ทริคลดคำ เพิ่มคะแนน! Redundancy การใช้คำฟุ่มเฟือยที่ต้องระวังใน GED RLA
รู้จักกับ Redundancy การใช้คำฟุ่มเฟือยหรือใช้คำเกินความจำเป็นในการเขียน GED Essay
เขาว่ากันว่าคนไทยมีสกิลการพูดไปเรื่อย! เลยเป็นหัวข้อที่ The Planner อยากเอามาให้อ่านกันในบล็อกนี้ ซึ่งก็คือ “Redundancy” หรือ การใช้คำฟุ่มเฟือยนั่นเอง เป็นการใช้คำซ้ำซ้อนที่มากเกินความจำเป็น หากตัดคำออกแล้วก็ยังทำให้มีความหมายเดิม เขียนแบบนี้อาจไม่เห็นภาพ ลองมาดูตัวอย่างการใช้คำฟุ่มเฟือยในภาษาไทยกันก่อนดีกว่า
ตัวอย่างคำฟุ่มเฟือยในภาษาไทย |
||
มีความ |
ทำการ | ปีติยินดี |
อะไรยังไง | แล้วก็ |
อนาคตภายหน้า |
ได้โปรดกรุณา |
สวยสดงดงาม |
เหาะเหินเดินอากาศ |
จะเห็นได้ว่าคำเหล่านี้ล้วนเป็นคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันเกือบทั้งหมด จึงไม่แปลกเลยหากน้อง ๆ เผลอใช้คำฟุ่มเฟือยในการเขียนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งในการสอบ GED วิชา Reasoning Through Language Arts (RLA) นั้นจะมีการสอบเขียน essay ในพาร์ท Extended Response Question ด้วย การระวังไม่ให้เผลอใช้คำฟุ่มเฟือยจึงอาจจะช่วยเพิ่มคะแนนให้น้อง ๆ ได้นะ
เข้าใจเรื่องการสอบเขียน GED RLA Essay ให้มากขึ้น! เขียนตอบแบบไหน ได้คะแนนชัวร์ คลิกเพื่ออ่าน
การแก้ไขไม่ให้เขียนประโยคฟุ่มเฟือย
- ไม่ใช้กลุ่มคำหรือวลีที่สามารถใช้แค่คำเดียวอธิบายได้ เช่น
- ก่อนแก้ไข: At this point in time, the company is focusing on expanding its market reach.
- หลังแก้ไข: Now, the company is focusing on expanding its market reach.
- ถ้าใช้คำที่มีความหมายเหมือนกัน ให้ตัดอีกคำออกโดยที่ความหมายยังคงเดิม เช่น
- ก่อนแก้ไข: The reason why the project was delayed is the lack of resources.
- หลังแก้ไข: The reason the project was delayed is the lack of resources.
- หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือวลีเดิมซ้ำ ๆ หากไม่สามารถเรียบเรียงประโยคใหม่ให้มีความหมายเดิมได้ ให้ลองใช้ synonyms เพื่ออธิบายแทน เช่น
- ก่อนแก้ไข: The course covers a range of topics. Topics covered include basic grammar topics and advanced grammar topics.
- หลังแก้ไข: The course covers a range of topics, from basic to advanced grammar.
- ไม่ใช้ “There is” หรือ “There are” เปิดประโยคโดยไม่จำเป็น ให้ลองเรียงประโยคใหม่ให้กระชับขึ้นแทน เช่น
- ก่อนแก้ไข: There are several benefits to using renewable energy sources.
- หลังแก้ไข: Using renewable energy sources offers several benefits.
- ไม่ใช้ “It” เปิดประโยคโดยไม่จำเป็น ให้ลองเรียงประโยคใหม่ให้กระชับขึ้นแทน เช่น
- ก่อนแก้ไข: It is necessary to complete the application process before the deadline.
- หลังแก้ไข: Completing the application process before the deadline is necessary.
- ลดการใช้คำว่า “to be” (รวมถึง is, was, are, และอื่น ๆ) โดยไม่จำเป็น อาจทำให้ผู้อ่านสับสนมากกว่าเดิม เช่น
- ก่อนแก้ไข: The project was reported to be completed on time.
- หลังแก้ไข: The project was reported as completed on time.
- หลีกเลี่ยงการใช้คำกริยาที่ฟุ่มเฟือย เช่น
- ก่อนแก้ไข: It is easy to make an assumption that the project will be completed on time.
- หลังแก้ไข: It is easy to assume that the project will be completed on time.
- หลีกเลี่ยงการใช้คำบุพบทที่ไม่จำเป็น เช่น
- ก่อนแก้ไข: The results of the experiment were published in the journal.
- หลังแก้ไข: The experiment results were published in the journal.
- ลดการใช้คำเชื่อม “that” และ “which” ให้น้อยลง เช่น
- ก่อนแก้ไข: The book, which is about Hemingway, is fascinating.
- หลังแก้ไข: The book about Hemingway is fascinating.
- การใช้คำนามที่แปลงมาจากคำกริยา (nominalization) ซึ่งมักจะต้องใช้พ่วงกับคำกริยาและคำบุพบท อาจทำให้ประโยคฟุ่มเฟือยได้ เช่น
- ก่อนแก้ไข: The analysis of the data revealed key trends.
- หลังแก้ไข: Analyzing the data revealed key trends.
- นอกจากการใช้คำนามที่แปลงมาจากคำกริยาจะทำให้ประโยคฟุ่มเฟือยแล้วอาจทำให้ความหมายคลุมเครือด้วย เช่น
- ก่อนแก้ไข: A need for immediate action exists.
- หลังแก้ไข: We must act immediately.
- ไม่เพิ่มคำทำให้ประโยค negative กลายเป็นประโยค positive เช่น
- ก่อนแก้ไข: The company did not succeed in securing the contract.
- หลังแก้ไข: The company failed to secure the contract.
- ใช้โครงสร้างประโยคแบบ active voice แทน passive voice เพื่อทำให้ประโยคกระชับและเข้าใจง่ายมากขึ้น ทั้งนี้ต้องดูบริบทและเหมาะสมของประโยคด้วย หากเป็นการเขียน essay ทางการหรือรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นข้อมูลในประโยคมากกว่าก็สามารถใช้ passive voice ได้
- ก่อนแก้ไข: The report was written by the analyst.
- หลังแก้ไข: The analyst wrote the report.
วิธีสังเกตเมื่อเผลอใช้คำฟุ่มเฟือย
ในบล็อกก่อนหน้านี้ The Planner ได้เคยเขียนเกี่ยวกับการ Proofreading เอาไว้ คือการอ่านทวนงานเขียนของตัวเองเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของงานเขียน วิธีนี้จะช่วยให้น้อง ๆ ได้เช็กอีกรอบด้วยว่าได้เผลอใช้คำฟุ่มเฟือยหรือไม่
หากไม่แน่ใจว่าประโยคที่เขียนมีคำฟุ่มเฟือยไหมให้ลองตัดคำที่ว่านั้นออกดู ถ้าความหมายยังคงเดิมหรือไม่ได้เพิ่มข้อมูลอะไรลงไปในประโยคเพิ่ม อาจหมายความว่าน้อง ๆ เผลอเพิ่มคำลงไปโดยไม่จำเป็น หากตัดคำฟุ่มเฟือยออกก็จะทำให้ประโยคมีความกระชับและน่าอ่านมากขึ้น
นอกจากการใช้คำฟุ่มเฟือยแล้วยังมีอีกหลายทริคที่ช่วยให้การเขียน GED Essay ของน้อง ๆ น่าอ่านมากขึ้น ถ้ามาติวคอร์ส GED ที่ The Planner น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ทริคต่าง ๆ สำหรับใช้ในการสอบเพื่ออัปคะแนนให้ถึงเป้าหมาย!
ติว GED แบบมีการันตีผล 100%
- สอนด้วยข้อสอบที่อัปเดตล่าสุด เนื้อหาจัดเต็มทั้ง 4 วิชา
- คลาสเล็ก สอนสนุก เข้าถึงนักเรียนทุกคน
- ALL-IN-ONE Service บริการครบตั้งแต่ลงสอบจนได้วุฒิ
- มีทั้งคอร์ส Onsite และ Online เลือกเรียนได้ตามสะดวก
- มีการันตีผล 100% สอบไม่ผ่าน เรียนซ้ำฟรี!
เตรียมคะแนนให้พร้อมเพื่อสอบเข้าคณะอินเตอร์กับ The Planner แอดไลน์สมัครเรียน!
แหล่งข้อมูล:
สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | IELTS | ACT | GSAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!