SAT : Answer Choice

                เวลาที่น้อง ๆ ทำโจทย์หรือติว SAT Reading หลายคนน่าจะเคยลังเล เลือกคำตอบที่ถูกต้องไม่ได้ถึงแม้ว่าจะอ่านบทความเสร็จแล้วก็ตาม หรือแม้ว่าจะพยามยามตัดchoice แล้วสุดท้ายก็จะเหลือตัวเลือกไว้สองข้ออยู่ดี ซึ่งเราก็ต้องเสี่ยงดวง 50% ว่าเราจะตอบถูกไหม ดังนั้นวันนี้พี่ก็เลยจะมาแนะนำหลักการตัด choice ที่พี่ชอบใช้เวลาทำโจทย์ เพื่อเพิ่มโอกาสการทำโจทย์ SAT ให้ถูกต้องกับทุกคนนะครับ

                เราลองมาดูกันนะครับว่าลักษณะคำตอบที่ผิดและมักจะเป็นตัวหลอก (Distractor) ใน Reading ภาษาอังกฤษมีอะไรกันบ้าง ในการติว SAT เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ

  1. Off-topic คือ choice ที่นอกเรื่องไปเลย อยู่ดี ๆ โจทย์ก็หยิบประเด็นหรือคำอะไรไม่รู้มาเติมทำให้ประโยคหลุดประเด็นไป เช่น ในบทความพูดถึงการทำอาหาร แต่ใน choice พูดเรื่องการทำอาหาร
  2. Too broad/narrow ลักษณะ choice นี้จะผิดเพราะกว้างเกินไป หรือแคบเกินไป เช่น ในบทความพูดถึงนักชีวะวิทยา (Biologist) แต่ใน choice ใช้คำว่า Scientists ซึ่งหมายถึงนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ก็จะทำให้ choice มีลักษณะกว้างไปตรงข้ามกับเนื้อเรื่องในบทความ
  3. Too extreme เมื่อไรก็ตามที่น้องเจอตัวเลือกที่ใช้คำศัพท์รุนแรงหรือดูเวอร์เกินไป choice นั้นมักจะมีลักษณะที่ผิดครับ เนื่องจากว่าบทความ Sat ส่วนใหญ่มักจะเป็นบทความที่ใช้ภาษาทางการ ดังนั้นคำที่บทความใช้ก็มักเป็นคำที่มีความหมายเป็นกลาง ไม่บวกเกินไป และไม่ลบเกินไป นอกจากนี้หากน้องเจอคำต่อไปนี้ในตัวเลือกจงจำไว้ว่าตัวเลือกเหล่านี้ 80% มักจะผิดครับ คำเหล่านี้ได้แก่ always, all, only, never, every, not at all

                **4. Half-right, Half-wrong ตัวเลือกนี้มีทั้งส่วนที่ถูกต้องและส่วนที่ผิดไปจากบทความซ่อนอยู่ ดังนั้นมันจึงมักเป็นตัวเลือกที่ทำให้เด็กสับสน เวลาเราตัด choice ข้อหลอกอื่นออก เรามักจะเหลือตัวเลือกนี้ไว้คู่กับตัวเลือกที่ถูกต้อง (ทำให้สับสนมากเลยแหละ)

                **5. Could be true but lack enough information ตัวเลือกประเภทนี้ก็เป็นตัวหลอกที่ดีอีกตัวหนึ่ง เพราะในกรณีที่เราต้องตีความบทความ choice ข้อนี้มีโอกาสที่จะเป็นไปได้ แต่แค่ข้อมูลในบทความอาจยังไม่พอทำให้เราไม่สามารถตีความไปได้ขนาดนั้น เช่น ในบทความพูดว่ากลิ่นตะไคร้สามารถไล่ยุงได้ เราจึงตีความได้ว่ายุงอาจไม่ชอบกลิ่นตะไคร้ แต่ถ้าใน choice ดันตีความไปว่ากลิ่นตะไคร้สามารถฆ่ายุงได้ ถ้าเป็นอย่างนี้พี่ว่าเราจะตีความเกินบริบทไปหน่อยครับ

  1. True for the Passage as a whole but not for the specific lines in a question ข้อนี้ดูได้ง่ายมากเลยครับเพราะถึงแม้จุดอื่นในบทความจะพูดแบบนั้น แต่ถ้าคำตอบไม่อยู่บริเวณบรรทัดที่โจทย์กำหนดให้ ถึงตอบไปก็ผิดอยู่ดีเนื่องจากว่าขัดกับคำสั่งของโจทย์

                **Tip ถ้าโจทย์ให้ Line Reference มาควรใช้ให้เป็นประโยชน์ เนื่องจากเราจะได้ไม่ต้องเสียเวลาอ่านทุกบรรทัด แต่น้อง ๆ ต้องอ่านประโยคก่อนหน้าและด้านหลัง Line ที่โจทย์กำหนดด้วยเพื่อทำความเข้าใจบริบท

  1. Factually true but not stated in the passage เนื่องจากในข้อสอบมักจะนำบทความจากหลายประเด็นทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือประวัติศาสตร์มาออก ในขณะที่เด็กหลายคนอาจมีความรู้เฉพาะในด้านนั้นมาอย่างดี เด็กกลุ่มนี้เวลาทำโจทย์อาจเจอทฤษฎีบางอย่างที่ขัดกับสิ่งที่ตัวเองรู้มา ทำให้เกิดความสับสนและต้องการโต้แย้งโจทย์ ถ้าน้องเป็นหนึ่งในเด็กกลุ่มนี้ เวลาติว SAT พี่อยากให้น้องพักก่อนและตั้งสติครับ น้องต้องไม่ลืมว่าข้อสอบ SAT วัดทักษะการอ่าน ไม่ได้วัดความรู้เฉพาะทางในหัวน้องดังนั้นอย่าเอาความรู้ในโลกมาตอบครับ จะตอบอะไรก็แล้วแต่ต้องดูจากบทความเป็นหลัก

                น้อง ๆ เห็นข้อที่พี่ทำเครื่องหมายไว้ในข้อ 4 และ 5 ไหมครับ ในการติวข้อสอบ SAT ตัวเลือกทั้งคู่มักเป็นตัวเลือกที่ทำให้เราสับสนและเลือกไม่ได้ระหว่างคำตอบที่ถูกต้องกับพวกมัน ดังนั้นหากน้อง ๆ เจอตัวเลือกที่ลังเล พี่อยากให้พวกเราค่อย ๆ มองและค่อย ๆ วิเคราะห์โดยเปรียบเทียบเนื้อหากับบทความไปด้วย แล้วเราจะพบตัวเลือกหลอกให้ตัดทิ้งแน่นอนครับ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้น้องเพิ่มโอกาสตอบถูกมากขึ้น จำไว้นะครับตอนทำโจทย์อย่าลืมตัด choice เด็ดขาด

 

ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน SAT ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply