ยุคหลัง COVID-19 เรียนสายอาชีพอะไรแล้วรุ่ง แถมตลาดต้องการและงานที่มั่นคง

แม้ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 จะเริ่มคลี่คลายล  แต่คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การวางแผนด้านการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียน เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมาก เพราะการวางแผนการศึกษา เท่ากับเป็นการวางแผนให้กับอนาคตและช่วยการันตีว่าสิ่งที่น้อง ๆ กำลังจะเลือกเรียน จบไปจะไม่ตกงาน วันนี้ พี่ The Planner มีแนวทางสายอาชีพมาแนะนำให้กับน้อง ๆ 3 แนวทางอาชีพและตัวอย่างคณะ/สาขาอินเตอร์ที่เกี่ยวข้อง ที่มีแนวโน้มเติบโต และพัฒนาได้อีกยิ่ง ๆ ขึ้นไปหลังการก้าวผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคร้าย พร้อมแนวทางการเตรียมตัวให้ติดคณะอินเตอร์ในดวงใจมาให้อ่านกัน ไปดูพร้อมกันเลยจ้า สาย Computer และ ITหลังจากการเปลี่ยนแปลงการการทำงานเข้ามาสู่ระบบ Work from home มากขึ้น ในหลากหลายธุรกิจจึงให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี ระบบคอมพิวเตอร์และโครงข่ายในการอำนวยความสะดวกกิจการหรือองค์กรมากขึ้นเป็นเท่าตัว เกิดการจ้างงานและเพิ่มตำแหน่งที่เข้ามาช่วยดูแลระบบหลังบ้านมากขึ้น คณะและสาขาที่น่าสนใจ เช่น สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ), TU สาขาเทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Creative Technology), MUIC สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ), KMUTNB สาย Technology และ Engineeringเนื่องจากตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลง เน้นการใช้เทคโนโลยีและระบบหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรกลเข้ามามีส่วนช่วยในการผลิตแทนแรงงานคนมากขึ้น ดังนั้นอาชีพที่มีหน้าที่ผลิต ควบคุมดูแลและซ่อมบำรุงอุปกรณ์เหล่านี้จึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานสูง[…]

อยาก Rescore GED มีขั้นตอนยังไง

มหาวิทยาลัยที่รับวุฒิ GED บางแห่งอาจจะดูคะแนน GED แค่ผ่าน 145 ในแต่ละวิชาก็สามารถยื่นได้แล้ว แต่มหาวิทยาลัยรัฐที่เป็นที่นิยมของน้อง ๆ The Planner อย่างเช่น จุฬา ธรรมศาสตร์ มหิดล บางคณะจะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำเอาไว้สูงกว่าแค่ 145 คะแนน ซึ่งถ้าในกรณีที่น้อง ๆ สอบผ่านแล้ว แต่อยาก Rescore GED ให้ได้คะแนนที่สูงขึ้นตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการจะเข้า พี่ The Planner จะมาบอกให้ฟังว่าขั้นตอนการ Rescore GED ต้องทำยังไง ไปดูกันเลย สอบผ่านแล้วแต่อยาก Rescore GED ทำได้มั้ย?เกณฑ์คะแนน GED ในปัจจุบัน จะมีคะแนนเต็มวิชาละ 200 คะแนน นั่นคือคะแนนรวม 4 วิชา (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาอังกฤษ) ทั้งหมด 800 คะแนน น้อง ๆ จะต้องทำคะแนนไม่ต่ำกว่า[…]

Gap Year ค้นหาตัวเองหลังจบ ม.ปลาย ได้ไว ไม่ต้องรอ 3 ปี หลักสูตร GED สานฝันให้เป็นจริงได้

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมปลาย หรือระดับชั้นอื่น ๆ คงเป็นกัน คือไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร อยากทำงานอะไร และอะไรคือเป้าหมายสำคัญในชีวิต ในช่วงวัยรุ่นอย่างเรา มันยากที่จะหลีกหนีภาระทางการศึกษาภาคบังคับ และเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยเพื่อสานต่อความฝันในการทำงาน แต่มันจะดีกว่าไหม ถ้าเราเอาช่วงเวลารอยต่อระหว่างหลังจบ ม.6 และมหาวิทยาลัย ไปค้นหาตัวตนที่แท้จริงของเราเองได้ วันนี้พี่ เดอะ แพลนเนอร์ เอดดูเคชั่น ขอพาน้อง ๆ ทุกคนไปรู้จักกับการ “Gap Year” ช่วงเวลาดี ๆ ในชีวิตที่นักเรียนหลักสูตร GED สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ นิยมทำกัน จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย Gap Year คืออะไรGap year คือ ช่วงเวลาของปี ที่เป็นช่องว่าง “คั่นระหว่างการเป็นนักเรียน ม.ปลาย กับนักศึกษามหาวิทยาลัย” หรือพูดง่าย ๆ คือช่วงเวลา 3 เดือนถึง 1 ปีหลังจบการศึกษาสำหรับเด็ก ม.6 ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง[…]

2023 ธรรมศาสตร์ยกเลิกอินเตอร์หลักสูตรไหนบ้าง ?

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าเปิดหลักสูตรนานาชาติมานาน และมีหลักสูตรนานาชาติหลายหลักสูตร แต่ละหลักสูตรมีความหลากหลาย อีกทั้งยังเรียกได้ว่ามีการเปิดตัวหลักสูตรใหม่งอกเพิ่มแทบทุกปีเลยก็ว่าได้ ทว่าบางหลักสูตรนานาชาติของธรรมศาสตร์ก็มีการปิดตัวลงไปบ้าง น้อง ๆ รู้กันไหมคะว่ามีหลักสูตรไหนปิดตัวกันไปบ้าง หนึ่งในหลักสูตรนั้นมีหลักสูตรที่น้อง ๆ สนใจกันอยู่ไหม เรามาอัปเดตกันหน่อยดีกว่าค่ะ ว่า ตอนนี้หลักสูตรนานาชาติของธรรมศาสตร์หลักสูตรไหนปิดไปแล้วบ้าง หลักสูตร PBIC วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงศ์ สาขาวิชาอินเดียศึกษา วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมและการจัดการ (นานาชาติ) วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (นานาชาติ) วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (นานาชาติ) แม้ว่า 4 หลักสูตรนี้จะปิดตัวลงไปแล้ว แต่น้อง ๆ อย่าพึ่งเสียใจกันไปเลยนะคะ เพราะยังมีหลักสูตรนานาชาติอีกหลายหลักสูตรของธรรมศาสตร์ให้น้อง ๆ ได้เลือกเรียนเลย อย่าง PBIC วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงศ์ ที่ยกเลิกสาขาวิชาอินเดียศึกษาไปแล้ว แต่สาขาจีนศึกษาและไทยศึกษาก็ยังคงเปิดสอนอยู่ PBIC จึงเป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่น่าสนใจเลยค่ะ หลักสูตรนี้เรียกได้ว่าเป็นหลักสูตรที่เอาใจคอสังคมที่ชอบทุกศาสตร์เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะภูมิศาสตร์ การเมืองการปกครอง รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือนิติศาสตร์ ใน PBIC มีครบ น้อง[…]

สัตวแพทย์และสัตวศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร? ใครอยากเรียนต่อ 2 คณะนี้ห้ามจำสับสน

น้อง ๆ คนไหนเป็นคนรักสัตว์ ชื่นชอบการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ และมีแผนที่จะเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในด้านนี้ ต้องรีบอ่านบล็อกนี้เลย รู้กันหรือไม่? คณะสัตวแพทยศาสตร์และสาขาสัตวศาสตร์ “ไม่เหมือนกัน” และทำหน้าที่ในอาชีพแตกต่างกันอีกด้วยนะ สงสัยกันแล้วใช่ไหมว่า 2 คณะนี้หรือ 2 อาชีพนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร พี่ The Planner Education สถาบันติวเข้าคณะอินเตอร์ จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ ทำงานเกี่ยวกับ “สัตว์” เหมือนกัน แต่เป้าหมายต่างกันอย่างที่เราทราบกันดีว่า เมื่อสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราป่วยหรือไม่สบาย สิ่งแรกที่เราคำนึงถึงนั่นคือ “สัตวแพทย์” ที่อยู่ประจำคลินิกรักษาสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่โดยตรงของสัตวแพทย์ หรือ Veterinarian คือ ดูแลเกี่ยวข้องกับสุขภาพของสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ทั่วไป การวินิจฉัยโรค การป้องกัน การรักษาโรคจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ทั่วไป บำบัดรักษาโรคสัตว์โดยการใช้ยา เป็นผู้ผ่าตัด หรือใช้รังสีในการรักษา ป้องกันโรคระบาดจากสัตว์ไม่ให้แพร่กระจายมาสู่ทั้งสัตว์และคน ดังนั้น กล่าวได้ง่าย ๆ เลยคือ ผู้ที่เรียนจบจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ และประกอบอาชีพด้านสัตวแพทย์ จะทำหน้าที่ “ดูแลรักษาสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงและวินิจฉัยโรคสัตว์ทั่วไป” ที่ไม่ใช่เพื่อการปศุสัตว์ หรือการใช้เพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกัน[…]

ชวนมารู้จัก BSTA สาขาเกษตรเขตร้อน นานาชาติ มก. สาขาอนาคตไกล ตอบโจทย์คนหัวใจรักการเกษตร

ทุกคนเคยได้ยินชื่อ “สาขาเกษตรเขตร้อน นานาชาติ” ม.เกษตรศาสตร์ กันหรือไม่? บางส่วนคงเคยได้ยินและรู้จักกันแล้ว แต่ยังคงมีน้อง ๆ อีกหลายคนที่ยังสงสัยกันอยู่ว่าคณะนี้ มีที่มาอย่างไรแล้วเขาเรียนอะไรกัน วันนี้ พี่ The Planner Education สถาบันติวสอบเข้าคณะอินเตอร์ จะขอเปิดประตูรถ ต้อนรับน้อง ๆ ทุกคนไปทัวร์และทำความรู้จักกับสาขาเกษตรอินเตอร์นี้กันแบบเข้าเส้น ทุกแง่ทุกมุม แบบอ่านแล้วอ๋อทันที สาขานี้จะมีอะไรให้น่าสนใจกันบ้าง ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยจ้า  เกษตรเขตร้อน นานาชาติ เรียนเกี่ยวกับอะไร? หลักสูตรเกษตรเขตร้อน (นานาชาติ) Bachelor of Science Program in Tropical Agriculture (International Program) หลักสูตร 4 ปี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า BSTA เป็นหลักสูตรอินเตอร์ โครงการพิเศษของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เน้นศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจและการเกษตร โดยเฉพาะด้านการเกษตรในภูมิภาคเขตร้อน หลักสูตรนี้ มีระบบการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร[…]

วิศวะ INTER หลักสูตรใหม่ของ TSE TU

หากน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่อยากเรียนวิศวกรรม หลักสูตรนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พอรู้กันใช่ไหมคะว่าต้องเตรียมตัวยังไง เตรียมติววิชาไหนบ้าง น้อง ๆ ต้องเตรียมคะแนนจากผลทดสอบภาษาอังกฤษ โดยการติวIELTS หรือติวTOEFL หรือติวTU-GET และต้องเตรียมคะแนนผลทดสอบอื่นเพิ่มเติม  โดยการติวSAT หรือติวACT หรือติวGED หรือติวA-Level นั่นเองค่ะ และเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา TSE หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า Thammasat School of Engineering ได้ประกาศข่าวดีในโอกาสครบรอบ 33 ปี คือ การเปิดตัวหลักสูตรใหม่ “วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ” ซึ่งหลักสูตรนี้จะเปิดสอนในปีการศึกษา 2566 4 หลักสูตรใหม่ของวิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการภายใต้แนวคิด TEP-TEPE : The Next Concept of Engineering Education ปฐมบทใหม่ของการเรียนวิศวกรรมเชิงบูรณาการ จุดเริ่มต้นยุคใหม่ของการเรียนด้านวิศวกรรม เพื่อผลิตวิศวกรที่ตอบโจทย์โลกยุคปัจจุบัน การพัฒนาประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการต่อยอดเพื่อเป็นผู้ประกอบการที่มีทักษะรอบด้าน[…]

ทำ Portfolio แบบนี้ ใคร ๆ ก็อยากรับเข้าไปเรียน!

สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในรอบยื่น Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน) อาจจะต้องมีความมั่นใจสักหน่อยว่าตัวเองเคยทำกิจกรรมมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการประกวด เข้าค่ายอัพสกิลความรู้ หรือว่าทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่น เช่น ไปสอนหนังสือเด็กเล็ก ซึ่งถ้าน้อง ๆ มีผลงานที่ดึงดูดใจกรรมการหรือว่าอาจารย์ที่สัมภาษณ์เรา ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการติดมหาวิทยาลับมากขึ้น ซึ่งถ้าน้อง ๆ มีผลงานที่โดดเด่นแล้ว การนำเสนอออกมาในรูปแบบของ Portfolio ก็ต้องทำให้ดีด้วย เพื่อที่จะได้เป็นที่ประทับใจมากยิ่งขึ้นไปอีก วันนี้พี่ ๆ The Planner จะมาบอกให้ฟังว่าทำ Portfolio ยังไงให้ปัง มหา’ลัยไหน ๆ ก็อยากรับเข้าไปเรียน! ควรทำอย่างไร และควรเลี่ยงอะไร ลองไปอ่านกันดูเลย สิ่งที่ขาดไม่ได้ใน Portfolio เลยก็คือ:  ชื่อ-นามสกุล คณะที่อยากเข้า ประวัติการศึกษา เหตุผลที่อยากเข้าคณะที่เลือก ผลงานที่ผ่านมา กิจกรรมที่เคยร่วม สิ่งที่ควรทำเวลาสร้าง Portfolio ให้น่าสนใจ เตะตากรรมการหรืออาจารย์  สะกดคำให้ถูกต้องเวลาที่เราพิมพ์ข้อความลงไปใน Portfolio ควรจะต้องอ่านเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีก 2 รอบเป็นอย่างน้อย เพื่อเช็คคำผิด หรือประโยคไหนที่น้อง[…]

สอบเทียบ GED ยื่นคณะหลักสูตรไทยได้ไหม

การเรียนGEDเพื่อสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่6ในไทย สามารถยื่นเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในคณะหลักสูตรไทยได้หรือไม่ คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตของน้อง ๆ ที่กำลังจะเรียนGED หรือเรียนGEDอยู่เลยค่ะ อย่างที่เคยทราบข่าวกันไปว่ามีการยกเลิกการสอบเทียบของระบบไทยไปแล้ว แต่การสอบเทียบGEDยังมีอยู่นะคะ และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (Council of University Presidents of Thailand) หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ ทปอ. ก็ลงไว้ในเว็บ TCAS เรื่องคุณสมบัติในการเทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่6 เรื่องการใช้วุฒิจาการสอบ GED โดยกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของแต่ละวิชาที่สอบ GED ไว้ว่าห้ามต่ำกว่า 145 คะแนน หรือเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยและคณะจะกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำเองค่ะ GED คือ การสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาในระบบอเมริกัน (US High School Equivalency Diploma) จัดสอบโดย American Council on Education ซึ่งวุฒิ GED เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเองก็เช่นกัน การเทียบวุฒิGEDยังคงเป็นที่ยอมรับในการใช้เทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่6 เพื่อใช้เรียนต่อระดับอุดมศึกษาในไทยทั้งหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติก็สามารถใช้วุฒินี้เทียบได้ ในบทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับคณะหลักสูตรไทยจาก 6 มหาวิทยาลัยที่รับเด็ก GED โดยข้อมูลอ้างอิงมาจากปี 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[…]

IELTS 5.0 เปลี่ยนความชอบดูคอนเสิร์ตมาเป็นอาชีพได้

น้อง ๆ รู้กันไหมคะว่าการติวIELTS ให้ได้คะแนนถึง 5.0 จะช่วยสานฝันของน้องให้เป็นจริงได้หลายความฝันเลย หนึ่งในความฝันนั้นมาจาก “ความชอบดูคอนเสิร์ต” นั่นเอง คนไทยกับความบันเทิงเป็นของคู่กัน คนไทยกับคอนเสิร์ตก็เช่นกัน แม้โควิดจะพรากสิ่งนี้ไปถึง 2ปี แต่ตอนนี้เตรียมตัวให้พร้อม เพราะ”คอนเสิร์ตที่ทุกคนคิดถึง จะกลับมาบุกประเทศไทยอีกครั้ง” วันนี้เลยอยากพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย หลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขอแอบกระซิบว่าหากน้องอยากเข้าคณะนี้อย่าลืมติวIELTSให้คะแนนถึง5.0กันนะคะ ชีวิตกันเรียนของน้อง ๆ ตลอด 4 ปี ในสาขาวิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย หลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ น้องต้องเผชิญกับการเรียนที่ผสมผสานระหว่างวิศวกรรมเครื่องกลกับวิศวกรรมไฟฟ้า น้อง ๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐานของคณะและมหาวิทยาลัย ระบบเสียง การออกแบบเวที การดูการแสดงสด บันทึก-ประมูลภาพทางโทรทัศน์ วิทยุ ได้ลองทำเครื่องดนตรี ตลอดจนเรื่องความปลอดภัยในการวางแผนอพยพคน หากเกิดเหตุฉุกเฉินระหว่างคอนเสิร์ต และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือ น้องจะเรียนที่ไทย 2ปี และอีก2ปี จะได้ไปเรียนที่จมูกแห่งดนตรี มหาวิทยาลัยที่มีชื่อก้องระดับโลกด้านดนตรีอย่าง De Montfort University ของประเทศอังกฤษอีกด้วยค่ะ คะแนนที่ใช้ในการสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย แน่นอนว่าขึ้นชื่อว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติ อีกทั้งยังได้ไปเรียนที่ต่างประเทศอีก[…]

How to Increase Your Chance of Being Enrolled into an International University

Undeniably, international colleges are giving the best educational systems that you dream for. They use the same educational systems as the first world countries, so you can literally expect the best result when you graduate. After discussing with our specialised tutors and university counsellors at The Planner Education, we have come to these tips to[…]

Let’s talk about CommArts CU

Communication is among the most important things between each era’s major worldwide shifts. The ability to communicate opens up channels for world peace and harmony. Due in part to this, the Faculty of Communication Arts is one of the most well-liked among Thai students. This article will inform everyone in the Faculty of Communication Arts[…]

THAMMASAT INTER READY

Many Thai high school students have Thammasat University as one of their top choice universities. Long history and a well-known university. And the achievements of numerous graduates. What about you? Would you be interested in enrolling at Thammasat University? In this article, I’ll outline the minimum score requirements for entry into Thammasat University’s Faculty of[…]

GED Social Studies ไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด

หลายคนแค่ได้ยินคำว่า GED Social Studies ก็ส่ายหน้า รู้สึกน่าเบื่อแล้ว เพราะเนื้อหามันทั้งเยอะ ทั้งกว้าง ทั้งยาก ต้องท่องจำอะไรก็ไม่รู้เยอะแยะไปหมดเลย วันนี้เลยจะพาน้อง ๆ มาพลิกมุมมองให้เห็นอีกด้านของวิชานี้ว่าจริง ๆ แล้วมันไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิดเลยค่ะ ข้อสอบ GED Social Studies ออกเนื้อหาครอบคลุมทั้งหมด 4 หมวด โดยเน้นที่หมวด Civics and Government กว่าครึ่งของข้อสอบส่วนนี้เลย เรียกได้ว่าหากน้อง ๆ อยากสอบผ่านวิชานี้ควรเก็บหมวดนี้ที่สุด หากทำข้อสอบหมวดนี้ได้เยอะก็การันตีได้แล้วว่าวิชา GED Social Studies น้องจะได้รับคะแนนผ่านครึ่ง ส่วนหมวดอื่น ๆ อีก 50% จะมีสัดส่วนข้อสอบดังนี้ U.S. History (20%) Economics (15%) และ Geography and the World (15%) พอเห็นแต่ละหมวดที่กล่าวมาแล้ว เริ่มมองภาพรวมของข้อสอบ GED Social[...]

อยากเป็นศิลปิน ควรเรียน GED หรือ IGCSE/A-Level

ในปัจจุบันสังคมเปิดกว้างให้กับความหลากหลายมากยิ่งขึ้น การเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่การศึกษาในรูปแบบวิชาการแบบสายสังคมศาสตร์หรือสายวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีหลายคณะและหลายมหาวิทยาลัย เปิดกว้างให้พื้นที่ของความฝันน้องๆ ได้เรียนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเป็นศิลปิน ตลอดจนฝึกฝนให้เป็นศิลปินอาชีพ ดังนั้นสำหรับคนที่กำลังสนใจอยากเป็นศิลปิน อาจมีข้อสงสัยกันว่าควรเลือกเรียนและสอบ GED หรือ IGCSE/A-Level ดี วันนี้ The Planner Education มีคำตอบ  อาชีพศิลปินเป็นคำกว้างๆ ที่มีอาชีพหลากหลายแตกแขนงไปอีกมากมาย ยกตัวอย่างอาชีพที่เป็นที่นิยมเช่น นักร้อง นักดนตรี นักแสดง จิตกร ประติมากร ฯลฯ ซึ่งอาชีพที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแล้วแต่ใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน รวมไปถึงทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมาก อย่างการสื่อสาร เพราะตัวศิลปินคือผู้สร้างงานศิลปะที่ต้องสื่อสารเรื่องราวให้ผู้ชมเข้าใจ ดังนั้นการตัดสินใจว่าจะเรียน GED หรือ IGCSE/A-Level จึงต้องขึ้นอยู่กับว่าหลักสูตรไหนให้ทักษะทางด้านนี้ได้ดีกว่ากัน  ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการเรียนการสอบ GED เป็นหลักสูตรที่ต้องเรียนและสอบ 4 วิชาดังนี้ Reasoning through Language Arts (RLA), Social Studies (สังคม), Science (วิทยาศาสตร์) และ Mathematical Reasoning (คณิตศาสตร์)[…]

เรียน Homeschool ควรสอบเทียบ GED ไหม? The Planner มีคำตอบ!

หลายๆ คนที่สนใจการสอบเทียบน่าจะเคยได้ยินชื่อการติว GED, การสอบเทียบ GED หรือคอร์สเรียน GED กันมาบ้าง ซึ่งชื่อเต็มๆ ของหลักสูตรนี้ก็คือ…. เช่นเดียวกับคนที่สนใจการเรียน หรือกำลังเรียนแบบ Homeschool ซึ่งมักจะมีคำถามว่าเมื่อเรียน Homeschool แล้ว ควรติว GED และสอบเทียบ GED ด้วยหรือไม่ วันนี้ The Planner จะมาอธิบายให้เข้าใจกัน การเรียน Homeschool มีให้เริ่มเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ไปจนถึงชั้นมัธยมปลาย โดยจะมีรูปแบบการเรียน Homeschool อยู่ 4 แบบด้วยกัน คือ 1. จดทะเบียนกับเขตพื้นที่การศึกษา 2. จัดการศึกษาแบบ Umbrella School  3. ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรต่างประเทศ 4. เรียนกับสถาบันการศึกษาทางไกล โดยในแต่ละแบบก็จะมีข้อดีที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ที่เรียนแบบ Homeschool จนถึงชั้นมัธยมต้นแล้ว และกำลังคิดจะต่อชั้นมัธยมปลาย และการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะหลักสูตรนานาชาติ หรือการเรียนต่อต่างประเทศ การเรียนแบบ Homeschool[…]