ระบบนิเวศ เป็นหัวข้อสำคัญเมื่อติว GED Science นะครับออกข้อสอบอยู่บ่อยๆ ซึ่งระบบนิเวศนี้เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ต่างอยู่ร่วมกัน การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดอยู่ร่วมกันได้นั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ แสง ภูมิประเทศ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพ สภาพแวดล้อมดังกล่าว หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่สิ่งมีชีวิตสามารถหาอาหารได้อย่างสะดวก ดังนั้นจุดร่วมกันอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์ คือ ความต้องการสารอาหารในการสร้างพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีพ ซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักการของห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ในข้อสอบ GED Science มีเรื่องนี้ทุกรอบเลยก็ว่าได้นะครับ
เมื่อติว GED Science หัวข้อนี้ ที่พลาดไม่ได้ก็จะมีอีกเรื่องคือ ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ที่เป็นกระบวนการถ่ายทอดพลังงานในรูปของอาหารเป็นลำดับขั้นจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกหนึ่งโดยการกินกันเป็นทอดๆ ทำให้สารอาหารและพลังงานถ่ายทอดไปในหมู่สิ่งมีชีวิตและตกลงสู่สิ่งแวดล้อม โดยห่วงโซ่อาหารถูกอธิบายด้วยแผนภาพพีระมิดแสดงลำดับขั้นของสิ่งมีชีวิต โดยฐานของพีระมิดบ่งบอกถึงลำดับขั้นต่ำสุด ในขณะที่ยอดพีระมิดบ่งบอกถึงลำกับขั้นสูงสุด ห่วงโซ่ถูกจำแนกตามลักษณะของสิ่งมีชีวิต ได้แก่
- Producer (ผู้ผลิต) คือ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ เช่น พืชทุกชนิด และแบคทีเรียจำพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เพราะพืชสร้างอาหารได้เองด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์แสงคือ น้ำตาลซึ่งนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องบริโภคสิ่งมีชีวิต ในทางชีววิทยาจากภาพแสดงให้เห็นว่า ต้นหญ้าเป็นผู้ผลิต
- Primary consumer (ผู้บริโภคลำดับที่ 1)คือ สิ่งมีชีวิตที่บริโภคพืช ส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินพืช (Herbivore) จากภาพแสดงให้เห็นว่า กระต่ายเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 นอกจากนี้ม้าลาย, กวาง, ตั๊กแตน, ผีเสื้อ ก็เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 เช่นกัน
- Secondary consumer (ผู้บริโภคลำดับที่ 2) คือ สิ่งมีชีวิตที่บริโภคสัตว์กินพืช ส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) จากภาพแสดงให้เห็นว่า งูเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2 นอกจากนี้นก, แมงมุม, ปลา ก็เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2 เช่นกัน
- Tertiary consumer (ผู้บริโภคลำดับที่ 3) คือ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ขั้นสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร เป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้าย ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่มีสถานะเป็นนักล่ากินเนื้อ (Carnivore) หรือ สัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore) ในบางครั้งผู้บริโภคลำดับนี้สามารถบริโภคสัตว์ที่อยู่ลำดับต่ำกว่าได้ จากภาพแสดงให้เห็นว่า เหยี่ยวเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 3 นอกจากนี้มนุษย์, เสือ, สิงโต, ฉลาม ก็เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 3 ซึ่งล้วนแล้วเป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการเป็นผู้ล่าทั้งสิ้น
ในข้อสอบ GED Science นิยมออกหัวข้อเรื่องห่วงโซ่อาหาร เพราะเป็นเนื้อหาที่เข้าใจง่ายและวัดความรู้ผู้เข้าสอบได้อย่างชัดเจน โดยข้อสอบมักแสดงภาพประกอบแล้วถามสิ่งมีชีวิตในแผนภาพว่าถูกจัดอยู่ในกลุ่มใด ซึ่งถือเป็นข้อสอบที่ง่ายและประหยัดเวลา ดังนั้นหากน้องๆกำลังเรียน GED Science หรือ ติวๆกันอยู่ก็อย่าลืมเรื่องนี้กันนะครับ