GED Science “พลังงานกล” ศาสตร์ Physics ที่ขับเคลื่อนทุกสรรพสิ่ง

น้อง ๆ เคยสังเกตกันหรือไม่? สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา มักมีเรื่องของ “แรงและการเคลื่อนที่” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเลย ตัวอย่างเช่น การเดินเรือในมหาสมุทร เกวียนขนส่งสินค้า สัตว์ลากจูง เครื่องจักรทุ่นแรงในโรงงาน รถยนต์ หรือแม้แต่รถไฟเหาะในสวนสนุก

แรงขับเคลื่อนเหล่านี้ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เหล่านักฟิสิกส์ให้ความสำคัญและรู้จักกันโดยทั่วไปว่า “พลังงานกล” ซึ่งก็ได้ถูกบรรจุไว้อยู่ในเนื้อหาวิชา GED Science หมวดวิชา Physics ที่น้อง ๆ GED ได้เรียนกันด้วย ในบทความนี้ พี่ The Planner เลยจะขอมาอธิบายหัวข้อเรื่อง “พลังงานกล” ให้น้อง ๆ ได้รู้จักและเข้าใจมากขึ้นกัน

พลังงานกล คืออะไร?

พลังงานกล (Mechanical Energy) คือ พลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยในระหว่างที่วัตถุมีการเคลื่อนที่นั้น มันจะเกิดการสะสมพลังงานในตัวเองไปด้วยทั้งในเป็นแนวดิ่งและแนวนอน พลังงานกลนั้น ทางฟิสิกส์ได้แบ่งออกเป็นสองชนิด คือ พลังงานศักย์ และ พลังงานจลน์

  1. พลังงานศักย์

พลังงานศักย์ (Potential Energy) คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในตัววัตถุ เช่น หากรถยนต์จอดอยู่นิ่ง ๆ ก็จะมีพลังงานศักย์มาก ซึ่งพลังงานศักย์ยังสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อยได้อีก ได้แก่

  • พลังงานศักย์โน้มถ่วง (Gravitational Potential Energy) เป็นพลังงานศักย์ที่สะสมในวัตถุ “เมื่ออยู่บนที่สูง” และวัตถุนั้นอยู่ในสนามแรงโน้มถ่วงของโลก หากวัตถุยิ่งอยู่สูงมากเท่าไหร่ เมื่อถูกปล่อยลงมาสู่พื้นมันก็จะมีแรงเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น

โดยเราสามารถหาค่าพลังงานศักย์โน้มถ่วงได้จากสมการ

Ep=mgh

เมื่อ  Ep  แทน   พลังงานศักย์ของวัตถุ มีหน่วยเป็น จูล (J)
m   แทน   มวลของวัตถุ  มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)
g   แทน   ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก มีค่าเท่ากับ 9.8 เมตร/วินาทียกกำลัง 2
h   แทน   ระยะหรือความสูงจากระดับอ้างอิง  มีหน่วยเป็นเมตร (m)

พลังงานศักย์โน้มถ่วงในชีวิตประจำวัน เช่น การปล่อยตุ้มตอกเสาเข็มในงานก่อสร้างอาคาร  การคำนวณการขนน้ำหนักวัตถุของลิฟต์ หรือการคำนวณการกักเก็บน้ำในอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น

 พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (Elastic Potential Energy) เป็นพลังงานที่สะสมในวัตถุที่มีการ “ยืดหยุ่นได้” หากวัตถุสปริงนั้นยิ่งถูกยืดออกมากเท่าไหร่ เมื่อหดกลับมาที่เดิมมันก็จะมีแรงเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

โดยเราสามารถหาค่าพลังงานศักย์ยืดหยุ่นได้จากสมการ

 F=ks

เมื่อ   F   แทน   แรงที่กระทำต่อสปริงมีหน่วยเป็น นิวตัน (N)
k   แทน   ค่านิจของสปริงมีหน่วยเป็น นิวตันเมตร (N m)
x   แทน   ระยะที่ยืดออกของสปริง มีหน่วยเป็นเมตร (m)

พลังงานศักย์ยืดหยุ่นในชีวิตประจำวัน เช่น การทำสายพานในห้องเครื่องรถยนต์ การสร้างคันธนูเพื่อยิงลูกธนูออกไป หรือการทำสปริงในดินสอกดหรือปากกากด เป็นต้น

  1. พลังงานจลน์

พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) คือ พลังงานของวัตถุในขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่บนท้องถนน การปล่อยลูกธนูออกจากคันธนู หรือการหมุนของใบพัดพัดลม เป็นต้น

หากวัตถุนั้นยิ่งเคลื่อนที่เร็วมาก ก็จะยิ่งสะสมพลังงานจลน์ไว้มาก เมื่อถูกกระแทกหรือขวางทาง ก็จะยิ่งเกิดความเสียหายมากเช่นกัน เช่น หากรถยนต์ถูกขับไปบนท้องถนนด้วยความเร็วสูง เมื่อมีวัตถุใดเข้ามาขวางทาง ก็จะเกิดอุบัติเหตุเสียหายรุนแรง ตามความเร็วและการสะสมพลังงานของรถที่ขับมานั่นเอง

โดยเราสามารถหาค่าพลังงานจลน์ได้จากสมการ

Ek=1/2mv2

เมื่อ  Ek  แทน   พลังงานจลน์ของวัตถุ มีหน่วยเป็นจูล (J)
m   แทน   มวลของวัตถุ มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)
v   แทน   อัตราเร็วของวัตถุ มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s)

พลังงานจลน์ในชีวิตประจำวัน เช่น การวิ่งของรถยนต์ การวิ่งของรถไฟเหาะ การชกมวย หรือการตีลูกเบสบอล เป็นต้น

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลแล้ว พี่ The Planner ขอสรุปให้เห็นภาพทั้งพลังงานศักย์และพลังงานจลน์แบบเข้าใจง่าย ๆ ดังนี้

“..สมมติวัตถุเป็นรถยนต์ 1 คันที่กำลังวิ่งอยู่บนท้องถนน แน่นอนว่ารถคันนี้กำลังสะสมพลังงานจลน์อยู่ ซึ่งพลังงานจลน์นี้จะลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ หากคนขับเริ่มแตะเบรกรถเพื่อชะลอความเร็ว ทำให้กลับกัน รถยนต์คันนี้ก็จะเริ่มสะสมพลังงานศักย์มากขึ้นเรื่อย ๆ แทน และเมื่อคนขับเหยียบเบรกอย่างเต็มที่เพื่อจอดรถ พลังงานศักย์ก็จะถูกสะสมไว้มากที่สุดที่รถหยุดนิ่งนั่นเอง..”

อ่านบทความ เรียน GED ที่ The Planner ดีไหม? คลิกที่นี่

 พี่ The Planner ขอเสิร์ฟความรู้ด้านฟิสิกส์ดี ๆ เอาไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะคะ สำหรับใครที่อยากฟิตความรู้ ตะลุยโจทย์ข้อสอบ GED Science เข้ม ๆ อย่าลืมมาเจอกันที่คอร์สติวสด GED ที่สถาบัน The Planner Education นะคะ คุณครูและพี่ ๆ แอดมินรอต้อนรับน้อง ๆ อยู่จ้า

 สนใจติว A-LEVEL | IGCSE | GED | SAT/GSAT | ACT | IELTS | IB | AP | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ARTS | TU-GET | Academic Writing ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply