คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ ที่หลักสูตรอินเตอร์กำหนด ยังมีโอกาสยื่นติด!!

ในปัจจุบันหลักสูตรที่เป็นที่นิยมของน้อง ๆ เด็กมัธยมปลาย หรือน้อง ๆ สายสอบเทียบ ไม่ได้มีแค่หลักสูตรภาคปกติเท่านั้นอีกต่อไป เพราะหลักสูตรอินเตอร์หลายหลักสูตรก็เป็นที่นิยมในหมู่เด็กเจนซีไม่แพ้กัน คะแนนยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์บางหลักสูตร สามารถใช้ยื่นติดมหาวิทยาลัยระดับท็อปของโลกได้เลย  คะแนนสอบเข้าหลักสูตรอินเตอร์หลายหลักสูตรค่อนข้างสูง น้อง ๆ อาจจะกังวลใช่ไหมคะ แต่หลักสูตรอินเตอร์ทุกหลักสูตร น้อง ๆ ทุกคนมีโอกาสสอบติดค่ะ เพราะคะแนนที่ใช้ในการยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์ น้อง ๆ สามารถสอบได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี ยกเว้นการสอบ BMAT หากน้อง ๆ ได้มีการวางแผนการติวและการเตรียมสอบกับสถาบันที่เชี่ยวชาญด้านนี้อย่าง The Planner Education น้อง ๆ ก็สามารถสอบติดหลักสูตรอินเตอร์ในดวงใจได้แน่นอนค่ะ  แล้วน้อง ๆ รู้กันหรือไม่คะว่า “คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่หลักสูตรอินเตอร์กำหนดไว้ แต่ยังมีโอกาสสอบติด” หลักสูตรอินเตอร์แม้คะแนนจะสูง แต่ก็ไม่ได้ปิดโอกาสน้อง ๆ ไปเลยนะคะ ถึงน้องจะทำคะแนนได้ไม่ถึงสำหรับการยื่นเข้า แต่น้อง ๆ ก็ยังมีโอกาสติดอยู่ แต่โอกาสติดของน้อง ๆ ก็ไม่ได้ความหมายว่าน้อง ๆ จะทำคะแนนได้เท่าไหร่ก็ยื่นติดนะคะ แต่ละหลักสูตรมีเกณฑ์ของมัน ว่าถ้าไม่ถึงเกณฑ์ตั้งต้นที่คณะกำหนด[...]

SOP คืออะไร สำคัญยังไงกับการเข้าอินเตอร์

SOP คืออะไร สำคัญยังไงกับการยื่นเข้าคณะอินเตอร์ บทความนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปไขคำตอบของความลับของ SOP อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้น้อง ๆ ติดคณะอินเตอร์ SOP คืออะไร SOP ย่อมาจาก Statement of Purpose หากถามว่า SOP คืออะไร SOP ก็คือบทความแนะนำตัวที่บอกเล่าประวัติของน้อง ๆ ทั้งประสบการณ์การเรียน ความสำเร็จในอดีต เหตุผลที่อยากเรียนต่อในหลักสูตรนี้ รวมถึงเป้าหมายของน้อง ๆ โดยสำหรับระดับการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอีกส่วนที่สำคัญมาก ๆ ในการเขียน SOP คือการเขียนอธิบายว่าการเรียนในหลักสูตรที่น้อง ๆ สมัครเข้าไปจะช่วยให้น้อง ๆ บรรลุเป้าหมายของตัวเองได้ยังไง  เกร็ดควรรู้: บางหลักสูตรอินเตอร์นอกจากคะแนนที่ต้องทำให้ถึงเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดไว้แล้ว SOP นี่แหละตัวชี้วัดว่าจะทำให้น้อง ๆ สอบติดหรือไม่ การเขียน SOP จึงควรเขียนยังไงให้มีความน่าสนใจและต้องโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่น เพราะอาจารย์ที่ทำการคัดเลือกน้อง ๆ เคยอ่าน SOP ของผู้สมัครมาแล้วมากมายหลายฉบับ  [...]

สูตรลัด! ติดมหา’ลัยเร็ว ตั้งแต่อายุแค่ 16-17 ปี!!

เมื่อพูดถึง “มหาวิทยาลัย” ชื่อนี้ทุกคนคงทราบดีว่าเป็นแหล่งที่รวบรวมองค์ความรู้ทุกแขนง รวบรวมทุกโอกาส และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงานทั่วโลก น้อง ๆ ที่เพิ่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีอายุได้ 17 ย่าง 18 ปี จึงมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการเลือกสาขาที่ชอบ และยื่นคะแนนให้ติดมหาวิทยาลัยดี ๆ สักที่ แต่จะดีกว่านั้นไหม หากน้อง ๆ มีอายุแค่เพียง 16-17 ปี แต่สามารถเรียนจบ ม.6 และมีคะแนนพร้อมยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่ชอบได้แล้ว? บทความนี้จะขอพาน้อง ๆ ไปรู้จัก สูตรลัด! ที่พาน้อง ๆ ลูกศิษย์ The Planner ติดมหาวิทยาลัยเร็วมาแล้ว ด้วยอายุแค่ 16-17 ปี จะมีขั้นตอนน่าสนใจอย่างไรบ้าง เราไปอ่านพร้อม ๆ กันได้เลย ก่อนอายุ 16 ปี โอกาสนี้ต้องรีบคว้า! สำหรับน้อง ๆ ที่อยากติดมหาวิทยาลัยเร็ว โดยเฉพาะในหลักสูตรอินเตอร์ หรือ นานาชาติ การเตรียมคะแนนสอบไว้ก่อนตั้งแต่เนิ่น[...]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ สาย Medical และ Healthcare 9 มหา’ลัยดังไทย

หากน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่มีความฝันว่าอยากทำงานในสายแพทย์ หรือสายดูแลสุขภาพของประชาชน ไม่ว่าจะ แพทย์, ทันตแพทย์, สัตวแพทย์, เภสัช, หรือพยาบาล หลักสูตรการเรียนที่ตอบโจทย์และมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับ ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่น้อง ๆ ต้องให้ความสำคัญมากเป็นลำดับต้น ๆ   โดยเฉพาะหลักสูตรสาย Medical และ Heathcare ภาคอินเตอร์ในประเทศไทย ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับน้อง ๆ ที่สนใจเข้าศึกษา ได้มาค้นคว้าหาความรู้จากรูปแบบการสอนที่เป็นระบบนานาชาติ รวมไปถึงการได้ฝึกประสบการณ์จริงที่ต่างประเทศในบางหลักสูตรอีกด้วย บทความนี้ The Planner จึงได้รวบรวมหลักสูตรอินเตอร์ สาย Medical และ Heathcare 9 มหา’ลัยดังในไทย มาให้น้อง ๆ ได้รู้จักเพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจเรียนต่อในอนาคตกัน หลักสูตรแพทยศาสตร์ นานาชาติ 1.) CU-MEDi: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ CU-MEDi จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหลักสูตรที่รับเฉพาะผู้ที่จบปริญญาตรีแล้ว สาขาใดก็ได้ โดยนิสิตหลักสูตรนี้สามารถเรียนจบแพทย์ได้ใน 4 ปี[...]

เปิดเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ ยื่น TCAS รอบ 1 (Portfolio) ยื่นจุฬาฯ

ฤดูกาลแห่งการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของเด็กมัธยมเวียนมาถึงอีกหนึ่งปี ซึ่งฤดูกาลนี้ในเกาหลีเรียกว่า “ซูนึง” ในสหราชอาณาจักรเรียกว่า “UCAS” ส่วนในไทยเองเรียกฤดูการนี้ว่า “TCAS” หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า Thai University Center Admission System นั่นเองค่ะ และมหาวิทยาลัยที่นักเรียนไทยอยากเข้ามากที่สุด คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของไทย แล้วน้อง ๆ ล่ะ ถ้าเพิ่มโอกาสติดจุฬาฯของตัวเองให้มากขึ้นและเร็วกว่าเดิมจะดีไหมคะ ในบทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวิธีนั้นกันค่ะ  อยากรู้จัก TCAS ให้มากขึ้น ตามไปอ่านได้ที่ TCAS คืออะไร  TCAS รอบ 1 คืออะไร? TCAS รอบ 1 คือรอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดย TCAS รอบนี้เป็นรอบแรกของการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย หากน้อง ๆ ติดมหาวิทยาลัยในรอบนี้ น้อง ๆ ก็จะสบายใจ สบายสมอง เพราะเรา “มีที่เรียนแล้วจ้า” โดยรอบ[...]

ทำความรู้จัก ทันตแพทย์อินเตอร์ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง KMITL

ยังคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสายการเรียนที่จบไปแล้วมีงานที่มั่นคงและรายได้ที่ค่อนข้างสูงในประเทศไทย ยังคงเป็นการเรียนวิทยาศาสตร์สายสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ หรือเภสัชกร 4 อาชีพลำดับต้น ๆ ในใจของเด็กสายวิทย์และผู้ปกครอง โดยเฉพาะทันตแพทย์ การเป็นคุณหมอฟันนับว่าอีกหนึ่งอาชีพที่ทั้งมั่นคงและเงินเดือนสูงมากเลยทีเดียว คะแนนในการสอบเข้าเรียนต่อและอัตราการแข่งขันของคณะทันตแพทย์จึงสูงไม่ต่างจากคณะแพทยศาสตร์เลย แล้วน้อง ๆ รู้กันไหมคะว่าถ้าไม่ใช่การสอบกสพท.แล้ว ก็มีอีกเส้นทางที่ทำให้น้อง ๆ ติดคณะทันตแพทย์ได้เหมือนกัน บทความนี้เลยจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักอีกเส้นทางหนึ่งอย่างคณะทันตแพทย์ หลักสูตรนานาชาติ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะทันตแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ  ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรียกได้ว่าเป็นน้องใหม่แห่งวงการวิทย์สุขภาพ หลักสูตรนานาชาติเลยก็ว่าได้ ซึ่งตอนนี้ตัวหลักสูตรก็ได้รับรองสถาบันการศึกษาจากทันตแพทยสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลักสูตรนี้ต้องการสร้างทันตแพทย์ยุคใหม่ที่มีความสามารถและทักษะที่หลากหลาย มีทั้งทักษะด้านทันตกรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เพื่อให้นักศึกษาที่จบไปมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่ยุค Digital Dentistry นั่นก็คือยุคที่นำเทคโนโลยีด้านทันตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้งานจริงนั่นเองค่ะ  ความพิเศษของตัวหลักสูตร จะได้เรียนกับอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ มีโอกาสได้ไปดูงานในต่างประเทศ ได้เรียนทันตกรรมที่มีเรื่องเทคโนโลยีมาเกี่ยวร่วมด้วย มีประสบการณ์การสร้าง Multi-disciplinary Innovation จะได้รับทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ เกณฑ์การรับสมัคร วุฒิการศึกษา: มัธยมศึกษาปีที่ 6, Grade 12,[...]

การทดสอบภาษาอังกฤษแต่ละตัว สอบกี่ครั้งต่อปี

น้อง ๆ ที่อยากเรียนต่อในคณะหลักสูตรนานาชาติ การเตรียมตัว เตรียมติวของน้อง ๆ อาจจะแตกต่างไปจากเพื่อนคนอื่นที่จะเข้าคณะในหลักสูตรไทย แต่อย่าเพิ่งกังวลว่าหากไม่มีเพื่อนรอบข้างอยากเข้าหลักสูตรนานาชาติเหมือนกัน น้องอาจจะกังวลว่าจะสับสนกับการเตรียมตัว เพราะไม่มีเพื่อนคอยให้คำปรึกษา เรื่องนี้น้อง ๆ ไม่ต้องกังวลกันไปก่อนเลยค่ะ เพราะว่าหลักสูตรนานาชาติในไทย การเตรียมตัวในการยื่นเข้าไม่ได้ยุ่งยากขนาดนั้น น้อง ๆ เตรียมตัวทำคะแนนสอบเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น และหลายตัวก็เปิดโอกาสในการสอบหลายครั้งต่อปี อีกทั้งน้อง ๆ ยังเตรียมตัวสอบเก็บคะแนนไว้ได้เลยตั้งแต่ตอนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือเตรียมตัวล่วงหน้าให้ได้เข้ามหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 17 ปี ผ่านวุฒิ GED ก็ได้นะคะ เพราะว่าวุฒิ GED สามารถยื่นเข้าได้แทบทุกหลักสูตรนานาชาติในไทยเลยก็ว่าได้ค่ะ  ในบทความนี้จะพาน้อง ๆ หลายคนไปคลายกังวลกับการเตรียมตัวสอบเข้าหลักสูตรนานาชาติ ว่าโอกาสของน้องมีไม่น้อยเลยทีเดียว น้องทุกคนสามารถสอบติดหลักสูตรนานาชาติที่น้องตั้งเป้าไว้ได้ ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษแต่ละตัวที่น้องมีโอกาสสอบได้มากกว่า 1 หนต่อปี  IELTS: ย่อมาจาก International English Language Testing System เป็นการทดสอบภาษาอังกฤษที่ได้รับการแพร่หลายไปทั่วโลก ใช้วัดทักษะภาษาอังกฤษทั้งหมด 4 ทักษะคือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน[...]

บริหารอินเตอร์ ม.เกษตรศาสตร์

หากนึกถึงมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในคณะด้านสายการเงินและธุรกิจ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต้องเป็นอันดับต้น ๆ ในหัวของใครหลาย ๆ คน ทั้งอัตราการแข่งขัน คะแนนการสอบเข้า และคนมีชื่อเสียงที่เรียนจบจากที่นี่ ก็สามารถการันตีความเป็นผู้นำในไทยด้านคณะสายการเงินและธุรกิจอย่างคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ และหลักสูตรอินเตอร์ยอดฮิตอย่างบริหารอินเตอร์ หรือที่เราเรียกกันว่า BBA ในมหาวิทยาศาสตร์เกษตรศาสตร์ก็ไม่พลาดที่จะมีหลักสูตรนี้ แถมมีให้เลือกเรียนถึง 2 หลักสูตรบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ อย่างหลักสูตร BBA กับ KUBIM 2 หลักสูตรนี้แตกต่างกันยังไง ในบทความนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบของคำถามนั้นกันค่ะ BBA BBA ย่อมาจาก Bachelor of Business Administration หรือก็คือบริหารธุรกิจ โดยบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ ของเกษตรศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ผลิตนิสิตที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของภาคธุรกิจ โดยจะเรียนการบริหารธุรกิจในเชิงมหภาค แบบกว้าง ๆ ก่อนที่ปี 3 จะมี Major ให้เลือก 2 Major คือ[...]

Timeline เตรียมรับมือ TCAS ฉบับ #DEK67 อินเตอร์

เริ่มปีการศึกษาใหม่ น้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนก็ต้องปรับตัวและเตรียมพร้อม โดยเฉพาะน้อง ๆ สายการเรียนอินเตอร์ ที่กำลังเตรียมยื่นเข้าในระดับมหาวิทยาลัยในปี 2567 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอบและการรับเข้าในหลาย ๆ อย่าง บทความนี้ The Planner จะขอมาสรุปไทม์ไลน์การเตรียมรับมือและยื่นเข้าศึกษาในระบบ TCAS67 สำหรับน้อง ๆ Dek67 อินเตอร์ ให้ได้รู้กัน จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? และมีกี่เส้นทางที่จะทำให้น้อง ๆ ไปถึงคณะในฝัน? ตามมาดูกันได้เลย FIRST STEP: ก่อน ส.ค. 2566 คะแนนสอบ “ควรพร้อม” ตั้งแต่ช่วงต้นปี น้อง ๆ Dek67 ควรเตรียมทั้งวุฒิการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า และคะแนนสอบที่ต้องใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อให้พร้อม โดยคะแนนพื้นฐานที่หลักสูตรอินเตอร์ใช้ เช่น วุฒิ ม.6, วุฒิ GED, IGCSE, AS/A-LEVEL, SAT, IELTS, TOEFL, ACT, BMAT[...]

รวมหลักสูตรอินเตอร์จาก 10 มหาวิทยาลัย

การเรียนการสอนหลักสูตรอินเตอร์ในระดับอุดมศึกษา กำลังเป็นทางเลือกยอดนิยมของน้อง ๆ เจนใหม่อยู่ในขณะนี้ มหาวิทยาลัยของภาครัฐหลายแห่งจึงได้เปิดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรอินเตอร์อย่างหลากหลายหลักสูตร ในบทความนี้ The Planner จึงรวบรวมมาให้แล้วกับ 10 มหาวิทยาลัยภาครัฐยอดนิยมของไทย ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยเปิดสอนในหลักสูตรอินเตอร์หลักสูตรอะไรบ้าง เพื่อเป็นทางเลือกของน้อง ๆ ที่กำลังลังเลอยู่ว่าจะเข้าหลักสูตรอินเตอร์หลักสูตรอะไรดี แล้วมหาวิทยาลัยไหนบ้างที่เปิดสอนในหลักสูตรอินเตอร์ที่น้อง ๆ อยากเข้ากัน  หลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์ ปัจจุบันเปิดสอนทั้งหมด 14 หลักสูตร 1. EBA เศรษฐศาสตร์ 2. BSAC เคมีประยุกต์ 3. BBTech Biotechnology 4. INDA การออกแบบสถาปัตยกรรม 5. CommDe การออกแบบนิเทศศิลป์ 6. CommArts การจัดการการสื่อสาร 7. BAScii นวัตกรรมบูรณาการ 8. BALAC ภาษาและวัฒนธรรม 9. PGS การเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา 10. JIPP จิตวิทยา 11. BBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชี[...]

IR INTER เรียนที่ไหนดี

IR คือการเรียนเกี่ยวกับ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ทั้งในด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย วัฒนธรรม ตลอดจนเรื่องเกี่ยวกับองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น UN UNHCR NFTA WTO APEC ฯลฯ ซึ่งหากน้อง ๆ มีความฝันว่าอยากเป็นทูตหรือทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ การเรียน IR เรียกว่าตรงกับสายงานในอนาคตที่น้อง ๆ อยากเป็นเลยค่ะ โดยเฉพาะ IR ภาคอินเตอร์ การเรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในหลักสูตรนานาชาติ นับว่าเป็นเรื่องได้เปรียบและภาษีที่ดีในอนาคตของน้อง ๆ มากเลยนะคะ เพราะว่าในสายงานหลังเรียนจบของเด็ก IR การได้ภาษาเป็นเรื่องที่จำเป็นในสายงานมาก ๆ เด็ก IR อินเตอร์ สบายใจเรื่องภาษาได้เลยค่ะ ในบทความนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปดูกันว่าถ้าอยากเรียน IR หลักสูตรนานาชาติ ที่มหาวิทยาลัยในไทย มีที่ไหนเปิดสอนบ้าง  แต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะเรียกชื่อ IR หลักสูตรนานาชาติ[...]

อยากเป็นแฟชั่นดีไซน์เนอร์ เรียนอินเตอร์คณะไหนดี

น้อง ๆ เด็กศิลป์ รักการออกแบบ แล้วอยากก้าวเข้าสู่วงการแฟชั่น อาชีพต้น ๆ ที่น้องอยากทำต้องเป็นดีไซเนอร์แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แล้วถ้าอยากเป็นดีไซเนอร์น้อง ๆ ควรเลือกเรียนหลักสูตรนานาชาติคณะไหนดีถึงจะสามารถต่อยอดไปจนถึงทำอาชีพนี้ในอนาคตได้ แล้วถ้ายังไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะกับอาชีพนี้ไหม ในบทความนี้มีคำตอบมาฝากน้อง ๆ ค่ะ  คนแบบไหนเหมาะเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์ คนที่มีสไตล์เป็นของตัวเอง คนที่ชื่นชอบเรื่องแฟชั่น คนที่ชอบการออกแบบ คนที่ชอบการตัดเย็บ ถ้าหากน้อง ๆ เป็นคนแบบที่กล่าวมานี้ อาชีพดีไซเนอร์นี่แหละ น้อง ๆ มาถูกทางแล้วค่ะ การจะก้าวมาเป็นดีไซเนอร์ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปหากน้อง ๆ มีใจรัก และการก้าวสู่อาชีพดีไซเนอร์ได้อย่างมั่นคง การที่น้อง ๆ เลือกคณะสำหรับการเรียนระดับอุดมศึกษาที่ถูกทาง และสามารถเปิดโอกาสเพื่อต่อยอดการออกแบบของน้อง ๆ ได้ หรือแม้ว่าตอนนี้น้อง ๆ แค่ชอบออกแบบแต่ยังไม่รู้ตัวเองว่าชอบการออกแบบอะไรที่สุด การเรียนในหลักสูตร CommDe จะสามารถช่วยน้อง ๆ ในการหาคำตอบนั้นได้ค่ะ  CommDe คืออะไร CommDe ย่อมาจาก Communication Design หรือก็คือสาขาการออกแบบนิเทศศิลป์[...]

เรียนไปด้วย ติวสอบ IELTS ไปด้วย แบ่งเวลาติวยังไงไม่ให้ Burnout?

ช่วงเตรียมสอบก่อนเข้ามหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญและกดดันมากที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตน้อง ๆ ม.ปลาย โดยเฉพาะน้อง ๆ ในระบบการศึกษาปกติของไทยที่กำลังวางแผนเข้าเรียนต่อหลักสูตรนานาชาติ ที่ไหนจะเรียนเต็ม ๆ ทั้งวัน และจะต้องเตรียมสอบเพื่อจบ ม.6 แล้ว ยังจะต้องมาแบ่งเวลาอ่านหนังสือและติวสอบ IELTS ซึ่งเป็นข้อสอบที่ทุกหลักสูตรอินเตอร์จำเป็นต้องใช้ยื่นเข้า ไม่รวมถึงการเตรียมสอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วยนะ แค่จินตนาการตามนี้ หลายคนคงเริ่มปวดหัวหนึบ ๆ กันแล้ว ภาวะหมดไฟ (Burnout syndromes) หรือภาวะเครียดสะสมจนหมดใจจะทำอะไรสักอย่าง จึงอาจจะไม่ได้เกิดแค่ในคนวัยทำงานเพียงเท่านั้น แต่ในวัยเรียนของน้อง ๆ ก็อาจเกิดขึ้นได้ด้วย และมีโอกาสที่จะส่งผลให้น้อง ๆ รู้สึกหมดความสุขในชีวิต ลดทอนคุณค่าของตัวเอง หรือหนักที่สุด น้อง ๆ บางคนอาจเกิดความเครียดสะสมสูงจนเป็นโรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า หรือโรคอื่น ๆ ตามมาก็ได้  เพื่อไม่ให้น้อง ๆ ที่เตรียมสอบเข้าคณะอินเตอร์รู้สึกหมดไฟ จนถอดใจก่อนพิชิตฝันได้สำเร็จ บทความนี้ The Planner ขอมาเสนอวิธีจัดการเวลาเรียนไปพร้อมกับการติวสอบ IELTS อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะ Burnout[...]

โครงการเรียนล่วงหน้า หลักสูตรนานาชาติ ม.เกษตรศาสตร์

ช่วงชีวิตมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของใครหลายคน เป็นช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจที่สำคัญและใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิตเลยก็ว่าได้ ซึ่งชีวิตมัธยมปลายของน้อง ๆ เพียง 3 ปี อาจไม่สามารถตัดสินใจเลือกเส้นทางในอนาคตสำหรับระดับอุดมศึกษาของตัวเองได้อย่างมั่นใจ เพราะน้อง ๆ อาจเต็มไปด้วยความกังวลว่าคณะที่เราตั้งเป้าหมายไว้มันใช่สำหรับเราจริง ๆ ไหม ถ้าได้เข้าไปเรียนแล้ว มันตอบโจทย์สิ่งที่เราต้องการจริงไหม คณะนั้นเมื่อเข้าไปเรียนจริง ๆ แล้ว มันยังจะใช่สำหรับเราอยู่หรือไม่ เชื่อว่าเด็ก ม.6 หลายคนมีความกังวลและความกลัวในเรื่องเหล่านี้อยู่ในหัว ซึ่งมันไม่แปลกเลยที่เราจะรู้สึกกลัวและกังวล น้อง ๆ ยังเป็นเพียงวัยรุ่นเท่านั้น วัยรุ่นคนหนึ่งที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอาจเป็นครั้งแรกของการตัดสินใจครั้งใหญ่ในชีวิตของตัวเอง ทว่าจะดีกว่านั้นไหม หากน้องได้มีโอกาสได้เข้าไปลองเรียนในคณะที่ตัวเองอยากเข้าก่อนจบ ม.6 บทความนี้ The Planner เลยจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับโอกาสนั้นของน้อง ๆ อย่าง “โครงการเรียนล่วงหน้าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” โครงการเรียนล่วงหน้าคืออะไร โครงการเรียนล่วงหน้า เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กมัธยมปลาย ได้ลองเรียนวิชาเรียนในมหาวิทยาลัยจริง ๆ เพื่อดูว่าตัวเองชอบวิชาที่เรียนหรือไม่ ซึ่งโครงการนี้ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะทำให้น้อง ๆ ได้ลองหาตัวเองดูว่าคณะที่เราอยากเข้านั้น พอได้ไปเรียนจริง ๆ แล้ว มันยังจะใช่สำหรับเราจริง ๆ[...]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ เรียนจบแล้วต่อสายแพทย์ได้

อาชีพแพทย์ หรือ อาชีพคุณหมอ เป็นอาชีพอันดับต้น ๆ ที่ประเทศไทยและหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกมีการสนับสนุนให้นักเรียนที่มีความสามารถได้เข้าศึกษา และได้มีโอกาสจบออกมาดูแลสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะ แพทย์อินเตอร์ ที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในสายอาชีพ และด้วยภาระอันยิ่งใหญ่ที่ต้องมาพร้อมกับการศึกษาที่ยากยิ่ง คณะแพทยศาสตร์ส่วนใหญ่จึงมีเกณฑ์การรับเข้าศึกษาหรือเกณฑ์วุฒิการศึกษาที่ค่อนข้างสูงและพิเศษไปกว่าคณะอื่นสักหน่อย แล้วถ้าหากเรายังไม่พร้อม หรือยังต้องการปูพื้นฐานในด้านอื่น ๆ ก่อนไปเรียนแพทย์ แบบนี้จะสามารถกลับมายื่นเข้าแพทย์ 4-5 ปีได้หรือไม่? โดยที่ไม่ต้องกลับไปเริ่มเรียนใหม่ทั้งหมด คำตอบก็คือ “ยื่นได้” แต่อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องเกณฑ์คะแนน หรือต้องเรียนจบในสายวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือมีพื้นฐานในสายเรียนด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์มาก่อน  บทความนี้ The Planner จึงรวบรวมตัวอย่าง หลักสูตรอินเตอร์ ที่สามารถเรียนต่อแพทย์ หรือเรียน Pre-Medicine ได้ มาให้น้อง ๆ ได้รู้กัน  ตัวอย่างหลักสูตรอินเตอร์ที่เรียนต่อแพทย์ได้ Bachelor of Science in Biotechnology (International Program), BBTech หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Bachelor of Science[...]

อักษรศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ VS BALAC

เด็กศิลป์ภาษาหรือเด็กวิทย์หัวใจศิลป์ แน่นอนว่าคณะในฝันและคณะที่ติดอยู่ในใจทุกคนเป็นอันดับต้น ๆ จะต้องเป็นคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แล้วในคณะอักษรศาสตร์ สิ่งที่เด็กอักษรต้องเผชิญหน้ากับมันมีแค่ภาษาจริง ๆ ไหม แล้วถ้าอยากเป็นเด็กอักษรนอกจากภาคปกติหรือภาคไทยแล้ว น้องรู้หรือไหมว่าอักษรศาสตร์มีภาคอินเตอร์อย่าง BALAC อยู่ด้วยนะคะ บทความนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปเตรียมตัวเป็นเด็กอักษร จุฬาฯ เอกภาษาอังกฤษ และ BALAC กันค่ะ  อักษรศาสตร์เรียนแค่ภาษาจริงไหม การเรียนในคณะอักษรศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจมนุษย์ในบริบทต่าง ๆ มากขึ้น อักษรศาสตร์จึงไม่ได้เรียนแค่ภาษาเท่านั้น แต่นอกจากวิชาเอกวิชาโทแล้วเด็กอักษรยังจะได้เรียนเกี่ยวกับสังคม การเมือง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ธรรมเนียมต่าง ๆ ไปจนถึงวรรณกรรม เด็กอักษรจำเป็นต้องเรียนเรื่องพวกนี้ เพราะการที่เราจะทำความเข้าใจมนุษย์ได้นั้น ความรู้แค่เพียงเรื่องภาษาอย่างเดียวมันไม่เพียงพอ เราต้องทำความเข้าใจเรื่องบริบทด้านต่าง ๆ เพิ่มด้วย ยกตัวอย่างกระบวนการเรียนผ่านด้านงานที่ทำให้เข้าใจการเรียนของคณะอักษรศาสตร์มากขึ้น เช่น การจะแปลเรื่อง ๆ หนึ่ง นอกจากทักษะด้านภาษาที่ใช้งานการแปลให้ได้อย่างถูกต้องแล้ว เราจะต้องใช้ทักษะได้อื่น ๆ เพื่อปรับการแปลของเราให้เข้ากับบริบทของประเทศที่เรากำลังแปลอยู่ด้วยค่ะ [...]

IELTS คืออะไร? ทำไมต้องสอบก่อนเข้าคณะอินเตอร์

“ภาษาอังกฤษ” ปฏิเสธกันไม่ได้เลยว่าสำคัญมาก ๆ ทั้งในเรื่องของการทำงาน ชีวิตประจำวัน รวมถึงในเรื่องของการศึกษา โดยเฉพาะการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติ ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ ถือว่าสำคัญ “มากที่สุด”    การสอบ IELTS จึงเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่นักเรียนหลักสูตรอินเตอร์หลายคนทั่วโลก เลือกที่จะให้ความสนใจและทำการเข้าทดสอบเพื่อใช้ในการยื่นเข้าศึกษาในหลักสูตรอินเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย แต่ในที่นี้ IELTS คืออะไร? และทำไมคนอยากเข้าคณะอินเตอร์ต้องให้ความสำคัญกันนะ? บทความนี้ The Planner มีคำตอบและเกร็ดความรู้ดี ๆ มาฝาก IELTS คืออะไร?  IELTS (International English Language Testing System) คือ การทดสอบภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักหรือภาษาประจำชาติ ออกแบบมาเพื่อวัดทักษะของผู้ที่ต้องการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสารสำหรับการทำงาน การศึกษา หรือการย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น โดยจะแบ่งระดับคะแนน (Band) ออกเป็น 9 ระดับ โดยเรียงลำดับจากระดับจาก 1 (ต่ำที่สุด) ไปจนถึง 9 สูงที่สุด การสอบ IELTS ในประเทศไทย[...]

เจาะเกณฑ์คะแนนยื่น MUIC

ถ้าพูดถึงหลักสูตรนานาชาติยอดฮิตในประเทศไทย ที่ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนไทยเอง หรือนักเรียนต่างชาติเอง ล้วนต่างก็อยากเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จะต้องมี MUIC หรือ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคำตอบแรก ๆ ในหัวของน้อง ๆ เลยใช่ไหมคะ MUIC เรียกได้ว่าเป็นวิทยาลัยที่มีความนานาชาติเอามาก ๆ เลย จะเห็นได้ชัดจากการเปิดปิดเทอม ที่ปีหนึ่งมีปิดเทอมถึง 3 ครั้ง เป็นการปิดเทอมตามมหาวิทยาลัยของต่างประเทศ และการที่มีนักศึกษาต่างชาติเรียนเยอะ ก็การันตีความนานาชาติและเป็นที่ยอมรับของ MUIC ได้ดีเลย ตารางการรับนักศึกษาใหม่ทั้ง 4 เทอม เทอม ช่วงเวลาการเปิดรับสมัคร เทอม 1 19 เม.ย. – 8 พ.ค. 66 เทอม 2 28 มิ.ย. – 11 ก.ค. 66 เทอม 3 2 – 17 ต.ค. 66 เทอม 4[...]

ประวัติ Abraham Lincoln ประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่แห่งอเมริกา ต้นแบบแห่งการ “เลิกทาส”

10 แกรมม่าที่หลายคนอาจมองข้ามไปเวลากำลังเตรียมสอบ IELTS ทบทวนแกรมม่าซ้ำจะทำให้แม่นมากขึ้นในการเขียนคำตอบ IELTS พาร์ท Writing และจะสามารถเพิ่มโอกาสในการได้แบนด์สูงตามที่ตั้งใจไว้ Relative Clause คือ ประโยคซ้อนที่ทำหน้าที่เป็น Adjective โดยตามหลัง Relative Pronoun อย่างเช่น who, which, that, whom, whose, where, why ซึ่งคนส่วนใหญ่จะพลาดตรงที่เลือกใช้ Relative Pronoun ผิดนั่นเอง ตัวอย่างเช่น Wrong: The person which stays at that hotel is a Thai model. Correct: The person who stays at that hotel is a Thai model. Conditional Clause คือ ประโยคที่แสดงความเป็นเงื่อนไข[...]

รวมคำศัพท์ IELTS English เทียบกับ Normal English เรียงมาให้ครบตั้งแต่ A-Z

สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวไปสอบ IELTS ในเรื่องของคำศัพท์ IELTS เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ  และน้อง ๆ ไม่ควรมองข้ามเลย เนื่องจากในการสอบ IELTS โดยเฉพาะพาร์ท Reading และ Speaking น้อง ๆ ต้องตอบคำถามโดยใช้รูปแบบคำศัพท์เชิงวิชาการ หรือคำศัพท์ที่เป็นทางการเท่านั้น เพื่อที่จะทำให้น้อง ๆ ได้ผลลัพธ์คะแนน Band ที่สูงขึ้น หากใครที่กำลังมองหาแหล่งรวมคำศัพท์ IELTS ตั้งแต่หมวด A-Z อยู่ บทความนี้คือบทความที่ใช่สำหรับน้อง ๆ มากที่สุด เพราะ The Planner ได้รวบรวมตัวอย่างคำศัพท์ IELTS เหล่านั้นมาให้กับน้อง ๆ แล้ว โดยเปรียบเทียบไปพร้อม ๆ กับรูปแบบของคำศัพท์ภาษาอังกฤษธรรมดา และถ้าใครพร้อมไปพิชิตคลังศัพท์ด้วยกันแล้ว ตามไปดูข้อมูลด้านล่างได้เลย ตัวอย่าง IELTS Vocabulary หมวด A No. IELTS English Normal[...]