ทำความรู้จัก NATO รู้มั้ยว่าออกสอบ GED Social Studies ด้วย

นักเรียน GED ทั้งหลายที่กำลังเตรียมตัวสอบ GED ไม่ว่าจะคนที่กำลังติว GED กันแบบไฟลุกเพื่อคว้าวุฒิสอบเทียบ ม.6 ในเร็ววันนี้ หรือคนที่เพิ่งทำความรู้จักข้อสอบ GED ก็ตาม หัวข้อในครั้งนี้ที่นำมาแชร์กันจะเป็นประโยชน์ต่อน้องๆ ทุกคนแน่นอน นั่นก็คือสนธิสัญญา NATO คุ้นหูคุ้นตาคำนี้กันดีใช่มั้ยล่ะ เราไม่ได้พูดถึงสนธิสัญญา NATO เพื่อเกาะติดสถานการณ์เท่านั้น แต่สนธิสัญญา NATO ยังออกสอบ GED ในวิชา GED Social Studies อีกด้วย เพราะฉะนั้นเรามาทำความรู้จักสนธิสัญญา NATO กันเลย!

 NATO ย่อมาจาก The North Atlantic Treaty Organisation (องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1949

วัตถุประสงค์:
เหล่าประเทศสมาชิกยุคแรกเริ่มซึ่งมีอยู่ 12 ประเทศได้ทำข้อตกลงกัน เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามที่สหภาพโซเวียต (ในขณะนั้น) แผ่ขยายอำนาจเข้ามาในยุโรปในช่วงสงครามโลก  สนธิสัญญานี้จึงมีขึ้นเพื่อรักษาอิสรภาพและให้ความปลอดภัยต่อประเทศสมาชิกในแง่ของการเมืองและการทหาร ว่ากันง่ายๆ ก็คือ หากประเทศสมาชิกใดประเทศหนึ่งถูกโจมตีด้วยอาวุธ ประเทศสมาชิกจะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั่นเอง

ขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตก็ก่อตั้งพันธมิตรทางการทหารขึ้นมาในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ทางยุโรปตะวันออกกลาง เรียกสนธิสัญญานี้ว่า Warsaw Pact (สนธิสัญญาวอร์ซอว์) แต่แล้วเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลง ซึ่งก็คือในปี ค.ศ.1991 กลุ่มประเทศสมาชิก Warsaw Pact ก็หันมาเข้าร่วมกลุ่มสมาชิก NATO แทน จำนวนสมาชิกประเทศจึงเพิ่มขึ้น ดังนี้

สมาชิกประเทศ NATO ปัจจุบันมีทั้งหมด 30 ประเทศ (อัปเดต ณ เดือนมีนาคม ค.ศ.2022)

  1. Belgium (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  2. Canada (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  3. Denmark (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  4. France (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  5. Iceland (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  6. Italy (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  7. Luxembourg (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  8. Netherlands (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  9. Norway (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  10. Portugal (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  11. UK (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  12. USA (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1949)
  13. Greece (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1952)
  14. Turkey (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1952)
  15. Germany (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1952)
  16. Spain (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1982)
  17. Czech Republic (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1999)
  18. Hungary (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1999)
  19. Poland (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.1999)
  20. Bulgaria (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.2004)
  21. Estonia (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.2004)
  22. Latvia (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.2004)
  23. Lithuania (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.2004)
  24. Romania (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.2004)
  25. Slovakia (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.2004)
  26. Slovenia (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.2004)
  27. Albania (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.2009)
  28. Croatia (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.2009)
  29. Montenegro (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.2017)
  30. North Macedonia (เข้าร่วมเมื่อปี ค.ศ.2020)

อย่างที่หลายคนที่กำลังเตรียมสอบ GED อาจจะพอรู้กันมาบ้างแล้วว่า การสอบ GED Social Studies ไม่ได้เน้นการท่องจำ แต่เน้นที่ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เพราะฉะนั้นแล้วน้องๆ ควรที่จะศึกษาสนธิสัญญา NATO ในรูปแบบของบทบาทว่ามีผลต่อการเมืองหรือการทหาร รวมถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมสอบ GED ได้สนุกขึ้น แถมความรู้ยังแน่นสุดๆ!

การเทียบวุฒิ GED จะกำหนดให้คะแนนรายวิชา 145 ขึ้นไปเท่านั้นเอง หลายคนอาจจะเริ่มดูความเป็นไปได้จากผลคะแนน GED ที่มีอยู่ หรือบางคนอาจจะยังไม่มีผลคะแนน GED ไว้ยื่นเลยด้วยซ้ำ และน่าจะกำลังคิดอยู่ว่าจะติว GED ที่ไหนดี อีกทั้งมีคำถามว่าการสอบ GED เข้ามหา’ลัยไหนได้บ้าง หรือสอบเทียบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง The Planner Education เปิดคอร์ส GED รอน้องๆ ทั้งคอร์ส Pre-GED (สำหรับคนพื้นฐานภาษาอังกฤษน้อย) และคอร์ส GED (สำหรับคนที่มีทักษะภาษาอังกฤษดี) เรารู้ว่าหลายคนอาจจะกังวลว่าสอบ GED ยากไหม แนะนำให้เข้ามาปรึกษากับทีมงานของเราก่อน เพราะที่นี่เราติว GED รับรองผล หากสอบ GED ไม่ผ่าน เรียนซ้ำฟรี!

 น้องๆ ไม่ต้องมัวลังเลว่าจะเรียน GED ดีไหม เพราะการสมัครเรียนนั้นสะดวกสบายมากๆ สามารถเลือกเดินทางเข้ามาเรียน GED ที่สถาบัน หรือจะติว GED ออนไลน์อยู่บ้านก็ได้ รู้อย่างนี้แล้ว รีบตบเท้าเข้ามาเรียน GED ด้วยกันที่ The Planner Education เลย!

ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply