ไขข้อสงสัย Korematsu v. United States คืออะไร

GED Social Studies อีก 1 วิชาที่น้อง ๆ ค่อนข้างเป็นกังวลกันมาก เพราะน้อง ๆ คิดกันว่าต้องเอาแต่ท่องจำเนื้อหากว้าง ๆ เพื่อไปตอบในข้อสอบ แต่ผิดค่ะ น้อง ๆ เข้าใจผิดแล้ว วิชา GED Social Studies ไม่ใช่วิชาที่เน้นแต่การท่องจำเท่านั้น เพราะในตัวข้อสอบมีเนื้อหาเรื่องต่าง ๆ มาให้น้อง ๆ ได้วิเคราะห์ และบางทีก็มีคำตอบอยู่ในข้อสอบด้วยนะคะ ทว่าเนื้อหาบางเรื่องน้อง ๆ ควรจะรู้จักกันไว้บ้างสักนิด เพื่อความไม่งงในตอนทำข้อสอบจริง อย่าง Korematsu v. United States ชื่อฟังดูญี่ปุ่นมากเลยใช่ไหมคะ แล้วมันมาเกี่ยวข้องกับข้อสอบ GED ซึ่งเป็นข้อสอบของสหรัฐอเมริกาได้ยังไง พี่ The Planner จะมาเล่าให้ฟังค่ะ

ทำไม GED Social Studies ถึงไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด ตามไปอ่านได้ที่ GED Social Studies ไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด

 Korematsu v. United States คืออะไร

Korematsu v. United States เป็นอีกหนึ่งในเรื่องที่เคยออกในข้อสอบ GED Social Studies เป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นก็คือ คดีศาลที่สนับสนุนการกักขังชาวญี่ปุ่น – อเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น นั่นเองค่ะ

 เกิดอะไรขึ้นใน Korematsu v. United States

เมื่อ ค.ศ. 1942 ในช่วงที่มีการแจ้งเตือนการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้นายแฟรงคลิน เดลาโนรูสเวลต์ ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา หวาดกลัวจนออกคำสั่งผู้บริหาร 9066 ให้อำนาจกระทรวงกลาโหมในการย้ายคนที่มีเชื้อสายญี่ปุ่นให้ออกไปจากชายฝั่งแปซิฟิก โดยย้ายไปที่ “ค่ายย้ายที่สงคราม” ทว่ามีชายอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นคนหนึ่งชื่อว่า นายแฟรงค์ Korematsu พยายามจะหนีจึงถูกจับกุมและถูกตัดสินว่าผิด ตามคำสั่งผู้บริหาร 9066 แต่เขาได้ทำการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลเอาไว้

เมื่อ ค.ศ. 1944 ศาลฎีกาตัดสินคดี Korematsu v. United States อีกครั้ง ทว่าผลสรุปของคดีนี้ศาลฎีกาได้ตัดสินขัดแย้งกันมาก ศาลตัดสินด้วยคำตัดสิน 6 ต่อ 3 ว่ารัฐบาลกลางมีอำนาจจับกุมนายแฟรงค์ Korematsu ตามคำสั่งผู้บริหาร 9066 แต่กลับได้การตำหนิในคำตัดสินนี้จำนวนมาก จนในที่สุดคำตัดสินนี้ก็ถูกยกเลิกไปใน ค.ศ. 2018

เมื่อ ค.ศ. 1988 รัฐสภาคองเกรสและประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ลงนามในกฎหมายเพื่อขอโทษสำหรับการกักกันในนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ตัวกฎหมายนั้นกล่าวว่า พฤติกรรมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในตอนนั้น “อคติต่อเชื้อชาติ หวาดผวาสงคราม และล้มเหลวในภาวะผู้นำ” และได้ชดเชยเงินแก่ผู้เสียหายจากเหตุการณ์ครั้งนี้ไปกว่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

GED Social Studies จริง ๆ แล้วไม่ต้องท่องจำทั้งหมด เพียงรู้ทริค สามารถตามไปอ่านทริคได้ในบทความ 6 FACTS ABOUT GED SOCIAL STUDIES เตรียมตัวสอบผ่านที่นี่! และ สอบ GED Social Studies ให้ผ่าน ต้องรู้อะไรบ้าง?

Korematsu v. United States จากที่เล่ามาอาจฟังดูยาก น้อง ๆ ลองจำง่าย ๆ เลยค่ะว่า Korematsu คือภาษาญี่ปุ่น เรื่องต้องเกี่ยวกับญี่ปุ่นที่มีบางอย่างกับสหรัฐอเมริกาแน่ ๆ เลย หรือจำไปเลยว่า Korematsu คือการกักกันคนอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จริง ๆ แล้ววิชา GED Social Studies ไม่น่าเบื่อหรือยากอย่างที่น้อง ๆ คิด การติว GED Social Studies หากเราได้ติวกับครูที่เชี่ยวชาญ ความรู้แน่น และสอนไม่น่าเบื่อ รู้วิธีดึงจุดที่น่าสนใจ และส่วนสนุกของเรื่องออกมาได้อย่างคุณครูที่ The Planner Education ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการติว GED แล้ว หากได้เรียนกับคุณครูของเรานอกจากน้อง ๆ จะได้คะแนนสมใจหวังแล้ว น้อง ๆ ยังจะได้รับความรู้ควบคู่ไปกับความสนุกจากการเรียน GED Social Studies อีกนะคะ 

สนใจติว IELTS | IGCSE | GED | SAT/GSAT | ACT | A-LEVEL | IB | AP | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ARTS | TU-GET | Academic Writing ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply