เขียน GED Essay ให้ปั๊วะ! ต้อง Proofreading ให้ปัง!

การสอบ GED RLA หรือ Reasoning Through Language Arts ทุกคนจะต้องเจอกับการเขียนเรียงความ GED Essay Writing ในส่วนที่สองของข้อสอบ ทุกคนจะมีเวลา 45 นาทีเพื่อเขียนเรียงความ GED Essay ให้สมบูรณ์ แต่ทว่าหลายคนใช้เวลาทั้งหมดที่ได้ในการก้มหน้าก้มตาเขียนเรียงความอย่างเดียว โดยหลงลืมที่จะตรวจสอบความถูกต้องหลังจากเขียนเสร็จ ซึ่งถ้าหากมีข้อผิดพลาดก็อาจทำให้เสียคะแนนบางส่วนของ GED Essay ไปอย่างน่าเสียดาย เราจึงขอแนะนำมาให้ทุกคนใช้เวลาประมาณ 5-10 นาทีสุดท้ายกับการ “Proofreading” เพื่อทำให้ชิ้นงานเขียน GED Essay ของเราออกมาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

Proofreading คือ การอ่านทวนงานเขียนของตัวเองเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของงานเขียน ขณะที่เราอ่านหรือตรวจทาน GED Essay เราควรจะมองหาข้อผิดพลาด (Error)  ทั้งเรื่องการสะกดคำ (Spelling), ไวยากรณ์ (Grammar), การเรียงลำดับเนื้อหาข้อมูล (Essay Organization) และความสอดคล้องกันของเนื้อหา (Cohesion)

หากเราพบจุดผิดพลาดบน GED Essay ของเรา ก็ควรจะลงมือแก้ไขเพื่อให้ผลงานของเราออกมามีคุณภาพเหมาะสม เพราะการระมัดระวังไม่ให้งานของตัวเองมีจุดผิดพลาดยังสะท้อนให้เห็นถึงความเอาใจใส่ของผู้เขียนและความรับผิดชอบที่มีต่อผู้อ่าน แถมยังไม่ต้องเสียคะแนนบางส่วนใน GED Essay อีกด้วย

ประเด็นปัญหาที่ผู้สอบส่วนใหญ่มักพลาดและขอเตือนให้ทุกคนระวัง

  1. Subject Verb Agreement หลายคนมักลืมเติม s เวลาที่ใช้คำกริยากับประธานเอกพจน์ เช่น Mathew aim to obtain Band 7 in IELTS so that he could apply for his university.  (ต้องเติม s หลัง aim เพราะใช้กับประธานแค่คนเดียว)
  2. การลืมเติม s หลัง Plural Noun เช่น One of college student questioned the government’s policy but was told to keep quiet.  (student ต้องมี s ตามหลังเพื่อทำให้เป็นพหูพจน์)
  3. เรื่องการใช้ Tense ไม่สอดคล้องกันในประโยคหรือย่อหน้า เช่น The infection rate of Thailand has remained stable for a week, and the situation was under the government’s control. (ประโยคนี้ควรเปลี่ยนจาก was เป็น is เพื่อให้เป็น Present Simple Tense จะได้สอดคล้องไปกับ Tense ของประโยคข้างหน้า)
  4. เรื่องการใช้ Article (a, an, the) เช่น The Corn’s price has increased due to a/the food shortage.  (เนื่องจาก food shortage เป็นนามนับได้ประเภท Singular Noun จึงต้องมี article อยู่ด้านหน้าเสมอ)
  5. เรื่อง Fragment หลายคนมักจะเขียนประโยคแบบไม่สมบูรณ์มา บางคนก็อาจลืมเติมคำกริยาให้ประโยค หรือบางคนก็ใช้คำเชื่อมแต่ไม่มีอีกประโยคตามมา เช่น After I have read both passages. I believe that the first passage provides stronger arguments. (ปรกติเวลาเราเขียนจบหนึ่งประโยคเราจะใช้เครื่องหมาย Full Stop (.) เป็นตัวบ่งชี้การสิ้นสุดข้อความ แต่ในประโยค After ใจความของประโยคยังไม่สมบูรณ์และจำเป็นต้องมีอีกประโยคตามมา ดังนั้นเราควรจะเปลี่ยนจาก (.) ให้เป็นเครื่องหมาย (,) เพื่อทำให้ประโยคหน้าและหลังเชื่อมกัน)
  6. เรื่อง Redundancy หรือการใช้คำที่มีความหมายเดียวกันซ้ำกัน เช่น Please ask a question now. (ปกติการถาม “ask” ก็มีความหมายครอบคลุมคำว่า question อยู่แล้วเราจึงสามารถละ question ได้)
  7. เรื่องการใช้เครื่องหมาย Comma เรื่องนี้หลายคนมักจะละเลย เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่เราควรฝึกใช้เครื่องหมายนี้ให้ถูกต้องเพราะแม้เป็นจุดเล็กก็ทำให้เสียคะแนน GED Essay ได้ หากผิดพลาดซ้ำไปมา เช่น The world is facing energy crisis but one way to tackle the problem is to use less energy. (หน้า but ต้องเติมเครื่องหมาย comma (,) เพราะ but เชื่อมสองประโยคเข้าด้วยกัน)
  8. เรื่อง Spelling เช่น I am writing to express my dissatisfaction with the service I recieved during a recent visit to your hotel. (received ต้องสะกดแบบนี้ถึงจะถูกต้อง – หากเราชอบสะกดคำไหนผิดบ่อยๆ แนะนำให้จดแยกเอาไว้ และหมั่นทบทวนคำศัพท์เหล่านั้น)

แม้เราเป็นเจ้าของภาษาไทย เวลาที่เราส่งข้อความไปหาเพื่อนหรือโพสต์สเตตัสลงบนโลกออนไลน์ หลายครั้งเรายังมักสะกดคำผิดหรือเขียนใจความบางส่วนตกหล่น แล้วนับประสาอะไรกับภาษาอังกฤษที่เราอาจไม่ค่อยได้เขียนในชีวิตประจำวัน หากเราประมาทไม่ตรวจทานและแก้ไขข้อผิดพลาด GED Essay ของเราอาจทำออกมาได้ไม่ค่อยมีคุณภาพและเสียคะแนนบางส่วนไปในที่สุด

หากกำลังมองหาว่าจะติว GED ที่ไหนดี? มาเตรียมพร้อมเพื่อคว้าวุฒิ ม.ปลาย ภายใน 1 เดือนกับ The Planner ได้เลย!

?คลิก! ดูข้อมูลคอร์สติว GED 90 ชั่วโมง ? https://bit.ly/3gfD8tE

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply