ติว GED RLA วันละนิดวันนี้ การอ่านบทความประเภท non-fiction นอกเหนือจากเราจะต้องจับใจความสำคัญ หรือ Main Idea ของเรื่องแล้ว สิ่งที่ทุกคนควรจะต้องทำต่อมาคือการทำความเข้าใจของโครงสร้างงานเขียนและตีความหาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดในเรื่อง (Inferring Relationships between Ideas)
บ่อยครั้งที่ผู้เขียนมักจะเชื่อมโยงความคิดในเรื่องโดยการใช้ความสัมพันธ์ประเภทสาเหตุและผลลัพธ์ ( Cause and Effect)
ความสัมพันธ์ประเภทนี้หมายความว่า “ความคิด” (หรืออาจเป็นเหตุการณ์) หนึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด”ความคิด” (หรือเหตุการณ์)อีกเรื่อง สามารถพูดอีกอย่างได้ว่า “ความคิดที่สอง”เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจาก “ความคิดแรก” เช่น Siri forgot to take medicine, so her symptom got worse. (ลืมกินยา = cause, อาการแย่ลง = effect)
สังเกตว่า เวลาเราพยายามแยกแยะความสัมพันธ์ระหว่างสองประโยคเราสามารถใช้คำเชื่อม (transition) เพื่อช่วยระบุความสัมพันธ์ระหว่างความคิดได้
** จำไว้ว่า คำเชื่อมกลุ่ม “because” จะตามหลังด้วยสาเหตุ (Cause) แต่หลังคำเชื่อมกลุ่ม “so” จะตามด้วยผลลัพธ์
ถ้าทุกคนเข้าใจความสัมพันธ์ประเภทสาเหตุและผลลัพธ์แล้วเราลองมาดูตัวอย่างโจทย์ในห้องสอบกันครับ ติว GED RLA เรื่องนี้กันด้วยนะครับ
Fellow citizens, I come here today to plead my case. Today in our state people do not have enough jobs. The unemployment problem will not be solved until we get our weak economy moving again. Other politicians talk about strengthening the economy, but they have no plan to make it happen. That is why I am proposing new measures that will positively affect the economy and job outlook. They will impact your well-being directly.
Vote for me this November because I promise to do what is needed to stabilize the economy and create more jobs.
What cause-and-effect relationship exists in the passage?
- between job growth and politicians
- between a weak economy and a lack of jobs
- between politicians and a strong economy
- between a lack of jobs and a strong economy.
ทุกคนคิดว่าข้อตัวเลือกข้อไหนแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไอเดียประเภทสาเหตุและผลลัพธ์ที่ถูกพูดถึงในเรื่องนี้ครับ?
เฉลย ข้อนี้ตอบ b เพราะในเรื่องผู้เขียนบอกว่า “ปัญหาคนตกงานจะไม่ได้รับการแก้ไขจนกว่าพวกเราจะสามารถทำให้เศรษฐกิจที่ซบเซานี้เดินต่อไปข้างหน้าได้” เราเลยตีความได้ว่า “เศรษฐกิจที่ซบเซาเป็นต้นเหตุให้คนตกงาน”
หวังว่าทุกคนจะรู้จักวิเคราะห์และตีความหาความสัมพันธ์ระหว่างไอเดียได้มากขึ้น นอกจากนี้หากเราสามารถทำความเข้าใจความสัมพันธ์รูปแบบสาเหตุและผลลัพธ์ได้สมบูรณ์ ทักษะนี้จะช่วยทำให้เราใช้เหตุผลได้เก่งขึ้น จะได้ไม่เผลอไปพูดกับใครว่า “ฉันไม่อ่านหนังสือเพราะฉันสอบตก” (ที่จริงควรพูดว่า “ฉันสอบตกเพราะฉันไม่อ่านหนังสือ”) เพราะอาจทำให้คนอื่นเข้าใจสิ่งที่เราพยายามสื่อผิดครับ ก่อนไปสอบ ฝากติว GED RLA เรื่องนี้เพิ่มเติมกันด้วยนะครับ