รวมรายชื่อโรงเรียนนานาชาติในไทย ที่เปิดสอนหลักสูตร IGCSE

คุณพ่อคุณแม่หลายคนหรือน้องๆ เอง อาจจะกำลังมองหาโรงเรียนนานาชาติเพื่อเข้าเรียนในโปรแกรมการเรียนการสอนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่หากวางแผนมองการณ์ไกลไปอีกขั้น หลักสูตรที่จะเข้าเรียนนั้นก็สำคัญต่ออนาคตมากเลยทีเดียว หนึ่งในหลักสูตรที่ทุกคนกำลังมองหาอยู่นั้นก็คือ The International General Certificate of Secondary Education หรือเรียกสั้นๆ ว่าหลักสูตร IGCSE เป็นหลักสูตรและแบบทดสอบระดับโลกสำหรับนักเรียนอายุ 14-16 ปี ไม่ใช่เพียงยอมรับในการเข้าศึกต่อระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการสมัครงานของเราอีกด้วย หลักสูตร IGCSE จะมีวิชาให้น้องๆ เลือกเรียนแบบวาไรตี้มากๆ ซึ่งช่วยให้น้องๆ วางแผนการเรียนต่อและประกอบอาชีพในอนาคตได้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นเลือกวิชาเรียน Cambridge IGCSE เลย ถ้าหากเราตัดสินใจแล้วว่าจะเข้าเรียนหลักสูตร IGCSE แต่เริ่มมีคำถามว่าจะเรียน IGCSE ที่ไหนดี? เรารวบรวมรายชื่อของโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยที่มีหลักสูตร IGCSE มาให้ดูกันแล้วค่ะ เราจะเห็นว่าโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรให้เรียน IGCSE มีมากกว่าสี่สิบโรงเรียนทั่วประเทศเลย มีครบทุกภาคเลยก็ว่าได้ น้องๆ และคุณพ่อคุณแม่อาจพิจารณาโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IGCSE จากวิชาที่เปิดสอน ค่าเล่าเรียน สถานที่ตั้งของโรงเรียนที่ปลอดภัยและสะดวกต่อการเดินทาง อ้างอิงจาก Which School Advisor หากน้องๆ รู้ใจตัวเองและวางแผนวิชาเรียน IGCSE[…]

เคล็ดลับเลือกวิชาเรียนใน IGCSE ให้ปัง!

หลักสูตร The International General Certificate of Secondary Education (IGCSE) ถูกพัฒนาระบบการเรียนโดย The University of Cambridge International Examination อย่างที่ทราบกันว่า IGCSE เป็นหลักสูตรการเรียนที่ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ ไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักฐานในการแสดงความรู้ความสามารถเมื่อต้องสมัครงานด้วยค่ะ หลักสูตรโดดเด่นระดับโลกขนาดนี้ ก็ต้องมีตัวเลือกวิชาให้น้องๆ ที่กำลังวางแผนเรียน IGCSE ได้เลือกสรรกันมากเป็นพิเศษ ระดับที่เรียกได้ว่ามากจนตาลาย หลายคนก็ถึงกับปวดหัวว่า IGCSE subjects เยอะขนาดนี้ จะลงวิชาอะไรดีเนี่ย! มาค่ะ! เราจะแนะนำเคล็ด(ไม่)ลับที่จะทำให้น้องๆ เลือกเรียน IGCSE ได้ถูกวิชา ถูกใจตัวเองและยังดีต่ออนาคตข้างหน้าด้วย IGCSE มีความหลากหลายของวิชาอย่างที่เราเห็นกัน จะแยกเป็นกลุ่มหลักใหญ่ๆ ได้แก่ English language and literature, Mathematics, Sciences, Humanities and social sciences, Languages และ Creative[…]

ไขข้อข้องใจ ต่างกันอย่างไร? GED vs IGCSE

เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ระหว่าง GED และ IGCSE ที่พ่วงมาด้วย A-Level ว่ามีข้อแตกต่างกันอย่างไร The Planner Education สถาบันติวสอบเข้าอินเตอร์หรือศึกษาต่อต่างประเทศ จึงมารวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ให้น้องๆ ที่ยังอยู่ระดับมัธยมต้น, ปลาย รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ที่กำลังหาข้อมูลแล้วเกิดความสับสน สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความนี้ค่ะ ??‍♀️ GED – General Educational Development ข้อสอบ GED คือข้อสอบเทียบวุฒิม.ปลาย ซึ่งเป็นหลักสูตรของอเมริกาและแคนาดาโดยตรง เท่ากับว่ามหาวิทยาลัยในอเมริกาและแคนาดากว่า 97% สามารถใช้ GED สมัครเข้าเรียนได้ค่ะ นอกจากสองประเทศนี้ยังยื่นเข้าหลายมหาวิทยาลัยใน #ทีมออสเตรเลีย #ทีมนิวซีแลนด์  โดย GED สอบได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี แต่ต้องมี consent form จากผู้ปกครอง ถ้าสอบตอน 18 ปีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ค่า โดยน้องๆ สามารถเช็คประเทศและรายชื่อมหาวิทยาลัยที่รับ GED ได้จาก https://ged.com/en/university-acceptance/[…]

นักทดลองเข้าห้องแล็บ มาทางนี้ รวมคณะอินเตอร์สายวิทยาศาสตร์

เดินทางมาถึงคณะอินเตอร์สายวิทยาศาสตร์ที่น้องๆ รอคอย คณะในสายวิทยาศาสตร์แยกเป็นความเฉพาะทางอีกหลากหลาย ที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น สายเคมี สายชีวภาพ สายฟิสิกส์ สายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งน้องๆ ที่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ การค้นพบอะไรใหม่ๆ รักการเรียนภาคทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ ห้ามพลาดบทความนี้เด็ดขาด เพราะเราได้รวบรวมทางเลือกคณะสายวิทยาศาสตร์ภาคอินเตอร์ 5 คณะ จาก 3 มหาวิทยาลัยสุดปัง! ได้แก่ ?BSAC, BBTECH จุฬาฯ ?Bachelor of Science วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล ?Bioscience and Technology, Integrated Chemistry เกษตรศาสตร์ การเรียนการสอนทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติของคณะสายวิทยาศาสตร์ ในระดับอินเตอร์ จะผลักดันให้น้องๆ ได้มีโอกาสในอาชีพที่กว้างมากขึ้น สามารถประกอบอาชีพ เช่น นักวิจัย, นักพัฒนาผลิตภัณฑ์, นักสิ่งแวดล้อม, งาน QA / QC ฯลฯ โดยสามารถทำงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในระดับประเทศหรือระดับโลก  BSAC : Bachelor[…]

อัปเดตเกณฑ์เทียบวุฒิ ม.ปลาย ปี 64 คะแนนเท่าไหร่? ยื่นมหาวิทยาลัยได้

ทางเลือกของการศึกษาไม่ได้อยู่แค่ในโรงเรียนเท่านั้น เพราะน้องๆ สามารถใข้การเทียบวุฒิการศึกษา หรือการสอบเทียบชั้นมัธยมปลาย เพื่อนำวุฒิการศึกษาไปยื่นเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องเป็นเกณฑ์ที่ได้รับการรองรับจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยวุฒิที่น้องๆ นิยมใช้ยื่นได้แก่ GED หรือ General Educational Development การสอบเทียบวุฒิระบบอเมริกัน, IGCSE และ A-Level ระบบอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติ IB หรือ International Baccalaureate สามารถยื่นเทียบวุฒิได้ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน ข้อดีของการสอบเทียบวุฒิ– กระชับเวลามากกว่าการศึกษาในโรงเรียน– วิชาเรียนน้อยกว่า เหมาะกับน้องที่มีเป้าหมายชัดเจน– วางแผนการเรียนได้เป็นสัดเป็นส่วน– ยื่นคะแนนเข้าภาคอินเตอร์ มาส่องเกณฑ์การเทียบวุฒิมัธยมปลาย อัปเดทของปี 64 จากมหาวิทยาลัยรัฐฯ ที่น้องๆ  มักจะถามถึงบ่อยๆ ทั้งของ GED, IGCSE และ A-Level ระบบอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติ IB ไปพร้อมๆ กัน* ทั้งนี้ในการยื่นคะแนนแต่ละครั้ง ขอให้น้องๆ เช็คเกณฑ์การเทียบวุฒิจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรง เพราะในแต่ละปีมักจะมีการเปลี่ยนแปลงค่ะ   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบบอเมริกัน– สมัครสอบ GED ตั้งแต่[…]

เทียบหลักสูตรอินเตอร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์

เทียบหลักสูตรนานาชาติของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งวันนี้เราได้หยิบยกภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมโดยตรงจาก 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความแตกต่างกันออกไปในสาขาวิชา เป้าหมายการเรียนและการประกอบอาชีพ จะมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร ศึกษาเบื้องต้นได้จากบทความนี้เลย นอกจากหลักสูตรอินเตอร์ของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ยังมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ โดยบางหลักสูตรนั้นสังกัดอยู่ในคณะสถาปัตฯ เช่นกัน โดยเราจะรวบรวมมาให้อ่านในอีกบทความค่ะ   International Program in Design and Architecture (INDA)การออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ  หลักสูตร : การออกแบบและสถาปัตยกรรม หลักสูตร 4 ปี สังกัดอยู่ใน Faculty of Architecture หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้นิสิตที่จะศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมถึงเป็นการสร้างองค์ความรู้ระดับอินเตอร์เพื่อเปิดโอกาสในการทำงานได้กว้างขึ้น นิสิตจะไม่ได้เรียนแค่การออกแบบสถาปัตยกรรม แต่ยังได้เรียนรู้โครงสร้าง, Landscape Architecture และ Urban Design โดยจะได้เรียนกับอาจารย์ต่างชาติมากมาย และหลักสูตรยังมีทริปและการเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ[…]

หลักสูตรอินเตอร์ด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศ จุฬา vs ธรรมศาสตร์ vs มหิดล

CommArts จุฬาฯ J.M. ธรรมศาสตร์ Com.Arts วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล สื่ออยู่รอบตัวเราในทุกๆ ที่ไม่ใช่แค่ในทีวีเท่านั้น ในปัจจุบันโลกถูกขับเคลื่อนด้วยสื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความรู้ความเข้าใจ, ความเชื่อ, มีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจ และทำให้ผู้คนในโลกขยับเข้าใกล้กันมากขึ้น จึงไม่แปลกใจเลยที่คณะทางด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศศาสตร์จะกลายเป็นคณะยอดนิยมของน้องๆ ยุคใหม่ เพราะเป็นสาขาวิชาที่มีการเรียนรู้อย่างก้าวไกล ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี อีกทั้งยังแตกสาขาวิชาออกไปอีกหลากหลาย ได้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จบนิเทศฯ, วารสารฯ อินเตอร์ ทำอาชีพอะไรดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดังมักจะจบจากคณะนิเทศฯ หรือวารสารฯ แต่อาชีพของบัณฑิตจากคณะเหล่านี้แตกไลน์ออกไปอย่างกว้างขวางมากๆ เช่น เบื้องหลังงานโปรดักชั่น, สื่อมวลชน, กองบรรณาธิการ, นักประชาสัมพันธ์, เอเจนซีโฆษณา ฯลฯ โดยหลักสูตรอินเตอร์ทางด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศฯ ของไทยได้รับการยอมรับฝีมือในสากล น้องๆ ภาคอินเตอร์ที่ได้เรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษยังมีโอกาสได้ทำงานกับบริษัทต่างชาติ, พาร์ทเนอร์ระดับอินเตอร์ หรือการทำงานในต่างประเทศ CommArts จุฬาฯ หลักสูตร : CommArts หรือ Bachelor of Arts (Communication Arts) International Program คือ นิเทศศาสตร์หลักสูตรอินเตอร์ คณะยอดนิยมของน้องๆ[…]

ข้อสอบ CU-AAT สอบวัดผลคณิต – อังกฤษ เข้าคณะอินเตอร์จุฬาฯ อัปเดตวันสอบปี 64!

คณะอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายของน้องๆ หลายคน เนื่องจากมาตราฐานของหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง และหลักสูตรที่หลากหลาย เหมาะกับความสนใจในวิชาชีพของเด็กๆ ในยุคปัจจุบัน โดยปัจจุบันมีหลักสูตรอินเตอร์ 17 หลักสูตร และเป็นอันดับต้นๆ ในหลากหลายสาขาระดับประเทศ อาทิ BBA การบัญชี, EBA เศรษฐศาสตร์, BALAC ภาษาและวัฒนธรรม, CommDe ออกแบบนิเทศศิลป์, INDA การออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึง SIE รวมหลักสูตรทางวิศวกรรม และยังมีอีกหลากหลายหลักสูตร (ดูข้อมูลได้ที่ : https://www.chula.ac.th/admissions/international-programs/) เกณฑ์การสมัครเข้าเรียนหากต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาฯ  น้องๆ ต้องมีวุฒิม.6 หรือวุฒิเทียบเท่าที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการ เช่น GED หรือ IGCSE และ A-Level ประกอบกับคะแนนที่ใช้วัดผลทางภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ โดยอาจใช้คะแนนสอบที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลอย่าง SAT, IELTS หรือการสอบ CU-AAT ซึ่งเปิดสอบโดยศูนย์ทดสอบทางวิชาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการสอบความถนัดทางวิชาการ เพื่อวัดผลทางภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ที่สามารถใช้ยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์ต่างๆ ของจุฬาฯ ได้ สอบ CU-AAT คือข้อสอบ[…]

รวมคณะเศรษฐศาสตร์อินเตอร์ 5 มหาวิทยาลัย TOP

หลักสูตรอินเตอร์ของคณะเศรษฐศาสตร์ จาก 5 มหาวิทยาลัยรัฐบาล EBA จุฬาฯ BE ธรรมศาสตร์ Business Economics วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล Econ. มศว BEcon และ EEBA เกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์เป็นการเรียนเชิงลึกเกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจ การเงิน ธุรกิจ ซึ่งในส่วนของภาคอินเตอร์น้องๆ จะได้เรียนรู้เรื่องดังกล่าวในระดับประเทศไปจนถึงระดับโลก ซึ่งเรื่องเศรษฐกิจโลกมีความเชื่อมโยงกันอยู่เสมอโดยเป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์ จบเศรษฐศาสตร์อินเตอร์ ทำอาชีพอะไร ?น้องๆ ที่เรียนในหลักสูตรอินเตอร์ จะได้เรียนทั้งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ พร้อมเสริมสร้างความแข็งแรงในการสื่อสารภาษาอังกฤษ มีโอกาสได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบาย ทำงานในสถาบันการเงิน หรือองค์กรระดับนานาชาติ พร้อมโอกาสทางอาชีพอีกมากมาย EBA จุฬาฯ หลักสูตร : EBA หรือชื่อเต็ม The Bachelor of Arts Program in Economics ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 สังกัดอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติที่โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับด้านมาตรฐานในระดับสากล ด้วยหลักสูตรที่เสริมความเชี่ยวชาญด้านทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์, เศรษฐกิจ,[…]

เรียน IGCSE ที่ไหนดี? เลือกสถาบันติวสอบอย่างไร ให้สอบผ่านได้ในครั้งเดียว!

IGCSE คือการสอบ 5 วิชาเพื่อผ่านระดับ ม.4 เมื่อประกอบกับการสอบ AS หรือ A-Level อีก 3 วิชา จะเทียบเท่ามัธยมปลาย และใช้ยื่นเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย ตามหลักสูตรของอังกฤษที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาฯ ดังนั้นการสอบ IGCSE ของน้องๆ ในระดับชั้น year 10 และ 11 (ช่วงอายุ 14-16 ปี) ถือเป็นช่วงสำคัญในการสร้างรากฐานที่แข็งแรง เพื่อเข้าสู่เป้าหมายมหาวิทยาลัยและเป้าหมายอาชีพในอนาคต ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ที่กำลังมองหาติวเตอร์ IGCSE ควรต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง? 5 เหตุผล ที่ต้องเรียน IGCSE กับ The Planner Education สถาบันติว IGCSE ที่ช่วยให้น้องๆ สอบผ่านได้ตั้งแต่รอบแรก ! 1.สถาบันรวมผู้เชี่ยวชาญการสอบ IGCSE             ผู้ก่อตั้งสถาบัน,ติวเตอร์ รวมถึงทีมสตาฟของ The Planner Education มีความรู้ความเข้าใจในระบบการสอบของ[…]

เรียน BBA อินเตอร์ที่ไหนดี? ข้อมูล BBA จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, มหิดล, เกษตรฯ, ลาดกระบัง

วุฒิปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) Bachelor of Business Administration หรือที่เรียกเป็นชื่อคณะสั้นๆ ว่า BBA นับเป็นคณะยอดนิยมของน้องๆ มัธยมที่ต้องการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจ ระดับมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาที่หลากหลาย เช่น Accounting, Management, Finance, Marketing ซึ่งปัจจุบันได้มีการเปิดการเรียนการสอน BBA หลักสูตรอินเตอร์ เพื่อรองรับการทำธุรกิจที่ก้าวหน้าและไร้พรมแดน เราได้รวบรวมข้อมูลหลักสูตร BBA อินเตอร์ยอดนิยมในมหาวิทยาลัยรัฐ ได้แก่ จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนานาชาติมหิดล, เกษตรศาสตร์ และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีข้อมูลอะไรที่น้องๆ ควรรู้ก่อนเลือกเรียน BBA ในสถาบันต่างๆ มาดูกัน 🙂 BBA จุฬาฯ หลักสูตร : Bachelor of Business Administration หรือ BBA เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีหลักสูตรแรกที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดอยู่ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Faculty of Commerce and[…]

รวมทุกข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับการสอบ IGCSE

น้องๆ ในระดับชั้นมัธยมหรือคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนด้านหลักสูตรการเรียนระดับชั้นมัธยมให้กับลูก ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการสอบ IGCSE เช่น IGCSE คืออะไร ต้องสอบกี่วิชา เกรด สนามสอบ ฯลฯ เรารวบรวมข้อมูลทุกข้อที่ควรรู้ เพื่อให้อ่านจบบทความเข้าใจได้ในทันที ไม่รอช้า มาเริ่มกันเลย IGCSE คืออะไร?IGCSE ย่อมาจาก International General Certificate of Secondary Education เป็นหลักสูตรของประเทศอังกฤษที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ใช้ระยะเวลาเรียน 2 ปี โดยเป็นหลักสูตรของนักเรียนอายุ 14 – 16 ปี ที่ต้องสอบให้ผ่านอย่างน้อย 5 วิชา ในช่วง year 10 และ 11 (ระดับชั้นปีของโรงเรียนอินเตอร์หลักสูตร UK) เพื่อศึกษาต่อในระดับ AS level, A level, Cambridge Pre-U หรือ IB diploma Programme (International[…]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ ทางเลือกเด็กยุคใหม่ จาก 9 มหาวิทยาลัยรัฐ

การเรียนการสอนหลักสูตรอินเตอร์ในระดับชั้นมหาวิทยาลัย เป็นทางเลือกยอดนิยมของน้องๆ รุ่นใหม่ ในช่วงที่ผ่านมามหาวิทยาลัยของภาครัฐจึงได้เปิดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรอินเตอร์อย่างแพร่หลาย เราได้คัด 9 มหาวิทยาลัยภาครัฐยอดนิยมของน้องๆ ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยเปิดสอนในหลักสูตรอะไรบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับน้องที่กำลังวางแผนเข้ามหาวิทยาลัยในภาคอินเตอร์ 1.หลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯEBA เศรษฐศาสตร์BSAC เคมีประยุกต์BBTech BiotechnologyINDA การออกแบบสถาปัตยกรรมCommDe การออกแบบนิเทศศิลป์COMMARTS การจัดการการสื่อสารBAScii นวัตกรรมบูรณาการBALAC ภาษาและวัฒนธรรมPGS การเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษาJIPP วิทยาศาสตร์จิตวิทยาBBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชี BBA การบัญชี BBA การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ISE (International school of Engineering) AERO วิศวกรรมอากาศยาน ICE วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร RAIE วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ADME วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ NANO วิศวกรรมนาโน   2.หลักสูตรอินเตอร์ ธรรมศาสตร์BBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชีBEC ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารBAS หลักสูตรอังกฤษและอเมริกันศึกษาBE เศรษฐศาสตร์BIR การเมืองและการระหว่างประเทศBJM วารสารศาสตร์BSI นวัตกรรมการบริการDBTM การจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยีISC วิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการSIIT[…]

ติว IGCSE Travel and Tourism เพื่อ A*

การติวสอบ IGCSE ที่ The Planner Education ไม่ใช่เป็นการสอนๆไปแล้วไม่ได้ประโยชน์ คุณครูจะเน้นการตอบคำถามในแต่ละข้อเพื่อให้ได้คะแนน และเรียนเข้มข้นในเนื้อหาเพื่อเจาะลึกข้อสอบ ก่อนอื่นจะติวเนื้อหาที่จำเป็นทั้งหมดและเรียนรู้วิธีการตอบคำถามในข้อสอบโดยคุณครูจะมีการสอนเทคนิคต่างๆ ที่สามารถใช้ได้จริงในวิชานั้นๆ IGCSE Travel and Tourism เป็นวิชาที่น่าเรียนรู้อย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้ที่สนใจในการท่องเที่ยวหรือชอบเดินทาง เนื้อหาของ IGCSE Travel and Tourism จะยังประกอบไปด้วยความรู้ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งหลักๆก็มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องเช่น การโรงแรม ธุรกิจการนำเที่ยว การเป็นไกด์นำเที่ยว ลักษณะของสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทั่วโลก ไม่เพียงแค่นั้นผู้เรียนยังจะได้เรียนรู้เรื่องการทำธุรกิจ เช่น การตลาด อีกด้วย หัวข้อที่จะต้องเรียนในวิชา IGCSE Travel and Tourism ประกอบไปด้วย 6 หัวข้อหลักๆได้แก่ Unit 1: The travel and tourism industry Unit 2: Features of worldwide destinations Unit 3: Customer[…]

อยากติว IGCSE ESL เริ่มตรงไหนดี เรียน IGCSE ESL พิชิตเกรดสวยๆ

ก่อนอื่นถ้าหากน้องๆคนไหนจะสอบ IGCSE ESL และหวังจะให้ได้เกรดดีๆ น้องๆควรจะศึกษาข้อมูลการสอบให้ดีก่อนเช่น จำนวน paper ที่เราต้องสอบ ระยะเวลาในการทำในแต่ละ paper แต่ละชุดมีคะแนนเท่าไหร่ กี่เปอร์เซนต์ และที่สำคัญที่สุดคือในข้อสอบIGCSE ESL มีเนื้อหาอะไรบ้างที่ออกสอบ หากน้องๆคนไหนศึกษาสิ่งเหล่านี้อย่างถี่ถ้วนแล้ว แสดงว่าน้องๆก็พร้อมแล้วในระดับนึง ส่วนน้องคนไหนที่เพิ่งเริ่มต้นหาข้อมูลการสอบIGCSE ESL หรือการเรียนIGCSE ESL ก็ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะพี่จะอธิบายสิ่งที่น้องๆควรจะรู้ก่อนติวIGCSE ESL หรือแม้กระทั่งก่อนสอบIGCSE ESLก็ตาม การสอบIGCSE ESLนั้น แบ่งออกเป็น2ระดับด้วยกันคือ Core Extended ไม่ว่าจะเป็นแบบ core หรือ extended ผู้สอบก็ต้องเจอข้อสอบทั้งหมด 3 papers ด้วยกัน ตามรูปภาพนี้เลย Source: http://www.cie.org.uk/images/164406-2016-syllabus.pdf น้องๆคนไหนที่สมัครสอบ IGCSE ESL ไว้แล้ว ให้เช็คดูวันสอบ Speaking ให้ดี โดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องสอบส่วน Speaking ก่อนวันสอบส่วนที่ต้องเขียนตอบ ปัญหาของน้องๆส่วนใหญ่ที่พบเจอใน IGCSE ESL คือ[…]