Common Redundancy ที่เราพบได้บ่อยในชีวิตประจำวันบ้างนะครับ จะเห็นได้ว่าคำที่พี่ขีดฆ่าทิ้งเป็นคำที่ความหมายซ้ำกับอีกคำหนึ่ง เช่น warning “คำเตือน”ก็ต้องให้ไว้ล่วงหน้าอยู่แล้วจะมี advance อีกทำไม, ATM ย่อมาจาก Automatic Telling Machine แล้วจะมี machine มาซ้ำทำไม และ repeat แปลว่า “ทำซ้ำ หรือ พูดซ้ำ” จึงไม่ต้องมี again ซึ่งแปลว่า “อีกครั้ง” มาต่อท้าย

                – advance warning

and etc.

– ask a question

– ATM machine

– blend together

brief summary

– compete with each other

– crisis situation

– enter in

face mask

final outcome

free gift

– HIV virus

 

                – hurry up

– kneel down

local resident

– might/may possibly

– repeat again

– rise up

– slow speed

– surrounded on all sides

– time period

true fact

unexpected surprise

very unique

– weather conditions

 

 

เรื่อง Redundancy ค่อนข้างเป็นประโยชน์มากนะครับในด้านการเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้องจะต้องสอบเขียน essay ใน GED RLA หรือ เขียนรายงานซึ่งเป็น Academic Writing หรือการเขียนทางวิชาการ ที่ต้องใช้ภาษาเป็นทางการและกระชับ  ไม่เยิ่นเย้อเหมือนภาษานิยาย นอกจากนี้ข้อสอบจำนวนมากยังนิยมวัด Redundancy ในส่วนของไวยากรณ์ด้วย เช่น GEDและ SAT ดังนั้นถ้าน้องตั้งใจเรียนรู้เรื่องนี้ หรือก่อนสอบก็ติว GED RLA เรื่องนี้ด้วยนะครับ นอกจากน้องจะสามารถทำข้อสอบได้แล้ว น้อง ๆ หลายคนก็น่าจะตระหนักและกลายเป็นคนที่เยิ่นและเย้อ (ลำไย – ขออนุญาตใช้คำแสลง) น้อยลงนะครับ

 

ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply