The Planner บอกหมดเปลือก เลือกเรียนเภสัช ทำไมต้องมีพื้นฐานอังกฤษไว้ก่อน

คณะฮอต ยอดฮิตของนักเรียนไทยทุกปี อย่างน้อยต้องมี #เภสัชศาสตร์ ติด Top Rank อยู่เสมอ และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แม้ไม่ใช่หลักสูตรอินเตอร์ก็ตาม วิชาภาษาอังกฤษก็ยังต้องเจอในหมวดวิชาพื้นฐานของเภสัชอย่างเลี่ยงไม่ได้ พอ ๆ กับวิชาชีวะและเคมีเลยทีเดียว เรียกได้ว่าสาวกเภสัช แทบจะไม่ได้ว่างเว้นจากภาษาอังกฤษเลย แล้วทำไมเรียนเภสัช ต้องรู้ภาษาอังกฤษด้วยล่ะ? วันนี้ พี่ ๆ The Planner มาบอกเหตุผลให้ฟังกัน

  1. ตำราเรียนและงานวิจัยด้านเภสัช เป็นภาษาอังกฤษ
    ปัจจุบัน เนื้อหาการสอนที่ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยจะใช้เนื้อหา “ภาษาอังกฤษ” เป็นหลัก โดยเฉพาะ เภสัชอินเตอร์ ที่เนื้อหาจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
    นอกจากนี้ ตำรานอกห้องเรียน งานวิจัยหรือบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านยาและโรค ทั้งในและต่างประเทศ ก็มักจะเป็นภาษาอังกฤษด้วยแทบทั้งสิ้น
    ดังนั้น คนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาระหว่างเรียน เข้าใจหลักและความเป็นมาของข้อมูลได้อย่างลึกซึ้ง สามารถต่อยอดในวิชาหลักอื่น ๆ ได้ง่าย และเกิดความกดดันทางการเรียนน้อยลงกว่าคนที่พื้นฐานภาษาอังกฤษน้อย
  1. ฉลากยาและส่วนประกอบยา เป็นภาษาอังกฤษ
    หากเราสังเกต ฉลากยาคุณภาพแทบทุกชนิดในโลก จะมีภาษาอังกฤษกำกับอยู่เสมอ หรือเป็นภาษาอังกฤษล้วน เพื่อให้สะดวกต่อผู้บริโภคในการทราบสรรพคุณ วิธีการใช้ ส่วนประกอบหลัก วันเดือนปีที่หมดอายุ และเพื่อความเป็นสากลของตัวยา
    นอกจากนี้ตัวยาภายในยังมีชื่อเรียกและสารประกอบทางเคมีที่เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ นักศึกษาเภสัชทุกคนจะต้องเข้าใจและจดจำให้ได้ทั้งหมด หากมีการเข้าใจตัวสารและส่วนประกอบของยาผิดเพี้ยน จากปัญหาการไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ ก็จะทำให้เกิดอุปสรรคในการเรียนและเกิดผลกระทบร้ายแรงต่อผู้ใช้ยาได้
  1. โรคและยาชนิดใหม่ ถูกอัปเดตเป็นภาษาอังกฤษ
    เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่อุบัติขึ้นและถูกค้นพบในแทบจะทุก ๆ วัน การวิจัยและค้นพบตัวยารักษาชนิดใหม่ย่อมต้องมีการอัปเดตตาม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะถูกนำเสนอทั้งผ่านหน่วยงานด้านเภสัชโดยตรง รวมถึงวารสารและงานวิจัยต่าง ๆ ดังนั้น นักศึกษาเภสัชจึงต้องตามข่าวสารและทำความเข้าใจข้อมูลทั้งหมดให้ได้ทันเวลา เนื่องจากข้อมูลที่รวดเร็วที่สุดในการอัปเดตข่าวสารของโลกคือข้อมูลภาษาอังกฤษ
  1. ภาษาอังกฤษ จำเป็นต่อการแนะแนวทางการรักษา
    ในระยะเวลาการทดลองงานของนักศึกษาเภสัช ไม่ว่าจะผ่านทางโรงพยาบาล ทางคลินิกเวชกรรม หรือแม้แต่การได้ประกอบอาชีพเภสัชกรเต็มตัวหลังเรียนจบ เป้าหมายที่สำคัญของนักศึกษาเภสัชคือการต้องสื่อสารและจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถอธิบายสรรพคุณและวิธีการใช้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ หรือมากไปกว่านั้น สามารถวิจัยและนำเสนอยาตัวใหม่ให้สังคมและโลกรับรู้ได้
    และเนื่องจากผู้ป่วยในประเทศไทย มีชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น จากการเป็นเมืองท่องเที่ยวและศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และติดอันดับต้น ๆ ของการบริการเชิงสุขภาพที่ดีที่สุดของโลก ดังนั้น ทักษะภาษาอังกฤษของผู้เป็นเภสัชกรในการสื่อสารจึงสำคัญอย่างยิ่ง
  1. คะแนนภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ยื่นเข้าศึกษา โดยเฉพาะ “ภาคอินเตอร์”
    เกณฑ์การยื่นคะแนนเข้าคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย คะแนนภาษาอังกฤษ ก็เป็นหนึ่งในส่วนพิจารณาที่สำคัญในการใช้ยื่นเข้าศึกษา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 20% เลยทีเดียว (อ้างอิงจาก www.mytcas.com) โดยในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ของประเทศไทย คณะเภสัชภาคไทยก็หันมาโฟกัสที่คะแนนสอบ IELTS, TOEFL, CU-TEP, TU-GET ECT. เหมือนกับคณะเภสัชภาคอินเตอร์มากขึ้นแล้วด้วย
    ดังนั้นก่อนยื่นคะแนนเภสัช การเตรียมตัวติว IELTS ติว TOEFL ติว CU-TEP, TU-GET หรือติวภาษาอังกฤษอื่น ๆ อย่างเข้มข้นก่อนสอบ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ : สนใจติวคอร์ส IELTS, TOEFL, CU-TEP, BMAT ฉบับเร่งด่วนกับ The Planner Education คลิกลงทะเบียน

Tips: น้อง ๆ รู้กันไหมว่า เภสัชภาคอินเตอร์ในไทย มี 2 แห่งเท่านั้น คือ คณะเภสัชศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ โครงการความร่วมมือกับ University of Nottingham มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และคณะเภสัชศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สนใจติว GED | IGCSE | A-Level | SAT | IELTS | TOEFL-MUIC | CU-TEP | TU-GET | GSAT | CU-ATT | CU-ATS | BMAT | ACT | IB
เพื่อคว้าคะแนนและมหาวิทยาลัยในฝันหรือยัง? ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการเรียนต่อ ไม่ว่าจะมหาลัยในไทยหรือต่างประเทศ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply