มัดรวมหลักสูตรวิทย์อินเตอร์ มีหลักสูตรอะไรบ้าง?

ในปัจจุบันวงการการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ของไทยรุดหน้าไปไกลกว่าเดิมมาก ตามยุคสมัยที่มนุษย์มีการนำศาสตร์แห่งวิทย์มาปรับใช้ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทำให้หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะในภาคอินเตอร์ มีความหลากหลาย และตอบโจทย์โลกทุนนิยมที่เปลี่ยนไปเร็วขึ้นทุกวัน บางทีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ทำให้หลักสูตรบางหลักสูตรมีการผสมผสานตัวหลักสูตรระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสตร์ด้านอื่น ๆ The Planner จึงมัดรวมหลักสูตรวิทย์อินเตอร์ที่น่าสนใจมาฝากน้อง ๆ ในบทความนี้แล้วค่ะ 

นอกจากวิทย์อินเตอร์สายสุขภาพอย่าง แพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ หรือเภสัชศาสตร์ มีวิทย์อินเตอร์หลักสูตรไหนน่าสนใจอีกบ้าง ตามมาดูกันค่ะ 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

BBTech ย่อมาจาก Bachelor of Science in Biotechnology (International Program) หรือชื่อภาษาไทยว่า เทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรนี้อยู่ในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ (B.Sc.) การเรียนเป็นแบบสหสาขาวิชา เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพหลากหลายด้าน หลักสูตรนี้มีทั้งหมด 8 สาขาดังนี้

  • Animal Biotechnology
  • Bioinformatics
  • Biotechnology Management
  • Environmental Biotechnology
  • Food Biotechnology
  • Plant Biotechnology
  • Marine Biotechnology
  • Microbial Biotechnology

ความน่าสนใจของ BBTech

  • เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน เพราะในชีวิตประจำวันมนุษย์มักพึ่งพาเทคโนโลยี
  • เทคโนโลยีชีวภาพเป็นที่ต้องการในทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นวงการแพทย์ วงการเกษตร วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
  • หลักสูตรนี้เป็นการบูรณาการการเรียนรูปแบบใหม่ เพื่อผลิตนิสิตที่มีความรู้ความสามารถเท่าทันในยุคปัจจุบัน

อาชีพในอนาคตของเด็ก BBtech

  • วิศวกรชีวภาพ
  • นักจุลชีววิทยา
  • นักเทคโนโลยีชีวภาพพืชและสัตว์
  • นักเทคโนโลยีชีวเคมี
  • นักเทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม
  • นักวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยี
  • งานเกี่ยวกับการจัดการเทคโนโลยีชีวภาพ
  • งานวิจัยและพัฒนาในบริษัทหรือรัฐบาล
  • งานวิชาการในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
  • งาน QA / QC
  • งานวิจัยทางคลินิก
  • งานการผลิตในอุตสาหกรรมยา

เกณฑ์คะแนนที่ใช้ในการยื่นเข้า

  • คะแนนผลทดสอบภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง): TOEFL (IBT) ≥79, TOEFL
    (PBT) ≥550, IELTS ≥6.0, SAT ≥450, CU-TEP ≥80, CU-AAT ≥400
  • คะแนนผลทดสอบคณิตศาสตร์ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง): SAT ≥ 500, SAT II ≥ 500,
    CU-AAT ≥ 450, A-Level ≥ B, IB ≥ 5, ACT ≥ 22

 

BSAC มาจาก Bachelor

of Science in Applied Chemistry หรือวิทยาศาสตร์นานาชาติ

สาขาเคมีประยุกต์ เน้นเรียนเกี่ยวกับด้านเคมี

ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ไปจนถึงการประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน มีทั้งหมด 4 สาขาดังนี้

  • เคมีเพื่อการประยุกต์ด้านอุตสาหรกรรมและการจัดการ (Industrial Chemistry and Management Program)
  • เคมีเพื่อการประยุกต์ด้านวัสดุ (Materials Chemistry Program)
  • เคมีเพื่อการประยุกต์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Chemistry Program)
  • เคมีเพื่อการประยุกต์ด้านเครื่องสำอางและการเป็นผู้ประกอบการ (Cosmetic Chemistry and Entrepreneurship Program)

ความน่าสนใจของ BSAC

  • มีโอกาสได้ไปทำแล็ปที่ต่างประเทศ
  • มีโอกาสได้ทำงานร่วมโปรเจกต์กับนักเรียนต่างประเทศ

อาชีพในอนาคตของเด็ก BSAC

  • BSAC สายตรงที่จบมาจะทำงานในด้านนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แต่น้อง ๆ สามารถทำธุรกิจของตัวเอง เป็นเจ้าของธุรกิจเองได้ด้วยนะคะ

เกณฑ์คะแนนที่ใช้ในการยื่นเข้า

  • คะแนนผลทดสอบภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง): TOEFL (IBT) ≥79, TOEFL (PBT) ≥550, IELTS ≥6.0, SAT ≥500, CU-TEP ≥80, DET ≥110
  • คะแนนผลทดสอบคณิตศาสตร์ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง): SAT ≥490, SAT II ≥600, CU-AAT ≥450
  • คะแนนผลทดสอบวิทยาศาสตร์ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง): SAT Subject (Phy&Chem) ≥560, CU-ATS (Chem) ≥380, ACT ≥25, A-Level (Chem) ≥C, AP (Chem) ≥3, IB HL (Chem) ≥4, GED ≥160

วิทย์เคมีอินเตอร์ จุฬาฯ เลือกเรียนหลักสูตรไหนดี ตามไปหาคำตอบได้ใน เคมีอินเตอร์ จุฬาฯ เลือกเรียน BSAC หรือ ChPE ดี?

 

มหาวิทยาลัยมหิดล

ICT ชื่อเต็ม ๆ คือ Faculty of Information and Communication Technology หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรอินเตอร์ที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดวิทยาลัยนานาชาติ มหิดล (MUIC) แต่อยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ICT เหมือนจะเรียนคล้ายกับคณะวิศวกรรม สาขาคอมพิวเตอร์ แต่ ICT จะเน้นเรียนเกี่ยวกับ Software แต่คณะวิศวรกรรม สาขาคอมพิวเตอร์ จะเน้นเรียนหนักไปที่สาย Hardware  ICT ปี 1 – ปี 3 เทอม 1 จะเรียนครบทุกทักษะเพื่อปูพื้นฐานสู่การเลือก Track ในปี 3 เทอม 2 โดยมี Track ให้เลือกทั้งหมด 8 Track ดังนี้

  • Software Engineering (สาขาวิศวกรรมซอฟแวร์)
  • Computer networks (สาขาระบบเครือข่ายสื่อสาร)
  • Computer science (สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์)
  • Database and Intelligent Systems (สาขาระบบฐานข้อมูลและระบบเชิงปัญญา)
  • Multimedial Systems (สาขาระบบสื่อผสม)
  • Management Information System (สาขาการจัดการระบบสารสนเทศ)
  • Electronic Business Systems (สาขาระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์)
  • Health Information Technology (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อระบบสุขภาพ) 

ความน่าสนใจของ ICT

  • เป็นคณะที่จบมาแล้วเงินเดือนเด็กจบใหม่สตาร์สูงในเรท 25,000฿ – 50,000฿
  • ตลาดแรงงานสาย ICT ยังค่อนข้างขาดแคลน แต่ทุก ๆ องค์กรต่างก็ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถด้าน ICT มาร่วมงานด้วย

อาชีพในอนาคตของเด็ก ICT

  • System Analyst
  • Web Developer
  • Programmer
  • Software Tester
  • Network System Designer
  • IT Security Analyst
  • SEO Analysis
  • นักออกแบบ UI/UXIT
  • นักพัฒนาเกม
  • นักพัฒนาฐานข้อมูล
  • นักผลิตสื่อดิจิทัล
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่าย

เกณฑ์คะแนนที่ใช้ในการยื่นเข้า

  • คะแนนผลทดสอบภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง): TOEFL (PBT) ≥500, TOEFL (ITP) ≥500, TOEFL (iBT) ≥60, IELTS ≥5.0, SAT ≥400, DET ≥80, IB ≥A / ≥4, GCE A-Level ≥B
  • คะแนนผลทดสอบคณิตศาสตร์ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง): SAT ≥600, ACT ≥25, IB HL ≥4, GCE A-Level ≥B

 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

BSTA ย่อมาจาก Bachelor of Science Program in Tropical Agriculture (International Program) หรือมีชื่อภาษาไทยว่า เกษตรเขตร้อน (นานาชาติ) อยู่ในสังกัดคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตัวหลักสูตรเน้นศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจและการเกษตร โดยเฉพาะการเกษตรในภูมิภาคเขตร้อน 

ความน่าสนใจของ BSTA

  • เป็นหลักสูตรที่มาจากความร่วมมือระหว่างคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • โอกาสฝึกงานในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป หรือทวีปอเมริกาเหนือ

อาชีพในอนาคตของเด็ก BSTA

  • นักวิทยาศาสตร์
  • นักวิจัย 
  • ข้าราชการ
  • เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
  • ผู้ดูแลด้านผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
  • ธุรกิจส่วนตัวจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและส่งออก
  • ธุรกิจส่วนตัวด้านฟาร์มหรือการเกษตร

เกณฑ์คะแนนที่ใช้ในการยื่นเข้า

  • คะแนนผลทดสอบภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง): IELTS ≥5.0, TOEFL (PBT/ITP) ≥542, TOEFL (iBT) ≥71, KU-EPT ≥50

 

เป็นยังไงกันบ้างคะกับหลักสูตรวิทย์อินเตอร์ที่ The Planner นำมาฝากน้อง ๆ ในบทความนี้ คัดมาแล้ว เอามาแต่หลักสูตรที่น่าสนใจและน่าจะโดนใจน้องหัวใจวิทย์แน่ ๆ เลย หลักสูตรวิทย์อินเตอร์แต่ละหลักสูตรมีความน่าสนใจที่ไม่เหมือนกัน อีกทั้งบางหลักสูตรยังไม่มีเปิดสอนในภาคไทยด้วยนะคะ หากน้อง ๆ หมายตาหลักสูตรไหนในใจแล้ว อย่าลืมฟิตคะแนนเพื่อให้ไปถึงเป้าที่ตั้งกันไว้ และแน่นอนว่าการมีตัวช่วยย่อมเป็นเรื่องที่ดี The Planner Education นี่แหละตัวช่วยที่จะทำให้น้องถึงเป้าหมายของตัวเอง เพราะสถาบันของเรามีความเชี่ยวชาญในการติวทุกคอร์สที่จำเป็นต่อการยื่นเข้าเรียนต่อหลักสูตรอินเตอร์ อีกทั้งยังมีแอดมินที่จะคอยดูแลน้อง ๆ ในทุกขั้นตอน เรียกได้ว่า “น้องแค่มาติวอย่างเดียว ไม่ต้องห่วงเรื่องอื่นเลยค่ะ”

สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | IELTS | ACT | GSAT | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing

ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Line: @theplanner หรือ Phone: 095-726-2666

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply