หลักสูตรอินเตอร์ของคณะเศรษฐศาสตร์ จาก 5 มหาวิทยาลัยรัฐบาล
- EBA จุฬาฯ
- BE ธรรมศาสตร์
- Business Economics วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล
- Econ. มศว
- BEcon และ EEBA เกษตรศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์เป็นการเรียนเชิงลึกเกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจ การเงิน ธุรกิจ ซึ่งในส่วนของภาคอินเตอร์น้องๆ จะได้เรียนรู้เรื่องดังกล่าวในระดับประเทศไปจนถึงระดับโลก ซึ่งเรื่องเศรษฐกิจโลกมีความเชื่อมโยงกันอยู่เสมอโดยเป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์
จบเศรษฐศาสตร์อินเตอร์ ทำอาชีพอะไร ?
น้องๆ ที่เรียนในหลักสูตรอินเตอร์ จะได้เรียนทั้งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ พร้อมเสริมสร้างความแข็งแรงในการสื่อสารภาษาอังกฤษ มีโอกาสได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบาย ทำงานในสถาบันการเงิน หรือองค์กรระดับนานาชาติ พร้อมโอกาสทางอาชีพอีกมากมาย
EBA จุฬาฯ
หลักสูตร : EBA หรือชื่อเต็ม The Bachelor of Arts Program in Economics ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 สังกัดอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติที่โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับด้านมาตรฐานในระดับสากล ด้วยหลักสูตรที่เสริมความเชี่ยวชาญด้านทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์, เศรษฐกิจ, การเงิน ทั้งระดับประเทศและระดับอินเตอร์ มีโอกาสได้เรียนและฟังบรรยายกับผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง และมีหลักสูตรที่มุ่งเน้นศึกษาเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชน สร้างโอกาสให้นิสิตได้แลกเปลี่ยนกับสถาบันคุณภาพใน EU และเอเชีย
จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 124 หน่วยกิต
เรียนที่ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพ : นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย ตลาดหลักทรัพย์ สถาบันการเงิน ธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น
Requirement :
1.วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า (เช่น GED, IGCSE)
2. คะแนนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง (IELTS, TOEFL, CU-TEP & Speaking, SAT Reading & Writing)
3. คะแนนสอบวัดความรู้คณิตศาสตร์ (SAT Math, SAT Subject Math level 2, A-Level Mathematics, CU-AAT Math)
*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.eba.econ.chula.ac.th
BE ธรรมศาสตร์
หลักสูตร : BE หรือชื่อเต็ม Bachelor of Economics Program (International Program) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 สังกัดอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรตามสถานการณ์เศรษฐกิจและด้านสังคม วัฒนธรรม รวมถึงปัจจัยเรื่องกระแสโลกาภิวัตน์ มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้านการวิจัยและการแก้ปัญหาของประเทศ และมีพันธกิจในพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ในการพัฒนา ทั้งการใช้เหตุผลและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์ โดยในหลักสูตรปัจจุบัน (หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิตปี 2556) ให้อิสระในการเลือกวิชาโทและวิชาเลือกเสรีในคณะอื่นๆ ได้ด้วย
อาชีพ : นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบาย นักวิเคราะห์การขาย นักวิเคราะห์การลงทนุ นักธุรกิจ สื่อสารมวลชน ข้าราชการ นักการเมือง หรือประกอบอาชีพอิสระ เป็นต้น
จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต
เรียนที่ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์
Requirement :
1.วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า (เช่น GED, IGCSE)
2. คะแนนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง (SAT Reading & Writing, GSAT Reading & Writing, IELTS, TOEFL,TU-GET, GSAT)
3. คะแนนสอบวัดความรู้คณิตศาสตร์ (SAT Math, SAT Subject Math level 2, GSAT)
*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.be.econ.tu.ac.th
Business Economics วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล (MUIC)
หลักสูตร : Bachelor of Business Administration Program in Business Economics (International Program) หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภาคอินเตอร์ เป็นหนึ่งในสาขาวิชาของหลักสูตรบริหารธุรกิจหรือ BBA นักศึกษาจะมีความพร้อมทั้งทางด้านจุลภาคและมหภาคของเศรษฐศาสตร์ และการวิเคราะห์เชิงประยุกต์เพื่อการดำเนินงานทางธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งเครื่องมือที่จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โครงสร้างตลาด และกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันในโลกธุรกิจ
อาชีพ : นักวิเคราะห์ในภาคเอกชน นักวิจัย ธุรกิจบริการข้อมูล พนักงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรระหว่างประเทศ
ผู้ประกอบการธุรกิจ เป็นต้น
จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 183 หน่วยกิต
เรียนที่ : มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
Requirement :
1.วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า (เช่น GED, IGCSE)
2. คะแนนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ
รอบธรรมดา > TOEFL (iBT), IELTS (Academic) ,PTE (Academic), Duolingo English Test
รอบ Fast Track > TOEFL (iBT), IELTS (Academic), PTE (Academic)
3. คะแนนสอบวัดความรู้คณิตศาสตร์ (SAT Math, GSAT Math, ACT Math, ONET, PAT1)
*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://muic.mahidol.ac.th/
Econ. มศว
หลักสูตร : B. Econ. หรือ Bachelor of Economics Program (International Program) เป็นหลักสูตรอินเตอร์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ในระดับโลก สนับสนุนความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัตน์ มีวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อสร้างพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ที่แข็งแกร่งและสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์ และสามารถใช้ภาษาอังกฤษและความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ประกอบอาชีพได้ทั้งอาเซียนและประเทศอื่นๆ โดยหลักสูตรมีโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ กับมหาวิทยาลัย Partnerships เช่น Meji University, Japan. Juniata College, United States of America. The University of Utah, United States of America.
อาชีพ : พนักงานบริษัททางด้านธุรกิจ การเงินและการธนาคาร เงินทุนและตลาดหลักทรัพย์ บรรษัทข้ามชาติ พนักงานองค์กรพัฒนา ประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น
จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต
เรียนที่ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
Requirement :
1.วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า (เช่น GED, IGCSE)
2. คะแนนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง (TOEFL, IELTS, TOEIC)
3. Portfolio ที่แสดงตัวตน ทักษะ ความรู้ความสามารถ การเข้าร่วมกิจกรรม/ ประสบการณ์ ตลอดจนรางวัลที่ได้รับ ที่มีความสอดคล้องกับ หลักสูตร/สาขาวิชา ที่สมัคร (ผลงานพิจารณาต้องไม่เกิน 3 ปีย้อนหลัง)
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://econ.swu.ac.th
BEcon และ EEBA เกษตรศาสตร์
หลักสูตร สำหรับหลักสูตรอินเตอร์ของเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร ดังนี้
1. BEcon ชื่อเต็ม Bachelor of Arts in Entrepreneurial Economics หรือ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) เปิดในปี 2556 การเรียนการสอนเหมือนกันกับหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ภาคไทย แต่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร เนื้อหาการเรียนครอบคลุมสาขาเศรษฐศาสตร์ที่หลากหลาย เช่น Economic Development and Planning, Transportation, International Economics, Labor Economics, Industrial Organization, Natural Resource and Environment
อาชีพ : สำนักงานเศรษฐกิจแห่งชาติและการพัฒนาสังคม ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์และการเงินอื่น ๆ หรือธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น
จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต
Requirement :
1.วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า (เช่น GED, IGCSE)
2.GPAX ≥ 2.25
3.คะแนนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง (SAT Reading & Writing, IELTS, TOEFL, TU-GET, CU-TEP, KU-EPT)
4. คะแนนสอบวัดความรู้คณิตศาสตร์ (SAT Math)
*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://becon.eco.ku.ac.th
2. EEBA ชื่อเต็ม Bachelor of Arts in Entrepreneurial Economics หรือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประกอบการ (หลักสูตรนานาชาติ) เน้นการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ทั้งเชิงปฏิบัติและทฤษฎีให้กับนักเรียนที่จะเป็นผู้ประกอบการในอนาคต แยกย่อยอีก 4 สาขาวิชา คือ Economic of Logistics, Economic of Agricultural Business and Food, Economic of Information Technology, Communication and Innovation และ Economic of Tourism and Hospitality
อาชีพ : นักเศรษฐศาสตร์ นักวิเคราะห์ นักวิชาการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต
Requirement :
1.วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า (เช่น GED, IGCSE)
2.GPAX ≥ 2.20
3.คะแนนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง (IELTS, TOEFL, KU-EPT, OOPT, O-NET (03) ภาษาอังกฤษ, GAT Part2)
4. คะแนนสอบวัดความรู้คณิตศาสตร์ (SAT Math, GSAT, PAT 1)
*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://eeba.eco.ku.ac.th
เรียน GED, IGCSE, A-Level, SAT และ IELTS เพื่อเข้าคณะอินเตอร์ได้ที่ The Planner Education
คอร์สติวเข้มจากติวเตอร์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในแต่ละวิชา
พร้อม Service ดูแลเรื่องการสอบและให้คำปรึกษาเรื่องการยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัย
สามารถเลือกเรียนคอร์สกลุ่ม/เดี่ยว หรือจับคู่มาเรียน
สนใจสอบถามได้ที่ 095-726-2666 และ LINE: @theplanner