ใครเตรียมตัวสอบ GED ห้ามพลาดบทความนี้!
การสอบ GED คือการสอบเทียบชั้นมัธยมปลาย สามารถเริ่มสอบได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี ดังนั้นน้องๆ จึงสามารถสอบเทียบจบมัธยมปลายได้ตั้งแต่ ม.4 สำหรับการสอบ GED จะประกอบไปด้วย 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA), Science, Social Studies และ Mathematical Reasoning เกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนน GED เพื่อยื่นเข้ามหาวิทยาลัย คือวิชาละ 145 คะแนน และคะแนนรวม 660 คะแนน น้องสามารถทำการ Retake ได้หากสอบไม่ผ่าน (สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเได้ที่ : บทความสอบ GED ทางลัดพิชิตฝันน้องมัธยม https://bit.ly/3m6kkyq)
แต่วันนี้เราได้รวบรวมทริค “รวมคีย์ลัดเรียน GED ให้มีประสิทธิภาพ สอบผ่านใน 1 เดือน” ว่านอกจากการอ่านหนังสือแล้ว อะไรจะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้น้องๆ พิชิตคะแนนเป้าหมายได้ และอะไรที่เราต้องระวังตอนทำข้อสอบบ้างนะ?
รู้ทันข้อสอบ – เตรียมตัวว่าต้องเจออะไร เข้าใจสัดส่วน Topic สามารถแบ่งเวลาได้
ข้อสอบ GED มักจะออกสอบในเรื่องเดิมๆ และสัดส่วน Topic คล้ายปีก่อนๆ ดังนั้นการที่รู้ว่าข้อสอบจะออกอะไรบ้างจึงลดความประหม่าเวลาเข้าสู่สนามสอบจริงได้ และยังช่วยให้เตรียมตัวได้ว่าเราจะต้องเจอข้อสอบแบบไหน มี Topic ไหนที่เราต้องโฟกัสเป็นพิเศษ, ควรแบ่งเวลาอย่างไร
- ข้อสอบ Science แบ่งออกเป็น 3 Topic หลัก ได้แก่
1.Life Science – เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ (40%)
2.Physical Science – วิชาฟิสิกส์และเคมี *มีการคำนวณ (40%)
3.Earth & Space Science – โลกและอวกาศ (20%)
- ข้อสอบ Social Studies แบ่งออกเป็น 4 Topic หลัก ได้แก่
1.Civics and Government – หน้าที่พลเมืองและการปกครอง (50%)
2.History – ประวัติศาสตร์ (20%)
3.Economics – เศรษฐศาสตร์ (15%)
4.Geography – ภูมิศาสตร์ (15%)
- ข้อสอบ Mathematical Reasoning แบ่งออกเป็น 2 Topic หลัก ได้แก่
1 เรื่องคณิตศาสตร์เบื้องต้น (45%)
2 Algebra หรือระบบสมการ การแก้สมการ อสมการ กราฟรวมถึงฟังก์ชั่น (55%)
ข้อสอบจะแบ่งเป็น 2 part คือ 1.)ไม่ให้ใช้เครื่องคิดเลข 2.)สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้
- ข้อสอบ RLA จะประกอบไปด้วย 3 พารท์ ได้แก่ Reading, Writing และ Essay สัดส่วนคือ Reading และ Essay เฉลี่ยแล้วจะเกือบอย่างละครึ่ง และส่วนที่เหลือเป็น Writing
เก็งจุดที่มักจะพลาด – อย่าโดนโจทย์หลอก และจัดสรรการทำข้อสอบให้รอบครอบ
เพราะเป็นข้อสอบที่สามารถ Retake ได้ ฉะนั้นหากเรารู้จุดบกพร่องของเราก็ควรฝึกฝนเพื่อไม่ให้พลาดซ้ำอีก ส่วนน้องๆ ที่ยังไม่เคยสอบ เราจะรวบรวมจุดที่มักจะพลาดมาดังนี้ค่ะ
1.โดนโจทย์หลอก /อ่านโจทย์ไม่แตก – เช่นในวิชา Science ที่จะมีคำถามที่ว่า “ข้อใดถูกต้องยกเว้นข้อต่อไปนี้” ในวิชา Math ก็เช่นกัน โจทย์มักหลอกให้เราหาค่าผิดจุด เนื่องจากโจทย์มีความซับซ้อนเราจึงต้องอ่านให้ดีมีสมาธิและโฟกัสสิ่งที่โจทย์ให้เราหา
2.ทำเรียงลำดับ – น้องๆ มักเข้าใจว่าข้อสอบเรียงจากง่ายไปยาก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ฉะนั้นก่อนลงมือทำข้อสอบอย่าลืมรีวิวข้อสอบทั้งหมดดูก่อนนะคะ
3.กดส่งข้อสอบแล้วลืมทำอีกพาร์ท – จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องทำความเข้าใจข้อสอบว่ามีลักษณะอย่างไร มีกี่พาร์ท พาร์ทและกี่นาที เช่น วิชา Math ที่แบ่งออกเป็นพาร์ทที่ใช้เครื่องคิดเลขได้ และพาร์ทที่ห้ามใช้เครื่องคิดเลข ซึ่งหลังจากเรากดส่งพาร์ทแรกไปแล้วเริ่มพาร์ทสอง จะไม่สามารถกลับมาทำได้อีก
4.ลนจนจับประเด็นไม่ได้ – เนื่องจากข้อสอบมีการจับเวลาทำให้น้องๆ หลายคนกดดันในการทำข้อสอบ เกิดอาการลนจนจับประเด็นในข้อสอบไม่ได้ ยกตัวอย่างในวิชา Social Studies ที่มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะและต้องอาศัยความเข้าใจ
บริหารเวลาทำข้อสอบ – วิธีเซฟเวลาคือการจับประเด็นข้อสอบให้ได้!
รีวิวข้อสอบก่อนเริ่มทำเพื่อจัดสรรเวลาได้ถูกต้อง สิ่งที่สำคัญคือการจับประเด็น หา Keyword ของโจทย์ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นวิชาไหนก็ตาม เช่น
– วิชา Social Studies เริ่มต้นด้วยการกวาดตาอ่านโจทย์ก่อนเพื่อเข้าใจเนื้อหาโดยรวม
– วิชา Math ข้อไหนที่ถนัดหรือในกรณีที่มีการคำนวณแล้วสามารถทำได้ ให้ทำก่อนเลย
– วิชา Science ก็เช่นกันเพราะมีการคำนวณด้วย ลองประเมินตัวเองว่าถนัดส่วนไหนสุด ให้ทำตรงนั้นก่อน
– วิชา RLA ที่มี Passage เยอะ การอ่านตั้งแต่ต้นจนจบทำให้เสียเวลา ควรลองฝึกหา Keyword เช่นกัน
อ่านและฝึกฝนสม่ำเสมอ – คีย์สำคัญของการเรียนคือการได้ทดลองทำจริง
การอ่านอย่างสม่ำเสมอพร้อมกับทดลองทำข้อสอบเป็นส่วนสำคัญมากๆ โดยติวเตอร์ของเราแนะนำให้น้องๆ แบ่งเวลาอ่านทุกวันไม่อ่านอัดตอนใกล้สอบ เน้นเขียนโน๊ต จดสรุปร่วมด้วย เพราะนั่นคือสิ่งที่การันตีความเข้าใจของน้องๆ เอง ส่วนการได้ลองทำข้อสอบนั้นเป็นการวัดความเข้าใจ และหาจุดที่เราต้องเสริม ได้ทดลองอยู่ในสถานการณ์ที่มีการจับเวลาจริงและฝึกฝนใช้เครื่องคิดเลขให้เกิดความเคยชิน โดยเรารวมคำแนะนำการฝึกฝนแบบสั้นๆ จากติวเตอร์มาดังนี้ค่ะ 🙂
– วิชา Social Studies สรุปไทม์ไลน์ สรุปเนื้อหาให้เข้าใจง่ายๆ ด้วยตัวเอง ท่องศัพท์เยอะๆ
– วิชา Math คณิตไม่มีทฤษฎี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของการฝึกฝนทำโจทย์
– วิชา Science แนวข้อสอบจะคล้ายปีก่อนๆ จึงควรฝึกทำข้อสอบบ่อยๆ ให้เข้าใจถึงภาพรวม
– วิชา RLA ฝึกอ่านไว อ่านบทสรุปก่อน ในส่วน Essay ต้องเข้าใจรูปแบบและฝึกเขียนบ่อยๆ
ติดตามอ่านบทความทริคการสอบ GED จากติวเตอร์ทั้ง 4 วิชาได้ที่เว็บไซต์ The Planner Education
ดูข้อมูลรายละเอียดคอร์สและตารางเรียนได้ที่ https://bit.ly/30mWyFG
#เรียนGED #สอบGED #ติวGED