น้อง ๆ ที่ชอบเรียนสังคมและภาษาอังกฤษ ในช่วงเวลาที่ต้องเลือกคณะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาอาจจะเกิดความลังเลใจว่าตัวเองควรเลือกเรียนนิติศาสตร์ ภาคนานาชาติ หรือ รัฐศาสตร์ ภาคนานาชาติดี และในตอนยื่นคะแนนน้อง ๆ ของทั้งสองคณะนี้ ใช้คะแนนที่ยื่นตัวเดียวกัน เพียงแต่ว่าวิชาที่เรียนในคณะและอาชีพหลังเรียนจบของทั้งสองคณะค่อนข้างแตกต่างกัน วันนี้พี่ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบกันค่ะว่าตัวน้อง ๆ เอง เหมาะกับนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์มากกว่ากัน
ความแตกต่างระหว่างนิติศาสตร์ กับ รัฐศาสตร์
กฎหมายอยู่เคียงคู่สังคมฉันใด นักกฎหมายก็มาควบคู่นักปกครองฉันนั้น กฎหมายร่างมาไว้เพื่อบังคับใช้ให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้ ก็เหมือนกับนักกฎหมายที่มีหน้าที่ใช้ความรู้ด้านกฎหมายเป็นเครื่องมือช่วยจัดระเบียบสังคม และนักปกครองที่มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลสังคมอีกที แล้วคณะนิติศาสตร์กับคณะรัฐศาสตร์ล่ะมันแตกต่างกันยังไง แล้วจบมาประกอบอาชีพได้แค่สายกฎหมายและสายการเมืองจริง ๆ ไหมมาหาคำตอบกันค่ะ
ความแตกต่าง | นิติศาสตร์ | รัฐศาสตร์ |
ด้านการเรียน | เรียนเกี่ยวกับกฎหมายเป็นหลัก ศึกษาเหตุและผล ปัจจัยและกระบวนการคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย | เรียนเกี่ยวกับความเป็นรัฐ การเมืองและการปกครอง แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรัฐ |
ลักษณะการคิด | เด็กนิติศาสตร์จะเน้นการจำและทำความเข้าใจข้อบังคับของกฎหมายให้มีความถูกต้องที่สุด เพื่อนำไปปรับใช้กับสังคม | เด็กรัฐศาสตร์จะให้ความสำคัญกับการคิด วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นในเรื่องของรัฐ การเมือง การปกครอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ |
แนวทางการประกอบอาชีพ | – ทำงานในสำนักงานกฎหมาย – ทนายความ – อัยการ – ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย – ทำงานในองค์กรต่าง ๆ เช่น องค์กรระหว่างประเทศ – ธุรกิจส่วนตัว |
– นักการเมือง – ข้าราชการ – ที่ปรึกษาในบริษัทต่าง ๆ – ทำงานในองค์กรต่าง ๆ เช่น องค์กรระหว่างประเทศ – ธุรกิจส่วนตัว |
แนะนำคณะนิติศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ
LLBel : คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายธุรกิจและเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ Faculty of law : Bachelor of Laws, experiential learning in Business and Tech Law (International Program), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกณฑ์คะแนนในการรับเข้า
- คะแนนภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
– IELTS ≥6.5
– TOEFL ≥79
– CU-TEP ≥88 - SAT Overall ≥1,200 และคะแนน SAT Verbal ≥500
อ่านข้อมูล LLBel เพิ่มเติมได้ที่ จุฬาฯ เปิดตัวหลักสูตรอินเตอร์น้องใหม่มาแรง LLBel INTER
LL.B : คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Law Program in Business Law (International Program), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เกณฑ์คะแนนในการรับเข้า
- คะแนนภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
– IELTS (Academic) ≥6.0
– TOEFL (CBT) ≥173
– TOEFL (PBT) ≥500
– TOEFL (IBT) ≥61
– TU-GET (PBT) ≥500
– TU-GET (CBT) ≥61 - ใช้ผลคะแนน SAT หรือ GSAT ดังนี้
– SAT / GSAT (Verbal) ≥550
– SAT / GSAT Overall ≥1200
อ่านข้อมูล LL.B เพิ่มเติมได้ที่ Let’s talk about Law INTER “LLB”
แนะนำคณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ
PGS : คณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) Politics and Global Studies (International Program), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกณฑ์คะแนนในการรับเข้า
- คะแนนภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
– TOEFL (IBT) ≥87
– IELTS ≥6.5 - คะแนนผลทดสอบ Aptitude Tests (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
– SAT หรือ CU-AAT Overall ≥1,200 และพาร์ท Verbal ≥500
BIR : คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองและการระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) Faculty of Political Science (International Program), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เกณฑ์คะแนนในการรับเข้า
- คะแนนภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
– IELTS (Academic) ≥6
– TOEFL (PBT) ≥500
– TOEFL (IBT) ≥61
– TU-GET (PBT) ≥500
– TU-GET (CBT) ≥61
– SAT (Verbal) ≥400
– GSAT (Verbal) ≥400
ทำความรู้จักคณะรัฐศาสตร์ให้มากขึ้นใน รัฐศาสตร์ไม่ใช่แค่เรื่องการเมือง
น้อง ๆ พอจะมองภาพกันออกแล้วใช่ไหมคะว่าถ้าชอบทั้งสังคมและภาษาอังกฤษสายไหนกันแน่ที่เหมาะกับเรา สายนิติศาสตร์ หรือ สายรัฐศาสตร์กันแน่ แต่ไม่ว่าตอนนี้น้อง ๆ จะเลือกสายไหน หรือยังไม่แน่ใจว่าควรเรียนต่อคณะไหนดี สิ่งสำคัญที่สุดตอนนี้คือการเริ่มติวเพื่อให้มีคะแนนยื่นได้ทุกคณะที่อยากเข้านะคะ The Planner Education ของเรา มีทุกคอร์สสำหรับเราเข้าคณะอินเตอร์รอน้อง ๆ มาติวกันอยู่ อย่ารอช้า เพราะเวลาไม่เคยรอใคร หากเราเอาแต่รอแล้วเมื่อไหร่จะเดินไปถึงคณะในฝัน
สนใจติว IELTS | IGCSE | GED | SAT/GSAT | ACT | A-LEVEL | IB | AP | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ARTS | TU-GET | Academic Writing ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!