GED Soc Texas v. Johnson เผาธง

GED Social Studies วิชาสุดหินที่เด็กไทยที่กำลังติว GED อยู่ หรือกำลังคิดที่จะสอบเทียบ GED ต่างเกรงกลัวในวิชานี้ แต่น้อง ๆ อย่าเพิ่งกลัววิชานี้กันไปก่อนเลยนะคะ เพียงแค่เข้าใจบริบทพื้นฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือมาติวกับคุณครูผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง อย่างคุณครูที่ The Planner ก็จะทำให้น้อง ๆ ไม่กลัววิชา GED Social Studies อีกต่อไป ในบทความนี้ The Planner จะมาให้ความรู้น้อง ๆ ในวิชา GED Social Studies อีกครั้ง ก่อนอื่นเลยอยากขอถามน้อง ๆ ก่อนว่า “น้อง ๆ คิดว่าการเผาธงชาติ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย หรือ เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลในการแสดงออกอย่างเสรี” 

การเผาทำลายธงชาติ เป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดและควรได้รับบทลงโทษ หรือมันคือการกระทำส่วนบุคคลที่แสดงออกถึงความเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยกันแน่ เราจะมาไขข้อสงสัยนี้กันผ่านคดีความ Texas v. Johnson 

Texas v. Johnson

ค.ศ. 1984: ผู้มาชุมนุมประมาณ 100 คน ออกมาชุมนุมกันเพื่อประท้วงนโยบายของรัฐบาลที่นำโดยประธานาธิบดี Ronald Reagan โดยผู้ชุมนุมมีการแสดงออกทางสัญญะต่าง ๆ ในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการตะโกน การพ่นสีตามกำแพง ซึ่ง Gregory Lee Johnson ก็เป็นหนึ่งในผู้ชุมนุมเหล่านั้นด้วย 

เมื่อเหล่าผู้ชุมนุมเดินทางถึงหอประชุมของเมือง Johnson ก็จุดไฟเผาธงชาติ และผู้ชุมนุมต่างตะโกนกันว่า “America, the red, white, and blue, we spit on you.” และยุติการชุมนุมประท้วงครั้งนี้ลง 

การพิจารณาคดีความ

Johnson ซึ่งเป็นผู้เผาทำลายธงชาติอเมริกาถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาล Texas ในข้อหาดูหมิ่นวัตถุอันเป็นที่เคารพทางกฎหมาย

  • ศาลชั้นแรก Johnson ถูกตัดสินว่ามีความผิด จึงถูกปรับเงินและจำคุก
  • ศาลอุทธรณ์ Johnson ถูกตัดสินให้ไม่มีความผิดตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ศาล Texas จึงไม่มีอำนาจในการลงโทษ Johnson
  • ศาลสูงสุดของสหรัฐฯ คดีของ Johnson ถูกพิจารณาเป็น 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ การกระทำของ Johnson เป็นเสรีภาพในการแสดงออกตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้หรือไม่ และประเด็นที่สองคือ การเผาธงชาติซึ่งธงเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกคุ้มครองพิเศษ การกระทำนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

 การเผาธงชาติของ Johnson เป็นการกระทำที่ผิดจริงไหม

ตามที่ศาลได้พิจารณาคดีความของ Johnson จากทั้ง 2 ประเด็นสำคัญ ผลออกมาว่า กรณีการเผาธงชาติของ Johnson ไม่มีความผิด เพราะว่าการแสดงออกทางการเมืองไม่ใช่แค่การเขียน หรือการพูด แต่การแสดงออกทางเมืองสามารถใช้เป็นสัญญะ หรือที่เรียกว่าการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ “Symbolic expression” นั่นเอง ถึงแม้ว่าธงชาติสหรัฐอเมริกาจะอยู่ในสถานะพิเศษ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติ แต่กรณีของ Johnson ที่เผาธงชาติเพื่อแสดงออกทางการเมืองในการต่อต้านนโยบายของรัฐนั้นถือว่าไม่มีความผิดและได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ

 คดีความ Texas v. Johnson นับว่าเป็นคดีกรณีศึกษาสำหรับการพิจารณาคดีความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกของสหรัฐอเมริกาเลยก็ว่าได้ เป็นยังไงกันบ้างคะ น้อง ๆ คิดว่าการเผาธงชาติที่แสดงออกทางการเมืองควรได้รับการลงโทษหรือไม่ แต่จากคดีความ Texas v. Johnson ก็ทำให้เห็นว่าการตัดสินเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา ค่อนข้างให้ความสำคัญในเรื่องเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนโดยแท้จริงเลย 

น้อง ๆ เด็ก GED พร้อมหรือยังกับการจบม.6 ได้ใน 1 เดือน น้อง ๆ อาจจะตกใจ แต่การติว GED ที่ The Planner จะทำให้น้อง ๆ จบม.6 ได้ใน 1 เดือนจริง ๆ ค่ะ เพียงแอดไลน์ @theplanner เพื่อสมัครติว GED

สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | IELTS | ACT | GSAT | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing

ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Line: @theplanner หรือ Phone: 095-726-2666

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply