เจาะลึก 7 Tips พิชิตข้อสอบ GED RLA

GED RLA หรือ Reasoning Through Language Arts  หนึ่งใน 4 วิชาสอบเทียบวุฒิระดับมัธยมปลายของหลักสูตรจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิชาที่หลายคนกังวลว่าจะทำออกมาได้ดีหรือเปล่า วันนี้ The Planner จึงจะมาเจาะลึกแนะนำ 7 เทคนิคที่จะช่วยให้สามารถทำข้อสอบในวิชานี้ได้ดียิ่งขึ้น จะมีวิธีอะไรบ้าง มาดูกัน

  1. อ่านให้จบย่อหน้าเพื่อเข้าใจศัพท์ที่ไม่รู้ความหาย

ในหลายๆ ครั้งที่เราอ่านบทความในข้อสอบแล้วเจอศัพท์ยากหรือศัพท์ที่เราไม่รู้ความหมาย แล้วเรามักจะหยุดคิดหรือพยายามกลับไปอ่านต้นประโยคหรือต้นย่อหน้าใหม่ ตรงนี้อาจทำให้เสียเวลาและไม่รู้ความหมายของศัพท์ ซึ่งในหลายๆ ครั้ง ศัพท์ที่ยากมักจะมีคำอธิบายในประโยคถัดไป, ภายในย่อหน้านั้นเพิ่ม หรือสามารถเดาความหมายจากบริบทของเรื่องราวได้จากย่อหน้านั้น ดังนั้น ควรอ่านให้จบประโยคหรือย่อหน้านั้นก่อนที่จะเสียเวลามาหาความหมายของศัพท์ยากๆ ที่เราไม่เข้าใจ

  1. ผสมความรู้ของเราเข้ากับเนื้อหาที่กำลังอ่าน

หากบทความในข้อสอบเป็นบทความที่ให้ความรู้ เช่น เรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือข่าวอื่นๆ ที่เราพอจะมีความรู้อยู่บ้าง ให้นำความรู้เหล่านั้นมาผนวกด้วย อาจจะทำให้เห็นมุมกว้างและภาพรวมของเรื่องได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะง่ายต่อการเชื่อมโยง และทำข้อสอบ

  1. ดำดิ่งไปกับเรื่องราวเพื่อวิเคราะห์ให้ดียิ่งขึ้น

การบรรยายรายละเอียดของเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร สิ่งของ สถานที่ หรือแม้กระทั่งความรู้สึก คือหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราว และจะดียิ่งขึ้นถ้าเราสามารถจินตนาการให้เห็นภาพสิ่งที่ผู้เขียนกำลังจะนำเสนอ ส่วนนี้จะทำให้สามารถวิเคราะห์เนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น

  1. ตั้งคำถามนอกเหนือจากคำถามในข้อสอบ

ในส่วนนี้จะเป็นการฝึกให้เราคิดและวิเคราะห์เพื่อตั้งคำถามสำหรับใช้ในการเขียนเรียงความแบบArgumentative เพราะช่วยให้มีจุดยืนต่อเรื่องนั้นๆ และช่วยฝึกเรียบเรียงความคิด และเห็นภาพรวมของเรียงความที่กำลังจะเขียนออกมาได้

  1. วิเคราะห์บริบท เพื่อเข้าใจเรื่องที่ซ่อนอยู่

สำหรับข้อสอบที่เป็นสถานการณ์จำลอง บทนิยาย ละคร หรือเรื่องแต่ง ในบางครั้งเราสามารวิเคราะห์บริบทเพื่อเข้าใจเนื้อหาที่ซ่อนอยู่ได้ เช่น ในตอนต้นเรื่องได้อธิบายไว้ว่านาย A เป็นคนที่ไม่ชอบห้องน้ำที่มีกลิ่นเหม็น พอถึงสถานการณ์หนึ่งที่บรรยายว่านาย A ได้เดินเข้าไปห้องน้ำแห่งหนึ่ง แล้วรีบบึ่งออกมาด้วยสีหน้าไม่พอใจ ตรงนี้ก็พอจะอนุมานได้ว่าห้องน้ำแห่งนั้นมีกลิ่นเหม็นนั่นเอง

  1. จัดลำดับความสำคัญของข้อมูล

เนื้อหาในข้อสอบที่เป็นบทความยาว มักจะมีเนื้อหาที่ไม่จำเป็นอยู่พอสมควร เมื่ออ่านจับใจความได้ในระดับนึงแล้ว ให้ลำดับความสำคัญของเนื้อหา เพื่อให้เราสรุปเรื่องได้ไวยิ่งขึ้น

  1. สรุปเนื้อหาด้วยภาษาที่เราเข้าใจ

ส่วนสำคัญคือเมื่ออ่านเนื้อหาจบแล้ว ให้สรุปเนื้อหาด้วยภาษาของเราสั้นๆ พร้อมทั้งใส่ส่วนสำคัญของเนื้อหาที่จำเป็นต้องใช้ในการทำข้อสอบไปด้วย

The Planner Education หวังว่าทั้ง 7 เทคนิคนี้จะช่วยให้การทำข้อสอบ GED ในวิชา RLA ได้ดียิ่งขึ้น หรือจะลองนำไปปรับใช้กับการทำข้อสอบในวิชาอื่น และข้อสอบประเภทอื่นที่ต้องอ่านเยอะๆ ก็ได้เช่นเดียวกัน

ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply