ภาพจำลองระบบสุริยะแบบตัดขวาง
ในการติว GED Science เราจะได้เรียน Earth Science และวันนี้เรามาดูเรื่อง ระบบสุริยะ (Solar system) ประกอบไปด้วย ดวงอาทิตย์ (Sun) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ (Star) เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ และถือว่าเป็นศูนย์กลางและแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ และ วัตถุอื่นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวเคราะห์ (Planet) และดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) รวมไปถึงยังดาวเคราะห์บางชนิดที่โคจรรอบดาวเคราะห์ เรียกว่า ดวงจันทร์ (Moon) อย่างที่ทราบกันดี โลกของเรามีดวงจันทร์ 1 ดวงเป็นบริวาร ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่า “Lunar” ในขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นอาจมีดวงจันทร์มากกว่า 1 ดวงเป็นบริวารก็ได้ เช่น ดาวพฤหัส (Jupiter) มีดวงจันทร์เป็นบริวารถึง 79 ดวงด้วยกัน หากเรามีความรู้นี้ไว้เมื่อติว GED Science ก่อนสอบหรืออ่านทวนก็ตาม แน่นอนว่าเราก็จะได้เปรียบคนที่ไม่รู้เรื่องนี้เลย
อีกอย่างหนึ่งคือในเนื้อเรื่องเรียน GED Science จะมีสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความแตกต่างสำคัญระหว่างดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ คือ ดาวฤกษ์เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเองและไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ส่วนมากมีขนาดใหญ่ และมีมวลมากกว่าดาวเคราะห์ ในทางตรงกันข้ามดาวเคราะห์เป็นดาวที่มีไม่มีแสงสว่างในตัวเองและสามารถเคลื่อนที่ได้ กลไกการเคลื่อนที่จะเป็นไปตามกฎของแรงดึงดูดระหว่างมวล ซึ่งพบว่าวัตถุที่มีมวลขนาดใหญ่กว่าจะสามารถดึงดูดให้วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าโคจรรอบวัตถุขนาดใหญ่ได้ หลักการดังกล่าวสามารถนำไปใช้กับดาวเทียมหรือจรวดได้อีกด้วย
เนื่องจากพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของดวงดาวเป็นสิ่งที่ช่วยไขปริศนาถึงการกำเนิดระบบสุริยะ ดังนั้นจึงมีตั้งสมมติฐานของการโคจรของดาวเคราะห์มาตั้งแต่ในสมัยโบราณกาล เริ่มต้นจากในคนยุคสมัยกรีกโบราณเชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลางเป็นจักรวาล และมีดาวทุกชนิดโคจรรอบโลก ซึ่งในเวลาอีกกว่า 2,000 ปีต่อมา ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของดวงดาวถูกลบล้างโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันนามว่า Johannes Kepler ซึ่งค้นพบว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ เพราะดวงอาทิตย์เป็นดาวที่มีน้ำหนักมากที่สุดในระบบสุริยะ และวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะมีลักษณะการเคลื่อนที่เป็นรูปวงรีโดยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับนับจากนั้นเป็นต้นมา
หัวข้อเรื่องระบบสุริยะเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาย่อยใน Earth science ซึ่งปรากฎในข้อสอบ GED Science แม้ข้อสอบจะออกเป็นจำนวนข้อค่อนข้างน้อย แต่การที่ออกข้อสอบแนวนี้อย่างสม่ำเสมอและข้อสอบในหัวข้อนี้เน้นวัดความจำเป็นหลัก หากมีความรู้พื้นฐานทางด้านดาราศาสตร์สามารถทำข้อสอบได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้เข้าสอบควรทบทวนเนื้อหานี้อย่างตั้งใจ เพราะเป็นหนึ่งในเนื้อหาที่ง่ายที่สุดในข้อสอบวิชานี้