สอบ GED RLA ให้ปัง! ต้องแม่นโครงสร้าง Essay!

ข้อสอบ GED Reasoning Through Language Arts หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า GED RLA เป็นข้อสอบที่วัดทักษะภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้เรื่องไวยากรณ์และการอ่าน แต่ยังมีพาร์ทที่น้องๆ หลายคนกำลังติว GED RLA กันอย่างขมักเขม้นต่างบ่นกันว่ายาก นั่นก็คือพาร์ท Writing ที่ต้องเขียนเรียงความ (GED Essay) นั่นเอง

การเขียนเรียงความที่ดีในข้อสอบ GED นอกเหนือจากที่จะต้องคำนึงเรื่องความถูกต้องทางไวยากรณ์และคำศัพท์ที่เลือกใช้ อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเกณฑ์ในการประเมินวัดคุณภาพของงานคือ เรื่องของโครงสร้างและการเรียบเรียงเนื้อหา หรือที่เราเรียกว่า Essay Structure / Organization

ภายในเวลา 45 นาทีในการทำข้อสอบ GED RLA Part Writing  ทุกคนทราบไหมว่าเราจำเป็นต้องเขียนกี่ย่อหน้าและแต่ละย่อหน้าทำหน้าที่อะไร?
เฉลย: ในข้อสอบ GED RLA ไม่ได้มีการกำหนดย่อหน้าตายตัวว่าแต่ละคนจะเขียนกี่ย่อหน้า แต่ตามหลักการทุกคนควรจะเขียนประมาณ 3-5 ย่อหน้า

อย่างไรก็ตามจำนวนย่อหน้าที่คนส่วนใหญ่นิยมเขียนคือ 5 paragraphs (แต่ถ้าไม่ทันจะลดเหลือแค่ 4 ก็พอรับได้) และแต่ละย่อหน้าใน GED RLA Essay จะถูกแบ่งออกตามหน้าที่ ได้แก่ ส่วนบทนำ (Introduction), ส่วนเนื้อหา (Body) และ ส่วนสรุป (Conclusion)

ย่อหน้าแรก ของเรียงความ (Essay) จะทำหน้าที่เป็น บทนำ หรือ Introduction หน้าที่ของย่อหน้านี้คือการเกริ่นนำเรื่องราวด้วยการอธิบายความรู้พื้นฐาน (Background Information) หรือให้นิยาม (Definition) เกี่ยวกับประเด็นหลักของเรื่อง (Topic) ก่อนที่ผู้เขียนจะดึงความสนใจเข้าสู่ใจความสำคัญของเรื่อง (Thesis Statement )

ประโยค Thesis Statement หรือประโยคใจความสำคัญของเรื่องทำหน้าที่ระบุเนื้อหาและประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องที่กำลังจะถูกพูดถึงในส่วนเนื้อหา (Body) ดังนั้น Thesis ที่ดีจะต้องมีลักษณะครอบคลุม ไม่ลงรายละเอียดลึกจนเกินไป และต้องทำหน้าที่เกริ่นนำเนื้อหาที่กำลังจะถูกอธิบายในย่อหน้าต่อไป

★ Thesis Statement ที่ดีในข้อสอบ GED RLA  ควรประกอบไปด้วยสองส่วน คือ

  1. ส่วนที่ผู้เขียนอธิบายว่าตนคิดเห็นว่าบทความใดใช้เหตุผลและหลักฐานมาสนับสนุนข้อโต้แย้งได้ดีกว่ากัน (Which argument is better supported?)
  2. ส่วนที่บรรยายว่าบทความที่ตนเข้าข้างนั้นใช้หลักฐานประเภทใดมาสนับสนุนข้อโต้แย้ง

ย่อหน้าที่สองถึงสี่ จะทำหน้าที่เป็นส่วนของเนื้อหา (Body) ผู้เขียนแต่ละคนจะมีจำนวนย่อหน้าส่วนของเนื้อหาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนประเด็นที่ตนต้องการถ่ายทอด อย่างไรก็ตามทุกคนควรจำไว้ว่า “1 Body = 1 Point”  หมายความว่า ย่อหน้าเนื้อหาแต่ละย่อหน้าควรจะมีประเด็นหลักแค่เพียงเรื่องเดียว เพราะหากเราใส่เหตุผลมากเกินไปจะทำให้ผู้อ่านสับสนและเข้าใจผิดประเด็น

ที่สำคัญหากจะเขียนอะไรก็แล้วแต่ในส่วนเนื้อหาอย่าลืมตรวจสอบความสอดคล้องกับ Thesis Statement เพราะส่วนของเนื้อหามีหน้าที่สนับสนุนและอธิบายประเด็นตามที่ระบุเอาไว้ใน Thesis Statement

ย่อหน้า Body มีองค์ประกอบ 3 อย่างได้แก่

  1. Topic Sentence – ทำหน้าที่ระบุประเด็นและใจความสำคัญของ Body ในแต่ละย่อหน้าแบบคร่าวๆ
  2. Explanation – ทำหน้าที่อธิบายและให้เหตุผลของประเด็นที่เกริ่นเอาไว้ใน Topic Sentence อย่างละเอียด
  3. Evidence – คือการยกตัวอย่างหรืออ้างหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบคำอธิบายซึ่งจะช่วยทำให้ผู้อ่านเห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น            

เคล็ดลับ : ทุกคนควรจะยกตัวอย่างโดยหยิบหรืออ้างหลักฐานจากในบทความ GED RLA เพื่อมาใช้ประกอบคำอธิบายในส่วน Body ของตนเองอย่างน้อยย่อหน้าละ 1 ตัวอย่าง

ย่อหน้าสุดท้าย ทำหน้าที่เป็นบทสรุป (Conclusion) เพื่อสรุปประเด็นสำคัญและย้ำเตือนให้ผู้อ่านเข้าใจข้อความหลักที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อหลังจากที่อ่านเรื่องราวทั้งหมดครบ
วิธีการเขียน Conclusion แบบง่ายคือ แค่ Paraphrase หรือ นำใจความจาก Thesis Statement มาเขียนในรูปแบบใหม่ (เพราะ Thesis ระบุใจความสำคัญไว้ครบถ้วนแล้ว)

✘ จุดที่หลายคนมักทำพลาด คือ พวกเขาเผลอไปให้ข้อมูล/ยกประเด็นใหม่ในบทสรุป ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่สมควร เนื่องจากส่วน Conclusion ทำหน้าที่สรุปประเด็นสำคัญที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น หากต้องการจะให้เหตุผลหรืออธิบายประเด็นเพิ่มเติมเราควรนำข้อมูลเหล่านี้ไปใส่ไว้ใน Body Paragraph มากกว่า

สุดท้ายนี้หวังว่าทุกคนจะสามารถทำความเข้าใจโครงสร้างงานเขียน Writing ในการสอบ GED RLA มากยิ่งขึ้นและนำเอาโครงสร้างเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในเวลาที่ทำข้อสอบ GED RLA อีกทั้งระมัดระวังคำเตือนที่ให้ไว้ด้านบนด้วย

อยากพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นกว่าที่เคย แต่ยังคิดอยู่ว่าจะติว SAT ที่ไหนดี?
คลิก! ดูข้อมูลคอร์สติว SAT 80 ชั่วโมง ? https://bit.ly/3g2Ov96

 สิ่งที่จะได้รับ เมื่อลงคอร์สเรียนกับ The Planner Education! 

✅พาน้องๆ ตะลุยโจทย์จนชำนาญ
✅อัปเดทเนื้อหาให้ครอบคลุม
✅เสริมให้แข็งแกร่งทุกพาร์ท
✅ประเมินผลรายบุคคลด้วย Mock Test

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply