Cambridge vs. Edexcel IGCSE | AS/A-LEVEL Exam Boards. What Are the Differences and Boards Selection Advice

The most common IGCSE and AS/A-LEVEL examination boards for international students are undoubtedly Cambridge and Edexcel. Students mostly ask which board is worth taking, because this decision can determine their academic journey. Though these boards are globally recognised, there are some differences you might need to take a careful look at. 5 Main Differences Availability[...]

เรียน BBA อินเตอร์ที่ไหนดี? รวมข้อมูลบริหารอินเตอร์ 7 มหาวิทยาลัย

BBA หลักสูตรยอดฮิตขวัญใจน้อง ๆ หลายคนที่มีเป้าหมายว่า “จะเข้าเรียนหลักสูตรอินเตอร์” ซึ่ง BBA ย่อมาจากคำว่า Bachelor of Business Administration หรือก็คือหลักสูตรบริหารธุรกิจ เรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจในเชิงลึก และ BBA ยังมีอีกหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น Accounting (บัญชี), Management (การบริหารจัดการ), Finance (การเงิน), Marketing (การตลาด) ฯลฯ  แล้วถ้าน้อง ๆ อยากเรียน BBA มีมหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนในหลักสูตรนี้บ้าง The Planner ได้รวบรวมมาให้แล้ว ครบ จบ ในบทความความเดียวกับ “BBA เรียนที่ไหนดีนะ”  BBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับได้ว่า BBA เป็นอินเตอร์หลักสูตรแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2539 สังกัดอยู่ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Faculty of Commerce and Accountancy) อีกทั้งคะแนน[...]

ทำไมอยากเป็นศิลปินถึงควรสอบเทียบ GED

หากน้อง ๆ เป็นเด็กคนหนึ่งที่มีความฝันอันยิ่งใหญ่ และมีเป้าหมายประจำใจของตัวเองอยู่ตั้งแต่ยังเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นศิลปิน อาชีพที่ต้องอาศัยทักษะอย่างการฝึกฝนและเวลาในการทุ่มเทเพื่อความฝัน แน่นอนว่าการเรียนก็สำคัญ การตามฝันในการเป็นศิลปินก็สำคัญเช่นกัน น้อง ๆ รู้ไหมคะว่าน้อง ๆ สามารถทำตามความฝันไปด้วยแต่การเรียนก็ไม่ทิ้งไปด้วย ได้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จากวุฒิ GED ที่จะช่วยให้น้อง ๆ ประหยัดเวลาในการเรียน และเพิ่มเวลาในการทุ่มเทให้ความฝันกันค่ะ  อาชีพศิลปินเป็นคำกว้าง ๆ ที่มีอาชีพหลากหลายแตกแขนงไปอีกมากมาย ไม่ใช่แค่การเป็นศิลปินนักร้องเท่านั้น ยกตัวอย่างอาชีพในสายศิลปินเช่น นักดนตรี นักแสดง จิตรกร ประติมากร ฯลฯ ซึ่งอาชีพที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแล้วแต่ใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน รวมไปถึงทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมาก อย่างการสื่อสาร เพราะตัวศิลปินคือผู้สร้างงานศิลปะที่ต้องสื่อสารเรื่องราวให้ผู้ชมเข้าใจ ต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะที่ต้องใช้เวลาอย่างสม่ำเสมอ การเรียนในระบบของโรงเรียนปกติอาจจะไม่ตอบโจทย์น้อง      ที่อยากเป็นศิลปินในเรื่องของเวลา การเรียนในระบบโรงเรียนยากมาก ๆ ที่จะสามารถเรียนไปด้วย ทำงานในด้านศิลปินอย่างเต็มที่ไปด้วย เพราะนอกจากเนื้อหาที่ต้องเรียนแล้ว ยังมีกิจกรรมที่น้อง ๆ ต้องเข้าร่วมอีก แล้วน้อง ๆ จะมีเวลาพอสำหรับการฝึกซ้อมหรือทำตามฝันของตัวไหม[...]

สอบเทียบอะไรดี ระหว่าง GED หรือ IGCSE

ในปัจจุบันสังคมเปิดกว้างให้กับความหลากหลายมากยิ่งขึ้น การเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่การศึกษาในรูปแบบระบบโรงเรียนเท่านั้นอีกต่อไป เด็กยุคใหม่ก็ต่างเป็นวัยรุ่นที่เต็มเปี่ยมไปด้วยไฟแห่งความฝัน การสอบเทียบจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เด็กยุคใหม่เลือกกัน แล้วการสอบเทียบแบบไหนกันล่ะที่จะใช่สำหรับน้อง ๆ GED หรือ IGCSE กันแน่ที่จะตอบโจทย์ของน้อง ๆ The Planner พร้อมแล้วที่จะพาน้อง ๆ ไปตามหาการสอบเทียบที่จะเหมาะกับน้อง ๆ ในบทความนี้  ไม่ว่าจะเป็นการสอบเทียบ GED หรือ IGCSE ต่างก็มีจุดแข็งของตัวเอง อยู่ที่ว่าเป้าหมายของน้องคืออะไร และจุดประสงค์ที่ต้องการสอบเทียบของน้อง ๆ คืออะไร นอกจากจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับการสอบทั้งสองตัวแล้ว ยังจะพาน้อง ๆ ไปเคลียร์กันให้ชัดว่า “การสอบเทียบ GED หรือ IGCSE การสอบเทียบแบบไหนเหมาะกับเรา”  การสอบเทียบ GED GED (General Educational Development) เป็นการสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของสหรัฐอเมริกา การสอบเทียบสุดฮิตขวัญใจเด็กเจนซี การจะสอบเทียววุฒิ GED ได้ต้องมีอายุอย่างน้อย 16 ปี และต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ปกครอง (Parental[...]

SAT Grammar Rules 10 กฎไวยากรณ์ต้องรู้! ก่อนสอบพาร์ท English

ข้อสอบ SAT Evidence-Based Reading and Writing หรือที่น้อง ๆ เรียกกันว่า SAT English น้อง ๆ ต้องใช้หลักทางภาษาสูงมากในการวิเคราะห์และเรียบเรียงคำตอบเพื่อให้ไม่เสียคะแนน โดยเฉพาะในเรื่องของหลักไวยากรณ์ (Grammar Rules) ที่หากน้อง ๆ ยังเข้าใจได้ไม่ดีพอ ก็อาจทำให้น้อง ๆ พลาดคะแนนในส่วนนี้ไปได้ น้อง ๆ ที่กำลังติว SAT เพื่อจะลงสนามสอบครั้งหน้า จึงควรจะต้องมีการเตรียมตัว จับจุดข้อสอบ SAT ในส่วนของ Grammar ให้มากขึ้น เพื่อให้ในวันสอบจริง น้อง ๆ สามารถเข้าใจโจทย์ และตอบคำถามได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจมากขึ้น บทความนี้ The Planner ขอพาน้อง ๆ มาดูกฎไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่ต้องรู้ 10 เรื่อง ก่อนวันไปสอบจริง ถ้าเข้าใจตามนี้ได้ทุกข้อคะแนน SAT English พุ่งแน่นอน Concision and Redundancy [...]

มัดรวมหลักสูตรวิทย์อินเตอร์ มีหลักสูตรอะไรบ้าง?

ในปัจจุบันวงการการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ของไทยรุดหน้าไปไกลกว่าเดิมมาก ตามยุคสมัยที่มนุษย์มีการนำศาสตร์แห่งวิทย์มาปรับใช้ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทำให้หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะในภาคอินเตอร์ มีความหลากหลาย และตอบโจทย์โลกทุนนิยมที่เปลี่ยนไปเร็วขึ้นทุกวัน บางทีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ทำให้หลักสูตรบางหลักสูตรมีการผสมผสานตัวหลักสูตรระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสตร์ด้านอื่น ๆ The Planner จึงมัดรวมหลักสูตรวิทย์อินเตอร์ที่น่าสนใจมาฝากน้อง ๆ ในบทความนี้แล้วค่ะ  นอกจากวิทย์อินเตอร์สายสุขภาพอย่าง แพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ หรือเภสัชศาสตร์ มีวิทย์อินเตอร์หลักสูตรไหนน่าสนใจอีกบ้าง ตามมาดูกันค่ะ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย BBTech ย่อมาจาก Bachelor of Science in Biotechnology (International Program) หรือชื่อภาษาไทยว่า เทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรนี้อยู่ในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ (B.Sc.) การเรียนเป็นแบบสหสาขาวิชา เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพหลากหลายด้าน หลักสูตรนี้มีทั้งหมด 8 สาขาดังนี้ Animal Biotechnology Bioinformatics Biotechnology Management Environmental Biotechnology Food Biotechnology Plant Biotechnology Marine Biotechnology Microbial[...]

คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ ที่หลักสูตรอินเตอร์กำหนด ยังมีโอกาสยื่นติด!!

ในปัจจุบันหลักสูตรที่เป็นที่นิยมของน้อง ๆ เด็กมัธยมปลาย หรือน้อง ๆ สายสอบเทียบ ไม่ได้มีแค่หลักสูตรภาคปกติเท่านั้นอีกต่อไป เพราะหลักสูตรอินเตอร์หลายหลักสูตรก็เป็นที่นิยมในหมู่เด็กเจนซีไม่แพ้กัน คะแนนยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์บางหลักสูตร สามารถใช้ยื่นติดมหาวิทยาลัยระดับท็อปของโลกได้เลย  คะแนนสอบเข้าหลักสูตรอินเตอร์หลายหลักสูตรค่อนข้างสูง น้อง ๆ อาจจะกังวลใช่ไหมคะ แต่หลักสูตรอินเตอร์ทุกหลักสูตร น้อง ๆ ทุกคนมีโอกาสสอบติดค่ะ เพราะคะแนนที่ใช้ในการยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์ น้อง ๆ สามารถสอบได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี ยกเว้นการสอบ BMAT หากน้อง ๆ ได้มีการวางแผนการติวและการเตรียมสอบกับสถาบันที่เชี่ยวชาญด้านนี้อย่าง The Planner Education น้อง ๆ ก็สามารถสอบติดหลักสูตรอินเตอร์ในดวงใจได้แน่นอนค่ะ  แล้วน้อง ๆ รู้กันหรือไม่คะว่า “คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่หลักสูตรอินเตอร์กำหนดไว้ แต่ยังมีโอกาสสอบติด” หลักสูตรอินเตอร์แม้คะแนนจะสูง แต่ก็ไม่ได้ปิดโอกาสน้อง ๆ ไปเลยนะคะ ถึงน้องจะทำคะแนนได้ไม่ถึงสำหรับการยื่นเข้า แต่น้อง ๆ ก็ยังมีโอกาสติดอยู่ แต่โอกาสติดของน้อง ๆ ก็ไม่ได้ความหมายว่าน้อง ๆ จะทำคะแนนได้เท่าไหร่ก็ยื่นติดนะคะ แต่ละหลักสูตรมีเกณฑ์ของมัน ว่าถ้าไม่ถึงเกณฑ์ตั้งต้นที่คณะกำหนด[...]

SOP คืออะไร สำคัญยังไงกับการเข้าอินเตอร์

SOP คืออะไร สำคัญยังไงกับการยื่นเข้าคณะอินเตอร์ บทความนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปไขคำตอบของความลับของ SOP อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้น้อง ๆ ติดคณะอินเตอร์ SOP คืออะไร SOP ย่อมาจาก Statement of Purpose หากถามว่า SOP คืออะไร SOP ก็คือบทความแนะนำตัวที่บอกเล่าประวัติของน้อง ๆ ทั้งประสบการณ์การเรียน ความสำเร็จในอดีต เหตุผลที่อยากเรียนต่อในหลักสูตรนี้ รวมถึงเป้าหมายของน้อง ๆ โดยสำหรับระดับการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอีกส่วนที่สำคัญมาก ๆ ในการเขียน SOP คือการเขียนอธิบายว่าการเรียนในหลักสูตรที่น้อง ๆ สมัครเข้าไปจะช่วยให้น้อง ๆ บรรลุเป้าหมายของตัวเองได้ยังไง  เกร็ดควรรู้: บางหลักสูตรอินเตอร์นอกจากคะแนนที่ต้องทำให้ถึงเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดไว้แล้ว SOP นี่แหละตัวชี้วัดว่าจะทำให้น้อง ๆ สอบติดหรือไม่ การเขียน SOP จึงควรเขียนยังไงให้มีความน่าสนใจและต้องโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่น เพราะอาจารย์ที่ทำการคัดเลือกน้อง ๆ เคยอ่าน SOP ของผู้สมัครมาแล้วมากมายหลายฉบับ  [...]

สูตรลัด! ติดมหา’ลัยเร็ว ตั้งแต่อายุแค่ 16-17 ปี!!

เมื่อพูดถึง “มหาวิทยาลัย” ชื่อนี้ทุกคนคงทราบดีว่าเป็นแหล่งที่รวบรวมองค์ความรู้ทุกแขนง รวบรวมทุกโอกาส และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงานทั่วโลก น้อง ๆ ที่เพิ่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีอายุได้ 17 ย่าง 18 ปี จึงมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการเลือกสาขาที่ชอบ และยื่นคะแนนให้ติดมหาวิทยาลัยดี ๆ สักที่ แต่จะดีกว่านั้นไหม หากน้อง ๆ มีอายุแค่เพียง 16-17 ปี แต่สามารถเรียนจบ ม.6 และมีคะแนนพร้อมยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่ชอบได้แล้ว? บทความนี้จะขอพาน้อง ๆ ไปรู้จัก สูตรลัด! ที่พาน้อง ๆ ลูกศิษย์ The Planner ติดมหาวิทยาลัยเร็วมาแล้ว ด้วยอายุแค่ 16-17 ปี จะมีขั้นตอนน่าสนใจอย่างไรบ้าง เราไปอ่านพร้อม ๆ กันได้เลย ก่อนอายุ 16 ปี โอกาสนี้ต้องรีบคว้า! สำหรับน้อง ๆ ที่อยากติดมหาวิทยาลัยเร็ว โดยเฉพาะในหลักสูตรอินเตอร์ หรือ นานาชาติ การเตรียมคะแนนสอบไว้ก่อนตั้งแต่เนิ่น[...]

วิศวกรรมชีวการแพทย์ อินเตอร์ ม.มหิดล VS ม.ลาดกระบัง ต่างกันยังไง? มาเทียบให้ดู

“วิศวะ ชีววิทยา และการแพทย์” สามหลักสูตรที่ใครก็คงพอทราบว่ามีเป้าหมายทางการศึกษาที่ค่อนข้างแตกต่างกัน แต่รู้หรือไม่? ปัจจุบัน 3 หลักสูตรนี้ เราสามารถเรียนไปพร้อมกันได้แล้วนะ แถมความต้องการในตลาดแรงงานยังมีมากด้วย หลักสูตรนั้นมีชื่อว่า วิศวกรรมชีวการแพทย์ และสำหรับภาคอินเตอร์ ในประเทศไทยเราเปิดสอนเพียงแค่ 2 สถาบันเท่านั้น คือที่มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ คืออะไร? จบไปทำอะไรได้บ้าง? และหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ นานาชาติ ระหว่าง ม.มหิดล และ ม.ลาดกระบัง จะมีความแตกต่างกันอย่างไร? ใครกำลังหาข้อมูลหลักสูตรนี้อยู่ The Planner สรุปข้อมูลมาให้ได้อ่านกันแล้ว หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ คืออะไร?  วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering) คือ คือหลักสูตรที่รวบรวมศาสตร์ของ “วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) และแพทยศาสตร์” เข้าไว้ด้วยกัน จุดประสงค์เพื่อพัฒนา “นวัตกรรม-เทคโนโลยีทางการแพทย์” อย่างที่ทราบกันดีว่าเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน และเทคโนโลยีทันสมัยที่ตอบโจทย์กับการรักษาโรคในปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อวงการการแพทย์และการบำบัดรักษาทั่วโลก เพราะจะช่วยให้การรักษาเป็นไปด้วยความราบรื่น แม่นยำ ทุ่นแรงบุคลากรทางการแพทย์ และยังสร้างความหวังใหม่ให้กับผู้ป่วยที่มีกระบวนการรักษาพิเศษกว่าปกติด้วย[...]

เปิดเกณฑ์คะแนนยื่นอินเตอร์จุฬาฯ Inter CU ปี 2024

มหาวิทยาลัยรั้วจามจุรีอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่จุฬาฯกลับขึ้นชื่อเรื่องหลักสูตรอินเตอร์เป็นอย่างมาก ทั้งนักเรียนไทยและนักเรียนต่างชาติ ต่างก็มีอินเตอร์ จุฬาฯ เป็นเป้าหมายอันดับต้น ๆ ในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกณฑ์คะแนนที่ใช้ยื่นเข้าอินเตอร์จุฬาฯ ค่อนข้างที่จะสูง The Planner ที่เป็นสถาบันเฉพาะทางด้านการติวเข้าคณะอินเตอร์ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะส่งน้อง ๆ ไปถึงเป้าหมาย “นิสิตหลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาฯ” นั่นเองค่ะ  หลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกหลักสูตร ยกเว้นหลักสูตร CU-MEDI หรือหลักสูตรแพทย์อินเตอร์ เปิดรับทั้งหมด 2 รอบ คือ รอบแรก Early Admission: เปิดรับสมัคร 27 พฤศจิกายน ถึง 21 ธันวาคม 2023 รอบสอง Admission: เปิดรับสมัคร 21 กุมภาพันธ์ ถึง 27 มีนาคม 2024 หมายเหตุ: อาจมีรอบรับเพิ่มเติมหากจำนวนนิสิตยังไม่ครบตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ วันนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปดู Requirement[...]

ส่งคะแนน SAT ไปยื่นมหาวิทยาลัยยังไง?

“ส่งคะแนน SAT ไปที่มหาวิทยาลัยต้องทำยังไงบ้าง?” คำถามนี้คงเป็นข้อสงสัยที่อยู่ในหัวของน้อง ๆ หลังจากสอบ SAT จบ จนได้คะแนนที่ตัวเองเพิ่งพอใจแล้ว เรื่องต่อมาที่น้อง ๆ ต้องศึกษากันคือเรื่องการส่งคะแนน SAT ไปที่คณะหรือหลักสูตรที่น้อง ๆ ต้องการยื่น ซึ่งขั้นตอนไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากเลยค่ะ ตามมาอ่านวิธีการส่งคะแนน SAT ได้ในบทความนี้เลยค่ะ ก่อนอื่นน้อง ๆ ต้องรู้ก่อนว่าหลักสูตรที่น้อง ๆ ต้องการยื่นต้องส่งคะแนน SAT แบบส่งจาก College Board หรือ สามารถปริ้นคะแนน SAT ออกมาและไปยื่นกับตัวคณะได้เลย หากคณะที่น้อง ๆ ต้องการยื่น สามารถส่งคะแนนแบบปริ้นคะแนนออกมายื่นได้ แบบนี้จะไม่ยุ่งยากหรือต้องทำอะไรมากเลยค่ะ แต่หากทางคณะต้องการให้ส่งผ่าน College Board จะมีขั้นตอนที่น้อง ๆ ต้องรู้เข้ามาเพิ่มเล็กน้อย ในบทความนี้จะอธิบายขั้นตอนการยื่นคะแนนผ่าน College Board วิธีการยื่นคะแนน SAT เข้าไปที่เว็บ www.Collegeboard.org จากนั้นล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบ จากนั้นก็กดเข้าไปที่ My SAT[...]

ELECTORAL COLLEGE คืออะไร? เรียน GED SOCIAL STUDIES ควรรู้!

ตามสถิติถามเด็กไทยกี่คนกี่คนต่างก็ไม่ค่อยมีคนถูกใจในวิชาสังคมศึกษานัก ทำให้อนุมานกันได้ว่าน้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจติว GED หรือกำลังเตรียมตัวสอบ GED อยู่วิชาที่น้อง ๆ ต่างกลัวและไม่ค่อยถูกใจในความยากของมันก็คงหนีไม่พ้น Social Studies หรือก็วิชาสังคมศึกษาของอเมริกานั่นเองค่ะ ในบทความนี้ The Planner เลยจะพาน้อง ๆ ไปเอาตัวรอดกับ GED Social Studies ผ่านความรู้เรื่อง “Electoral College”  ในข้อสอบ GED Social Studies เรื่องที่ออกข้อสอบในหมวดนี้มากที่สุดคือ Civil and government ซึ่งออกในข้อสอบมากถึง 50% การจะเอาตัวรอดในวิชานี้ให้ได้ การติวและหมั่นฝึกทำข้อสอบในหมวดนี้ให้คล่อง ก็การันตีในการก้าวขาหนึ่งข้างผ่านเส้นยาแดง เข้าใกล้การสอบผ่าน GED Social Studies แล้วค่ะ  Electoral College อีกหนึ่งเรื่องที่ออกในข้อสอบ GED Social Studies ในพาร์ทของ Civil and government ซึ่งถ้าน้อง ๆ[...]

เคล็ดลับทำยังไงให้สอบ GED Social Studies ผ่าน!

ถ้าพูดถึงข้อสอบ GED วิชาที่น้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจสอบ GED หรือกำลังติว GED อยู่ เป็นกังวลมากที่สุดคงหนีไม่พ้นข้อสอบ GED RLA หรือไม่ก็ข้อสอบ GED Social Studies ใช่ไหมคะ ถ้าน้อง ๆ กำลังเป็นกังวลกับข้อสอบของ GED Social Studies อยู่ล่ะก็ บทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปคลายกังวลกับวิธีเอาตัวรอดในการสอบ GED Social Studies  ทำไมนักเรียนไทยถึงเป็นกังวลกับ GED Social Studies GED Social Studies คือวิชาสังคมศึกษาของสหรัฐอเมริกาจึงเป็นความรู้ใหม่ที่เด็กไทยหลายคนไม่เคยเรียนมาก่อน วิชานี้สำหรับหลายคนจึงเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์ เนื้อหาของตัวข้อสอบที่ค่อนข้างเยอะและกว้างมาก ๆ จึงทำให้อาจอ่านไม่ตรงกับจุดที่ออกข้อสอบ เด็กหลายคนไม่ถนัดวิชาที่ต้องอาศัยการท่องจำ คำศัพท์ภาษาอังกฤษในหมวดนี้ค่อนข้างเป็นคำศัพท์เฉพาะ ทำให้ยากพอสมควร เคล็ดลับการเอาตัวรอดในการสอบ GED Social Studies รู้ภาพรวมและสัดส่วน Topic ที่ออกสอบ ข้อสอบ Social Studies[...]

SAT กับ AP ต่างกันยังไง? เข้าคณะอินเตอร์สอบตัวไหนดี?

สำหรับการยื่นคะแนนเข้าหลักสูตรนานาชาติ คะแนนสอบ SAT หรือ Digital SAT จาก College Board คงเป็นคะแนนแรก ๆ ที่น้อง ๆ จะนึกถึง แต่น้อง ๆ รู้กันไหมว่า ยังมีอีกหนึ่งคะแนนสอบ ที่หลาย ๆ หลักสูตรอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยใช้รับพิจารณาเข้าศึกษาด้วยนั่นคือ คะแนนสอบ AP ซึ่งก็อยู่ในการดูแลของ College Board เช่นกัน แล้วข้อสอบ SAT กับ AP แตกต่างกันอย่างไร? ยื่นคะแนนเข้าคณะอินเตอร์ต้องเลือกสอบตัวไหนดี? บทความนี้ The Planner มาอธิบายและเปรียบเทียบให้ได้รู้กันแล้ว SAT คืออะไร?  SAT (Scholastic Aptitude Test หรือ Scholastic Assessment Test) คือ การสอบวัดความถนัดในวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Reading & Writing) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[...]

GED Social Studies: Liberty Bonds คืออะไร

“Shall we be more tender with our dollars than with the lives of our sons” น้อง ๆ ที่กำลังติว GED หรือเรียน GED อาจจะคุ้น ๆ กับประโยคข้างต้นกันมาบ้าง เพราะประโยคข้างต้นหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับประโยคข้างต้น มักจะมีให้เห็นในการเตรียมตัวสำหรับสอบเทียบ GED ในวิชา GED Social Studies นั่นเอง สังคมศึกษาของอเมริกามีหลากหลายเรื่องราวให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นของอเมริกา ในบทความนี้ The Planner จะพาไปรู้ที่มาของประโยคที่ว่า “เราจะยอมแลกเงินดอลลาร์กับชีวิตของลูกเราได้แน่หรือ” อย่างเหตุการณ์พันธบัตรเสรีภาพ หรือ Liberty Bonds พันธบัตรเสรีภาพคืออะไร ถ้าถามว่าพันธบัตรเสรีภาพ คืออะไร คงต้องเล่าย้อนความกันไปก่อนว่า สมัยก่อนเวลาประเทศตกอยู่ในสภาวะสงครามหรือประเทศกำลังจะประกาศสงคราม จำเป็นต้องใช้เงินสำหรับสงครามเป็นจำนวนมาก สิ่งที่รัฐบาลทำคือการระดมทุนจากประชาชนในประเทศ พันธบัตรเสรีภาพจึงถือว่าเป็นสัญญาเงินกู้ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน โดยที่ประชาชนคือผู้ให้กู้ จะต้องได้รับเงินต้นที่ถูกยืมไปและดอกเบี้ยเงินกู้ คืนจากรัฐบาล [...]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ สาย Medical และ Healthcare 9 มหา’ลัยดังไทย

หากน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่มีความฝันว่าอยากทำงานในสายแพทย์ หรือสายดูแลสุขภาพของประชาชน ไม่ว่าจะ แพทย์, ทันตแพทย์, สัตวแพทย์, เภสัช, หรือพยาบาล หลักสูตรการเรียนที่ตอบโจทย์และมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับ ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่น้อง ๆ ต้องให้ความสำคัญมากเป็นลำดับต้น ๆ   โดยเฉพาะหลักสูตรสาย Medical และ Heathcare ภาคอินเตอร์ในประเทศไทย ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับน้อง ๆ ที่สนใจเข้าศึกษา ได้มาค้นคว้าหาความรู้จากรูปแบบการสอนที่เป็นระบบนานาชาติ รวมไปถึงการได้ฝึกประสบการณ์จริงที่ต่างประเทศในบางหลักสูตรอีกด้วย บทความนี้ The Planner จึงได้รวบรวมหลักสูตรอินเตอร์ สาย Medical และ Heathcare 9 มหา’ลัยดังในไทย มาให้น้อง ๆ ได้รู้จักเพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจเรียนต่อในอนาคตกัน หลักสูตรแพทยศาสตร์ นานาชาติ 1.) CU-MEDi: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ CU-MEDi จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหลักสูตรที่รับเฉพาะผู้ที่จบปริญญาตรีแล้ว สาขาใดก็ได้ โดยนิสิตหลักสูตรนี้สามารถเรียนจบแพทย์ได้ใน 4 ปี[...]