แนะนำวิธีทำข้อสอบ SAT Reading เมื่อเจอโจทย์ “ทดสอบคำศัพท์” ได้ผลจริง!

ในการทำข้อสอบ SAT Reading คำถามปราบเซียนที่น้องๆ หลายคนมักโอดครวญ คือ คำถามประเภทวัดความหมายของคำศัพท์ เพราะไม่ว่าเราจะพยายามจำศัพท์เข้าไปแค่ไหน แต่เอาเข้าจริงๆ เวลาอยู่ในห้องสอบ SAT เราก็ยังคงเจอและประหลาดใจกับคำศัพท์หลายคำที่เราไม่รู้เสมอ

ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว หลายคนที่กำลังติว SAT กันอยู่ ก็คงเริ่มตั้งคำถามว่าจะยังนั่งท่องศัพท์ SAT ในส่วนของ Synonym กันต่อไปอีกทำไม ในเมื่อท่องเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอสำหรับการอ่านบทความในข้อสอบ SAT Reading

ใจเย็นกันก่อน… ถึงแม้ว่าเราอาจยังเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้ในข้อสอบ SAT Reading อยู่ตลอดเวลา แต่ก็อยากให้น้องทุกคนยังมีความหวัง และเห็นประโยชน์ของการท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยรู้ไว้ในหัวก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย อีกอย่างการมีคลังศัพท์ที่เยอะก็ช่วยให้เราเตรียมพร้อมทำความเข้าใจบริบทในสถานการณ์ที่หลากหลาย ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อทำข้อสอบ SAT Reading เท่านั้น

ข้อสอบ SAT มักจะทดสอบคำศัพท์ 2 รูปแบบ

  1. ทดสอบ “คำศัพท์ยาก” ที่คิดว่าคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ (Hard Words) อย่างเช่น agitation (ความยุ่งยาก), abnegation(การละทิ้ง) หรือ gratuitous (ฟรีหรือให้เปล่า) ซึ่งจะเห็นว่าคำศัพท์ยากเหล่านี้ที่จะเจอในข้อสอบ SAT เหล่านี้ไม่ได้ถูกใช้ในชีวิตประจำวัน หรือก็มีโอกาสน้อยมากที่จะเจอ
  2. ทดสอบ “คำที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย แต่ถามความหมายที่สอง” ของคำเหล่านั้นที่ไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวัน (Words with Uncommon Second Meanings) เช่น ปกติส่วนใหญ่เราจะเข้าใจว่า Compromise แปลว่า “ประนีประนอม” แต่ที่จริงคำนี้ยังมีความหมายที่คนไม่ค่อยรู้ แปลว่า “เป็นอันตราย หรือ เป็นภัย”

แต่ไม่ว่าคำถามในข้อสอบ SAT จะทดสอบคำศัพท์รูปแบบไหน เทคนิคการทำข้อสอบ SAT คือ ทุกคนต้องดูและทำความเข้าใจบริบท (Context) เพราะบริบทจะเป็นตัวกำหนดความหมายของคำศัพท์นั้น

วิธีการทำโจทย์ที่ทดสอบคำศัพท์

  1. แปลความหมายของคำในโจทย์ SAT หรือแทนที่คำศัพท์ในโจทย์ SAT ด้วยคำพูดของเราเอง จากนั้นค่อยไปดูตัวเลือกที่ความหมายเข้ากับคำที่เราคิด (แต่ระวังคำที่อาจมีสองความหมายเพราะเราอาจไม่รู้ความหมายที่สองทำให้ตัดตัวเลือกนี้ทิ้ง)
  2. แทนตัวเลือกแต่ละคำเข้าไปในโจทย์ SAT แล้วดูว่าตัวเลือกไหนเข้ากับบริบทมากที่สุด (เราจะสังเกตได้เลยว่าคำบางคำฟังแล้วแปลกและความหมายดูไม่เข้ากับบริบท)
  3. ตัด choice โดยดูจากความหมายแฝงของคำ ว่าเป็นบวก (positive) หรือเป็นลบ (negative) เพราะจะช่วยลดจำนวนตัวเลือกคำตอบในข้อสอบ SAT ลงได้ หลังจากนั้นค่อยนำคำที่เหลือไปแทนที่คำในประโยคเพื่อดูว่าคำไหนมีความหมายเข้ากับบริบทมากที่สุด

ห้ามลืมเด็ดขาดว่าเวลาที่เราอ่านประโยคในข้อสอบ SAT เพื่อทำความเข้าใจความหมายของคำจากบริบท เราจะต้องมีความรู้ในบทความให้ครอบคลุมเพียงพอเพื่อทำความเข้าใจบริบทได้อย่างสมบูรณ์

ดังนั้น ทุกคนห้ามอ่านเฉพาะประโยคที่โจทย์ในข้อสอบ SAT กำหนด แต่ควรจะอ่านประโยคด้านหน้าและด้านหลังประโยคของคำถามที่ข้อสอบ SAT ให้มาอย่างน้อย 1-2 บรรทัด เพื่อทำความเข้าใจบริบทให้ครอบคลุมได้จริงๆ นอกจากนี้ประโยคเหล่านั้นอาจมีคำที่มีความหมายเหมือน (Synonym) กับคำที่อยู่ในโจทย์ ซึ่งจะช่วยให้เราตอบคำถาม SAT ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามทุกคนควรจำไว้ว่า แต่ละคนมีวิธีการทำโจทย์ SAT ที่แตกต่างกันหรือบางครั้งเราอาจต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกันในการทำโจทย์ SAT ดังนั้นทุกคนต้องหมั่นฝึกฝนและนำวิธีที่แนะนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด

 หากกำลังมองหาว่าจะติว SAT ที่ไหนดี? หรือติว IELTS ควบคู่ไปพร้อมกัน
?คลิก! ดูข้อมูลคอร์ส SAT 80 ชั่วโมง ? https://bit.ly/3g2Ov96
?คลิก! ดูข้อมูลคอร์ส IELTS 60 ชั่วโมง ? https://bit.ly/3ipy1cX

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply