อยากเขียน Essay ให้เป๊ะ! อัปคะแนน GED RLA ให้ปัง! ทำได้ไม่ยากด้วยวิธี Proofreading
บล็อกนี้ The Planner จะมาแชร์ทริคลดข้อผิดพลาดในการสอบเขียน GED นอกจากจะช่วยให้ Essay อ่านง่ายขึ้นแล้วยังอาจช่วยเพิ่มคะแนนวิชา RLA ด้วย
สำหรับการสอบ GED Reasoning Through Language Arts (RLA) จะมีข้อสอบพาร์ทเขียนที่เรียกว่า Extended Response ซึ่งเป็นการวิเคราะห์บทความที่มีความขัดแย้งกันระหว่างสองมุมมอง และน้อง ๆ จะต้องเขียน essay เพื่ออธิบายโดยใช้หลักฐานในบทความมาสนับสนุนให้ได้ว่า เพราะเหตุใดข้อโต้แย้งของอีกฝ่ายจึงดีกว่าอีกฝ่าย
หากน้อง ๆ อยากเข้าใจ GED Extended Response ให้มากขึ้นว่าคืออะไร สามารถแวะไปอ่านบทความ GED RLA Essay เขียนตอบแบบไหน ได้คะแนนชัวร์ ก่อนได้ The Planner ได้อธิบายเกี่ยวกับ GED RLA Essay Writing ไว้อย่างละเอียด พร้อมเทคนิคการเขียน GED Essay ให้ปังแบบคว้าคะแนนเต็ม!
ตัวอย่างข้อสอบ GED Extended Response
Source: https://www.ged.com/wp-content/uploads/extended_response_classroom_practice.pdf
เมื่อต้องมีการสอบเขียน essay แน่นอนว่าอาจเกิดข้อผิดพลาดจากการเขียนขึ้นได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติมาก ๆ แต่สิ่งสำคัญคือการลดข้อผิดพลาดให้เกิดน้อยที่สุด เราจึงควรมีการ Proofreading หรือ การอ่านทวนงานเขียนของตัวเองเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของงานเขียน
เพราะฉะนั้นน้อง ๆ ควรจัดการเวลาให้ดี โดยเผื่อเวลาไว้ประมาณ 5 นาทีเพื่ออ่านทวน essay ทั้งหมดอีกครั้งและแก้ไขจุดที่ผิดพลาดให้งานเขียนออกมามีคุณภาพมากที่สุด ซึ่งนอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงความเอาใจใส่ของผู้เขียนและความรับผิดชอบต่อผู้อ่านแล้ว ยังไม่ต้องเสี่ยงเสียคะแนนบางส่วนใน GED RLA อีกด้วย
สิ่งที่ควรทำจากการ Proofreading
- Error มองหาข้อผิดพลาด
- Spelling เช็กการสะกดคำ
- Grammar ตรวจสอบไวยากรณ์
- Essay Organization ดูการเรียงลำดับเนื้อหา
- Cohesion ตรวจทานความสอดคล้องของเนื้อหา
ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียน essay อาจมีได้หลายอย่าง เช่น การสะกดคำ หรือการเลือกใช้ประเภทของคำที่ไม่เหมาะสม The Planner เลยจะมาแนะนำ 8 จุดควรระวังที่ผู้สอบส่วนใหญ่มักทำพลาดกัน
- Subject Verb Agreement หรือ การเติม s หลังคำกริยาเมื่อใช้กับประธานที่เป็นเอกพจน์ เช่น
Incorrect: Mathew aim to obtain Band 7 in IELTS so that he could apply for his university.
Correct: Mathew aims to obtain Band 7 in IELTS so that he could apply for his university. - การเติม s หลังคำนามพหูพจน์ (Plural Noun)
Incorrect: One of the college student questioned the government’s policy but was told to keep quiet.
Correct: One of the college students questioned the government’s policy but was told to keep quiet. - การใช้ Tense ไม่สอดคล้องกันในประโยคหรือย่อหน้า เช่น ประโยคก่อนหน้าเป็น Present Simple Tense ประโยคต่อไปก็ควรใช้คำกริกาที่สอดคล้องกับ Tense ของประโยคก่อนหน้า
Incorrect: The infection rate in Thailand has remained stable for a week, and the situation was under the government’s control.
Correct: The infection rate in Thailand has remained stable for a week, and the situation is under the government’s control. - การใช้ Article (a, an, the) เช่น หากเป็นนามนับไม่ได้ (Uncountable Noun) จะไม่สามารถใส่ a/an นำหน้าได้
Incorrect: An innovation is crucial for the success of a modern business.
Correct: Innovation is crucial for the success of a modern business. - Fragment หรือความไม่สมบูรณ์ของประโยค เช่น การลืมเติมคำกริยาในประโยค หรืออาจใช้คำเชื่อมหรือตัวเชื่อมประโยคที่ไม่ถูกต้อง
Incorrect: After I have read both passages. I believe that the first passage provides stronger arguments. (การใช้เครื่องหมาย Full Stop (.) เป็นตัวบ่งชี้การสิ้นสุดข้อความ แต่ในประโยค After ใจความของประโยคยังไม่สมบูรณ์และจำเป็นต้องมีอีกประโยคตามมา จึงควรจะเปลี่ยนจาก (.) ให้เป็นเครื่องหมาย (,) เพื่อทำให้ประโยคหน้าและหลังเชื่อมกัน)
Correct: After I have read both passages, I believe that the first passage provides stronger arguments. - Redundancy การใช้คำที่มีความหมายเดียวกันซ้ำกัน
Incorrect: The future plans for the project include expansion into new markets.
Correct: The plans for the project include expansion into new markets. - การใช้เครื่องหมาย Comma แม้อาจดูเป็นเรื่องเล็กแต่หลายคนมักละเลยในจุดนี้และทำให้เสียคะแนนได้
Incorrect: The world is facing an energy crisis but one way to tackle the problem is to use less energy.
Correct: The world is facing an energy crisis, but one way to tackle the problem is to use less energy. - การสะกดคำ จุดนี้ถือเป็นอีกจุดที่ผู้สอบพลาดกันเยอะ ทั้งเกิดจากความแม่นยำในการจำคำศัพท์ รวมถึงการต้องรีบทำข้อสอบให้ทันเวลาจึงอาจเผลอเขียนผิดได้ ข้อแนะนำคือหากน้อง ๆ มักสะกดคำไหนผิดบ่อย ๆ ให้จดศัพท์แยกเอาไว้และหมั่นทบทวนคำศัพท์เหล่านั้น
Incorrect: I am writing to express my dissatisfaction with the service I recieved during a recent visit to your hotel.
Correct: I am writing to express my dissatisfaction with the service I received during a recent visit to your hotel.
แม้ว่าในบล็อกนี้จะเน้นเกี่ยวกับการสอบเขียน essay ของ GED RLA เป็นหลัก แต่วิธีการ proofreading ยังสามารถใช้กับการสอบอื่น ๆ ได้ เช่น การสอบ IELTS Writing
น้อง ๆ สามารถเริ่มฝึก proofreading ได้เลยตั้งแต่การซ้อมทำข้อสอบ โดยแบ่งเวลาเพื่อมาทบทวนสิ่งที่ตัวเองเขียนไปก่อน และหาข้อผิดพลาดที่เรามักจะทำบ่อย ๆ เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง และเลี่ยงการทำผิดซ้ำเมื่อต้องทำข้อสอบจริง
หากต้องการคนติว GED ให้ตรงจุดที่ได้มากกว่าการ proofreading ต้องคอร์สติว GED กับ The Planner เพราะนอกจากจะสอนโดยคุณครูผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการสอนมาช่วยชี้แนะในการทำข้อสอบแล้ว น้อง ๆ ยังสามารถรับสิทธิ์การันตีผลสอบ 100% หากสอบไม่ผ่าน สามารถกลับมาเรียนซ้ำใหม่ได้ ฟรี!
สมัครเรียนวันนี้ รับสิทธิ์การันตี 100% แอดไลน์
สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | IELTS | ACT | GSAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!