ทั่วโลกมีระบบการศึกษามากมาย แต่ละระบบอาจจะไม่ใช่ระบบที่ดีไปหมด หรือแย่ไปหมด ต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวระบบของมัน ทุกวันนี้การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเปิดกว้างมากขึ้น รวมถึงการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยของไทยเองก็เช่นกันที่เปิดรับน้อง ๆ ที่มาจากหลายระบบการศึกษา น้อง ๆ ไม่จำเป็นต้องเรียนในระบบการศึกษาของไทยหรือเรียนที่ไทยก็สามารถเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยในไทยได้ วันนี้พี่ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักระบบการศึกษาของต่างประเทศ ทั้งระบบ GED ระบบ IB และระบบ AP เองค่ะ
ระบบ GED คืออะไร
GED ย่อมาจาก General Educational Development เป็นวุฒิการศึกษาเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่เป็นวุฒิการศึกษาของสหรัฐอเมริกา น้อง ๆ สามารถเริ่มติว GED และสอบเทียบ GED ได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยสอบทั้งหมด 4 วิชา ได้แก่ Math, Science, Social Studies และ RLA น้อง ๆ สามารถใช้วุฒิ GED ยื่นมหาวิทยาลัยได้ทั้งในไทยและต่างประเทศ ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยในไทย น้อง ๆ ต้องได้คะแนน GED ตามนี้ค่ะ
– หากสอบ GED ก่อนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 GED 5 วิชา รวมกัน ≥2250 และแต่ละวิชาคะแนน ≥410
– หากสอบ GED หลังพฤษภาคม พ.ศ. 2560 แต่ละวิชาคะแนน ≥145
น้องสามารถอ่านข้อมูลของระบบ GED เพิ่มเติมได้ที่ GED คืออะไร 10 คำถามควรรู้ ก่อนเรียน GED
เด็ก GED ยื่นมหาวิทยาลัยในไทยที่ไหนได้บ้าง ดูเพิ่มได้ที่ ไขข้อสงสัย เด็ก GED เรียนคณะไหนได้บ้าง
ระบบ IB คืออะไร
IB ย่อมาจาก The International Baccalaureate Diploma Program คิดค้นโดยประเทศเยอรมันนี เป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและยังถูกพูดถึงว่าเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่ดีมากหลักสูตรหนึ่งเลยทีเดียว หลักสูตร IB มีทั้งหมด 3 ระดับ คือ
- ระดับ Primary Years Program (PYP)
- ระดับ Middle Years Program (MYP)
- ระดับ IB Diploma Program
ระบบ IB เรียกได้ว่าตอบโจทย์การผลิตนักเรียนที่เป็นประชากรโลกไม่ใช่แค่ประชากรของประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะระบบ IB เป็นการศึกษาเชิงบูรณาการ ฝึกให้เด็กมีกระบวนคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking Skills) น้อง ๆ จะไม่ได้เรียนแค่ความรู้ในตำราเท่านั้น แต่น้อง ๆ จะได้รับความรู้นอกตำรา ได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ อีกทั้งยังได้เรียนรู้ทักษะที่สำคัญที่จำเป็นในชีวิตอีกด้วย ในไทยเองก็มีโรงเรียนที่ใช้ระบบการศึกษาแบบ IB ทั้งระบบเลย เช่น โรงเรียน NIST และก็มีบางโรงเรียนในไทยที่ใช้ระบบของอังกฤษอย่าง IGCSE ก่อน และมาต่อมาระบบ IB อีกที เช่น Bangkok Pattana ขอแอบกระซิบว่าถ้าน้องเรียนระบบ IB น้อง ๆ สามารถยื่นเข้ามหาวิทยาลัยได้ทั่วโลกเลย เพราะระบบนี้เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับระดับสากล
น้อง ๆ สามารถทำความรู้จัก IB ให้มากขึ้นใน 5 จุดเด่นของนักเรียน IB ที่ไม่ได้เก่งแค่ในห้องเรียนเท่านั้น และถ้าอยากรู้ว่าระบบ A-Level กับระบบ IB มันต่างกันยังไง น้อง ๆ สามารถตามไปอ่านต่อได้ใน A-Level หรือ IB เรียนหลักสูตรแบบไหนถึงจะใช่ตัวเรา มาวิเคราะห์กัน
ระบบ AP คืออะไร
AP ย่อมาจาก Advanced Placement ไม่ใช่หลักสูตรเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่เป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนเข้ามหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เรียกได้ว่า AP เป็นหลักสูตรเร่งลัดสำหรับน้อง ๆ ที่ไม่อยากลงเรียนบางตัวในระดับมหาวิทยาลัยนั่นเองค่ะ ระบบ AP มีความเข้มข้นของเนื้อหาเทียบเท่าปี 1 ในระดับมหาวิทยาลัย หากน้องทำเกรด AP ได้ดีตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด น้องสามารถเทียบเครดิตเกรดเพื่อให้ไม่ต้องลงเรียนบางตัวในปี 1 ได้เลยค่ะ อีกทั้งระบบ AP ยังเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนระบบ AP สามารถอ่านหนังสือหรือติวเพื่อไปสอบ AP ได้เช่นกัน ส่วนมหาวิทยาลัยที่รับระบบ AP ก็มีที่สหรัฐอเมริกา แคนาดา ไทย และประเทศอื่น ๆ ที่เปิดรับระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกา
สำหรับผู้ปกครองที่กำลังมองหาระบบการศึกษาให้ลูกของตัวเอง ลองคุยกับลูกอย่างเจาะลึกถึงความชอบและเป้าหมายของลูกดูก่อนค่ะ เพราะระบบการศึกษาทุกระบบมีทั้งข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ไม่มีระบบที่ดีที่สุด มีแต่ระบบที่เข้ากับตัวผู้เรียนแต่ละคนที่สุด หรือถ้าหากยังไม่มั่นใจในแต่ระบบ ลองเข้ามาปรึกษากับ The Planner Education ได้ค่ะ เพราะสถาบันของเราคือสถาบันที่เชี่ยวชาญด้านการศึกษาในระบบนานาชาติ
สนใจติว A-LEVEL | IGCSE | GED | SAT/GSAT | ACT | IELTS | IB | AP | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ARTS | TU-GET | Academic Writing ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!