ในการทำข้อสอบ SAT Reading คำถามปราบเซียนที่น้องๆ หลายคนมักโอดครวญ คือ คำถามประเภทวัดความหมายของคำศัพท์ เพราะไม่ว่าเราจะพยายามจำศัพท์เข้าไปแค่ไหน แต่เอาเข้าจริงๆ เวลาอยู่ในห้องสอบ SAT เราก็ยังคงเจอและประหลาดใจกับคำศัพท์หลายคำที่เราไม่รู้เสมอ
ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว หลายคนที่กำลังติว SAT กันอยู่ ก็คงเริ่มตั้งคำถามว่าจะยังนั่งท่องศัพท์ SAT ในส่วนของ Synonym กันต่อไปอีกทำไม ในเมื่อท่องเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอสำหรับการอ่านบทความในข้อสอบ SAT Reading
ใจเย็นกันก่อน… ถึงแม้ว่าเราอาจยังเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้ในข้อสอบ SAT Reading อยู่ตลอดเวลา แต่ก็อยากให้น้องทุกคนยังมีความหวัง และเห็นประโยชน์ของการท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยรู้ไว้ในหัวก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย อีกอย่างการมีคลังศัพท์ที่เยอะก็ช่วยให้เราเตรียมพร้อมทำความเข้าใจบริบทในสถานการณ์ที่หลากหลาย ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อทำข้อสอบ SAT Reading เท่านั้น
ข้อสอบ SAT มักจะทดสอบคำศัพท์ 2 รูปแบบ
- ทดสอบ “คำศัพท์ยาก” ที่คิดว่าคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ (Hard Words) อย่างเช่น agitation (ความยุ่งยาก), abnegation(การละทิ้ง) หรือ gratuitous (ฟรีหรือให้เปล่า) ซึ่งจะเห็นว่าคำศัพท์ยากเหล่านี้ที่จะเจอในข้อสอบ SAT เหล่านี้ไม่ได้ถูกใช้ในชีวิตประจำวัน หรือก็มีโอกาสน้อยมากที่จะเจอ
- ทดสอบ “คำที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย แต่ถามความหมายที่สอง” ของคำเหล่านั้นที่ไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวัน (Words with Uncommon Second Meanings) เช่น ปกติส่วนใหญ่เราจะเข้าใจว่า Compromise แปลว่า “ประนีประนอม” แต่ที่จริงคำนี้ยังมีความหมายที่คนไม่ค่อยรู้ แปลว่า “เป็นอันตราย หรือ เป็นภัย”
แต่ไม่ว่าคำถามในข้อสอบ SAT จะทดสอบคำศัพท์รูปแบบไหน เทคนิคการทำข้อสอบ SAT คือ ทุกคนต้องดูและทำความเข้าใจบริบท (Context) เพราะบริบทจะเป็นตัวกำหนดความหมายของคำศัพท์นั้น
วิธีการทำโจทย์ที่ทดสอบคำศัพท์
- แปลความหมายของคำในโจทย์ SAT หรือแทนที่คำศัพท์ในโจทย์ SAT ด้วยคำพูดของเราเอง จากนั้นค่อยไปดูตัวเลือกที่ความหมายเข้ากับคำที่เราคิด (แต่ระวังคำที่อาจมีสองความหมายเพราะเราอาจไม่รู้ความหมายที่สองทำให้ตัดตัวเลือกนี้ทิ้ง)
- แทนตัวเลือกแต่ละคำเข้าไปในโจทย์ SAT แล้วดูว่าตัวเลือกไหนเข้ากับบริบทมากที่สุด (เราจะสังเกตได้เลยว่าคำบางคำฟังแล้วแปลกและความหมายดูไม่เข้ากับบริบท)
- ตัด choice โดยดูจากความหมายแฝงของคำ ว่าเป็นบวก (positive) หรือเป็นลบ (negative) เพราะจะช่วยลดจำนวนตัวเลือกคำตอบในข้อสอบ SAT ลงได้ หลังจากนั้นค่อยนำคำที่เหลือไปแทนที่คำในประโยคเพื่อดูว่าคำไหนมีความหมายเข้ากับบริบทมากที่สุด
ห้ามลืมเด็ดขาดว่าเวลาที่เราอ่านประโยคในข้อสอบ SAT เพื่อทำความเข้าใจความหมายของคำจากบริบท เราจะต้องมีความรู้ในบทความให้ครอบคลุมเพียงพอเพื่อทำความเข้าใจบริบทได้อย่างสมบูรณ์
ดังนั้น ทุกคนห้ามอ่านเฉพาะประโยคที่โจทย์ในข้อสอบ SAT กำหนด แต่ควรจะอ่านประโยคด้านหน้าและด้านหลังประโยคของคำถามที่ข้อสอบ SAT ให้มาอย่างน้อย 1-2 บรรทัด เพื่อทำความเข้าใจบริบทให้ครอบคลุมได้จริงๆ นอกจากนี้ประโยคเหล่านั้นอาจมีคำที่มีความหมายเหมือน (Synonym) กับคำที่อยู่ในโจทย์ ซึ่งจะช่วยให้เราตอบคำถาม SAT ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามทุกคนควรจำไว้ว่า แต่ละคนมีวิธีการทำโจทย์ SAT ที่แตกต่างกันหรือบางครั้งเราอาจต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกันในการทำโจทย์ SAT ดังนั้นทุกคนต้องหมั่นฝึกฝนและนำวิธีที่แนะนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด
หากกำลังมองหาว่าจะติว SAT ที่ไหนดี? หรือติว IELTS ควบคู่ไปพร้อมกัน
?คลิก! ดูข้อมูลคอร์ส SAT 80 ชั่วโมง ? https://bit.ly/3g2Ov96
?คลิก! ดูข้อมูลคอร์ส IELTS 60 ชั่วโมง ? https://bit.ly/3ipy1cX