GED Social : Brown V. Board of Education

            ในเนื้อหาการเรียน GED Social Studies หลังจากสงครามกลางเมืองของอเมริกา (Civil War) จบลงทำให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 13 (Thirteenth Amendment) ซึ่งประกาศให้มีการเลิกทาสทั่วประเทศอเมริกา เหตุการณ์ความขัดแย้งนี้ดูเหมือนจะจบลงอย่างงดงาม ทว่าแม้ระบบทาสจะสิ้นสุดบุคคลที่เคยเป็นทาสมาก่อน (Former Slaves) ก็ยังต้องทนทุกข์ทรมานกับการถูกชาวอเมริกาผิวขาวกดขี่และปฏิบัติต่อแบบเหยียดสีผิว (Racism)

             เราต้องรู้เรื่องราวนี้ในเนื้อหาเรียน GED Social Studies เพื่อทำคะแนนสอบด้วยนะครับ สังคมอเมริกาหลังจบสงครามกลางเมืองเต็มไปด้วยการแบ่งแยกเชื้อชาติระหว่างคนผิดขาวกับคนผิวดำ (Segregation) โดยที่คนผิดขาวมักจะมองว่าตนเหนือกว่าและมีสิทธิมากกว่า กฎหมายในสังคมตอนนั้นก็สนับสนุนให้เกิดการแบ่งแยกและกดขี่พร้อมทั้งลิดรอนสิทธิของอดีตทาส เช่น กฎหมาย Jim Crow ที่ระบุว่าคนขาวกับคนดำห้ามใช้สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะร่วมกัน อาทิม้านั่งและน้ำดื่มสาธารณะ, คนผิดขาวและคนผิวดำห้ามแต่งงานกัน และห้ามเด็กผิวขาวกับเด็กผิวสีเรียนในโรงเรียนร่วมกัน

            แต่การแบ่งแยกเชื้อชาติและการเหยียดสีผิวก็เริ่มลดลงเนื่องจากคำตัดสินของศาลฎีกาสูงสุดของอเมริกา (US Supreme Court) ในคดีครั้งสำคัญที่ชื่อว่า Brown V. Board of Education (คดีนี้ชอบออกข้อสอบ Social ฉะนั้นเรียน GED Social Studies ต้องมีเรื่องนี้นะครับ)

            ก่อนอื่นขอเกริ่นก่อนว่าตัวละครในเรื่องคนแรกที่ทุกคนควรรู้จัก คือ โอลิเวอร์ บราวน์ (Oliver Brown) เขาเป็นคุณพ่อชาวผิวสีอาศัยอยู่ในเมืองโทพีกา (Topeka) รัฐแคนซัส (Kansas) และลูกสาวของเขา ชื่อ ลินดา บราวน์ (Linda Brown)

            ทุกวันลูกสาวของเขาจำเป็นต้องเดินเท้าเป็นระยะทางกว่า 1 ไมล์ผ่านลานสับเปลี่ยนรถไฟที่อันตรายเพื่อไปเรียนโรงเรียนประถมของเด็กผิวสี พ่อของเธอจึงลองพาเธอไปสมัครเรียนในโรงเรียนประถมของเด็กผิดขาวซึ่งอยู่ใกล้บ้าน แต่พวกเขาก็กลับถูกครูใหญ่ของโรงเรียนประถมแห่งนั้นปฏิเสธเนื่องจากมีกฎหมายแบ่งแยกที่ห้ามเด็กผิวขาวกับผิวสีเรียนโรงเรียนเดียวกัน

             หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว โอลิเวอร์ บราวน์ตัดสินใจฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับลูกสาวเขาและได้รับการช่วยเหลือจากองค์กรสมาคมแห่งชาติเพื่อความก้าวหน้าของประชาชนผิวสี (NAACP) ข่าวที่แพร่ออกไปทำให้พ่อแม่ผิวสีคนอื่นออกมาร่วมเรียกร้องสิทธิเช่นเดียวกัน จนสุดท้ายคดีของเขาก็ถูกอุทธรณ์ขึ้นสู่ศาลฎีกาสูงสุดของอเมริกา   

            สุดท้ายในปี 1954 บราวน์ก็สามารถเอาชนะคดี โดยศาลฎีกาสูงสุดในสมัยของ Earl Warren ตัดสินว่าการการแบ่งแยกเชื้อชาติในโรงเรียนรัฐบาลขัดกับหลักการของกฎหมายรัฐธรรมนูญ (unconstitutional) และมีคำสั่งให้ยกเลิกการแบ่งแยกในโรงเรียนรัฐทั่วประเทศให้เร็วที่สุด “De-segregation must occur with all deliberate speed.”

            คดีนี้ถือเป็นชัยชนะครั้งแรกและครั้งยิ่งใหญ่ของบรรดาคนผิวสีในสมัยนั้นอีกทั้งยังส่งผลให้การกีดกันและแบ่งแยกทางสีผิวในสังคมอเมริกาเริ่มลดลงขณะเดียวกันก็เพิ่มความเท่าเทียมให้กับผู้คนจำนวนมาก ทุกคนอย่าลืมนะครับเหตุการณ์นี้สอนให้เรารู้ว่า “Separate was not equal.” อย่าลืมเรื่องนี้ตอนติว GED Social Studies กันนะครับ

ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply